การพัฒนาแอพแบบ native คืออะไร

Application (แอพพลิเคชั่น) หรือที่ทุกคนเรียกกันสั้นๆ ว่า App (แอพ) มันคือ โปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ที่ออกแบบมาสำหรับ Mobile (โมบาย) Teblet (แท็บเล็ต) หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่เรารู้จักกัน ซึ่งในแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมามากมายเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรีและจ่ายเงิน ทั้งในด้านการศึกษา ด้านกรสื่อสารหรือแม้แต่ด้านความบันเทิงต่างๆ เป็นต้น

โมบายแอพฯ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Native Application, Hybrid Applicationและ Web Application

Native App (เนทีฟ แอพ) คือ Application ที่ถูกพัฒนามาด้วย Library (ไลบรารี่) หรือ SDK (เอส ดี เค) เครื่องมือที่เอาไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพิเคชั่น ของ OS Mobile (โอ เอส โมบาย) นั้นๆโดยเฉพาะ อาทิ Android (แอนดรอยด์) ใช้ Android SDK (แอนดรอยด์ เอส ดี เค), IOS (ไอ โอ เอส) ใช้ Objective c (ออปเจคทีฟ ซี), Windows Phone (วินโดว์ โฟน) ใช้ C# (ซีฉาบ) เป็นต้น

Hybrid Application (ไฮบริด แอพพลิเคชั่น) คือ Application ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ ที่ต้องการให้สามารถ รันบนระบบปฏิบัติการได้ทุก OS โดยใช้ Framework (เฟรมเวิร์ก) เข้าช่วย เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกระบบปฏิบัติการ

Web Application (เว็บ แอพพลิเคชั่น) คือ Application ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อเป็น Browser (บราวเซอร์) สำหรับการใช้งานเว็บเพจต่างๆ ซึ่งถูกปรับแต่งให้แสดงผลแต่ส่วนที่จำเป็น เพื่อเป็นการลดทรัพยากรในการประมวลผล ของตัวเครื่องสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ทำให้โหลดหน้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานผ่าน อินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ในความเร็วตํ่าได้

เป็นอย่างไรบ้างครับ พอจะเห็นถึงความหมายและความแตกต่างในด้านการใช้งานของแอพและโปรแกรมแล้วหรือยังครับ หวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์สำหรับคุณผู้อ่านนะครับ

Native Application คือ การพัฒนา Application ตาม Platform ใด Platform หนึ่ง โดยแต่ละ Platform จะมีรูปแบบการพัฒนา และมีชุดคำสั่งในการพัฒนาที่แตกต่างขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของ Platform นั้น ๆ

Application เหล่านี้ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นมา เพื่อให้สามารถโต้ตอบกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้ สามารถเพิ่มหรือปรับแต่งคุณสมบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก เพื่อให้มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

IOS

สำหรับระบบปฏิบัติการ IOS ได้แก่ iPhone, iPad หรือ Apple Watch จะใช้ภาษา Object C หรือ Swift ในการพัฒนาระบบ โดยใช้โปรแกรม XCode เป็น Tool ช่วยในการพัฒนา

Platform IOS พัฒนาด้วยภาษา Object C / Swift และใช้ XCode ในการพัฒนา

Android

สำหรับระบบปฏิบัติการ Android ได้แก่ มือถือ Android รุ่นต่าง ๆ หรือ Android Smartwatch จะใช้ภาษา Java หรือ Kotlin ในการพัฒนาระบบ โดยใช้โปรแกรม Android Studio เป็น Tool ช่วยในการพัฒนา

Platform Android พัฒนาด้วยภาษา Java / Kotlin และใช้ Android Studio ในการพัฒนา

Window Phone

สำหรับระบบปฏิบัติการ Window สำหรับมือถือ Window Phone จะใช้ภาษา C# ในการพัฒนาระบบ โดยใช้โปรแกรม Visual Studio เป็น Tool ช่วยในการพัฒนา

Platform Window Phone พัฒนาด้วยภาษา C# และใช้ Visual Studio ในการพัฒนาข้อดีของ Native Application
  • การทำงานของ Application ค่อนข้างเร็วกว่า Application ประเภทอื่น ๆ
  • ตัว Application สามารถใช้งานใน mode offline ได้
  • การปรับแต่งหน้าจอของ Application สามารถกำหนดได้เองตามความต้องการ
  • อัตราส่วนของภาพในหน้าจอ (UI) ของ Application จะถูกรักษาไว้ให้คงที่อยู่เสมอ
  • สามารถใช้งานชุดคำสั่งต่าง ๆ สำหรับ Platform นั้น ๆ ได้อย่างครบถ้วน
  • สามารถใช้งานความสามารถของอุปกรณ์ได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น การเรียกใช้งานกล้อง เข็มทิศ และอื่น ๆ
  • สามารถนำขึ้นให้ผู้ใช้โหลดจาก AppStore หรือ Play Store ได้
ข้อเสียของ Native Application
  • โดยทั่วไป Application เหล่านี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่
  • ตัว Application สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการเดียวกันเท่านั้น (หากไม่ได้มีจุดประสงค์ที่สร้างขึ้นมาสำหรับระบบอื่น ๆ)
  • ต้องพัฒนาแยกกันในแต่ละ Platform คือ ถ้าต้องการมี Application บน iOS, Android, Window Phoneจะต้องพัฒนาแยกกัน
  • มีต้นทุนในการพัฒนาสูง เนื่องจากต้องใช้จำนวนคนและระยะเวลาในการพัฒนามาก
  • ต้องการการปรับปรุง หรือบำรุงรักษามากกว่า เมื่อเทียบกับ Application รูปแบบอื่น ๆ

Native Application เหมาะสำหรับการพัฒนา Application ที่ต้องการใช้ความสามารถของตัวเครื่องให้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น feature ต่าง ๆ ของเครื่อง หรือการจัดการบริหารจัดการหน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาเกมส์ หรือ Application ต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องใช้ความเข้าใจถึงรูปแบบการทำงานของระบบปฏิบัติการของผู้ผลิตแต่ละรายว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ดังนั้นการจะเลือกพัฒนา Application แบบ Native ต้องคำนึงถึงความต้องการต่าง ๆ ของ Application เป็นหลักว่าคุ้มค่าที่ต้องพัฒนาแบบ Native Application หรือไม่

Hybrid Application

Hybrid Application เป็น Application รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยที่การพัฒนาตัว Hybrid Application นั่นจะมีความเหมือน หรือใกล้เคียงกับ Web Apps เป็นอย่างมาก ก็คือการใช้ HTML, CSS, JavaScript ในการพัฒนา ทำงานร่วมกับ Component ที่ทำให้ Application สามารถเรียกใช้งานความสามารถของฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ได้ เช่น การใช้งานกล้อง หรือเข้าถึงพื้นที่ที่จัดเก็บรูปภาพของเครื่อง เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังสามารถนำไปให้ผู้ใช้โหลดจาก AppStore หรือ Play Store ได้เหมือนกับ Native Application กล่าวคือ Hybrid Application สามารถพัฒนาได้ง่ายเหมือน Web Application แต่สามารถใช้งานได้เหมือน Native Application ทำให้เกิดความง่าย และยืดหยุ่นในการพัฒนา Application มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานได้โดยไม่ใช้อินเตอร์เน็ต แม้ว่าคุณสมบัติที่ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมดไม่ถูกทำงานก็ตาม

ในปัจจุบันมี Framework ในการพัฒนา Application แบบ Hybrid Application อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น Flutter, PhoneGap, Ionic, Framework7 หรือ React Native

ตัวอย่างรายชื่อ Framework ที่ support ในการพัฒนาในรูปแบบ Hybrid Applicationข้อดีของ Hybrid Application
  • พัฒนาด้วย HTML, CSS และ JavaScript ทำให้การพัฒนามีความง่าย และเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วสำหรับมือใหม่
  • พัฒนาเพียงครั้งเดียว สามารถนำไปใช้ได้หลาย Platform ทั้ง iOS, Android และ Window Phone
  • ใช้ต้นทุนในการพัฒนาน้อยกว่า Native Application
  • สามารถเข้าถึงการใช้งาน API แบบดั้งเดิมได้
  • มีการปรับปรุงและดูแลรักษาที่ทำได้ง่ายกว่า Application รูปแบบอื่น ๆ
ข้อเสียของ Hybrid Application
  • การทำงานช้ากว่า Native Application ค่อนข้างมาก
  • หน้าจอ (UI) มีการแสดงผลที่ไม่สอดคล้องกันสำหรับทุกระบบปฏิบัติการ
  • ประสิทธิภาพในการทำงานจะน้อยกว่า Native Application
  • บางกรณีอาจจะไม่สามารถใช้งานความสามารถของอุปกรณ์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัยขึ้นอยู่กับ Framework ที่เลือกในการพัฒนาว่ามี Component ที่ต้องการใช้งานหรือไม่
  • ประสบการณ์ของผู้ใช้งานไม่ดีเท่าการใช้งานแบบ Native Application

Hybrid Application จึงมีความโดดเด่นในเรื่องของการพัฒนาที่ทำได้ง่ายและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อพัฒนาเสร็จสามารถใช้งาน Cross-Platforms นั่นคือพัฒนาครั้งเดียว แต่สามารถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานในหลาย ๆ Platforms ได้ แต่เมื่อถ้าเป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว หรือการใช้งาน Feature เพื่อติดต่อกับส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์จะยังมีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าการพัฒนาในรูปแบบ Native Application ในลักษณะการทำงานแบบอย่างอยู่ดี

ดังนั้นการจะเลือกพัฒนา Application แบบ Hybrid จึงต้องคำนึงถึงรูปแบบในการพัฒนาว่าต้องการความรวดเร็วและง่ายต่อการพัฒนาหรือไม่ อีกทั้งการพัฒนาในรูปแบบนี้ยังตอบโจทย์การใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือเปล่า

รูปอธิบายความแตกต่างระหว่าง Native Application กับ Hybrid ApplicationWeb Application

Web Application เป็นการพัฒนา Application ขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเว็บไซต์ ซึ่งก็คือ ต้องการอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึง โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางการให้บริการแบบ World wide web (www) สิ่งที่ต้องมีในการใช้งาน Web Application ก็คือ Browser

ปัจจุบัน Browser มีให้บริการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Google Chrome, Firefox, Internet Explorer (IE), Microsoft Edge, Safari, Opera และอื่น ๆ

ตัวอย่าง Browser ที่ให้บริการในปัจจุบัน ใช้สำหรับการเข้าถึง Web Applicationข้อดีของ Web Application
  • มีความคุ้มค่ามากในการพัฒนา เพราะสามารเข้าถึงผ่านการให้บริการแบบ World wide web (www) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันทั่วโลก
  • สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่และรองรับการใช้งานผ่านในทุกอุปกรณ์
  • สามารถพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีหลักที่เป็นมาตรฐาน เช่น HTML, CSS และ JavaScript ซึ่งทำให้เป็นเรื่องง่ายในการพัฒนา
  • สามารถปรับแต่งการแสดงผล และการใช้งาน Web Application ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
ข้อเสียของ Web Application
  • จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้ใช้งาน Web Application ได้
  • มีการทำงานที่ค่อนข้างช้ากว่า Native Application ที่ถูกติดตั้งมาในเครื่อง
  • มีขนาดไฟล์ใหญ่กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Application แบบอื่น ๆ
  • ฝั่ง User ที่ใช้งาน ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บน Web Application ได้

Web Application จึงเหมาะกับองค์กรขนาดเล็กเพราะมีค่าใช้จ่ายต่ำ และคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนการใช้งานจริง ทำให้การใช้งานในองค์กรทำได้ง่าย เพียงแค่มี Web Browser ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ปัจจุบันแทบทุกเครื่องก็ใช้งานได้ มีการจัดเก็บข้อมูลที่เดียว ทำให้ง่ายต่อการจัดการและไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล อีกทั้งยังสะดวกในการใช้งาน อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้เพราะสามารถ Login เข้าใช้งานได้เลยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม และไม่ต้องมีบุคคลากรด้านเทคนิคเป็นของตัวเอง เพราะมีผู้ให้บริการดูแล Server และ Maintenance ให้เองทั้งหมด

ดังนั้นการจะเลือกพัฒนา Application แบบ Web ต้องคำนึงถึงงบประมาณของบริษัท และจุดประสงค์ในการใช้งานว่าต้องการความเงียบง่ายในการจัดการเพียงใด

รูปแสดงความแตกต่างของ Structured และการประมวลผลของ Application แต่ละประเภท

หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะ สำหรับคนเริ่มเขียน Apps เป็นของตัวเองสักตัว หรือคนที่กำลังเริ่มศึกษาการเขียน Apps นะครับ

การพัฒนาแอปแบบ native คืออะไร

Native App คือ การพัฒนาแอพลิเคชั่นที่ใช้รูปแบบการพัฒนาและชุดคำสั่งต่าง ๆ ตามที่ผู้พัฒนาอุปกรณ์ได้จัดทำขึ้น เช่น iOS สำหรับ iPhone, iPad, Apple Watch จะใช้ภาษา Object C หรือ Swift โดยการพัฒนาจะต้องใช้โปรแกรม XCode. Android จะใช้ภาษา Java และใช้โปรแกรม Android Studio ในการพัฒนา

แอ ป พลิ เค ชัน มี 2 ประเภท อะไร บ้าง

แอปพลิเคชันบนมือถือแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Native Application, Hybrid Application และ Web Application.

การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์พกพาแบบ Native Application หมายถึงอะไร

Native App คือ การพัฒนาแอพลิเคชั่นที่ใช้รูปแบบการพัฒนาและชุดคำสั่งต่าง ๆ ตามที่ผู้พัฒนาอุปกรณ์ได้จัดทำขึ้น เช่น – iOS สำหรับ iPhone, iPad, Apple Watch จะใช้ภาษา Object C หรือ Swift โดยการพัฒนาจะต้องใช้โปรแกรม XCode. – Android จะใช้ภาษา Java และใช้โปรแกรม Android Studio ในการพัฒนา

Native App Hybrid App Web App ต่างกันอย่างไร

แล้วหลักมันต่างกันอย่างไร? แอปพลิเคชันแบบ Native นั้น ต้องพัฒนาขึ้นมาเฉพาะ โดยสร้างขึ้นมาแยกกันระหว่างระบบปฏิบัติการ iOS และ Android แต่แอปพลิเคชันแบบ Hybrid ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในกรอบที่ทำให้สามารถทำงานได้ทั้งบนเครื่องที่ใช้ iOS และ Android.