ภาษาใด ไม่ปรากฏ ในการค้นหาด้วย opac

OPAC หรือ Online Public Access Catalog ระบบสืบค้นหนังสือในห้องสมุดผ่านทางคอมพิวเตอร์

  1. ชื่อผู้แต่ง (author) โดยถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ค้นหาโดยใช้นามสกุล (Lastname) เช่น John David ต้องใช้คำค้นว่า "David John" หรือ "David" แต่ถ้าชื่อผู้แต่งเป็นชาวไทยให้ค้นหาโดยใช้ชื่อ (Firstname) เช่น สมชาย ต้นตระกูล (Somchai Tontrakul) ต้องใช้คำค้นว่า "สมชาย" สำหรับหนังสือที่เป็นภาษาไทย หรือ "Somchai" สำหรับ หนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อหนังสือ (title) สามารถค้นหาได้จากชื่อเรื่องเลย ซึ่งค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีนี้ต้องทราบชื่อเรื่องมาก่อน
  3. หัวเรื่อง (subject) ค้นหาได้จากหัวเรื่องที่ปรากฏอยู่ในบทความหรือหนังสือนั้น ๆ ซึ่งบางห้องสมุดจะกำหนดหัวเรื่องเป็นภาษาไทย และบางห้องสมุดก็กำหนดไว้เป็นภาษาอังกฤษ
  4. คำสำคัญทั่วไป (words / keyword) คำทุกคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่องหรือบทความเรื่องนั้น ๆ การค้นในกรณีนี้เป็นการค้นที่ไม่ทราบชื่อเรื่องที่แน่ชัด เป็นการค้นหาโดยอิสระและไม่มีการควบคุมคำศัพท์และสามารถนำคำเชื่อมเช่น AND, OR, NOT มาใช้เชื่อมคำเพื่อให้ได้การค้นหาที่แม่นยำขึ้น
  5. หมายเลขเรียกหนังสือ (call number) ต้องทราบมาก่อนว่าระบบห้องสมุดที่เราค้นหานั้นมีการจัดระบบห้องสมุดแบบใด ซึ่งห้องสมุดแต่ละที่จะมีการจัดระบบไม่เหมือนกัน การค้นด้วยเลขเรียกหนังสือ จะใช้ในกรณีที่ทราบเลขเรียกหนังสือ ของห้องสมุดนั้น ๆ และต้องการค้นหารายละเอียดอื่นๆ เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ ฯลฯ หรือต้องการทราบเลขเรียกหนังสือที่กำหนดโดยห้องสมุดอื่นที่มีเล่มซ้ำกัน

4.การสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค(OPAC)

ภาษาใด ไม่ปรากฏ ในการค้นหาด้วย opac

การสืบค้นสารนิเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในทุกวงการ และในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการค้นหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งสารนิเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย ทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว

การสืบค้นสารสนเทศจากเว็บโอแพค
ในอดีตเครื่องมือที่ช่วยค้นที่ห้องสมุดทั่วไปนิยมใช้ คือ บัตรรายการ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสรเทศให้บัตรรายการอยู่ในหน้าจอคอมพิวเตอร์และสามารถสืบค้นหาวัสดุในเรื่องที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งยังค้นในเวลาเดียวกันได้ทีละหลายคน โปรแกรมจัดเก็บและค้นคืนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า “ระเบียนสาธารณะที่เข้าถึงได้ทางออนไลน์”หรือเรียกสั้นๆว่า โอแพค


โอแพค (OPAC) มาจากคำเต็มว่า Online Public Access Catalog เป็นรายการทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุดที่บันทึกอยู่ในรูปแบบที่อ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (MARC : Machine Readable Catalog) หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นบัตรรายการที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ซีดีรอม ฯลฯ ที่มีให้บริการในห้องสมุด โดยมีระบบการจัดการฐานข้อมูล ช่วยผู้ใช้ให้สามารถค้นหาทรัพยากรได้ง่าย รวดเร็วและตรงตามความต้องการมากขึ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดการค้นเช่นเดียวกับการค้นจากบัตรรายการ การค้นเมนูชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ค้นด้วยคำสำคัญเดียวกันอาจได้สารนิเทศเกือบทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญนั้น ๆ OPAC เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มมีใช้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษทำให้ไม่ต้องใช้บัตรรายการค้นหาทรัพยากรสารนิเทศทีละประเภทเหมือนแต่ก่อนในปัจจุบันผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น สามารถค้นจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใด ๆ ในโลกที่เชื่อมต่อกับระบบ Internet ได้ ก็สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวไป ผู้ค้นไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปตรวจสอบถึงห้องสมุด และยังสามารถเข้าใช้บริการ OPAC ของห้องสมุดอื่นๆได้ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ โดยไม่ต้องเป็นสมาชิก

ระบบโอแพค (OPAC)ใช้ประโยชน์ในการค้นคืนสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างไร
1.ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว โดยสืบค้นจากคอมพิวเตอร์แทนบัตรรายการ
2. นอกจากใช้สำหรับค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศแล้วยังสามารถใช้ในการตรวจสอบข้อมูลการยืมของตนเองได้อีกด้วย
3. ค้นหาบทความจากวารสารที่มีให้บริการในห้องสมุด

ทำไมต้องสืบค้น OPAC
- เพื่อทราบว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการหรือไม่
- เพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศก่อนตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
- เพื่อทราบเลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศก่อนที่จะไปหาตัวเล่มบนชั้น
- เพื่อใช้บริการอัตโนมัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้แก่ การจอง การยืมต่ออัตโนมัติ การตรวจสอบข้อมูลการยืม และการรวบรวมรายการบรรณานุกรม

จะใช้ OPAC ได้ที่ใด
สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการภายในห้องสมุด หรือสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเข้าใช้จากเว็บไซต์ของสำนักหอสมุดกลางhttp://lib.swu.ac.th หรือเข้าถึงหน้า OPAC โดยตรงได้ที่ http://library.swu.ac.th

เป็นการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศทั่ว ๆ ไป ซึ่งจัดกลุ่มตามหมวดหมู่เลขเรียกหนังสือ (Call Number) ปี (Year) รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศ (Format) หัวเรื่อง (Topic) เป็นต้น 

ภาษาใด ไม่ปรากฏ ในการค้นหาด้วย opac

2. การสืบค้นแบบง่าย (Basic Search)

การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแบบง่าย สามารถสืบค้นได้เพียง 1 เขตข้อมูล เช่น ค้นด้วยเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (Title) เขตข้อมูลผู้แต่ง (Author) และเขตข้อมูลหัวเรื่อง (Subject) เป็นต้น โดยกำหนดคำค้นลงในช่องสืบค้นและเลือกเขตข้อมูลที่เหมาะสมในการค้นหา

ภาษาใด ไม่ปรากฏ ในการค้นหาด้วย opac

3. การสืบค้นแบบขั้นสูง (Advance Search)

การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศแบบขั้นสูง สามารถใช้สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศได้ครั้งละหลายเขตข้อมูล หมายความว่าสามารถใช้คำค้นได้มากกว่า 1 คำ หรือต้องการระบุการค้นที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น

– ใช้คำค้นได้มากกว่า 1 คำ

– ใช้เขตข้อมูลสืบค้นได้ครั้งละหลายเขตข้อมูล เช่น ใช้เขตข้อมูลชื่อเรื่องและชื่อผู้แต่งในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ

– ใช้เพื่อจำกัดการสืบค้นข้อมูล เช่น จำกัดการสืบค้นด้วย เลขเรียกหนังสือ รูปแบบทรัพยากรสารสนเทศ ปี และหัวเรื่อง หรือเลือกช่วงเวลาการสืบค้น เช่น ปี 2010-2012 เป็นต้น