Ruk com hosting ดี ไหม

สำหรับคนที่คุ้นชินกับวงการ Hosting นั้นก็อาจเคยได้ยินชื่อของ Ruk-Com กันมาอยู่บ้างในฐานะของหนึ่งในผู้ให้บริการ Web Hosting ที่มีชื่อเสียง และคราวนี้ Ruk-Com เองก็ได้เปิดตัวบริการ Cloud Platform-as-a-Service (PaaS) ให้เราได้ใช้งานกัน ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai ก็เห็นว่าค่อนข้างน่าสนใจเพราะในไทยเองก็ยังไม่ค่อยมีผู้ให้บริการรายใดที่เริ่มให้บริการในรูปแบบ PaaS กันซักเท่าไหร่ และเราเองก็ได้ทดลองใช้งานจริงกับบริการ Ruk-Com Cloud PaaS กันแล้ว ซึ่งก็ถือว่ามีจุดที่ชอบและใช้งานสนุกอยู่พอสมควร ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามกันในรีวิวนี้ได้เลยครับ

Platform-as-a-Service (PaaS) คืออะไร? ต่างจากบริการ Cloud อื่นๆ อย่างไร?

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาการรีวิวใช้งานจริงของ Ruk-Com Cloud PaaS สำหรับท่านไหนที่ยังไม่รู้จักแนวคิดแบบ PaaS ก็สามารถอ่านในส่วนนี้ก่อนได้ครับ แต่ใครที่รู้จักอยู่แล้วก็ข้ามไปได้เลย

โดยทั่วไปแล้วบริการ Cloud ที่เรามักจะพบเห็นกันในไทยนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Infrastructure-as-a-Service (IaaS) คือกลุ่มที่ให้บริการในส่วนของ Compute/VM, Cloud Storage และอื่นๆ ซึ่งเราต้องทำการติดตั้ง Software ที่เราอยากใช้งานลงไปเอง และทำการตั้งค่าด้านการเชื่อมต่อแต่ละส่วนของระบบเข้าด้วยกันเอง

  • Software-as-a-Service (SaaS) คือกลุ่มที่ให้บริการในแบบ Software ที่พร้อมให้ผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องมีการติดตั้ง Software ใดๆ อย่างเช่น บริการ Cloud ERP, CRM หรือระบบซอฟต์แวร์ทางบัญชี เป็นต้น

ที่ผ่านมากลุ่ม Software Developer เองนั้นจึงมักมีทางเลือกแค่การใช้งาน IaaS และทำการติดตั้ง Software อื่นๆ เข้าไปเพื่อเตรียม Environment นั้นๆ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานหรือรันโค้ดภาษาต่างๆ ที่ตนเองพัฒนาขึ้นมาหรือปรับแต่งต่อยอดจากโครงการ Open Source และ Software อื่นๆ ได้ ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาด้านความคล่องตัวที่ Software Developer ต้องมาเตรียม Technology Stack ที่ตนเองต้องการใช้งานทุกครั้ง ซึ่งก็อาจเกิดความผิดพลาดหรือเสียเวลาในการทำงานได้มากทีเดียว

Platform-as-a-Service หรือ PaaS คือบริการ Cloud อีกแบบหนึ่งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่าง IaaS และ SaaS กล่าวคือบริการ Cloud PaaS นี้จะทำการจัดเตรียมระบบให้พร้อมใช้งานจนถึงระดับของ Environment ของระบบเลย ทำให้ Software Developer นั้นสามารถเลือกได้ว่าอยากใช้ Environment แบบใด รองรับภาษาไหน ติดตั้ง Software อะไรมาให้ใช้งานได้เลยล่วงหน้า หรืออาจจะมาในรูปแบบของการรองรับ Container/Kubernetes ก็ได้ จากนั้นจึงค่อยทำโค้ด ข้อมูล หรือ Container ที่ตนเองต้องการเสริมหรือใช้งานติดตั้งลงไป เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

ปัจจุบัน PaaS นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะช่วยประหยัดเวลาให้กับ Software Developer ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ Software Developer ได้เริ่มต้นศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยที่ต้องเสียเวลาในการจัดเตรียม Infrastructure มากอย่างแต่ก่อน

Ruk-Com Cloud PaaS: บริการ PaaS ในเมืองไทย รองรับการ Deploy ระบบ Cluster ได้หลากหลายรูปแบบ ปรับแต่งได้อย่างอิสระ

Ruk-Com Cloud PaaS นี้เป็นบริการ PaaS ที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์การใช้งานของ Software Developer โดยเฉพาะ  ซึ่งเบื้องหลังของระบบนั้นก็คือเทคโนโลยีของ Jelastic PaaS โดยมี Data Center/Region ให้เลือกใช้ด้วยกันได้ถึง 4 ประเทศ ได้แก่ Thailand (ตั้งอยู่ที่ CSL), Singapore, Japan และ France

ในการทดสอบครั้งนี้ ทีมงาน TechTalkThai ได้ทำการสมัคร Account เพื่อทดลองใช้บริการฟรีที่ https://app.manage.ruk-com.cloud/ โดยเมื่อสมัครเสร็จแล้ว ก็จะได้รับ Email แจ้งว่าสามารถเข้าไปทำการทดสอบระบบได้ ซึ่งเราต้องเข้าไปทำการ Activate Account และตั้งรหัสผ่านให้เรียบร้อยเสียก่อน

Ruk com hosting ดี ไหม

เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว เราก็จะสามารถสร้าง Environment ขึ้นมาได้ถึง 3 ชุดในการทดสอบ พร้อมทรัพยากรส่วนอื่นๆ ให้พอเริ่มต้นทดลองใช้งานจนเห็นภาพได้ และมี IP จริงให้เราลองเข้าระบบที่เราสร้างขึ้นมาได้ 1 เบอร์ โดยในการสร้างระบบขึ้นมาใช้งาน เราสามารถเลือกทำได้ 3 วิธีการ ได้แก่

Ruk com hosting ดี ไหม

  • New Environment สร้างระบบขึ้นมารองรับการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ หรือใช้ Docker/Kubernetes

  • Import นำ .json, .cs, .yml, .yaml ที่มีอยู่มาใช้ในการ Deploy ระบบ

  • Marketplace เลือกสร้าง Cluster หรือติดตั้ง Software Open Source ต่างๆ ให้เป็นระบบสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน

เมื่อเรากดที่ปุ่ม New Environment เราก็จะพบกับหน้าจอที่ให้เราเลือกส่วนประกอบต่างๆ ของ Technology Stack ที่เราต้องการสำหรับภาษาหรือ Docker/Kubernetes ตามที่เราอยากใช้ ซึ่งตรงนี้เราจะสามารถเลือกได้ว่าระบบที่เราจะสร้างขึ้นมาจะมีส่วนประกอบอะไรบ้าง (ได้แก่ Load Balancer, Application Server, Cache, SQL Database, NoSQL Database, Storage, VPS) และแต่ละส่วนจะใช้ Software อะไร รุ่นไหน และใช้ Disk เท่าไหร่ รวมถึงเลือก CPU/RAM ที่ต้องการได้จากการกำหนดปริมาณ Cloutlet ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่าง CPU 400MHz และ RAM 128MiB ได้ว่าจะใช้กี่ Cloudlet ในแต่ละส่วนของระบบ พร้อมประเมินค่าใช้จ่ายรายชั่วโมง/รายวัน/รายเดือนมาให้เสร็จสรรพ

Ruk com hosting ดี ไหม

Ruk com hosting ดี ไหม

เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถกดสร้างระบบขึ้นมาได้ทันที ตรงนี้อาจใช้เวลาซักพักในการรอให้ระบบเตรียม Environment ให้เราเสร็จ ซึ่งพอระบบเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถคลิกที่ปุ่ม Open in Browser เพื่อเขาไปดูผลลัพธ์ของระบบ Web Application ที่ถูกติดตั้งขึ้นมาได้เลย

Ruk com hosting ดี ไหม

สำหรับแต่ละส่วนประกอบย่อยภายในระบบ เราก็สามารถ SSH เข้าไปจัดการภายในเครื่องได้ด้วยการกดที่ปุ่ม Web SSH หรือถ้าไม่ถนัดใช้ CLI ก็สามารถคลิกที่ปุ่ม Config เพื่อ Browse เข้าไปตาม Directory ภายในเครื่องนั้นๆ และจัดการแก้ไขไฟล์ที่ต้องการได้ ซึ่งจริงๆ เท่านี้ก็ถือว่าช่วยให้ติดตั้งระบบต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อทำงานได้สะดวกขึ้นพอสมควรแล้ว หรือถ้าอยากต่อ SFTP เข้าไปอัปโหลดไฟล์ ก็เพียงแค่อัปโหลด Public Key ลงไปเท่านั้น

Ruk com hosting ดี ไหม

Ruk com hosting ดี ไหม
Ruk com hosting ดี ไหม

ทั้งนี้ภายในระบบเองก็ยังมีเครื่องมือเพื่อให้เราจัดการกับแต่ละเครื่องที่มีอยู่ได้อย่างง่ายดาย เช่น การกำหนด Firewall Rule, การจัดการแก้ไข Custom Domain และ SSL, ระบบ Monitoring, การย้ายระบบข้าม Region, การตรวจสอบ Log, การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน, การติดตั้ง Add-on เพื่อให้ทำงานง่ายขึ้น และอื่นๆ

ส่วนใน Marketplace นั้นก็จะเป็นระบบที่มีความสำเร็จรูปมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเมื่อเราคลิกที่ปุ่ม Marketplace แล้ว เราก็จะเห็นรายชื่อของ Application และ Cluster ที่พร้อมติดตั้งโดยอัตโนมัติให้ใช้งานได้ทันทีอยู่หลายรายการ ทำให้เราไม่ต้องลง Application หรือ Software นั้นๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งในส่วนนี้จะมี Software ที่น่าสนใจมากมาย ทั้ง WordPress, Drupal, Joomla, Magento, Node-RED, Jira, Jitsi, Jenkin, Plesk, MySQL, MariaDB, PostgreSQL, MongoDB และอื่นๆ อีกมากมายให้เลือกใช้งานได้เลย

Ruk com hosting ดี ไหม

Ruk com hosting ดี ไหม

เมื่อเราเลือกได้แล้วว่าอยากติดตั้งระบบอะไร เพียงแค่กดที่ปุ่ม Install ระบบก็จะแสดงหน้าจอการตั้งค่าเบื้องต้นมาให้ทันที เมื่อเลือกออปชันต่างๆ เสร็จเรียบร้อยและกดยืนยัน ระบบก็จะทำการติดตั้งส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องให้ทั้งหมด เราเพียงแค่รอเท่านั้น โดยตัวอย่างที่ทดสอบนี้ก็คือการติดตั้ง Auto-Scalable Magento Cluster สำหรับกรณีที่ธุรกิจอยากสร้างระบบ E-Commerce ของตนเองที่รองรับผู้ใช้งานจำนวนมากได้นั่นเอง

หลังจากรอจนระบบติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะแจ้ง User/Password และ URL สำหรับเข้าไปบริหารจัดการระบบ จากนั้นเราก็จะเข้าไปจัดการทำสิ่งต่างๆ ภายในระบบได้ เหมือนการติดตั้งในแบบ New Environment เช่นกัน และก็จะเห็นได้ว่าระบบมีการเชื่อมต่อกันให้เรียบร้อย ทำงานทดแทนกันได้ และตั้งค่าในส่วนของการทำ Auto-Scaling มาให้ด้วย ซึ่งถ้าเป็นระบบประเภท Content Management System หรือ CMS เราก็แทบไม่ต้องทำอะไรอีก แค่ Login เข้าไปที่หน้าบริหารจัดการในหน้าเว็บ และเริ่มจัดการกับ Content ภายในเว็บได้เลยครับ ถือว่าสะดวกมากๆ

Ruk com hosting ดี ไหม

Ruk com hosting ดี ไหม

ทั้งนี้เนื่องจากระบบทดสอบนี้ไม่ได้ให้ทรัพยากรมาเยอะมากนัก และไม่ได้เปิดให้เราใช้งานได้ทุกฟีเจอร์ ดังนั้นตอนทดสอบเราอาจไม่สามารถติดตั้ง Cluster บางประเภทได้ครับ

Ruk-Com Cloud PaaS เหมาะกับใคร?

สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักๆ ของ Ruk-Com Cloud PaaS ก็จะเป็นกลุ่มของ Software Developer ในทุกขนาด ตั้งแต่ Freelance, บริษัทขนาดเล็ก ไปจนถึงธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการลดเวลาในการเตรียม Environment ทั้งสำหรับการ Dev/Test และระบบ Production นั่นเอง ด้วยจุดเด่นที่ระบบสามารถเตรียม Cluster ที่รองรับโค้ดได้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็น Java, PHP, Ruby, .NET, Node.js, Python, Go ไปจนถึงการใช้ Docker และ Kubernetes ครบถ้วนกันเลยทีเดียว แถมไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งในส่วนของ Load Balancer/Proxy, Cache และ Database ด้วยตัวเองอีกด้วย เพราะระบบทำให้หมดเลย

ในขณะเดียวกัน สำหรับ Software Developer ที่อิงกับโครงการ Open Source อย่างเช่น WordPress, Drupal, Joomla, Magento ก็สามารถเลือก Deploy ระบบเหล่านี้ได้เลย ซึ่งบางระบบจะสามารถเลือกสร้างเป็น Cluster ที่สามารถทำ Auto-Scaling สำหรับรองรับงานที่ต้องการรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากเป็นบางช่วงจังหวะได้ดี รวมถึงยังมีโครงการอื่นๆ ให้เลือกใช้ได้อย่างเช่น Node-RED, Jira, Jitsi, Jenkin, Plesk และอื่นๆ ให้ใช้งานได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ Ruk-Com Cloud PaaS ก็ยังรองรับการสร้าง Cluster ของระบบ Database ได้ ไม่ว่าจะเป็น MySQL, MariaDB, PostgreSQL และ MongoDB ดังนั้นจึงสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับงานขนาดใหญ่ได้

อีกส่วนหนึ่งที่ถือว่าดีก็คือการที่ Ruk-Com Cloud PaaS เปิดให้เรา SSH เข้าไปที่แต่ละส่วนของระบบได้ด้วยตนเอง เพื่อเข้าไปทำการตรวจสอบแก้ไขปัญหา ปรับแต่งเชิงประสิทธิภาพการทำงาน และการอัปเดต Patch ต่างๆ ทำให้เรายังคงสามารถควบคุม Environment ของระบบในเชิงลึกได้ตามต้องการ แต่สามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการติดตั้งระบบที่มีความซับซ้อนลงได้มากทีเดียว

สรุปข้อดีข้อเสีย

ข้อดี
  • ใช้งานง่าย มีระบบให้เลือกใช้ภายในได้หลากหลาย

  • ถือว่าเป็นมิตรสำหรับคนที่เคยต้องติดตั้งระบบแต่ละส่วนด้วยตนเองมาก่อน ปรับแต่งค่าของแต่ละส่วนในระบบที่เราติดตั้งเองได้

  • สำหรับมือใหม่ การใช้ Ruk-Com PaaS อาจทำให้เห็นภาพการทำงานเป็นระบบแต่ละส่วนรวมกันมากขึ้น และเริ่มต้นเรียนรู้ Software ใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องพะวงกับเรื่องทางด้าน Infrastructure มากนัก

  • เลือกติดตั้งระบบแบบเป็น Cluster ได้โดยไม่ต้องตั้งค่าใน Infrastructure เองให้ยุ่งยาก ถือว่าสะดวกสำหรับ Software Developer ที่อยากมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องโค้ดเป็นหลัก

  • รองรับ Docker/Kubernetes ได้

ข้อเสีย
  • หน้าจออาจดูไม่ทันสมัยมาก แต่พอคุ้นเคยแล้วก็ใช้งานได้ง่าย

  • ต่างจากบริการ Public Cloud อื่นๆ ค่อนข้างมาก แต่ก็ดีกว่าในแง่ที่มีบริการสำเร็จรูปให้เลือกใช้ได้แบบไม่สับสน ไม่ต้องเรียนรู้เยอะว่าอันไหนคืออะไร

  • ระบบทดสอบให้ทรัพยากรมาเพียงพอสำหรับการทดสอบเท่านั้น ดังนั้นเวลาติดตั้งระบบใดๆ ก็อาจต้องรอซักหน่อย

ทดลองใช้งานบริการ Ruk-Com Cloud PaaS ได้ฟรี 15 วัน

อ่านรีวิวจบกันไปแล้ว ถ้าใครสนใจอยากทดลองใช้งานบริการ Ruk-Com Cloud PaaS ก็สามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานได้ทันทีที่ https://ruk-com.cloud โดยจะสามารถใช้งานได้ 15 วัน ก่อนระบบจะแจ้งให้ทำการอัปเกรด Account ไปเป็นแบบเสียเงินใช้งานถ้าหากต้องการใช้งานต่อครับ

ติดต่อทีมงาน Ruk-Com ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อทีมงาน Ruk-Com ได้ทันทีที่อีเมล์ [email protected] โทร 02-1054385 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Ruk-Com ได้ทันทีที่ https://ruk-com.cloud