นิติบุคคลตามกฎหมายไทยมีกี่ประเภท

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

นิติบุคคลตามกฎหมายไทยมีกี่ประเภท

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • About me

สารบัญ

ประเภทของนิติบุคคล

ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจว่านิติบุคคลคืออะไรนั้น เราควรจะต้องมาเข้าใจก่อนว่านิติบุคคลนั้นมีกี่ประเภท ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  2. นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น

นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นมีบัญญัติเอาไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น คือ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น พระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติสหกรณ์ เป็นต้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : พระราชบัญญัติมหาชนจำกัด

ในบทความนี้เราจะขออธิบายนิติบุคคลหลักๆดังนี้ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจว่านิติบุคคลคืออะไร และนิติบุคคลแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน / ห้างหุ้นส่วนจำกัด คืออะไร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ห้างหุ้นส่วนแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนสามัญมีดังนี้

  1. คือสัญญาของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่สามารถทำมาหาได้
  2. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในตัวหนี้ทั้งหมดของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด อันนี้จะเป็นข้อเสียอย่างมากของการเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญเนื่องจากหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัด กล่าวคือหากดำเนินธุรกิจไปแล้วมีหนี้สินต่างๆเกิดขึ้นและตัวห้างหุ้นส่วนสามัญไม่มีเงินมาใช้นี้ คุณในฐานะหุ้นส่วนก็จะต้องนำเงินส่วนตัวมาร่มรับผิดชอบใช้หนี้ด้วยอย่างไม่จำกัด
  3. ต้องมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทย่อยคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน (หมายถึงไม่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ห้างหุ้นส่วนสามัญประเภทนี้จะมีสถานะเหมือนกับบุคคลธรรมดาดังนั้นรูปแบบในการเสียภาษีจึงเสียตามอัตราก้าวหน้าในรูปแบบบุคคลธรรมดาและไม่ต้องนำส่งงบการเงิน อีกประเภทหนึ่งคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (หมายถึงจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ห้างหุ้นส่วนสามัญประเภทนี้จะมีสถานะเหมือนกับนิติบุคคล ดังนั้นรูปแบบการเสียภาษีจึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องนำส่งงบการเงินให้ถูกต้องตามกฎหมาย

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด มีดังนี้

  1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีสถานะเป็นนิติบุคคล
  2. คือสัญญาของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่สามารถทำมาหาได้
  3. หุ้นส่วนจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด และหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด โดยตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด อันนี้จะเป็นข้อเสียอย่างหนึ่งของการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากต้องมีอย่างน้อย 1 คนที่เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด (หุ้นส่วนผู้จัดการ) ซึ่งจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัด กล่าวคือหากดำเนินธุรกิจไปแล้วมีหนี้สินต่างๆเกิดขึ้นและตัวห้างหุ้นส่วนสามัญไม่มีเงินมาใช้นี้ คุณในฐานะหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดก็จะต้องนำเงินส่วนตัวมาร่มรับผิดชอบใช้หนี้ด้วยอย่างไม่จำกัด สำหรับหุ้นส่วนที่รับผิดจำกัดจะรับผิดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
  4. ต้องมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  5. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องนำส่งงบการเงินตามกฎหมาย
  6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล

ศึกษาเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมได้ที่ : ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร

บริษัทจำกัด คืออะไร

บริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับบริษัทจำกัดมีดังต่อไปนี้

  1. บริษัทจำกัดจะมีสถานะเป็นนิติบุคคล
  2. ผู้ถือหุ้นจะต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป มากระทำการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่สามารถทำมาหาได้
  3. ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ) อันนี้จะเป็นข้อที่ดีอย่างมากของการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด/บริษัทมหาชนจำกัดครับ เพราะหากดำเนินธุรกิจไปแล้วมีหนี้สินต่างๆเกิดขึ้นและตัวบริษัทไม่มีเงินมาใช้นี้ ผู้ถือหุ้นก็ไม่จำเป็นต้องนำเงินส่วนตัวมาชดใช้เนื่องจากรับผิดจำกัด
  4. การดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดจะดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วน
  5. บริษัทจำกัดจะต้องนำส่งงบการเงินตามกฎหมาย
  6. บริษัทจำกัดจะเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล

บริษัทมหาชนจำกัด คืออะไร

บริษัทมหาชนจำกัด ถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (ไม่ใช่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว สามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ และประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวันผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์ 

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับบริษัทมหาชนจำกัดมีดังต่อไปนี้

  1. บริษัทมหาชนจำกัดจะมีสถานะเป็นนิติบุคคล
  2. ผู้ถือหุ้นจะต้องมีอย่างน้อย 15 คนขึ้นไป มากระทำการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่สามารถทำมาหาได้
  3. ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ)
  4. การดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัดจะดูมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในบรรดานิติบุคคลทั้งหมด
  5. บริษัทมหาชนจำกัดจะต้องนำส่งงบการเงินตามกฎหมาย
  6. บริษัทมหาชนจำกัดจะเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล

เปรียบเทียบนิติบุคคลแต่ะละประเภทในแง่มุมต่างๆ

ผมได้ทำตารางสรุปเปรียบเทียบนิติบุคคลประเภทต่างๆมาให้เพื่อให้ดูง่ายๆดังนี้นะครับ

นิติบุคคลตามกฎหมายไทยมีกี่ประเภท

ท่านใดตัดสินใจแล้วว่าจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : จดทะเบียนนิติบุคคลต้องรู้อะไรก่อนบ้าง

นิติบุคคลตามกฎหมายไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน คือ นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่.
บริษัทจำกัด.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด.
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน.
มูลนิธิ.

ประเภทของนิติบุคคลคืออะไร

ประเภทของธุรกิจ แบบนิติบุคคล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัดครับ

นิติบุคคลตามกฎหมายคืออะไร

นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุนเพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ ...

องค์กรนิติบุคคล มีอะไรบ้าง

ประเภทของนิติบุคคล นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นมีบัญญัติเอาไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น