โครงข่ายโทรคมนาคม มีอะไรบ้าง

โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ที่มีการใช้งานอยู่ปัจจุบัน 2 ประเภท คือ โครงข่ายให้บริการเสียงพูด (Voice Network) และ โครงข่ายเพื่อให้บริการข้อมูล ( Data Network ) เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาดในการให้บริการโทรคมนาคมที่ต้องการความรวดเร็ว รวมทั้งการดูแลบำรุงรักษาโครงข่ายชนิดต่างๆ ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง และ เป็นการยากที่จะสร้างบริการใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และ เพียงพอ ดังนั้นจึงได้เกิดโครงข่ายใหม่ที่รวมเอา Voice Network และ Data Network เข้าด้วยกัน จึงเกิด Next Generation Network (NGN)หรือ เรียกว่า Voice Data Convergence ไปในทิศทางเดียวกัน คือ สามารถทำงานร่วมกันได้ เสมือนโครงเป็นโครงข่ายเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ง่ายต่อการดูแลบำรุงรักษา ลดค่าใช้จ่าย และ รองรับการพัฒนาบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้อย่างรวดเร็วทันใจ และ รองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และ ความต้องการการใช้ในอนาคตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของ Multimedia Traffic บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทางด้านสถาปัตยกรรม

โครงข่ายโทรคมนาคม มีอะไรบ้าง
โครงข่ายใหม่ เพื่อให้เกิดการบริการที่หลากหลาย มีการควบคุมจากศูนย์กลาง โดยให้โครงข่ายอยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุด หรือ เรียกว่า Edge Switch การรวมโครงข่ายในลักษณะนี้ทำให้เกิดการลดต้นทุนให้ต่ำลง เพื่อทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารการจัดการโครงข่าย


ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิด NGN
องค์ประกอบที่ทำให้เกิดโครงข่าย NGN ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยของข้อมูล 5 กรณีได้แก่

1. การเพิ่มขึ้นของข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย โดยการเพิ่มขึ้นในด้านปริมาณ และ ประเภทของการบริการ ดังนั้น โครงข่าย NGN สามารถรองรับแบนวิดท์ (BandWidth) ที่มากขึ้น และ ประเภทที่เกิดขึ้นทั้ง เสียง วีดีโอ และ ข้อมูล

2.ระดับความต้องการบริการที่หลากหลาย (Multiple Degrees Services Aspects) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้งานในด้านข้อมูล จากการใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงข่าย LAN และ อินเตอร์เน็ต ดังนั้นโครงข่ายโทรคมนาคมจึงมีความจำเป็นในการเตรียมขีดความสามารถในการรองรับความต้องการดังกล่าว เช่น การกำหนดให้มีการรับประกันคุณภาพบริการในหลายระดับ (Multiple – Class Of Quality Of Services : QOS) การมีระดับการรับประกันความปลอดภัยของข้อมูล (Security Insurance Levels) และ การกำหนดขอบข่ายการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ (Ranges Of Mobility) ซึ่ง โครงข่าย NGN มีความสามารถในการตอบสนองลักษณะดังกล่าวได้ โดยการรวมเอา IP Technology และ ATM Technology ซึ่งเป็นทางออกของความต้องการดังกล่าว ดังนั้นผู้ใช้บริการจำเป็นต้องรองรับความต้องการดังกล่าว

3. จำนวนปริมาณข้อมูลประเภท Packet เพิ่มมากขึ้นจากลักษณะเดิมโครงข่ายของเสียง (PSTN) จะรองรับการให้บริการนำเสียง และ ในด้านของข้อมูลนั้น (Packet Switching) โครงข่าย IP Network และ ATM Network จะให้ประสิทธิภาพมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติที่ส่งข้อมูลที่เป็น Packet มากกว่า และ มีความเร็วสูง เนื่องจากอุปกรณ์ปลายทาง ในปัจจุบันสามารถทำงานได้สูงมาก (Tb/s)

4. การพัฒนาที่ก้าวหน้าของเทคโนโลยี IP , ATM และ Voice Over Packet Networkเนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาตราฐานการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ ระหว่าง ผู้ผลิตอุปกรณ์ กับ การพัฒนาเทคโนโลยี Voice Packet Network เช่น VoIP , VoATM , VoDSL , VoIP mobile.

เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่

เขียนโดย สุพัตรา ทองทัพ. จำนวนผู้ชม: 9618

เทคโนโลยีโทรคมนาคมสมัยใหม่   ที่น่ารู้


               เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมกำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่ง การสื่อสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก มีการให้บริการระบบสื่อสารสมัยใหม่อยู่มากมาย เทคโนโลยีเหล่านี้จึงได้รับความสนใจ

 

1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication) เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดิน แห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้ การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณ ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมสามดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้านมหาสมุทร อินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ

โครงข่ายโทรคมนาคม มีอะไรบ้าง

2. การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง (fiber optic) เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ในภายท่อ แก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งแสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว

โครงข่ายโทรคมนาคม มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้งใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ

3. โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN) ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิ ทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล การสื่อสารโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเน้นการประยุกต์ใช้งาน หลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่นในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ ใช้ส่งโทรสาร ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ การดำเนินการเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมกันบนสายสื่อสารเดียวกัน โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลควรได้รับการพัฒนา โดยวางโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงต่างๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น

4. ระบบเครือข่ายสวิตชิง (switching technology) ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยนำ แสงในการส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต ต่อวินาที เอทีเอ็มสวิตชิงจึงเป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรอง รับการใช้งานแบบสื่อประสม ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มใช้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงภาย ในองค์กรของตนเอง และมีแนวโน้มการขยายตัวเพื่อรองรับระบบนี้สำหรับเครือข่ายระยะไกลในอนาคตต่อ ไป

5. ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system) หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellular phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซลเหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณพื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้าง เคียง โดยที่สัญญาณสื่อสารไม่ขาดหาย

โครงข่ายโทรคมนาคม มีอะไรบ้าง

6. ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที ระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน