ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

    หนึ่งบทมีสองบาท บาทละ 11 คำ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 ทิ้งสัมผัสวรรคที่ 4 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายบาทแรกของบทต่อไป ดังตัวอย่าง

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

กวีอาจเพิ่มความไพเราะของกาพย์ยานีด้วยการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 ก็ได้

เรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 พร้อมเคล็ดลับการแต่งกาพย์แบบง่ายดาย

Areeya.w

  • กาพย์ยานี 11, กาพย์ยานี 11 คืออะไร, การแต่งกาพย์, ภาษาไทย

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

สารบัญ

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทเรียนภาษาไทยที่ได้ทั้งสาระความรู้ และความสนุกไปพร้อม ๆ กัน เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนคงเคยได้อ่านหรือได้เรียนเกี่ยวกับการแต่งกาพย์กลอนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ‘กาพย์ยานี 11’ และต้องบอกว่ากาพย์ชนิดนี้มีวรรณคดีหลาย ๆ เรื่องที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ หรือเราเองก็มักจะได้เริ่มการแต่งกาพย์ชนิดนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ได้กำหนดสระหรือคำเป็นคำตายแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการทบทวน และเพิ่มเติมความรู้ให้กับน้อง ๆ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบของฉันลักษณ์ พร้อมกับให้ดูตัวอย่างของ
กาพย์ยานี 11 ประกอบไปด้วย เพื่อความเข้าใจที่สมบูรณ์ น้อง ๆ จะได้ลองไปแต่งด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนของวันนี้ได้เลย

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

กาพย์ยานี 11 คืออะไร?

กาพย์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง นิยมใช้แต่งบทสั้น ๆ หรือใช้แต่งคำประพันธ์ร่วมกับกาพย์ และฉันท์ประเภทอื่น ๆ เพื่อความไพเราะ  โดยกาพย์ยานี 11 จะมีลักษณะบังคับ หรือโครงสร้างของฉันทลักษณ์ที่เข้าใจง่าย และสามารถเลือกสรรคำมาแต่งได้หลากหลาย เพียงแต่ต้องมีเสียงที่คล้องจองกัน ดังนั้น เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าโครงสร้างฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11 มีรูปร่างหน้าตาประมาณไหน

ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี 11

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

 

องค์ประกอบของกาพย์ยานี 11 ใน 1 บท จะมีแบ่งออกเป็นวรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ รวมเป็น 11 คำ ใน 1 บทจะมี 2 บาท บาทละ 2 วรรค รวมเป็น 4 วรรค ส่วนวิธีสัมผัสจะมีเพียงแค่ 2 คู่ และอาจมีการเชื่อมสัมผัสกับบทถัดไปด้วย โดยจะมีลักษณะของการเชื่อมสัมผัส ดังต่อไปนี้

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

 

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ในบทต้นจะไปสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป และจะสัมผัสแบบเดียวกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งกาพย์ยานีสามารถแต่งให้มีความยาวต่อกันกี่บทก็ได้ไม่จำกัด

ตัวอย่างการแต่งกาพย์ยานี 11

 

ธรรมชาติแมกไม้งาม             มองฟ้าครามในยามเย็น

ต้องตาทุกคราเห็น                 คงไว้เป็นเช่นภาพฝัน

ออกเที่ยวเลี้ยวลัดเลาะ          มองหมู่เกาะอัศจรรย์

ความสุขเปี่ยมอนันต์              เพียงเราได้ออกเดินทาง

จะเห็นว่าในแต่ละวรรคจะมีการสัมผัสกันหลัก ๆ อยู่เพียง 2 คู่ อย่างคำว่า “งาม” ที่ไปสัมผัสกับคำว่า “คราม” คำว่า “เย็น” ในวรรคที่ 2 จะไปสัมผัสกับคำว่า “เห็น” ในวรรคที่ 3 ส่วนคำว่า “ฝัน” ในวรรคที่ 4 ก็จะไปสัมผัสกับคำว่า “อัศจรรย์” ในวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

บทส่งท้าย

จบไปแล้วสำหรับเนื้อหาการเรียนรู้เรื่องกาพย์ยานี 11 หวังว่าหลังจากเรียนจบบทเรียนวันนี้ไปแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ สามารถเข้าใจ และแต่งกาพย์ยานี 11 ได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคือน้อง ๆ ต้องหมั่นเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยใหม่ ๆ ด้วย จะได้เลือกใช้คำได้หลากหลายขึ้น ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่จุใจอยากจะเรียนรู้เรื่องนี้เพิ่มเติม หรือทบทวนอีกก็สามารถเข้าไปดูครูอุ้มสอนได้ที่คลิปด้านล่างนี้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี     ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (1)

ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (1) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ เป็นเพราะว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยสัญลักษณ์ เหตุผล เเละการคำนวณ ซึ่งคณิตศาสตร์เเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คือ คณิตศาสตร์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยไม่ได้นำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ใด ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คือ คณิตศาสตร์ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์ต่าง ๆ หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม คณิตศาสตร์การคลัง โดยทักษะเเละกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่บทความนี้จะนำเสนอคือ การบวกกันของตัวเลขที่น่าสนใจ น้อง

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

  คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย     คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

“อัตราส่วน คือ ปริมาณ อย่างหนึ่งที่แสดงถึง จำนวน หรือ ขนาด ตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีก ปริมาณ หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน ที่อาจมีได้ตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป”

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

การใช้ V. to be ร่วมกับ Who/ What/Where และ Like +V. infinitive

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to be + ร่วมกับ Who/ What/Where + -Like + infinitive ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สับสนบ่อย แต่ที่จริงแล้วง่ายมากๆ ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go ความหมาย    Verb to be

ฉันท์ชนิดใดมีความคล้ายคลึงกับกาพย์ยานี11

อินทรวิเชียรฉันท์ มีความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์ มีข้อบังคับ ครุและลหุ หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์

กาพย์ยานี 11 มักใช้แต่งเกี่ยวกับสิ่งใด

กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานี หรือ กาพย์ยานี ๑๑ คือ กาพย์ ชนิดหนึ่ง มีคำ ๑๑ คำในหนึ่งบาท จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ นิยมใช้ในการเล่าเรื่อง ในหนังสือประเภทคำกาพย์ ร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือในหนังสือประเภทคำฉันท์ ร่วมกับกาพย์และฉันท์ชนิดอื่นๆ ในยุคปัจจุบัน นิยมแต่งกาพย์ยานีเป็นบทสั้นๆ โดยไม่ได้ร้อยกับฉันทลักษณ์ประเภทอื่นๆ

บาทโทในกาพย์ยานี 11 ได้แก่วรรคใดบ้าง

คณะ ของกาพย์ยานี มีดังนี้ กาพย์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียก ว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท แต่ละ บาทมี ๒ วรรค คือ วรรคแรก และวรรคหลัง พยางค์ ในแต่ละบาทมี ๑๑ พยางค์ หรือ ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๖ พยางค์ จึงเขียนเลข ๑๑ ไว้หลังกาพย์ยานี

ข้อใดแบ่งจังหวะการอ่านกาพย์ยานี 11 ได้ถูกต้อง

การอ่านกาพย์ยานี 11 มีจังหวะการอ่านวรรคละ 2 จังหวะ คือ วรรคหน้า 5 คำ อ่าน 2 / 3 // วรรคหลัง 6 คำ อ่าน 3 / 3 // เช่น เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน// ทิพากร/จะตกต่ำ//