ตัวอย่างประกาศไม่เป็นทางการ

      เป็นจดหมายที่ติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนราชการหนึ่งกับอีกส่วนราชการหนึ่ง หรือติดต่อสื่อสารกันในระหว่าง กระทรวง ทบวง กรม กอง เดียวกัน รวมทั้งติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานเอกชนต่างๆ ด้วย จดหมายที่ติดต่อกับหน่วยงานนอกกระทรวง เรียกว่าหนังสือภายนอก ส่วนจดหมายที่ติดต่อภายในหน่วยงาน เรียกว่าหนังสือภายใน จดหมายราชการถือเป็นเอกสารหลักฐานในการทำงานของรัฐ จึงต้องมีเลขที่ออกหนังสือ และมีทะเบียนรับส่งหนังสือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเป็นภาษาระดับทางการ

ประกาศมีความสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจธุระ  การงานของบุคคลทั่วไปเพราะในบางครั้งไม่สามารถติดต่อกันด้วยวิธีการสนทนา  ดังนั้น การเขียนประกาศจึงเข้ามามีอิธิพลมากขึ้น  การศึกษาเรียนรู้เรื่องการเขียนประกาศและสามารถเขียนประกาศได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

การเขียนประกาศ

การประกาศ คือ การทำให้สาธารณชนทราบขาวสารเรื่องเดียวกันอย่างแพร่หลาย โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศสาธารณะ ข่าวสารนั้นอาจเป็นเพียงแจ้งให้ทราบ หรือแจ้งให้ทราบแล้วให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติ เช่น ประกาศนามนักกีฬาดีเด่นประจำปี ประกาศแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เหล่านี้เป็นประกาศเพียงแจ้งให้ทราบ ส่วนประกาศรับสมัครงานผู้ประสงค์จะสมัครงานจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในประกาศ ประกาศให้รางวัลผู้นำของหายมาคืน ผู้ที่พบของหายและประสงค์จะได้รับรางวัลก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบตามประกาศ ประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ ประชาชนที่เกี่ยวข้องก็ต้องสำเนียก ปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยของตนเอง

ประกาศอย่างเป็นทางการ และประกาศอย่างไม่เป็นทางการ

โดยทั่วไปประกาศอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ประกาศอย่างเป็นทางการ และประกาศอย่างไม่เป็นทางการ ประกาศอย่างเป็นทางการ มักจะเป็นประกาศขององค์การและหน่วยงานราชการต่างๆ ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้ คือ

1. ชื่อหน่วยงานหรือองค์การที่ออกประกาศ

2. เรื่องที่ประกาศ

3. เนื้อความที่ประกาศ ซึ่งมีอย่างน้อย 2 ส่วน คือ

– เหตุผลหรือความเป็นมา

– จุดประสงค์สำคัญซึ่งมีทั้งรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งขั้นตอนในการปฏิบัติ

4. วันเดือนปีที่ประกาศ

5. ลงนามผู้ออกประกาศ

ประกาศอย่างไม่เป็นทางการ มักเป็นประกาศส่วนบุคคล มีแต่เนื้อหาที่สำคัญ หรือบางทีก็มีแต่จุดประสงค์ที่สำคัญ ดังที่เราเห็นปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นประจำ

ควรสังเกตด้วยว่า ประกาศเป็นการสื่อสารประเภทที่มีข้อจำกัดอยู่อย่างหนึ่ง คือ ผู้ประกาศส่งสารไปยังผู้รับแล้ว ถ้าผู้รับสารไม่เข้าใจข้อความตอนใด ก็ไม่สามารถสอบถามผู้ออกประกาศได้สะดวกนัก

ข้อใดเป็นประกาศอย่างเป็นทางการ

ประกาศอย่างเป็นทางการมักจะเป็นประกาศขององค์การและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ประกอบด้วยส่วนสาคัญต่อไปนี้ คือ ๑. ชื่อหน่วยงานหรือองค์กรที่ออกประกาศ ๒. เรื่องที่ประกาศ ๓. เนื้อความที่ประกาศซึ่งมีอย่างน้อย ๒ ส่วน คือ - เหตุผลหรือความเป็นมา

ประกาศมีอะไรบ้าง

ประกาศแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ประกาศทั่วไปและประกาศตามแบบราชการ ๑. ประกาศทั่วไป คือประกาศที่ไม่ใช่รูปแบบตามแบบราชการ เขียนขึ้นเพื่อแจ้งข่าวสาร ให้ผู้อื่นทราบ เช่น ประกาศของหาย ประกาศพบของหาย ประกาศรับสมัครงาน ประกาศขายสินค้า ประกาศขอขมา

ประกาศทางการคืออะไร

๑. ประกาศอย่างเป็นทางการ เขียนตามแบบแผนที่ทางราชการกำหนด อาจมีจุดประสงค์เพื่อบอกกล่าว ให้ปฏิบัติ เพื่อห้าม เพื่อเตือน เพื่อนัดหมาย เชิญชวน ตัวอย่าง ประกาศอย่างเป็น ทางการ

การเขียนประกาศต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ประกาศเป็นการสื่อสารใช้ที่เผยแพร่ได้กว้างขวาง คือให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่าน การออกประกาศมักมาจากผู้บังคับบัญชาการใช้ภาษาในการประกาศทั่วๆไป ไม่ใช้ข้อความยาวๆ หรือละเอียดซับซ้อนเพราะไม่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจน มีเหตุผล ไม่ห้วน ไม่กระด้างจนเกินไป ควรใช้ตัวอักษรหรือสีที่สะดุดตา ...