ความร่วมมือระดับภูมิภาค คือ

ตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ทำหน้าที่ประสานงาน และให้ข้อมูลแก่องค์กรภายในของเอเปค รวมทั้งให้บริการแก่สาธารณชนเกี่ยวกับข้อมูลเอเปค นอกจากนี้ สำนัก เลขาธิการฯ ยังมีหน้าที่ประสานและจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเอเปคด้วย

ภูมิหลัง

เอเปค (APEC)  เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจ (economy) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกแรกเริ่มของเอเปคตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ปัจจุบันมีสมาชิกเอเปค รวมทั้งสิ้น 21 สมาชิก ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ ไทย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จีนไทเป เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เปรู เวียดนาม และรัสเซีย เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและพลวัตรของการเจริญเติบโตสูงสุดของโลก กลุ่มสมาชิกเอเปคมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) รวมกันกว่า 19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของ โลก มีสัดส่วนการค้ากว่าร้อยละ 41 ของมูลค่าการค้าโลก และสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งหมด

วัตถุประสงค์

-ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เห็นความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือและพึ่งพากันทางเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่นยืนของภูมิภาคและของโลก และเพื่อให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในการเจรจาการค้าพหุภาคี ผู้นำเอเปคได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน โดยพิจารณาจากความแตกต่างของระดับการพัฒนาของสมาชิก ตั้งแต่สมาชิกที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สมาชิกที่มีศักยภาพเศรษฐกิจปานกลาง เช่น สาธารณรัฐเกาหลี จีน จีนไทเป และสมาชิกกำลังพัฒนาเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ เป้าหมายของเอเปคคือ เป้าหมายโบกอร์ ที่สมาชิกเอเปคเห็นชอบในระหว่างการประชุมผู้นำฯ ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2537 ที่จะให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกำลังพัฒนาได้มีระยะเวลาเพียงพอ ในการเตรียมความพร้อมและสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและทรัพยากรภายในของตน เพื่อรองรับการเปิดเสรี

**ในบริบทของเอเปคจะใช้คำว่า “เขตเศรษฐกิจ (economy)” แทนคำว่า “ประเทศ” เนื่อง จากสมาชิกของเอเปคสองราย คือ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และจีนไทเป มิได้มีสถานะเป็นประเทศ แต่ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกในฐานะที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความ สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

กลไกการทำงานของเอเปค

สมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ จะผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค รวมทั้งดำรงตำแหน่งประธานการประชุม (APEC Chair) ในแต่ละปี เขตเศรษฐกิจใดที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมจะดำรงตำแหน่งประธานการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting – ALEM) การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting - AMM) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (Senior Officials Meeting - SOM) และการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) ที่จะมีขึ้นในระหว่างปีนั้นด้วย

แบ่งการดำเนินงานออกเป็นสองระดับได้แก่ 1) ระดับนโยบาย และ 2) ระดับปฏิบัติ

1. ระดับนโยบาย

1.1. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting – ALEM) สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคซึ่งเป็นเจ้าภาพจะจัดการประชุมดังกล่าวปีละ 1 ครั้ง โดยจะมีการประกาศนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของเอเปคในปีต่อไปในรูปของปฎิญญาผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Declaration)

1.2. การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting - AMM) รัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีพาณิชย์หรือรัฐมนตรีเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจสมาชิกจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นก่อนการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ที่ประชุมจะทบทวนกิจกรรมของเอเปคตลอดปีที่ผ่านมา และประมวลข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอแนะให้ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

1.3. การประชุมรัฐมนตรีสาขาต่างๆ (Sectoral Ministerial Meeting) จะกำกับดูแลความร่วมมือด้านการศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลัง สาธารณสุข การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โทรคมนาคม และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การค้า คมนาคม กิจการสตรี ฯลฯ

1.4. คณะกรรมการที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) เอเปคซึ่งจะประกอบด้วยตัวแทนนักธุรกิจจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคจำนวนเขตเศรษฐกิจละ 3 คน ทำหน้าที่เสนอมุมมอง และข้อคิดเห็นของภาคธุรกิจเอเปคต่อที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ ในรูปแบบของรายงานปีละ 1 ครั้ง โดยเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจและการลงทุนในภูมิภาค ABAC จะจัดการประชุมภายในกันปีละ 4 ครั้ง

2. ระดับปฎิบัติ

2.1. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting - SOM) ทำหน้าที่ดำเนินการตามบัญชาของรัฐมนตรี โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสจะให้แนวทางแก่คณะกรรมการ คณะทำงานและกลุ่มทำงานต่างๆของเอเปค และรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีและผู้นำเขตเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสจะประชุมกันปีละ 3-4 ครั้ง โดยประธานจะมาจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปีนั้น

2.2. คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือเอเปคด้านการเปิดเสรี และอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน CTI จะดำเนินการเพื่อนำไปสู่การลดอุปสรรคทางการค้า

2.3. คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee - BMC) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านงบประมาณ การบริหารและการจัดการ และทำหน้าที่ติดตามและประเมินการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ของคณะกรรมการ คณะทำงาน และกลุ่มทำงานต่างๆ ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณของเอเปค ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่เจ้าหน้าที่อาวุโสในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของเอเปค

2.4. คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางและประเด็นทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่อยู่ในความสนใจ รวมทั้งด้านการปรับโครงสร้างภายใน ซึ่งเรียกว่าประเด็นหลังพรมแดน (behind border issues) และยุทธศาสตร์ด้านการเจริญเติบโต โดยมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านนโยบายด้านการแข่งขันและกฎหมาย

2.5. คณะกรรมการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Steering Committee on Economic and Technical Cooperation - SCE) ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมายและจัดลำดับของกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค ตลอดจนสนับสนุนการริเริ่มกิจกรรมเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อให้กิจกรรมเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายที่กำหนดโดยรัฐมนตรีและผู้นำ  ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังต่อไปนี้

ระดับคณะทำงาน (Working Groups) ดำเนินงานในสาขาของตนตามที่ได้รับบัญชาจากผู้นำเขตเศรษฐกิจ รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโส เอเปค ซึ่งมีทั้งหมด 12 คณะทำงาน ได้แก่

• คณะทำงานด้านความร่วมมือวิชาการการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation )

• คณะทำงานด้านการต่อต้านการทุจริตและความโปร่งใส (Anti – Corruption and Transparency)

• คณะทำงานด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter Terrorism)

• คณะทำงานด้านการเตรียมการด้านภัยพิบัติ (Emergency Preparedness)

• คณะทำงานด้านพลังงาน (Energy)กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Experts Group on Illegal Logging and Associated Trade)คณะทำงานด้านสุขภาพ (Health Working Group)

• คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development)

• คณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (Oceans and Fisheries)

• คณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises)

• คณะทำงานด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications and Information)

• คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว (Tourism)

• คณะทำงานด้านการคมนาคม (Transportation)

• ระดับกลุ่มทำงานพิเศษ ได้แก่ กลุ่มทำงานพิเศษด้านเหมืองแร่ (Special Task Group on Mining)

• ระดับหุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนใน 3 สาขา ได้แก่

• หุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนด้านการมีส่วนร่วมของสตรีในระบบเศรษฐกิจ (Women and the Economy)

• หุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Science Technology and Innovation)

• หุ้นส่วนเชิงนโยบายภาครัฐและภาคเอกชนด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)

 2.6. กลุ่มความร่วมมือและความริเริ่มอื่นๆ มีบทบาทในการสนับสนุนเป้าหมายของเอเปค ซึ่งมีทั้งที่อยู่นอกเหนือโครงสร้างของคณะกรรมการและคณะทำงานของเอเปคอื่นๆ ได้แก่กระบวนการหารือรัฐมนตรีคลัง (Finance Ministers’ Process) ความร่วมมือระหว่างศูนย์ศึกษาเอเปค (APEC Study Centers Consortium) การหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Business Government Dialogues) และการหารือระดับอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้ดังกล่าวข้างต้น

บทบาทของไทยในเอเปค

ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ไทยได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในจากการเป็นสมาชิกเอเปค โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประชุมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้นำ รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส ตลอดจนการประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญในกรอบความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสให้ไทยเข้าไปผลักดันและร่วมกำหนดทิศทางความร่วมมือ ของเอเปคให้สอดคล้องกับนโยบายของไทย นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเอเปคในการนำไปจัดทำโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อไทยแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกโดยรวมอีกด้วย ที่ผ่านมา ไทยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการจัดทำโครงการในลักษณะดังกล่าวจากเอเปค เฉลี่ยปีละประมาณ 300,000.- ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ไทยต้องเสียค่าสมาชิกให้เอเปค ปีละ 75,000  ดอลลาร์สหรัฐฯ

บทบาทของกรมประมง

ให้ความร่วมมือในการประสานข้อมูล ความคิดเห็นด้านการประมงระดับประเทศทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ และส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมประจำปี คณะทำงานด้านการประมง (Fisheries Working Group) ซึ่งมีบทบาทในการศึกษา วิจัยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในภูมิภาคเอเปค

ความร่วมมือระดับภูมิภาค มีอะไรบ้าง

ข้อมูลความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค : กรอบภูมิภาค.
แผนโคลัมโบ (Colombo Plan) ... .
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ... .
การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting – ASEM) ... .
กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD).

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีอะไรบ้าง

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ.
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC).
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN).
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (ASEAN+3).
ธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EMEAP).
ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA).

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจหมายถึงอะไร

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกัน เพื่อลด หรือยกเลิกข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างกัน ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีศุลกากร การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งระดับของความร่วมมือตามลำดับจากน้อยไปหามาก

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

1) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มี5 ระดับ คือ (1) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) (2) สหภาพศุลกากร (Custom Union) (3) ตลาดร่วม (Common Market) (4) สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) (5) สหภาพเหนือชาติ (Supranational Union)