สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยอะไร

มันเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่ความนิยมของสาวๆ ทุกรุ่น ทุกวัย หลายปีก่อน เราได้รับข่าวสารเกี่ยวกับแอนตี้ออกซิแดนต์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นเหมือนมนตร์วิเศษที่ช่วยกำจัดโรค ขจัดอนุมูลอิสระที่จ้องทำลายดีเอ็นเอในร่างกาย แต่ล่าสุดวงการวิทยาศาสตร์กลับพบว่า มันไม่ได้มีแต่ประโยชน์เท่านั้น หากบริโภคมากไปอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ (หือ?)

นั่นหมายความว่า ต้องรับประทานเกินขนาดจริงๆ สารต้านอนุมูลอิสระถือเป็นสิ่งจำเป็นกับร่างกายค่ะ แต่ไม่วิเศษถึงขนาดที่คุณเคยได้ยินแน่ๆ

ลับสมอง

สารต้านอนุมูลอิสระจะกำจัดสารพิษในสมองที่เป็นสาเหตุของการสูญเสียการเรียนรู้และความจำ และช่วยลดความเสี่ยงโรคความจำเสื่อมและอัลไซเมอร์

ดูแลหัวใจ

มีผลศึกษามากมายพบว่ากินผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นประจำ เช่น หอมใหญ่ ข้าวโพด คะน้า บรอกโคลี ตลอดจนผลไม้เนื้อเหลือง และเหลืองเข้มช่วยลดความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล และการตอบสนองอินซูลิน (ปัจจัยหลักของการเกิดโรคเบาหวาน)

ปกป้องสายตา

ลูทีน หนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระมีหน้าที่ปกป้องดวงตาจากรังสียูวี นอกจากนี้ยังพัฒนาการมองเห็นในที่ที่มีแสงน้อย เพียงแค่บริโภค 20 มิลลิกรัม/วัน (คะน้า 1 ถ้วย) นาน 1 ปี จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ดวงตาทนต่อแสงจ้าได้ดีขึ้น

ชะลออายุผิว

คาเทชิน (พบในชาเขียว) วิตามินซี (พบมากในฝรั่งและมะละกอ) ส่วนวิตามินอี (พบในอัลมอนด์) จะซึมผ่านกระแสเลือดไปยังคอลลาเจนในชั้นผิว ช่วยยับยั้งการก่อตัวของสารเคมีที่เป็นสาเหตุของริ้วรอย

ภูมิคุ้มกันแข็งแรง

หากทานแอนตี้ออกซิแดนต์ที่ได้จากพืชเป็นประจำ จะสามารถยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง ระวัง! อย่ากินอาหารเสริมมากเกินจำเป็น เพราะมันจะรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

อนุมูลอิสระไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เจ้านี่เป็นผลผลิตที่ร่างกายสร้างขึ้นระหว่างออกกำลังกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย กำจัดของเสียออกจากร่างกายภายใน 4 ชั่วโมงหลังออกกำลังกายและเพิ่มประโยชน์ทวีคูณ

บำรุงการสืบพันธุ์

นอกจากจะเป็นเรื่องตลกแล้ว ยังไม่มีการวิจัยชิ้นไหนเชื่อมโยงว่าสารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์แต่อย่างใด

กินเท่านี้ก็เพียงพอ

ปริมาณที่เหมาะสมก็คือผักผลไม้ อย่างผักโขม แบล็กเบอร์รี่ พริกไทย แครอต และมะเขือเทศ 5-9 หน่วยบริโภคต่อวัน

นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidant แล้ว ควรเลือกกันแดดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อการปกป้องผิวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะว่าการปกป้องผิวแค่เพียงภายนอกนั้นไม่พอ

นักวิจัยและแพทย์ผิวหนังพยายามศึกษา วิธีการปกป้องผิวให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และพบว่า การนำสารต้านอนุมูลอิสระมาผสาน รวมไว้กับยูวีฟิลเตอร์ จะช่วยเพิ่มการปกป้องในระดับเซลล์ผิวได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระ จะไปจับอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความรุนแรงจากการที่เซลล์ผิวถูกทำร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การแนะนำผลิตภัณฑ์กันแดดในปัจจุบัน จึงแนะนำให้เลือกชนิดที่มี สารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงผสานอยู่ด้วย เพราะจะช่วยเพิ่มการปกป้องให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นวัตกรรมออกซิแดนท์ ฟิลเตอร์ พัฒนาจาก สารต้านอนุมูลอิสระ ธรรมชาติประสิทธิภาพสูงถึง 2 ชนิด (ลิโคชาลโคน เอและกลีเซอริทิเนท) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพืชลิโคริช(ชะเอม) โดยพืชชนิดนี้ เป็นพืชที่พบได้บนเทือกเขาสูงและต้องเผชิญกับแสงแดด ที่มีปริมาณรังสียูวีที่เข้มมากเป็นพิเศษ

แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) คืออะไร A-C-E เป็นสารอาหารพวกแอนตี้ออกซิแดนท์(Antioxidant) ซึ่งแอนตี้ออกซิแดนท์เป็นสารอาหารที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ เช่น ในผัก ผลไม้ และมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Free Radical) คืออะไร อนุมูลอิสระเป็นส่วนของโมเลกุลซึ่งมีพลังงานสูงและชอบที่จะไปจับคู่ ซึ่งการหาคู่นี้ทำให้เกิดการทำลายอย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น เมื่อหั่นแอปเปิ้ลเป็นชิ้น แล้วใส่จานทิ้งไว้บนโต๊ะโดยไม่มีอะไรปิดสักครู่ เนื้อแอปเปิ้ลก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล หรือถ้าวางแท่นเหล็กไว้กลางฝนก็จะมีสนิมเกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากการทำลายของอนุมูลอิสระนั้นเองที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสของเนื้อแอปเปิ้ล และทำให้เหล็กเป็นสนิม และยังทำอันตรายให้แก่ ร่างกายของเราได้อีกด้วย

อนุมูลอิสระมาจากไหนและมีผลทำลายอะไรบ้างโดยปกติอนุมูลอิสระจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายจากการหายใจจากขบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย ซึ่งเราเรียกว่า ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) จากความเครียดหรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ไอเสีย ของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม สารกันบูดในอาหาร จากยาบางชนิดและรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตในแสงแดด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นที่บริเวณผิวหนัง และทำปฏิกิริยาต่อเซลล์ข้างเคียง ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพหรือตายเร็วกว่าปกติ จึงทำให้แก่ก่อนวัย ถ้ามีอนุมูลอิสระมากจะก่อให้เกิดโรคแห่งความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และต้อกระจกเป็นต้นนอกจากนี้ยังพบว่า คนที่สูบบุหรี่ตากแดดเป็นประจำ และมีความเครียดจะแก่เร็วกว่าวัย ปัจจัยอะไรบ้างที่เร่งการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย

  • การสูบบุหรี่, การดื่มเหล้า และชา กาแฟ 
  • การรับประทานอาหารไหม้เกรียม 
  • ความเครียด 
  • การตากแดดเป็นประจำ 
  • มลภาวะ เช่น การได้รับสารปรอท ตะกั่วจากไอเสียรถยนต์ ยาฆ่าแมลง สารกันบูด 
  • เราสามารถป้องกันตัวเองจากอนุมูลอิสระจากการศึกษาพบว่าอนุมูลอิสระบางชนิดนั้นไม่เป็นอันตรายและเซลล์เม็ดเลือดขาวใช้อนุมูลอิสระเหล่านี้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเซลล์มะเร็ง แต่ถ้ามีอนุมูลอิสระมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการมาก ร่างกายของเราจะผลิตเอน์ไซมบางชนิดซึ่งเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์เอนไซม์เพื่อป้องกันอนุมูลอิสระ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าถึงแม้จะมีการสร้างแอนตี้ออกซิแดนท์ - แอนไซม์ขึ้นก็ไม่เพียงพอ ร่างกายยังต้องการแอนตี้ออกซิแดนท์ซึ่งได้แก่ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอีไบโอฟลาโวนอยด์ และ เกลือแร่เช่น ซีลีเนียม แมงกานีส ทองแดง สังกะสี และโมลิบดินัมอีกด้วย

แอนตี้ออกซิแดนท์มีอะไรบ้างสารอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มของแอนตี้ออกซิแดนท์ มีดังนี้ 

  • วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน (Vitamin A and Beta Carotene) 
  • วิตามินซี และไบโอฟลาวานอยด์ (Vitamin C and Bioflavanoids) 
  • วิตามินอี (Vitamin E) 
  • ซีลีเนียม (Selenium) 
  • สารประกอบอื่น ๆ เช่น โคเอนไซม์คิวสิบ ซีสเตอีน เมลาโทนิน เป็นต้น 

แอนตี้ออกซิแดนท์ อาจใช้สัญลักษณ์ "ACES" ซึ่ง A-C-E ก็เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ประกอบด้วย วิตามินเอในรูปเบต้าแคโรทีน วิตามีนซี และวิตามินอี แอนตี้ ออกซิแดนท์ กับการป้องกันและรักษาโรคทุก ๆ วัน เซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ซึ่งก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ และอวัยวะได้เพราะอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับสารประกอบของเซลล์ร่างกายได้แก่ กรดนิวคลีอิก โปรตีนกรดอะมิโนอิสระ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น ทำให้กลไกต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ

อนุมูลอิสระเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดโรคและความชรา ฉะนั้นเพื่อป้องกันอันตรายจากสารประเภทนี้ จึงมีการทดลองใช้ วิตามินเพื่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เพื่อชะลอความชราและเพื่อลดความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น

บทบาทของแอนตี้ออกซิแดนท์ ต่อโรคมะเร็ง

ขบวนการออกซิเดชั่นสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งและกระตุ้นให้เนื้องอกโตขึ้นได้นอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษาพบว่า อนุมูลอิสระอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากอนุมูลอิสระเป็นสาเหตทำให้เซลล์กลายพันธุ์ และกระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า A-C-E ซึ่งเป็น แอนตี้ออกซิแดนท์สามารถช่วยยับยั้งหรือลด -อัตราการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดได้ เนื่องจาก A-C-E สามารถทำลายอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ทำลายสารก่อมะเร็งได้ 

บทบาทของแอนตี้ออกซิแดนท์ ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจุบันพบว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งจากการศึกษาเชื่อกันว่าอนุมูลอิสระสามารถทำปฏิกิริยากับไขมันในร่างกาย ซึ่งมีอยู่ในรูปของไลโปโปรตีนชนิด LDL (Low Density Lipoprotein ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดี) ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้จากการศึกษาพบว่า A-C-E สามารถลดอุบัติการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดย A-C-E สามารถที่จะยับยั้งการรวมตัวกับออกซิเจนของ LDL ได้ ทำให้ LDL ไม่สามารถจับตัวกับอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้ A-C-E ยังมีผลทำให้ HDL (High Density Lipoprotein ซึ่งเป็นไขมันดี) สูงขึ้นได้ จึงลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ 

บทบาทของแอนตี้ ออกซิแดนท์ ต่อการเสื่อมของเซลล์ (ความชรา) 

จากรายงานพบว่า A-C-E สามารถป้องกันโรคและมีความสัมพันธ์กับความชรา เพราะ A-C-E ซึ่งเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์มีคุณสมบัติบางประการที่สามารถป้องกันผนังเซลล์มิให้ทำปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจนจนเกิดการถูกทำลายได้ ทำให้ไม่เกิดอนุมูลอิสระซึ่งมีผลทำให้สามารถชะลอความเสื่อมและความชราได้ 

ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร

สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยทำให้สารอนุมูลอิสระมีความเสถียร และไม่เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์เนื่องจากสารอนุมูลอิสระมีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่าสารประเภทอื่น ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเซลล์ได้ง่ายกว่าการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งควันบุหรี่และรังสีเป็นตัวกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระ โดยพบว่าอยู่ในรูปของ ...

สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยอะไร ผิว

สารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงแต่ช่วยต่อสู้กับปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของริ้วรอยของอายุเท่านั้น แต่ยังช่วยบรรเทาผิวให้สงบ ช่วยเผยความอ่อนเยาว์ของผิวให้ปรากฎ และช่วยคืนชีวิตชีวาให้กับผิวที่หมองคล้ำด้วย

Antioxidant ตัวไหนดี

Antioxidant 10 ตัวเด็ด สวยจากภายใน ผิวใส ไร้ที่ติ.
2.1) 1.วิตามินซี.
2.2) 2.วิตามินอี.
2.3) 3.กลูต้าไธโอน.
2.4) 4.ALA..
2.5) 5.CoQ10..
2.6) 6.ไลโคปีน.
2.7) 7.บิลเบอร์รี่.
2.8) 8.อะเซโรล่า เชอร์รี่.

สารแอนติออกซิแดนท์ มีอะไรบ้าง

สารต้านอนุมูลอิสระหรือสารพฤกษาเคมี (Phytochemicals) ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงกับความต้องการ เราควรกินผัก-ผลไม้ สีเข้มเป็นประจำโดยล้างให้สะอาดทุกครั้ง นอกจากจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังได้รับใยอาหารด้วย ร่างกายของเราจำเป็นต้อง ...