ประเพณีรด น้ํา ดํา หัวผู้ใหญ่

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะนำวิธีการรดน้ำดำหัวต่อผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถืออย่างถูกต้องกัน และสามารถนำไปบอกลูกบอกหลานในรุ่นๆ ต่อไปได้ เพื่อให้วิถีชีวิตของคนล้านนาที่ดีงามนั้นยังคงอยู่สืบไปโดยไม่ถูกบิดเบือน สุดท้ายนี้ก็ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยตลอดทั้งเทพยาดาทั้งหลาย โปรดจงปกปักรักษาทุกท่านให้แคล้วคลาดปลอดภัยในช่วงวันสงกรานต์นี้ ให้เดินทางไปกลับโดยสวัสดิภาพ และมีความสุขกับครอบครัวมากๆ ในวันสงกรานต์นี้

ประเพณีรด น้ํา ดํา หัวผู้ใหญ่

ประเพณีสงกรานต์รดน้ำดำหัว

ประเพณีรดนํ้าดําหัว เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่แสดงถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือและผู้มีพระคุณ เพื่อแสดงความกตัญญูพร้อมกับการขอขมาและขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสําคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน “การดําหัว” ก็คือการรดนํ้านั่นเองแต่เป็นคําเมืองทางเหนือการดําหัวเรียกกันเฉพาะการรดนํ้าผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง เช่น พ่อเมือง เป็นต้น เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป หรือขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ สิ่งที่ต้องนําไปในการรดนํ้าดําหัวก็คือ นํ้าใส่ขันเงินใบใหญ่ ในนํ้าใส่ฝักส้มป่อยโปรยเกสรดอกไม้และเจือนํ้าหอม นํ้าปรุงเล็กน้อยพร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง การรดนํ้าดําหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จะดําหัวไปด้วย เมื่อขบวนรดนํ้าดําหัวไปถึงบ้าน ท่านเจ้าของบ้านก็จะเชื้อเชิญให้เข้าไปในบ้าน พอถึงเวลารดนํ้าท่านผู้ใหญ่ก็จะสรรหาคําพูดที่ดีที่เป็นมงคลและอวยพรให้กับผู้ที่มารดนํ้าดําหัว ปัจจุบันนี้พิธีรดนํ้าดําหัวในจังหวัดต่างๆ ทางเหนือมักจะจัดเป็นพิธีใหญ่ ในบางแห่งมีขบวนแห่งและมีการฟ้อนรําประกอบ เช่น พิธีรดนํ้าดําหัวในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น

การดำหัวของชาวล้านนาหมายถึงการสระผม ส่วนทางด้านพิธีกรรมหมายถึงการชำระสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นอัปมงคลให้หมดไปด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระชาวล้านนา นิยมจัดพิธีกรรมการดำหัวขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที15เมษายนคือวันพญาวันไปจนสิ้นสุดเดือนเมษายน การดำหัวในเทศกาลสงกรานต์มี 3 กรณี คือการดำหัวตนเอง การดำหัวผู้น้อย และการดำหัวผู้ใหญ่ ซึ่งการดำหัวนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ ผู้เป็นปูชนียบุคคล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวล้านนาได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการดำหัวสมัยโบราณให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนาดังนี้ “สำหรับการดำหัวนั้น นิยมเอาน้ำใส่ขัน คือใส่สลุง เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่ เวลาดำหัวเขาจะเอาไปประเคน คือเอาไปมอบให้ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ที่เราจะไปดำหัวนั้น เขาจะเอามือจุ่มลงในสะหลุงที่มีน้ำขมิ้นส้มป่อยอยู่ แล้วก็เอามาลูบหัวตัวเอง 3 ครั้ง จากนั้นก็เอามือจุ่มน้ำส้มป่อย สลัดเข้าใส่ลูกหลานที่มาดำหัวพร้อมกับอวยพรให้อยู่ดีมีสุข ให้อยู่ดีกินดี เราไม่นิยมเอาน้ำรดมืออย่างของภาคอื่น ซึ่งถือว่าการทำอย่างนั้นเป็นการรดศพมากกว่า
การรดน้ำผู้เฒ่าผู้แก่ล้านนาเราถือกันมาอย่างนี้ เวลาไปดำหัวให้เอาสะหลุง เอาไปประเคนพร้อมกับของกินของใช้ที่เราจะนำไปมอบให้

เรามาพูดถึงการว่าการดำหัวดีอย่างไรการดำหัวมี 2 แบบ แบบหนึ่งก็คือการสระผม คนโบราณบ้านเราเรียกว่าดำหัว มักจะเอาใบหมี่เอามะกรูดมาต้มแล้วก็เอามาสระผม มันจะหอม ไล่ขี้รังแคออกหมด ใบหมี่นี้หอมเป็นสมุนไพรโบราณ การสระผมของคนโบราณเรียกว่าดำหัว เมื่อดำหัวไล่สิ่งที่โสโครกทั้งหลายออกไปจากผมจากตัว แล้วก็จะเช็ดผมด้วยน้ำมันตานี หรือน้ำมันละหุ่ง อบด้วยดอกสะบันงา(ดอกกระดังงา)หรือกระถิน กระแจะจันหอม เป็นสูตรของคนโบราณ

การดำหัวอีกแบบหนึ่งนั้นก็คือ การให้เอาน้ำส้มป่อยไปคารวะท่านผู้เฒ่าผู้แก่ โดยทำเป็น 2 แบบ แบบหนึ่งดำหัวเพื่อขอบคุณ เช่นว่าหมอเขามาเยียวยาเราเยียวยาพ่อแม่เรา สมัยนั้นไม่ได้จ้างกันด้วยเงินแต่พอรักษาเสร็จแล้วพ่อแม่หายคนป่วยหาย ก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อย ข้าวของอะไรที่หาได้ไปขอบพระคุณท่าน การไปขอบพระคุณท่านแบบนี้เรียกว่าการดำหัว เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยไปให้ท่านสระผมสระหัวพร้อมกับคำขอบคุณ เป็นวิธีหนึ่งเรียกว่าดำหัวพ่อเลี้ยงหมอยา ต่อมาการดำหัวอีกแบบนั้น มีเทศกาลสำคัญ เช่นปีใหม่สงกรานต์นี้ ปีหนึ่งลูกหลานจะมารวมกันนำเอาของกินของใช้มาฝากบุพการีพ่อแม่พี่น้องแล้วเอาน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบ น้ำหอม ดอกไม้ของกินของใช้ ไปมอบให้เขา เขาก็จะลูบผมดังที่กล่าวมาในตอนต้นลูบหัว 3 หน แล้วเขาก็จะเอามือจุ่มแล้วสลัดใส่หัวของลูกหลานทุกคนพร้อมกับกล่าวอำนวยอวยพรว่าอยู่ดีมีสุขนะ อยู่ชุ่มเนื้อชุ่มเย็นนะ อยู่ดีสบายให้ได้ร่ำได้รวยนะ แล้วแต่เขาจะอวยพรให้ เพราะฉะนั้น การดำหัวตามที่กล่าวมานั้นจึงเป็นการดำหัวแบบสระผมธรรมดาเป็นการดำหัวตอบแทนคุณพ่อหมออย่างหนึ่งตอบบุญแทน คุณผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ เป็นการคารวะ

ทีนี่มาพูดถึงการดำหัวสำหรับบุพการีดำหัวปีใหม่นี้ที่เรานิยมทำอยู่อย่างนี้เรามีความมุ่งหมายอย่างไรโบราณอาจารย์เจ้าทั้งหลายเขาบอกว่าการดำหัวนั้น มันมีความหมายว่าหนึ่งไปเพื่อตอบบุญแทนคุณพ่อแม่ที่เขาได้เลี้ยงดูเรามาจนเราโตขึ้นมาสามารถทำมาหากินได้มีเหย้ามีเรือนมีงานมีการทำแล้วพ่อแม่อยู่ข้างหลังแก่เฒ่าแล้วเราก็จะได้ไปเยี่ยมเยียนไปกราบด้วยความสำนึกในบุญคุณอย่างหนึ่ง ประการที่สองบางครอบครัวพ่อแม่บางท่านก็ทุกข์ยากลูกหลานไปหาเงินข้างหน้าได้เงินได้ทองมาก็จะซื้อเสื้อผ้าซื้อของกินของว่างมาฝากเขาให้ได้นุ่งได้ถ่ายได้ใส่เสื้อผ้าใหม่ในปีหนึ่ง ก็เป็นวิธีการที่ดี ประการที่สามอีกเป็นการที่ลูกหลานทั้งหลายที่จากบ้าน อื่นเมืองอื่นจากที่ไกลๆที่ตนเองไปหากินอยู่นั้นพาลูกหลานของตนไปกราบไว้บรรพบุรุษไป ไหว้พ่อไหว้แม้แม้กระทั่งไหว้กระดูกพ่อกระดูกแม่เป็นวิธีการที่ดีทำให้ลูกหลานได้รู้จักบุพการี ประการที่สี่นั้นเป็นการรวมพี่รวมน้องลูกนายแก้วกับลูกนายดำอยู่ห่างกัน นายดำอยู่ลำพูนนายแก้วอยู่เมืองฝาง ต่างคนต่างก็มีลูกแล้วได้พาลูกมารู้จักพี่รู้จักน้องกันได้สืบสานร่วมการร่วมงานกัน ประการต่อไปนั้นคือการสืบมรดกทางวัฒนธรรมพ่อแม่เคย ทำดอกทำดวงทำข้าวตอกดอกไม้ ทำธูปทำเทียนทำต้นผึ้งทำอะไรต่างๆนี้ของเครื่องใช้ในการเคารพนับถือนี้ ลูกหลานก็จะได้รับการถ่ายถอดทางบรรพบุรุษ ดังนั้นการดำหัวนี้จึงมีหลายนัยยะแห่งการกระทำที่ดีงามอย่างนี้การดำหัวที่ได้พูดมาเมื่อกี้นั้น ก็ยังมีดำหัวพิเศษต่อไปอีก เช่น ดำหัวกู่ กระดูกของบรรพบุรุษนั้นเรียกว่าดำหัวกู่ หลังจากนั้นก็มีการดำหัวตุ๊หลวง คือว่าดำหัวสมภารเจ้าอาวาส ดำหัวนายอำเภอพ่อแคว่นพ่อกำนันก็คือการไปดำหัวผู้ที่มีอำนาจ ผู้ปกครอง ผู้ที่มีพระคุณแก่เรา การดำหัวจึงเป็นประเพณีที่ดีงามเมื่อไปถึงพร้อมกันแล้วทักทายปราศรัยกันแล้วก็เอาของเข้าประเคน คือเอาของมอบให้ด้วยการเอาน้ำส้มป่อยมารวมกันเข้าไปประเคนวัตถุสิ่งของ ประเคนแล้ว คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าคนอื่นก็จะกล่าวว่านำลูกหลาน เขาพากันมาขอโทษขอโพยมาดำหัวพ่อแม่หรือผู้หลักผู้ใหญ่ เขาก็จะให้พรโดยมากเป็นพรโวหารยาวเป็นที่ประทับใจเรื่องการดำหัวนี้เป็นวิธีการที่เฉลียวฉลาดของนักปราชญ์ล้านนาที่ต้องการโน้มน้าวจิตใจของบรรพชน ไม่เพียงเท่านั้น ยังน้อมจิตใจของอนุชนก็คือลูกหลานสมัยใหม่นี้ให้เห็นดีเห็นงามมีจริยธรรมอันงดงามสืบต่อไปเป็นนิรันดร์ การดำหัวของล้านนาที่ส่งผลให้พบเห็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นคือการแสดงประกอบในขบวนแห่ดำหัวโดยเฉพาะพิธีดำหัวผู้ใหญ่ เช่น พระสงฆ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่่ผู้อาวุโสหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ซึ่งขบวนดำหัวเหล่านี้จะมีการแห่ฆ้องกลองมีการฟ้อนพื้นเมืองการแสดงพื้นบ้านรวมทั้งการรดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ในขบวนนอกจากขบวนแห่ที่แสดงเอกลักษณ์ของชาวล้านนาแล้วยังมีเครื่องดำหัวที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความสามัคคีของหมู่คณะ เนื่องจากจะเป็นการร่วมมือร่วมใจกันจัดทำเครื่องดำหัว ซึ่งประกอบไปด้วยต้นดอก ซึ่งเป็นพุ่มดอกไม้ที่ประกอบด้วยดอกไม้นานาชนิดต้นเทียนที่มีการนำเทียนมาประดับเป็นพุ่มพุ่ม ขี้ผึ้งที่เรียกว่าต้นผึ้งรวมทั้งหมากสุ่ม คือการนำหมากแห้งผ่าซีกมาประดับเป็นพุ่มอย่างสวยงามและหมากเป็งที่นำหมากดิบเป็นลูกๆ มาประดับเป็นพุ่มเพื่อจัดในเครื่องดำหัว ที่มีเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆอีก เช่น น้ำส้มป่อย เครื่องอุปโภคบริโภครวมทั้งผลไม้ตามฤดูกาล โดยนำเครื่องดำหัวที่จัดเตรียมไว้นี้ใส่ลงในเสลี่ยง ซึ่งชาวล้านนาเรียกว่าจองอ้อยเพื่อช่วยกันแบกหามเครื่องดำหัวไปยังที่หมายได้อย่างพร้อมเพรียงกัน พิธีกรรมในการดำหัวถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่บุตรหลานรวมทั้งคนรุ่นใหม่นำไปยึดถือ และปฏิบัติเพื่อเป็นการคารวะ ขอพรให้ตนเองประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองในการดำเนินชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า

ประเพณีรด น้ํา ดํา หัวผู้ใหญ่

**********@@@@@@@@@@**********

ประเพณีรด น้ํา ดํา หัวผู้ใหญ่

คำปั๋นปอนปี๋ใหม่ สำนวนภาษาคำเมือง(ล้านนา)
(พ่อแม่ครูบาอาจ๋ารย์ เวลาลูกหลานมาดำหัว)

เอวัง โหนตุ ดีและ อัจจะในวันนี้ ก็หากเป๋นวันดี ดิถีอันวิเศษเหตุว่าสังขารป ี๋เก่าก็ล่วงป๊นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วพญาวันก็มาจุจอด รอดเถิงแก่บรรดาลูกหลานตังห ลาย บัดนี้หมายมี...(ออกชื่อ).. . เจ้าก็บ่ละเสียยังฮีต บีรีดเสียยังป๋าเวณี เจ้าตังหลาย ก็ยังได้น้อมนำมายังมะธุบุบ ผาลาจาดวงดอกเข้าตอกดอกไม้ล ำเตียน และสุคันโธตะกะ อัมภิโรตะกะ สัปป๊ะวัตถุนานาตังหลาย มาสะมาคาระวะยังต๋นตั๋วแห่ง ผู้ข้า บัดนี้ผู้ข้าก็มีธัมมะเมตต๋ า ปฏิคะหะ รับเอาแล้ว ว่าสันนี้แต๊ดีหลี

แม่นว่าเจ้าตังหลายได้ออกปา กล้ำกำเหลือ ขึ้นตี้ต่ำ ย่ำตี้สูง ปะมาต๊ะ ด้วย ก๋ายะกั๋มมัง วจี๋กั๋มมัง มะโนกั๋มมัง สังจิตจะ อสังจิตจะก็ดี ผู้ข้าก็ขออโหสิกรรม อย่าได้เป๋นนิวรณ์ธรรมกั๋มอ ันแก่กล้าอัน ตัดห้ามเสียยังจั้นฟ้าและเน รปาน แม่นว่าเจ้าตังหลายจักไปจตุ ทิสสะ อัฐฐะทิสสะ วันตกวันออก ขอกใต้หนเหนือ ค้าขายลายล่อง ท่องบ้านแอ่วเมือง และอยู่ยังบ้านจองหอเฮือน ดั่งอั้นก็ดีขอจุ่งหื้อจุ่ม เนื้อเย็นใจ๋ ภัยยะอย่ามี ตึงเมื่อหลับเมื่อตื่น เมื่อยืนเมื่อนั่งเป๋นตี้รั กจ๋ำเริญใจ๋แก่หมู่คนและเตว ดาตังหลาย แล้วจุ่งหื้อก้านกุ่งรุ่งเร ือง ไปด้วยโภคะ ธนะ ธนัง เข้าของเงินคำ สัมปะติตังหลาย แม่นจักกิ๋นก็อย่าหื้อผลาญ แม่นจักตานก็อย่าหื้อเสี้ยง หื้อมีอายุตีฆาหมั้นยืนยาวน ั้น เตี้ยงแต๊ดีหลี

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มาเต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อภิวาทะนะสี ลิสสะนิจจัง วุฒฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฒฑันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง....

รดน้ําดําหัวผู้ใหญ่ วันสงกรานต์ ใช้อะไรบ้าง

สิ่งของที่จะนำไปทำการขอสูมาลาโทษ และขอพรจากผู้สูงอายุ ประกอบด้วย น้ำอบน้ำหอม น้ำส้มป่อย เทียน ดอกไม้ ของขวัญ เงิน หรือของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ผู้ไปดำหัวจะกล่าวคำขอขมาลาโทษ ขอให้อโหสิกรรมให้ และอวยพรให้ท่านประสบแต่ความสุข สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

รดน้ําดําหัวผู้ใหญ่ คืออะไร

การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาลาโทษ พร้อมทั้งรับคำอวยพรเพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิต แต่ประเพณีนี้จะทรงคุณค่าหากคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ปลูกฝังไว้กับเด็กๆ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่สอนให้เด็กๆ รู้จักการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ถือเป็นการสร้างความ ...

สงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่วันไหน

โดยปกติแล้วประเพณี “รดน้ำดำหัว” จะทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ (15 เม.ย.) เพียงวันเดียวหรือ “วันเถลิงศก” ไม่ใช่ว่าจะเลือกทำวันใดก็ได้ แต่ในปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความสะดวกของแต่ละครอบครัว เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่อาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่

ของดําหัว ผู้ใหญ่ มีอะไรบ้าง

สิ่งที่ต้องเตรียมไปในการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ได้แก่ น้ำอบไทย น้ำหอม หรือน้ำส้มป่อย เพื่อนำไปผสมกับน้ำที่จะนำไปรดน้ำผู้ใหญ่ ข้อต่อมาคือเตรียมดอกมะลิ ดอกกุหลาบ หรือดอกไม้อื่นๆ ที่ปลูกอยู่ในบ้านก็ได้ ถัดมาต้องเตรียมขันเงินหรือขันทองเหลือง พานข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน ข้อสุดท้าย คือ เตรียมผ้าตัดเสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าห่มผืนใหม่ ...