สาเหตุปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เด็กและเยาวชนไทยมีค่านิยมที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเน้นทางวัตถุมากกว่าการพัฒนาจิตใจ ก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว การแสดงออกที่ผิดศีลธรรม การเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมถอยทางศีลธรรม เกิดปัญหาสังคม หลายฝ่ายต่างเร่งแก้ไข เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข เป็นสังคมที่มีคุณภาพ มุ่งพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต รักความสามัคคี มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม และมีระบบคุ้มครองทางสังคมที่ดี โดยต่างหวังว่าการศึกษาจะเป็นกระบวนการช่วยสร้างคนให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

คำว่าสังคมนั้น หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงปัญหาสังคมในที่นี้ จึงหมายถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือกลุ่มคนในสังคม ซึ่งมีจุดสนใจแตกต่างอย่างชัดเจน

จากปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น เมื่อกล่าวถึงปัญหาการว่างงานหรือตกงาน โดยลำพังก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ หากปรากฏการณ์นี้ยังไม่ทำให้เกิดความร้าวฉานในครอบครัว ไม่เกิดการปะทะกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง หรือไม่ทำให้บรรทัดฐานความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงเปลี่ยนไป เมื่อกล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยตัวของมันเองก็ไม่ใช่ปัญหาสังคม ดังนั้นการแก้ไขเยียวยา จึงกระทำได้โดยใช้เทคนิควิทยาศาสตร์กายภาพแต่หากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคน ก็จัดได้ว่าเป็นปัญหาสังคมและการแก้ไขนั้นจำเป็นต้องอาศัยมาตรการทางสังคม

ปัญหาระบบกฎหมายไทยก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปัญหาในสังคม เนื่องจากแต่ละประเทศย่อมมีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับระบบกฎหมายแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาในด้านกฎหมายอย่างมาก ก็ยังประสบปัญหากฎหมายต่างๆ เนื่องจากระบบสังคมและวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ในสังคมเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัญหาที่เกิดขึ้นในสมัยหนึ่งได้รับการแก้ไขไปได้ด้วยความเรียบร้อย ต่อมาปัญหาอื่นๆ ก็เกิดขึ้นตามมาอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ในประเทศที่พัฒนาได้วางระบบต่างๆ ของสังคมไว้ดี มีความมั่นคง ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปก็น้อยกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา และปัญหาที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวกับระบบกฎหมายก็ย่อมมีน้อยกว่าเช่นกัน

หาก จะพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในระบบกฎหมายของไทย อาจกล่าวได้ว่าปัญหาต่างๆ เกิดจากตัวกฎหมายอย่างหนึ่งและเกิดจากคนซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายอีกอย่างน้อย  แต่ถ้าพิจารณาลึกลงไปแล้วอาจจะรวมเหลือเพียงปัญหาเดียว คือ ปัญหาเกี่ยวกับคน เพราะตัวกฎหมายเอง ย่อมไม่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยตรง หากคนไม่สร้างกฎหมายขึ้น กฎหมายย่อมจะมีขึ้นมาไม่ได้

ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวกฎหมายเกิดขึ้นเพราะคนสร้างกฎหมายขึ้นมา แล้วไม่เหมาะสมกับสภาพและลักษณะของสังคมหรือแม้ว่าครั้งหนึ่ง อาจจะสร้างกฎหมายที่เหมาะสมกับสภาพในขณะนั้นแต่ต่อมาสภาพของสังคมเปลี่ยน แปลงไปกฎหมายนั้นก็อาจจะไม่เหมาะสมกับสังคมนั้นอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า กฎหมายชราภาพ นั้นเอง

ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวคนอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ผู้ร่างกฎหมายยังไม่มีความรู้ในเรื่องแนวความคิดหลักเกณฑ์ เหตุผลในเรื่องนั้นมากเพียงพอและไม่ได้ศึกษาถึงความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ตลอดจนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิด หลังจากร่างกฎหมายฉบับนั้นได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้คงจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ หรือเมื่อกฎหมายได้ผ่านขั้นตอนของการบัญญัติกฎหมายแล้วแต่ผู้ใช้กฎหมายก่อให้เกิดปัญหา

โดยปกติเมื่อมีการออกกฎหมายในกฎหมายนั้นเองจะระบุว่าเจ้า พนักงานของรัฐ กรมใด กระทรวงใด จะเป็นผู้รักษากฎหมายหรือดูแลบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย หากผู้ดูแลรักษากฎหมายไม่ปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายก็หย่อนคลายความศักดิ์สิทธิ์ คนก็ไม่เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเจ้าพนักงานเอากฎหมายเป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์ส่วนตัว เช่น เรียกสินบน หรือยอมรับสินบนที่เขาให้เพื่อกระทำการหรืองดเว้นกระทำการตามหน้าที่ ก็ย่อมเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดปัญหา

นอกจากนี้ปัญหายังอาจจะเกิดจากประชาชนไม่รู้กฎหมายหรือประชาชนใช้กฎหมายไม่ถูกต้อง  หรือหาช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อเลี่ยงกฎหมาย

ประการสุดท้ายคือ การใช้กฎหมายของผู้พิพากษาในการตัดสินคดี หากแปลกฎหมายไปในทางที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมหรือแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบแล้ว ก็ล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาด้วยกันทั้งนั้น

จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ถ้าสังคมส่วนรวมอยู่ได้ เราซึ่งเป็นสมาชิกหรือส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของสังคมจึงจะอยู่ได้ ในปัญหายังมีคนจำนวนมากที่เห็นแก่ตัว กระทำการใดๆ ในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ ต่อส่วนรวม คนเหล่านี้ขาดความสำนึกว่า ถ้าสังคมส่วนรวมอยู่ไม่ได้แล้วเขาจะอยู่ได้อย่างไร นอกจากจะย้ายไปเป็นสมาชิกของสังคมอื่น ซึ่งไม่แน่ว่าจะสามารถอยู่ในสภาพสังคมใหม่ได้ดีหรือไม่ ทนต่อความกดดัน ความดูถูกดูแคลน ของคนในสังคมนั้นได้เพียงใด หากผู้ที่เห็นแก่ตัวเหล่านั้น ยอมหยุดยั้งมาตั้งต้นใหม่ ยึดหลักสังคมส่วนรวมอยู่ได้แล้ว เราสมาชิกในสังคมจึงจะอยู่ได้ ประโยชน์ส่วนรวมจึงต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว เราจึงต้องช่วยกันสร้างเสริม รณรงค์ให้เกิดความเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนแล้วสังคมไทย ประเทศไทยจึงจะอยู่รอด ด้วยความสงบสุขต่อไป

การแบ่งประเภทของกฎหมาย

หากใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นเครื่องแบ่งแยก เราจะแบ่งประเภทกฎหมายได้เป็น

  1. กฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลโดยตรง
  2. และกฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งกำหนดวิธีการเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิ หน้าที่ ที่เกิดขึ้น

ถ้ายึดเอาลักษณะของนิติสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ ก็สามารถแบ่งแยกประเภท เป็น

  1. กฎหมายมหาชน
  2. และกฎหมายเอกชน

กฎหมายมหาชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับ เอกชน หรือหน่วยงานของรัฐอื่น ในฐานะที่รัฐและหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครอง

กฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ในฐานะที่อยู่ภายใต้การปกครองที่ต่างฝ่ายต่างก็เท่าเทียมกัน

บทบาทของกฎหมายในแง่ของผู้มีอำนาจปกครองประเทศ  

         บทบาทของกฎหมายในแง่ของผู้มีอำนาจปกครองประเทศมีอยู่ 2 ประการคือ

  1. กฎหมายเป็นเครื่องกำกับการใช้อำนาจปกครองให้อยู่ในกรอบแห่งความชอบด้วย กฎหมาย โดยกฎหมายจะกำหนดองค์กร อำนาจหน้าที่ขององค์กร กระบวนการที่องค์กรจะต้องกระทำการ ในแง่นี้ทุกองค์กรในระบอบการเมืองต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
  2. กฎหมายเป็นเครื่องสนับสนุนการใช้อำนาจปกครองที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ เพราะกฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานความประพฤติของคนในสังคม ที่ใช้ได้ทั่วไป กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือและเป็นการแสดงออกซึ่งการใช้อำนาจเพื่อให้ได้ความ ประสงค์ของผู้ปกครองนั้นสำฤทธิ์ผล

บทบาทของกฎหมายในแง่ของประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครอง  

         บทบาทของกฎหมายในแง่ของประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองมี 3 ประการคือ

  1. กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมสังคมและความประพฤติของคนในสังคมให้ปฏิบัติโดยเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน หากไม่ทำก็จะต้องได้รับโทษ
  2. กฎหมายเป็นเครื่องชี้ขาดข้อพิพาทของสมาชิกในสังคมที่แน่นอนทราบได้ล่วงหน้า ไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์ของคน
  3. กฎหมายเป็นเครื่องส่งเสริมและสร้างสังคม ทั้งในแง่เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

กฎหมายปกครองกับการบริหารประเทศ  

กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายมหาชนที่กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารราชการและกำหนดอำนาจให้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เป็นกฎหมายที่ศึกษาและวิเคราะห์ถึงโครงสร้างระบบบริหารราชการและการจัดกลไก ของรัฐ  กฎหมายปกครอง อาจแยกได้เป็น กฎหมายปกครองมหภาค และ กฎหมายปกครองจุลภาค

กฎหมายปกครองมหภาค ได้แก่ การศึกษาของกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ โครงสร้าง กลไก การจัดระบบข้าราชการของรัฐ เป็นต้น

กฎหมายปกครองจุลภาค ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์คำสั่งของฝ่ายบริหาร มติคณะรัฐมนตรี คำวินิจฉัยของคณะกรรมการต่าง ๆ ตลอดจนคำพิพากษาของศาล เพื่อที่จะได้ประเมินผล วิเคราะห์แนวทางการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่และองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดต่าง ๆ ที่รัฐได้ตรากฎหมายจัดตั้งขึ้น

ปัญหาประการหนึ่งของประเทศที่กำลังพัฒนา คือ สภาพโครงสร้างของระบบบริหาร และระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ไม่สามารถพัฒนาและปรับตนเอง ได้ทันกับการผันแปรอย่างรวดเร็วของสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวความคิดของนักกฎหมายซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในองค์กร อยู่สถาบันต่าง ๆ ก็อาจปรับตนเองได้ไม่ทันกาลกับกฎหมายสาขาต่าง ๆ ที่รัฐได้ตราขึ้นมาใช้

ปัญหาระบบกฎหมายในอดีต

สมัยสุโขทัย

ในสังคมสมัยสุโขทัยซึ่งมีระบบการเมืองการปกครองมีขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรม  จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าจะต้องมีวัฒนธรรมในทางด้านกฎหมายปรากฏอยู่  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้นคือศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหง  ซึ่งได้กล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติไทย

กฎหมายสุโขทัยในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งแพร่ขยายมาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในอาณาบริเวณ และยังได้รับอิทธิพลจากขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของไทยน่านเจ้าอีก ด้วย  จึงกลายเป็นเรื่องที่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทย สมัยนั้น

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าระบบกฎหมายในสมัยสุโขทัยได้มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์ อักษรในศิลาจารึกโดยบัญญัติปะปนกับเรื่องอื่นๆบ้างบัญญัติเป็นเรื่องต่างหากบ้างแต่ยังไม่มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายหลักกฎหมายในศิลาจารึกสมัยในเป็นหลักที่บัญญัติขึ้นเองหรือได้รับอิทธิพลจาก ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของชนเผ่าที่อาศัยอาณาบริเวณ  ผสมผสานกันให้เกิดเป็นระบบกฎหมายที่เหมาะสมกันระบบการเมืองการปกครองและระบบ เศรษฐกิจในสมัยนั้น

สมัยกรุงศรีอยุธยา 

สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น  สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ในระบบศักดินาเต็มรูป  และมีระบบการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดโดยถือว่าพระมหากษัตริย์นั้นสืบเชื้อสายเทวดามาเกิดตามแนวความคิดของลัทธิเทวราชา ของขอมจึงทรงเป็นพระเจ้าอยู่เหนือหัวของทวยราษฎร์

กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นกฎหมายที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงแห่งสถาบัน พระมหากษัตริย์ ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความมั่นคงในการปกครองประเทศ  เนื่องจากยังคงต้องมีการสู้รบการชนเผ่าที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน  การปกครองที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเด็ดขาดจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับ สภาพบ้านเมืองในสมัยนั้น  กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมอำนาจทางการเมือง  พระมหากษัตริย์ทรงจัดการทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนชาวไทยตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย  พระองค์จึงเป็นทั้งผู้บัญญัติกฎหมายและเป็นผู้จัดการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย

สมัยรัตนโกสินทร์  

การเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 นั้นนอกจากบ้านเมืองจะถูกเผ่าทำลายผู้คนต้องล้มตายและส่วนหนึ่งถูกกวาดต้อน เป็นเชลยแล้ว เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ก็ถูกทำลายและสูญหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายไทยส่วนใหญ่ด้วย คาดว่าจะเหลืออยู่เพียงประมาณหนึ่งในสิบส่วนเท่านั้น

พระมหากษัตริย์องค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ครองราชย์โดยใช้กฎหมายเดิมของกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ได้เกิดมีปัญหาในคดีความที่ตัดสิน จึงทรงเล็งเห็นว่าอาจจะมีความคลาดเคลื่อนหรือความบกพร่องของกฎหมายที่ใช้ อยู่ สมควรที่จะต้องมีการตรวจ ชำระกฎหมายครั้งใหญ่และจัดทำกฎหมายใหม่ให้ถูกต้องอย่างเป็นหลักเป็นฐานเช่น เดียวกับกฎหมายของประเทศตะวันตก ประเทศสยามจึงได้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้น เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง อันที่จริงกฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายอย่างความหมายของ ประมวลกฎหมายของประเทศตะวันตก คงเป็นเพียงการชำระกฎหมายและรวบรวมกฎหมายให้เรียบร้อยเพื่อความถูกต้องและ ปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น   ดังนั้นเนื้อหาของกฎหมายฉบับใหม่คงเหมือนกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้ง สิ้นเพราะสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมและระบบเศรษฐกิจการเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นไม่แตกต่างไปจากเดิม กฎหมายฉบับใหม่จึงยังคงใช้ได้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย

ปัญหาการให้ความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี  

ปัญหาในการให้ความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี จะปรากฏในลักษณะพยานหลักฐานเป็นสำคัญในชั้นศาลและการปฏิบัติงานของเจ้า พนักงานยุติธรรมและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลหรือผู้พิพากษา  การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานยุติธรรมโดยปกติต้องปฏิบัติงานตามที่ศาลมีคำสั่งหรือตามกฎหมายซึ่งก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการให้ความเป็นธรรม ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยเคร่งครัดหรือผ่อนผันลงบ้าง บางครั้งการให้เงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อขอความสะดวกในการให้บริการก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในบ้างกรณี แต่ก็อาจจะทำไม่ได้มากนัก เพราะคำสั่งให้ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นมักจะมีกำหนดเวลากำกับอยู่ จึงทำให้ไม่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นทำแก่คู่ความได้มากนัก

การให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยศาลหรือผู้พิพากษา ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันที่ทรงเกียรติเพราะเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์ ในการออกนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นสถาบันที่ประชาชนให้ ความไว้วางใจมากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ที่จะชี้ขาดคดีความต่างๆ ตามบทกฎหมายให้ได้รับความยุติธรรมและความเป็นธรรมมากที่สุด แต่ในบ้างครั้งก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ เช่น เหมือนศาลหรือผู้พิพากษาต้องใช้ดุลยพินิจในการสั่งคำสั่ง คำร้องต่างๆ ที่คู่กรณียืนขอมาในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อมีการใช้ดุลยพินิจก็อาจจะให้ ความเป็นธรรมแก่กรณีได้ดียิ่งขึ้น แต่ในบ้างครั้งก็มีผู้กล่าวหาว่าการที่ใช้ดุลยพินิจสั่งเช่นนั้นเพราะมีการ ติดสินบน ซึ่งถ้าหากเป็นจริงก็ย่อมเป็นความผิดอาญาเช่นกัน แต่คำสั่งเหล่านี้ก็ไม่สำคัญนัก เพราะไม่ใช่การพิพากษาคดีซึ่งจะมีผลแก่คู่กรณี เรื่องที่สำคัญมากคือการตรวจสำนวนเพื่อดูความน่าเชื่อถือของพยานต่างๆ ความสอดคล้องด้วยเหตุผลและพฤติการณ์ในคดีและการนำกฎหมายมาปรับใช้แก่คดี เพื่อทำคำพิพากษาตัดสินชี้ขาดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่างๆ ในคดีให้ฝ่ายโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ชนะคดี และต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น ในการตัดสินคดีนี้อาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมได้ ถ้าผู้พิพากษาเกิดอคติลำเอียง ไม่ว่าจะด้วยความรู้สึก หรือเกิดขึ้นเพราะรับสินบนหรือในกรณีที่ผู้พิพากษาไม่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นคดีนั้นอาจจะตัดสินคดีโดยใช้ตัวบทกฎหมายผิด ทำให้คำพิพากษาที่พิพากษาออกมานั้นไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมและก่อให้เกิดผล กระทบแก่สังคมมาก

การอำนวยความยุติธรรมจะต้องอาศัยตัวผู้ใช้กฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญเท่าๆกันกับ ตัวบทกฎหมาย ในการที่จะกระทำหน้าที่ที่สามารถอำนวยโทษให้กับสังคมได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำตัวให้เป็นผู้ยุติธรรมก่อน ด้วยการตั้งใจให้มั่นคงที่จะรักษาความเป็นกลางและรักษาวัตถุประสงค์ของ กฎหมายแต่ละฉบับไว้โดยเคร่งครัด แน่วแน่พร้อมกับรักษาความสุจริต จรรยา และมโนธรรมของนักกฎหมายไว้เสมอกับชีวิต

ปัญหาการบัญญัติกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย  

การศึกษาในสถาบันการสอนวิชากฎหมาย  

ควรศึกษาถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมเพื่อจะได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดและ ธรรมชาติของคนในสังคมได้ดีขึ้น เพื่อนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาประกอบในการพิจารณาออกกฎหมาย การออกกฎหมายในบางเรื่องยังไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย อาจเป็นเพราะกฎหมายก้าวหน้าเกินไป คนในสังคมยังไม่เข้าใจเนื่องจากไม่เคยมีพื้นฐานในเรื่องเหล่านั้นมาก่อน ดังนั้นสถาบันสอนกฎหมายจึงต้องมีการสอนวิชาอื่นควบคู่ไปกับการเรียนกฎหมาย ด้วย จึงจะช่วยให้นักศึกษากฎหมายไม่มุ่งเน้นแต่ศึกษาถึงตัวบทกฎหมายอย่างเดียว จะได้ศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างวิชาการด้านอื่นๆ และอาจคิดหาแนวทางในการออกกฎหมายและการใช้กฎหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ส่วนรวมและเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

ปัญหาการใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานของรัฐ  

1. ความไม่รู้กฎหมายเพียงพอของเจ้าพนักงานของรัฐ

การทำงานของเจ้าพนักงานมักจะใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออยู่เป็นประจำ แต่ในบางครั้งเรื่องที่ได้รับแจ้งมานั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก จึงยากที่จะใช้กฎหมายถ้าไม่รู้จักวิธีการอ่านกฎหมาย ศึกษากฎหมาย และแปลความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในคดีความที่เกิดขึ้น  อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานตำรวจมีหน้าที่รักษากฎหมายทั่วไป ผิดกับเจ้าพนักงานอื่นๆที่มีหน้าที่ให้รักษาการเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพราะบทกฎหมายที่รักษาการนั้นมีอย่างจำกัด การที่จะให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงกฎหมายต่างๆ อย่างกว้างขวาง และรู้ถึงวิธีการและเทคนิคการใช้กฎหมาย จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม

  1. 3.      การใช้ดุลพินิจอันไม่สมควรในการปฏิบัติหน้าที่

การใช้ดุลพินิจนั้นอาจมีหลายระดับตั้งแต่ในชั้นการสอบสวน การสั่งฟ้องคดีอัยการ การพิพากษาคดี หรือการออกคำสั่งคำร้องของผู้พิพากษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้เพื่อความ ยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตามควรแก่กรณีทั้งสิ้น ในการใช้ดุลพินิจของพนักรัฐนั้น โดยมากมักมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากนโยบายของหน่วยงาน และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา  หากการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างไม่เที่ยงธรรม การการละเว้นหรือให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลบางกลุ่มก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่บุคคลบางกลุ่มขึ้น  ซึ่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนจะรู้สึกเกลียดชังเจ้าพนักงานของรัฐ และรัฐก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายจากประชาชน

สภาพปัญหาทางกฎหมายในปัจจุบัน

  1. 1.      กฎหมายมหาชนไทยที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับระบบราชการแบบรวมศูนย์อำนาจ

สาเหตุของปัญหา

1)  ความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ข้าราชการผู้มีอำนาจเป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งอุปถัมภ์ค้ำชู้ปกป้องและปกครองผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ ทำให้สภาพกฎหมายไทยมีลักษณะให้อำนาจและเอกสิทธ์แก่ระบบราชการและข้าราชการ

2)  สังคมไทยในการเมืองเป็นสังคมอำนาจนิยม ในสังคมแบบนี้ยึดหลักอำนาจคือธรรม โดยความชอบธรรมถูกกำหนดโดยอำนาจปัจจุบันที่ผู้มีอำนาจมีอยู่ ดังนั้นระบบราชการและข้าราชการจึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและการใช้อำนาจ เหนือประชาชน

3) การสร้างรัฐชาติให้เกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 เพื่อต่อต้านกระแสกดดันจากจักรวรรดินิยมโดยการปรับปรุงระบบศาลยุติธรรมให้ รวมศูนย์และเป็นเอกภาพ ปฏิรูปกฎหมายให้เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรแบบประมวลกฎหมาย กระบวนการเหล่านี้ประสพผลสำเร็จในการทำให้ชาติไทยคงเอกราชและอธิปไตยทางการ เมืองและการศาล แต่กระบวนการเหล่านี้เมื่อบ้านเมืองพัฒนามากกว่า 100 ปีสมควรจะต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมโลกปัจจุบัน

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) เกิดการเรียกร้องให้รัฐส่วนกลางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น

2) ส่งเสริมให้ราชการฝ่ายบริหารเป็นแกนกลางของรัฐ จนกลายเป็นระบบที่ทรงพลังและปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองและประชาชนมากเกินไป

2. กฎหมายมหาชนไทย ที่ผ่านมามุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบราชการมากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ

สาเหตุของปัญหา

ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมไทย 3 ประการที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กล่าวคือ วัฒนธรรมอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และรวมศูนย์อำนาจ เป็นต้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กฎหมายมหาชนไทยมุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบ ราชการมากกว่าการควบคุมการใช้อำนาจ

 ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) กฎหมายมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ให้อำนาจแก่พนักงานมากเกินไป โดยปราศจากการควบคุม การใช้ดุลยพินิจที่ดี การที่กฎหมายมีสภาพเช่นนี้ ทำให้มีการใช้อำนาจเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นไปได้โดยง่าย

2) กฎหมายมุ่งการควบคุม ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็น และซับซ้อนกันมา

3) ขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมีมากและล่าช้า สร้างความไม่แน่นอนให้เอกชน ความไม่แน่นอนและความล่าช้าเหล่านี้ สร้างความเสี่ยงในการลงทุนให้แก่เอกชนและทำให้เอกชนต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

4) ความล้าสมัยของกฎหมาย กฎหมายหลายฉบับได้ตราขึ้นในสภาพสังคมแบบเก่า แต่ยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน และได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง

5) ปริมาณกฎหมายมีมากและการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมาย       อนุบัญญัติได้ง่ายและปราศจากขอบเขตที่แน่นอน

6) กระบวนการนิติบัญญัติไทย เป็นกระบวนการที่ระบบราชการบริหารเป็นผู้กำหนดและเป็นกระบวนการที่ล่าช้าไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

3. ความสับสนของแนวความคิดในกฎหมายไทย

สาเหตุของปัญหา

1) การไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายในการเรียนการสอน นักกฎหมายไทยรุ่นเก่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายหมาชนเลย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475 การเรียนการสอนก็ยังไม่มากพอ ประกอบกับช่วงระยะเวลาที่เป็นการกำเนิดกฎหมายมหาชนก็สั้นเกินไป จนไม่อาจสร้างกฎหมายมหาชนได้อย่างแท้จริง เหตุนี้ทำให้พัฒนาการของกฎหมายมหาชนไทยค่อนข้างล้าหลัง

2) ความขัดแย้งทางความคิดของนักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษาจากภาคพื้นยุโรปและประเทศในกลุ่มคอมมอนลอว์

 ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) การแบ่งประเภทของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย

เนื่องจากความไม่แน่นอนการศึกษากฎหมายมหาชนไทย ทำให้แนวความคิดในการแบ่งแยกกฎหมายมีความสับสนหลายประการ คือ

1.1. ปัญหาการเป็นนิติบุคคลของรัฐในกฎหมายไทย

1.2. การใช้บังคับกฎหมายและการศึกษากฎหมาย นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่ไม่แยกความแตกต่างระหว่างการแยกสาขากฎหมาย โดยคำนึงถึงกฎหมายกับการแยกสาขากฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยออกจากกันได้

2) การเข้าใจหลักการแบ่งแยกอำนาจที่คลาดเคลื่อนของนักกฎหมายไทย นักกฎหมายไทยได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศที่แตกต่างกันในระบบและแนวคิดทาง กฎหมาย ดังนั้น ความเข้าใจในหลักกฎหมายจึงต่างกัน โดยเฉพาะหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งหลักการแบ่งแยกอำนาจนี้ได้กลายมาเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการศึกษา การจัดและการปรับปรุงกลไกของรัฐ ซึ่งเป็นขอบเขตของวิชากฎหมายปกครอง

4. การบังคับใช้กฎหมายและความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม

ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย

ศาตราจารย์ ดร.อมร  จันทรสมบูรณ์  ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1) การบังคับใช้กฎหมาย คือมติที่สามของกฎหมาย สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตานั้นมีสามมิติคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาว และส่วนลึก มิติที่สามคือความลึก ตัวบทกฎหมายก็น่าจะเปรียบเทียบกับวัตถุที่เรามองไม่เห็นด้วยตาได้เช่นเดียว กัน ถ้านำตัวบทกฎหมายต่าง ๆ มาวิเคราะห์ดูให้ถ่องแท้ ว่าตัวบทกฎหมายเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้บังคับให้เกิดผลเป็นจริงได้เพียงใด เราจึงจะมองเห็นมิติที่สามของกฎหมายได้

2) เจตนารมณ์และกลไกของรัฐในแต่ละสาขาไม่เหมือนกันกฎหมายแต่ละสาขา มีเจตนาแตกต่างกันและรับก็สร้างกลไกของรัฐเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามบท บัญญัติของกฎหมาย

ปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม

การอำนวยความยุติธรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่หลักของรัฐใน ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงและเร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากปัญหาความล่าช้าในการอำนวยความยุติธรรมนั้นจะเห็นได้ว่าย่อมส่งผลกระทบกระเทือน ต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างมากทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา

ในคดีแพ่งนั้น การที่คดีความล่าช้าไม่ว่าจะอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ดี หากในแต่ละคดีต้องใช้เวลาพิจารณานานหลายปี ย่อมไม่อาจเยียวยาความเดือดร้อนของคู่ความได้ แม้ในที่สุดศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ตาม

ส่วนในคดีอาญานั้น การพิจารณาคดีที่ใช้เวลานานเกินไป ย่อมกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ศาล มีคำพิพากษายกฟ้อง หากจำเลยจำเป็นต้องถูกควบคุมตัวในระหว่างการพิจารณาด้วยแล้วด้วยแล้ว เสรีภาพที่สูญเสียไปย่อมไม่อาจแก้ไขได้

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย มีอะไรบ้าง

1. ความไม่รู้กฎหมายเพียงพอของเจ้าพนักงานของรัฐ ... .
2. กฎหมายมหาชนไทย ที่ผ่านมามุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบราชการมากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ.
3. ความสับสนของแนวความคิดในกฎหมายไทย.
4. การบังคับใช้กฎหมายและความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม.

กฎหมายมีผลบังคับได้อย่างไร

วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายอาจกำหนดแตกต่างกัน คือ 1. บังคับใช้ในวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายที่ต้องการบังคับใช้อย่างเร่งด่วน 2. บังคับใช้ในวันถัดจากวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา คือกำหนดให้ประชาชนทราบล่วงหน้าหนึ่งวัน

การบังคับใช้กฎหมาย คืออะไร

หมายถึง กฎหมายจะใช้บังคับกับบุคคลเมื่อใด มักปรากฏในมาตรา 2 ของแต่ละพ.ร.บ. เช่น 1. ก.ม.จะเริ่มมีผลใช้บังคับนับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา 2. ก.ม.จะเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 3. กฎหมายจะเริ่มมีผลใช้บังคับแล้วแต่จะระบุวันเริ่มในอนาคต ซึ่งอาจแยกเป็น

ข้อใดคือปัญหาที่เกิดจากตัวบทกฎหมายในสังคมไทย

2. ข้อความในกฎหมายมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน เมื่อนำมาใช้ต้องมีการตีความก่อน ทำให้เสียเวลาในทางปฏิบัติ เช่น ในกฎหมายรัฐธรรมนูญบางเรื่อง 3. กฎหมายที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจจากประชาชนส่วนใหญ่ ส่วนมากเป็นกฎหมายเฉพาะ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยที่มีการบังคับให้ประชาชนต้องปฏิบัติโดยไม่เต็มใจ