System Development Life Cycle คือ

1. การกำหนดปัญหา (Problem Definition) หรือการเลือกสิ่งที่จะนำมาพัฒนาระบบงาน (Project Identification and Selection) นับว่าเป็นขั้นตอนแรกในวงจรของการพัฒนา ขั้นตอนนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการประชุมของฝ่ายบริหาร เพื่อที่จะค้นหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และ มุ่งหวังที่จะใช้แทนวิธีการทำงานแบบเดิม ปรับปรุงวิธีการทำงาน หรือ เพื่อสร้างรูปแบบบริการแบบใหม่ เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis) เมื่อผ่านขั้นตอนการการกำหนด หรือ เลือกโครงการที่จะทำการพัฒนาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะต้องนำเอาสิ่งที่ได้จากขั้นตอนแรกมาทำการวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการ วิเคราะห์ระบบในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากและไม่ควรทำอย่างรีบเร่งเนื่องจากโครงการพัฒนาจำนวนมากที่ประสบความล้มเหลวเพราะการวิเคราะห์ และออกแบบที่ไม่ถูกต้อง

3. การออกแบบ(Design) จะเป็นการนำเอาสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบเป็นระบบงานสำหรับการพัฒนาในขั้นตอนถัดไป เช่น การออกแบบ Form , Report, Dialogues, Interface, Files & Database, Program & Process design เป็นต้น

4. การพัฒนาระบบงาน (Development) หรือ การสร้างระบบงานจริง ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่นำเอาสิ่งที่ได้จากการออกแบบระบบมาทำการ Coding หรือสร้างตัวระบบงานขึ้นมาใช้งานจริงผู้ที่มีบทบาทสูงในขั้นตอนนี้คือ Programmer นั่นเอง

5. การทดสอบ (Testing) การทดสอบระบบจะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของระบบงานที่ถูกสร้างขึ้นมาว่าตรงตามกับความต้องการจริงๆ หรือไม่ การ Test จะมีด้วยกัน หลายระดับ กล่าวคือ

1. การทดสอบในระดับ Module หรือ Unit test เป็นการทดสอบการทำงานโดยแยกเป็นส่วนย่อยๆในแต่ละ module

2.การทดสอบ Integrate test จะนำเอา module ย่อยๆ มาทำการทดสอบการทำงานเป็นกระบวนการร่วมกัน

3. System test การทดสอบโดยนำเอาโปรแกรมย่อยมาทดสอบการทำงานร่วมกันทั้งระบบ

4. Acceptance test เป็นการทดสอบขั้นสุดท้ายโดย user (มี 2 ระดับ Alfa testing using simulated data, Beta testing using real data)

- การติดตั้ง (Deployment) Direct installation, Para ell Installation, Single location installation, Phased installation

- การบำรุงรักษา (Maintenance) Obtain Maintenance Request, Transforming Request into Change, Designing Change, Implementing Change

การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนการการวางแผนงานโดย กำหนดรูปแบบของซอฟต์แวร์ ประมาณการต้นทุนในการพัฒนาระบบ กำหนดแนวทางของการพัฒนาระบบ กำหนดระยะเวลา เป็นต้น

การวิเคราะห์ความต้องการ (Analysis) เป็นขั้นตอนของการค้นหาความต้องการของระบบ และวิเคราะห์ความต้องการนั้น เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและหน้าที่การทำงานของระบบ

การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนการออกแบบส่วนประกอบต่างๆของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว

การเขียนโปรแกรม (Development) เป็นขั้นตอนการสร้างระบบโดยการเขียนโปรแกรม ตามแนวทางการออกแบบจากขั้นตอนที่ผ่านมา

การทดสอบ (Testing) เป็นขั้นตอนการนำระบบที่ทำมาทดสอบการใช้งาน ว่าทำงานถูกต้องตามความต้องการที่ได้หรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะรวมถึงการทดสอบการเชื่อมโยงกับระบบซอฟต์แวร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย

การประเมิน เป็นขั้นตอนการประเมินว่าระบบที่ผ่านการทดสอบแล้ว เหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้หรือไม่

การโอนย้ายข้อมูล (Data Conversion) เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลเก่าเข้าระบบใหม่ก่อนการนำระบบไปใช้จริง

การนำไปใช้งานงานจริง (Production) เป็นขั้นตอนที่นำระบบที่พัฒนาสำเร็จและผ่านการทดสอบแล้วไปใช้งาน โดยทำการติดตั้ง และสอนวิธีการใช้งานแก่ผู้ใช้

การให้ความช่วยเหลือ (Support) เป็นขั้นตอนของการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ใช้ เมื่อพบปัญหา โดยหากปัญหาที่เกิดไม่สามารถแก้ไขได้ จะต้องทำการพัฒนาระบบเพิ่มเติม ก็จะเริ่มวนไปที่ขั้นตอนแรกใหม่

ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหา

  • นักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาเพื่อค้นหาปัญหา ข้อเท็จจริงที่แท้จริง ซึ่งหากปัญหาที่ค้นพบ มิใช่ปัญหาที่แท้จริง ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาก็จะตอบสนองการใช้งานไม่ครบถ้วน

    ปัญหาหนึ่งของระบบงานที่ใช้ในปัจจุบันคือ    โปรแกรมที่ใช้งานในระบบงานเดิมเหล่านั้นถูกนำมาใช้งานในระยะเวลาที่เนิ่นนานอาจเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อติดตามผลงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น  ไม่ได้เชื่อมโยงถึงกันเป็นระบบ  ดังนั้น   นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่จะพัฒนา   แล้วดำเนินการแก้ไขปัญหา   ซึ่งอาจมีแนวทางหลายแนวทาง และคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ดีที่สุดอาจไม่ถูกเลือกเพื่อมาใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง   ดังนั้น  แนวทางที่ดีที่สุดในที่นี้คงไม่ใช่ระบบที่ต้องใช้งบประมาณแพงลิบลิ่ว แต่เป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขในสถานการณ์นั้นๆ เป็นหลักสำคัญ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณค่าใช้จ่าย  และเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการกำหนดปัญหานี้ หากเป็นโครงการขนาดใหญ่อาจเรียกขั้นตอนนี้ว่า ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้

    สรุปขั้นตอนของระยะการกำหนดปัญหา

    1. รับรู้สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น

    2. ค้นหาต้นเหตุของปัญหา รวบรวมปัญหาของระบบงานเดิม

    3. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบ

    4. จัดเตรียมทีมงาน และกำหนดเวลาในการทำโครงการ

    5. ลงมือดำเนินการ

    ระยะที่ 2 การวิเคราะห์

    การวิเคราะห์   จะต้องรวบรวมข้อมูลความต้องการ   (Requirements)   ต่างๆ  มาให้มากที่สุด ซึ่งการสืบค้นความต้องการของผู้ใช้สามารถดำเนินการได้จากการรวบรวมเอกสารการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม และการสังเกตการณ์บนสภาพแวดล้อมการทำงานจริง

    เมื่อได้นำความต้องการมาผ่านการวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อไปของนักวิเคราะห์ระบบก็คือ การนำข้อกำหนดเหล่านั้นไปพัฒนาเป็นความต้องการของระบบใหม่ด้วยการพัฒนาเป็นแบบจำลองขึ้นมา ซึ่งได้แก่ แบบจำลองกระบวนการ (Data Flow Diagram) และแบบจำลองข้อมูล (Data Model) เป็นต้น

    สรุปขั้นตอนของระยะการวิเคราะห์

    1. วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน

    2. รวบรวมความต้องการ และกำหนดความต้องการของระบบใหม่

    3. วิเคราะห์ความต้องการเพื่อสรุปเป็นข้อกำหนด

    4. สร้างแผนภาพ DFD และแผนภาพ E-R

    ระยะที่ 3 การออกแบบ

    เป็นระยะที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์  ที่เป็นแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนาเป็นแบบจำลองเชิงกายภาพ     โดยแบบจำลองเชิงตรรกะที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์    มุ่งเน้นว่ามีอะไรที่ต้องทำในระบบในขณะที่แบบจำลองเชิงกายภาพจะนำแบบจำลองเชิงตรรกะมาพัฒนา ต่อด้วยการมุ่งเน้นว่าระบบดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดผลตามต้องการ  งานออกแบบระบบประกอบด้วยงานออกแบบสถาปัตยกรรมระบบที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์  และระบบ เครือข่าย   การออกแบบรายงาน  การออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล  การออกแบบผังงานระบบ การออกแบบฐานข้อมูล และการออกแบบโปรแกรม เป็นต้น

    สรุปขั้นตอนของระยะการออกแบบ

    1. พิจารณาแนวทางในการพัฒนาระบบ

    2. ออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ

    3. ออกแบบรายงาน

    4. ออกแบบหน้าจออินพุตข้อมูล

    5. ออกแบบผังงานระบบ

    6. ออกแบบฐานข้อมูล

    7. การสร้างต้นแบบ

    8. การออกแบบโปรแกรม

    ระยะที่ 4 การพัฒนา

    เป็นระยะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม  โดยทีมงานโปรแกรมเมอร์จะต้องพัฒนาโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้  การเขียนชุดคำสั่งเพื่อสร้างเป็นระบบงานทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมา โดยโปรแกรมเมอร์สามารถนำเครื่องมือเข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรแกรมได้เพื่อช่วยให้ระบบงานพัฒนาได้เร็วขึ้นและมีคุณภาพ

    สรุปขั้นตอนของระยะการพัฒนา

    1. พัฒนาโปรแกรม

    2. เลือกภาษาโปรแกรมที่เหมาะสม

    3. สามารถนำเครื่องมือมาช่วยพัฒนาโปรแกรมได้

    4. สร้างเอกสารประกอบโปรแกรม

    ระยะที่ 5 การทดสอบ

    เมื่อโปรแกรมได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว ยังไม่สามารถนำระบบไปใช้งานได้ทันทีจำเป็นต้องดำเนินการทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงเสมอ  ควรมีการทดสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อน ด้วยการสร้างข้อมูลจำลองขึ้นมาเพื่อใช้ตรวจสอบการทำงานของระบบงาน หากพบข้อผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง  การทดสอบระบบจะมีการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาเขียน  และตรวจสอบว่าระบบตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

    สรุปขั้นตอนของระยะการทดสอบ

    1. ทดสอบไวยากรณ์ภาษาคอมพิวเตอร์

    2. ทดสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้

    3. ทดสอบว่าระบบที่พัฒนาตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่

    ระยะที่ 6 การนำระบบไปใช้

    เมื่อดำเนินการทดสอบระบบจนมั่นใจว่าระบบที่ได้รับการทดสอบนั้นพร้อมที่จะนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานบนสถานการณ์จริง  ขั้นตอนการนำระบบไปใช้งานอาจเกิดปัญหา  จากการที่ระบบที่พัฒนาใหม่ไม่สามารถนำไปใช้งานแทนระบบงานเดิมได้ทันที  จึงมีความจำเป็นต้องแปลงข้อมูลระบบเดิมให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบใหม่สามารถนำไปใช้งานได้เสียก่อน หรืออาจพบข้อผิดพลาดที่ไม่คาดคิดเมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริง ครั้นเมื่อระบบสามารถรันได้จนเป็นที่น่าพอใจทั้งสองฝ่าย ก็จะต้องจัดทำเอกสารคู่มือระบบ รวมถึงการฝึกอบรมผู้ใช้

    สรุปขั้นตอนของระยะการนำระบบไปใช้

    1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ก่อนที่จะนำระบบไปติดตั้ง

    2. ติดตั้งระบบให้เป็นไปปตามสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้

    3. จัดทำคู่มือระบบ

    4. ฝึกอบรมผู้ใช้

    5. ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่

    6. ประเมินผลการใช้งานของระบบใหม่

    ระยะที่ 7 การบำรุงรักษา

    หลังจากระบบงานที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้ถูกนำไปใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการบำรุงรักษาจึงเกิดขึ้น   ทั้งนี้ข้อบกพร่องในด้านการทำงานของโปรแกรมอาจเพิ่งค้นพบได้   ซึ่งจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องรวมถึงกรณีที่ข้อมูลที่จัดเก็บมีปริมาณที่มากขึ้นต้องวางแผนการรองรับเหตุการณ์นี้ด้วย นอกจากนี้งานบำรุงรักษายังเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมกรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการเพิ่มขึ้น

    วงจรการพัฒนาระบบ มีอะไรบ้าง

    ตามทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ (System Development life Cycle : SDLC) 7 ขั้นตอน 1. การค้นหาปัญหาขององค์กร (Problem Study) 2. การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) 3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 4. การออกแบบระบบ (System Design) 5. การพัฒนา และการทดสอบระบบ (Development and Test) 6. การติดตั้งระบบ (System Implement) 7. ...

    วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) คืออะไร

    วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) คือ การแบ่งขั้นตอนกระบวนการพัฒนาระบบงาน หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจหรือตอบสนองความต้องการขององค์กรโดยระบบที่จะพัฒนานั้นอาจเป็นการพัฒนาระบบใหม่หรือการปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้นก็ได้ การพัฒนาระบบแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้

    วงจรพัฒนาระบบแบ่งออกเป็นกี่ระยะ

    ในฉบับที่ผ่านมา (link) เรากล่าวถึง วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) จำนวน 7 ขั้นตอน อย่างคร่าวๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรโดยนำแนวคิดเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานองค์กร เพื่อช่วยให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพพร้อมเข้าสู่ยุค 4.0 ทั้งนี้ การจัดการที่ดีต้องมีแนวทางและขั้นตอนในการพัฒนาระบบงานที่ชัดเจน ต้อง ...

    การพัฒนาระบบสารสนเทศคืออะไร

    การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ การดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ แบ่งกลุ่ม ประมวล วิเคราะห์ กลั่นกรองและสื่อสารข้อมูลรายการต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่ง่ายและมีประโยชน์ต่อผู้บริหารในการนำไปประกอบการบริหารงาน การจัดการ การ ...