เงินได้ตามมาตรา 40(8) มีอะไรบ้าง

เมื่อเรารู้ว่า เงินได้ ของเรามีอะไรบ้าง ก็มาถึงขั้นตอนจำแนกประเภทของรายได้ ซึ่งจะมีทั้งหมดด้วยกัน 8 ประเภท เรามาดูกันว่าเงินได้ที่ว่านั้น มีอะไรบ้าง

เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินได้จากตามสัญญาแจ้งแรงงาน เช่น เงินเดือน โบนัส เป็นต้น.

(เงินได้ประประเภทที่  1 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน100,000บาท  (ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ประเภทที่1 และ 2 ให้นำมารวมกัน แต่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000บาท )

เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้จากตำแหน่งงานที่ทำ หรือหน้าที่ เช่น ค่านายหน้า หรืองานที่รับจ้างตามสัญญาเป็นครั้งคราวไป

(เงินได้ประประเภทที่  2 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50 % ของเงินได้ แต่ไม่เกิน100,000บาท  (ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ประเภทที่1 และ 2 ให้นำมารวมกัน แต่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000บาท )

เงินได้ประเภทที่ 3 คือ เงินได้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าความนิยม ค่าลิขสิทธิ์ หรือเงินได้ที่มีลักษณะรายปีอันมาจากพินัยกรรม นิติกรรมอื่น หรือคำพิพากษา

(เงินได้ประเภทที่ 3 สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ สูงสุดที่ 100,000 บาท)

เงินได้ประเภทที่ 4 คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล(จากหุ้น) เงินส่วนแบ่งกำไรจาก cryptocurrency ผลประโยชน์จากการโอนหุ้น เพิ่มทุนต่าง ๆ

ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้จากการเช่าทรัพย์สินต่าง ๆ

การหักเงินได้ประเภทที่ 5 มีดังนี้

  • บ้านโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง หักค่าใช้จ่ายได้ 30 %
  • ยานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 30 %
  • ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20 %
  • ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15%
  • ทรัพย์สินอื่นหักค่าใช้จ่ายได้ 10%

เงินได้ประเภทที่ 6 คือ เงินได้จากวิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกรรม สถาปัตกรรม การบัญชี แพทย์ หรือ วิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด

  • การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60%
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30%

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 คือ เงินได้ที่มาจากการรับเหมา โดยผู้รับเหมาจะต้องเตรียมจัดหาสัมภาระในส่วนที่สำคัญ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง

  • เงินได้ประเภทที่ 7 หักได้ตามจริง ต้องมีหลักฐานแนบ และตามอัตราเหมา 60%

เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการทำธรุกิจ การพาณิชณ์ การเกษตร การอุตสหกรรม การขายอสังหาริมทรัพย์

  • เงินได้ประเภทที่ 8 สามารถหักได้ทั้งตามจริงและอัตราเหมา 60% จะมีทั้งหมด 43 ประเภทเงินได้ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร

สามารถติดต่อสอบถามเรื่อง#บัญชีและภาษีได้ที่ 038-981-777 / Line official account : @sappakit หรือ อาคารสำนักงาน #สรรพกิจธรุการ #ฉะเชิงเทรา

ทำความเข้าใจกับ เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท และวิธีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ 8 ประเภท พื้นฐานของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้ 8 ประเภทที่ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ม.40(1) ถึง ม.40(8) โดยเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภทจะถูกแบ่งกลุ่มตามลักษณะอาชีพหรืองานที่ทำให้เกิดรายได้นั้นๆ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีและการหักค่าใช้จ่ายให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด

เนื่องจากกฎหมายมองว่าแต่ละอาชีพมีต้นทุนและรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกัน เงินได้พึงประเมิน จึงเป็นสิ่งที่กำหนดว่าผู้มีเงินได้จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยวิธีไหนและหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดเท่าไหร่ รวมถึงกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี อย่างเช่น การที่เงินได้พึงประเมินบางประเภทต้องยื่นภาษีครึ่งปีในขณะที่เงินได้บางประเภทไม่ต้องยื่น

เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท ได้แก่

  1. เงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้จากการจ้างงาน
  2. เงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือการรับทำงานให้เป็นครั้งคราว
  3. เงินได้ประเภทที่ 3 เงินได้จากค่า Goodwill (สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ)
  4. เงินได้ประเภทที่ 4 เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร
  5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้และประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สิน
  6. เงินได้ประเภทที่ 6 เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ โรคศิลป กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี และประณีตศิลปกรรม
  7. เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  8. เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เกษตร อุตสาหกรรม ขายอสังหาริมทรัพย์ และเงินได้ที่ไม่ได้ระบุอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7

ผู้เสียภาษีคนหนึ่งอาจมี เงินได้พึงประเมิน มากกว่า 1 ประเภทก็ได้ อย่างเช่น A ทำงานประจำ และมีอาชีพขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริม A จะมีทั้ง เงินได้ประเภทที่ 1 และเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่ง A ก็จะต้องหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินและยื่นภาษีให้ถูกต้องตามเงินได้แต่ละประเภท

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท จะมีชื่อเรียกว่า “เงินได้” แต่สิ่งที่สามารถนับเป็น เงินได้พึงประเมิน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สิ่งที่อยู่ในรูปตัวเงิน แต่จะรวมไปถึงสิทธิประโยชน์และทรัพย์สินที่มีมูลค่าสามารถคำนวณเป็นเงินได้ ตัวอย่างเช่น เครดิตภาษีเงินปันผล เงินภาษีที่บริษัทจ่ายให้ การได้รับโอนหุ้น และที่พักที่บริษัทจัดให้อยู่

การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท

การหักค่าใช้จ่าย คือ การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายออกจากเงินได้พึงประเมิน (รายได้ที่นำมาคำนวณภาษี) เพราะทุกอาชีพย่อมมีต้นทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินได้ โดยเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ในเบื้องต้น การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมิน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา และ การหักค่าใช้จ่ายตามจริง นอกจากนี้ เงินได้พึงประเมิน บางประเภทอาจสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ทั้ง 2 วิธีขึ้นอยู่กับว่าผู้มีเงินได้จะเลือกหักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีแบบไหน

การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ การหักค่าใช้จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยไม่สนว่าคุณจะมีค่าใช้จ่ายจริงเท่าไหร่

การหักค่าใช้จ่ายตามจริง คือ การหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงที่คุณใช้ไปกับการประกอบอาชีพซึ่งทำให้คุณได้มาซึ่งเงินได้ประเภทดังกล่าว


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คือ เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

รวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้มาเนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เงินที่นายจ้างออกค่าที่พักให้ทำให้คุณไม่เสียค่าเช่า เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง และการที่นายจ้างจ่ายหนี้ให้ลูกจ้าง เป็นต้น

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีเงินได้ทั้ง เงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน แต่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ตัวอย่างเช่น นางสาว A มีเงินได้จากเงินเดือนทั้งปี 700,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 50% เท่ากับ 350,000 บาท แต่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ระบุว่าหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดแค่ 100,000 บาท ทำให้การหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือนนางสาว A ทำได้แค่ 100,000 บาท


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 คือ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้เป็นครั้งคราว (ไม่ใช่การจ้างงานถาวรแบบพนักงานบริษัท) ได้แก่ ค่าจ้างฟรีแลนซ์ ค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุมที่บริษัทออกให้ การรับรีวิวสินค้า ค่าตอบแทนของพริตตี้ พิธีกร และ MC

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงผลประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มเติมจากการจ้างงานชั่วคราวด้วย เช่น การจ่ายหนี้ให้ ส่วนลด การให้อยู่บ้านโดยไม่เสียค่าเช่า ค่าเบี้ยประชุมที่ผู้ว่าจ้างออกให้ เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ เป็นต้น

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และถ้าหากผู้มีเงินได้มีทั้งเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกัน แต่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ตัวอย่างเช่น นางสาว A เงินได้จากเดือนทั้งปี 700,000 บาท และรับงานฟรีแลนซ์ออกแบบเว็บไซต์ทำเงินได้ทั้งปี 600,000 บาท เมื่อรวมกันจะเห็นว่า มีเงินได้รวมทั้งหมด 900,000 บาทตลอดปีภาษี 50% คือ 450,000 บาท แต่เงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายรวมกันได้สูงสุดแค่ 100,000 บาทเท่านั้น


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 คือ เงินได้ที่มาจากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ (Goodwill) หรือ ค่าความนิยม หรือเงินได้ที่มาจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่างๆ เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิบัตร ค่าความนิยม ค่าทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า สูตร ค่าเฟรนไชส์ และทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนอื่นๆ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 คือ เงินได้จากการลงทุนทางการเงิน (Financial Investment) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผลหุ้น เงินส่วนแบ่งกำไร Cryptocurrency ผลประโยชน์จากการโอนหุ้น เงินจากการเพิ่มทุน และเงินจากการลดทุน

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 คือ เงินได้หรือประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งแบบตามจริงและหักแบบอัตราเหมา แต่เงินได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อและการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 20% แบบเดียวเท่านั้น

การหักค่าใช้จ่ายอัตราเหมาของเงินได้ประเภทที่ 5 มีอัตราดังนี้

  • บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ หักค่าใช้จ่ายได้ 30%
  • ยานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 30%
  • ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20%
  • ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15%
  • ทรัพย์สินอื่น หักค่าใช้จ่ายได้ 10%

นอกจากนี้ กรณีที่ผู้มีเงินได้เช่าทรัพย์สินแล้วปล่อยเช่าทรัพย์สินดังกล่าวอีกทอดจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงเท่ากับค่าเช่าที่คุณจ่ายเพื่อเช่าจากเจ้าของเดิม


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 คือ เงินได้ที่ได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ (ทันตกรรม เภสัชกรรม เวชกรรม เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ผดุงครรภ์ และพยาบาล) กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นๆ ตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งแบบตามจริงและอัตราเหมา โดยการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมากำหนดอัตราไว้ดังนี้

  • การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60%
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 30%

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น งานรับเหมาก่อสร้าง

เงินได้ประเภทที่ 7 สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งแบบตามจริงและแบบอัตราเหมา 60%


เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ การขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และเงินได้อื่นนอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 ถึง 7

การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันในแต่ละรายการขึ้นอยู่กับว่าเป็นเงินได้พึงประเมินจากอะไร

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ที่สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งตามจริงและแบบเหมา 60% จะมีอยู่ทั้งหมด 43 ประเภทเงินได้ สามารถดูการหักค่าใช้จ่ายของทั้งหมด 43 ประเภทเงินได้แบบละเอียดได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร

เงินได้ประเภทที่ 8 มีอะไรบ้าง

8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

เงินได้มาตรา 40 มีอะไรบ้าง

เงินได้ตามมาตรา 40 ( ) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้าง แรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่ง ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์ใดๆ ...

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เกิดจากอะไร

มาตรา 40 ทวิ ผู้ใดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน นายจ้างหรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ส่งไปนั้น

เงินได้คืออะไร

เงินได้ หมายถึง เงินต่างๆ ที่เราได้รับไม่ว่าจะเป็น ผลตอบแทนจากการทำงาน เช่น เงินเดือน หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น ค่าลดหย่อนภาษี หมายถึง การใช้สิทธิรายการต่างๆ ที่กฎหมายยอมให้นำมาหักจากรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี