สังฆ คุณ ข้อ ใด เป็น ความดี ที่ เป็นเหตุ

April 4, 2014

สังฆคุณ  คือ คุณของพระสงฆ์ ในที่นี้หมายถึงพระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นโสดาบันเป็นต้นไป คุณสี่ข้อแรกเป็นคุณประโยชน์ส่วนตัว ส่วนห้าข้อหลังเป็นคุณที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น  มี 9 ประการ ดังนี้

  1. สุปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
  2. อุชุปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
  3. ญายปฏิปันโน  เป็นผู้ฏิบัติเป็นธรรม
  4. สามีจิปฏิปันโน  เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
  5. อาหุเนยโย  เป็นผู้ควรของคำนับ
  6. ปาหุเนยโย  เป็นผู้ควรแก่เครื่องสักการะที่จัดไว้ต้อนรับ
  7. ทักขิเนยโย  เป็นผู้่ควรแก่ของทำบุญรับทักษิณาทาน
  8. อัญชลิกรณีโย  เป็นผู้ควรทำอัญชลีกราบไหว้ได้สนิทใจ
  9. อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ  เป็นนาบุญของโลก

บาลีน่ารู้
เรื่อง : ธรรมรักษ์ ป.ธ.๙

สังฆ คุณ ข้อ ใด เป็น ความดี ที่ เป็นเหตุ

สังฆคุณ ๙ ประการ
หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส

ขอเชิญพวกเรามาสวดสรรเสริญคุณของพระสงฆ์กันเถิด

           สังฆคุณมี ๙ ประการ : ๔ ประการแรกเป็นเหตุ และ ๕ ประการหลังเป็นผล ได้แก่

           ๑. โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ : พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด เป็นผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติตามเส้นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
           ๒. อุชุปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่ลวงโลก ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ตรงต่อหนทางพระนิพพาน
           ๓. ญฺายปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ คือ ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ เอาความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การบรรลุธรรม
           ๔. สามีจิปฏิปนฺโน : เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพยกย่องที่สุด
           ๕. อาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำมาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวข้างต้น
           ๖. ปาหุเนยฺโย : เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ คือ เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ไปที่ไหนก็ถือว่าเป็นบุคคลผู้ทรงเกียรติที่สมควรให้การต้อนรับ
           ๗. ทกฺขิเณยฺโย : เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน คือ เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ควรรับทาน ที่โยมน้อมนำมาถวายเพื่อการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
           ๘. อญฺชลีกรณีโย : เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คืออยู่ในฐานะที่ใคร ๆ ควรแสดงความเคารพกราบไหว้ เพราะทำให้ผู้ไหว้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ
           ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส : เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่ถวายแด่พระสงฆ์ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำดี พืชที่หว่านไปย่อมให้ผลไพบูลย์ พระสงฆ์จึงเป็นที่บำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชน     ทั้งหลาย..

 ความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9

         พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ
1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ
3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน
4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ
5. อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ 


6. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง
7. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน
8. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง
9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
พระสงฆ์สาวกที่มาในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายเอาพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ

สังฆคุณ ๙ หมายถึงข้อใด

สังฆคุณ 9 หมายถึง คุณของพระสงฆ์ ความดีได้รับยกย่องมาตังแต่ครังพุทธกาล คือ และ 5 ประการหลังเป็นผลดังต่อไปนี 1. สุปฏิปนฺโน: เป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติได้ดีเท่าเดิม หรือ พระพุทธเจ้า

สังฆคุณมีกี่ข้ออะไรบ้าง

สังฆคุณมี ๙ ประการ ๔ ประการแรกเป็นเหตุและ ๕ ประการหลังเป็นผลดังต่อไปนี้ ๑.สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีคือ ๑.ปฏิบัติไม่ตามมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงเครียดนัก ๒.ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติได้ดีเท่าเดิม หรือก้าวหน้าสูงขึ้นไป ๓.ปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

คุณความดีของพระสงฆ์ข้อใดเป็นคุณความดีที่เป็นเหตุ *

คุณความดีที่เป็นเหตุ หมายถึง คุณความดีของพระสงฆ์ที่เป็นเหตุให้คนอื่นมองเห็น ยก ย่องนับถือ เลื่อมใสศรัทธา และเคารพบูชา เป็นคุณความดีที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตน มี 4 ประการ คือ 1.1 เป็นผู้ปฏิบัติดี (สุปะฏิปันโน) คือ ปฏิบัติตามแนวทางของมรรคมีองค์ 8 และปฏิบัติ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย

คุณความดี คุณลักษณะแก่การกราบไหว้ของพระสงฆ์ เรียกว่าอะไร

8. อญฺชลิกรณีโยแปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึง พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ใน ฐานะที่ควรแก่กระทําอัญชลี คือ การกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง