การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด

การถ่ายทอดความคิด เป็นการถ่ายทอดแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการให้เป็นรูปธรรม เพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ภาพฉาย
  • แบบจำลอง
  • ต้นแบบ
  1. การถ่ายทอดความคิดเป็นวิธีการ
  • ภาพร่าง 2 มิติ
  • ภาพร่าง 3 มิติ
  • ผังงาน
  • แบบจำลองความคิด

การถ่ายทอดความคิดเป็นชิ้นงาน

การถ่ายทอดความคิดที่เป็นชิ้นงาน เป็นการอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะของรูปร่าง รูปทรง รายละเอียดและส่วนประกอบของชิ้นงาน ซึ่งการถ่ายทอดความคิดลักษณะนี้ทำได้หลายวิธี ได้แก่ ภาพร่าง 3 มิติ ภาพฉาย แบบจำลอง และต้นแบบ

  1. ภาพร่าง 3 มิติ  

ภาพร่าง 3 มิติ เป็นภาพที่ประกอบด้วย ด้านกว้าง ด้านยาว และความสูง หรือ ความลึก ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของรูปร่าง รูปทรง การทำงานและกลไกภายในการเขียนภาพร่าง 3 มิติ ที่นิยมใช้มี  2  รูปแบบ ดังนี้

  • แบบออบลิค (Oblique)เป็นภาพร่าง 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างด้านหน้าเป็นแนวตรง มีฐานของภาพขนานกับแนวเส้นระดับ สามารถวัดขนาดได้ ส่วนความสูงหรือลึก จะทำมุม 45 องศากับเส้นระดับ ซึ่งการวาดภาพออบลิกนี้จะเริ่มต้นด้วยการร่างภาพ 2 มิติ ที่ขนานกับแนวเส้นระดับก่อน

การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด
ตัวอย่างภาพ Oblique

ที่มา : http://www.onlinedesignteacher.com

  • แบบไอโซเมตริก (Isometric)เป็นแบบภาพ 3 มิติ ที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง มีแนวสันของวัตถุด้านหนึ่งตั้งฉากกับแนวเส้นระดับ ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศา กับเส้นระดับ ซึ่งการร่างภาพอาจทำได้โดยการขึ้นเส้นแกน เพื่อช่วยในการสร้างภาพไอโซเมตริก

การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด

ตัวอย่างภาพ Isometric

ดังนั้นการเขียนภาพร่าง 3 มิติ จะช่วยในการแสดงลักษณะรูปร่างและรูปทรงได้เหมือนของจริงมาก สามารถแสดงรายละเอียดได้ถึง  3  ด้าน เหมือนกับการได้เห็นชิ้นงานจริง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นการประกอบกันของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงาน และสามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของชิ้นงานนั้นได้ดียิ่งขึ้น และในการร่างภาพ 3 มิติ สามารถใช้กระดาษ      ไอโซเมตริกกริดช่วยในการร่างภาพได้

การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด

การร่างภาพ 3 มิติด้วยการใช้กระดาษไอโซเมตริกกริด

ภาพฉาย

ภาพฉาย เป็นภาพที่แสดงรายละเอียดของแนวคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในแต่ละด้านของสิ่งที่จะสร้าง ตลอดจนมีรายละเอียดของแบบงานครบถ้วนสมบูรณ์ชัดจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปสร้างขึ้น ตามแบบได้อย่างถูกต้อง ภาพฉายยังสามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ เช่น รูปร่าง ขนาด และผิวงาน ประกอบด้วยภาพด้านหน้า ด้านข้าง และภาพด้านบน แสดงขนาดด้านกว้าง ด้านยาว และความสูงหรือความลึกของชิ้นงานและหน่วยในการวัดขนาด เพื่อสามารถนำไปสร้างเป็นแบบจำลองหรือชิ้นงานของจริงได้

ในการเขียนภาพฉายส่วนใหญ่ จะเขียนหรืออ่านจากภาพไอโซเมตริก หรือ ภาพของจริง โดยการมองแต่ละด้านแล้วเขียนออกมาเป็นภาพฉาย 2 มิติ ตามภาพที่มองเห็น ซึ่งมีตำแหน่งการมองภาพดังนี้

การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด

การมองภาพในตำแหน่งต่าง ๆ

การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ Isometric

การเขียนภาพ 3 มิติของชิ้นงานสำเร็จตรงกับขั้นตอนใด

การเขียนภาพฉายจากการมองภาพ

สื่อเสริมเนื้อหาบทเรียน

VDO สอนการเขียนภาพฉาย