ถ้าบ้าน b อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าน a มุมแอซิมัทจากบ้านa ไปบ้าน b คือข้อใด

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ทิศ

เมื่อ :

วันพฤหัสบดี, 20 พฤษภาคม 2564

การรู้จักทิศช่วยไม่ให้หลงทาง ทิศหลัก 4 ทิศ ได้แก่ ทิศตะวันออก (E ; East) ทิศตะวันตก (W ; West) ทิศเหนือ (N ; North) และทิศใต้ ( S ; South) โดยทิศตะวันออกอยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ทิศเหนืออยู่ตรง ข้ามกับทิศใต้ และเส้นตรงที่ต่อระหว่างจุดทิศตะวันออกกับจุดทิศตะวันตก จะตัดกันเป็นมุมฉากกับเส้นตรง ที่ต่อระหว่างจุดทิศเหนือและจุดทิศใต้ ทั้งนี้ เมื่อเรายืนหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านขวามือ (ข) จะเป็นทิศ ตะวันออก และด้านซ้ายมือ (ซ) จะเป็นทิศตะวันตก


ภาพ 1 แสดงทิศทั้ง 4 บนพื้นดิน ระนาบขอบฟ้าและเส้นขอบฟ้า

ในภาพ 1 เมื่อยืนหันหน้าไปทางทิศเหนือ ซ้ายมือเป็นทิศตะวันตกและขวามือเป็นทิศตะวันออก (แต่เมื่อยืนหันหน้า ไปทางทิศใต้ ขวามือจะเป็นทิศตะวันตก และซ้ายมือเป็นทิศตะวันออก) ส่วนท้องฟ้าเป็นรูปครึ่งทรงกลมกลวงที่มีจุดสูงสุดอยู่ เหนือศีรษะ และเรียกจุดนี้ว่าจุดเหนือศีรษะ (Z ; Zenith) ส่วนพื้นราบที่คนยืนอยู่เรียกว่า ระนาบขอบฟ้า ซึ่งมีเส้นขอบฟ้า เป็นวงกลมใหญ่ที่แบ่งครึ่งทรงกลมฟ้าออกเป็นครึ่งทรงกลมอยู่สูงจากขอบฟ้า ซึ่งเรียกว่าท้องฟ้า กับครึ่งทรงกลมที่อยู่ต่ำกว่า ขอบฟ้า

ท้องฟ้า 2 ทิศทาง

ทิศบนพื้นดิน 4 ทิศหลัก นำไปใช้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 2 ส่วนได้ เช่น ท้องฟ้าทางทิศเหนือ และท้องฟ้าทางทิศใต้ โดยมีเส้นแบ่งครึ่งเป็นเส้นโค้ง EZW (เส้นโค้งที่ตั้งฉากกับเส้นขอบฟ้าตรงจุดทิศตะวันออกและตรงจุดทิศตะวันตก ซึ่งจะผ่าน จุดเหนือศีรษะด้วย) นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งท้องฟ้าออกเป็นท้องฟ้าทางทิศตะวันออกและท้องฟ้าทางทิศตะวันตกด้วย เส้นเมริเดียน NZS (เส้นโค้งที่ตั้งฉากกับเส้นขอบฟ้าตรงจุดทิศเหนือและจุดทิศใต้ ซึ่งจะผ่านจุดเหนือศีรษะด้วย)

ที่มาของทิศหลัก

ที่มาของทิศตะวันออก – ตะวันตก คือ การหมุนรอบตัวเองของโลก โดยหมุนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก รอบละ 1 วัน ไม่ว่าจะอยู่บนเส้นศูนย์สูตรโลก อยู่ในซีกโลกเหนือ หรืออยู่ในซีกโลกใต้ โลกหมุนแบบเดียวกันคือ จากทิศตะวันตก ไปทิศตะวันออก เมื่อเทียบกับการหมุนของเข็มนาฬิกาการหมุนของโลก จะเป็นตรงกันข้ามกล่าวคือ ในซีกโลกเหนือโลก หมุนทวนเข็มนาฬิกา และในซีกโลกใต้โลกหมุนตามเข็มนาฬิกา

ถ้าบ้าน b อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าน a มุมแอซิมัทจากบ้านa ไปบ้าน b คือข้อใด

ภาพ 2 แสดงทิศที่อยู่ติดกับโลก

ในภาพ 2 ถ้าผู้สังเกตยืนอยู่บนผิวโลกตรงจุดตัดของแนว EW และ NS ที่บริเวณศูนย์สูตร (ตำแหน่ง 1) เมื่อโลกหมุน จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกจึงพาท้องฟ้าของผู้สังเกตไปด้วย ทำาให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย เช่น ขณะนี้ขอบฟ้าตะวันออกชี้ไปทางดวงอาทิตย์ และดาว C ทำให้ผู้สังเกตเห็นดวงอาทิตย์และ ดาว C ขึ้นทางทิศตะวันออก เริ่มเกิดเวลากลางวัน ตรงกับเวลา 6 นาฬิกา มองไม่เห็นดาว C เพราะเป็นเวลากลางวัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมงตรงกับเวลา 12 นาฬิกา ผู้สังเกต (ตำแหน่ง 2) จะเห็นดวงอาทิตย์และดาว C ผ่านเมริเดียน ดาว D ขึ้นทางตะวันออก ดาว B ตกทางตะวันตก หลังจากนั้นอีก 6 ชั่วโมงตรงกับเวลา 18 นาฬิกา (ตำแหน่ง 3) ขอบฟ้าตะวันตก จะชี้ไปทางดวงอาทิตย์และดาว C หมายความว่าดวงอาทิตย์และดาว C กำลังตก
จากภาพ 2 จะเห็นชัดเจนว่า ผู้สังเกตที่อยู่ตรงข้ามกันบนเส้นศูนย์สูตร จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ในทิศที่แตกต่างกัน เช่น ตำแหน่ง 1 อยู่ตรงข้ามตำแหน่ง 3 ผู้สังเกตตำแหน่ง 1 เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกและเห็นดาว A ตกทางตะวันตก แต่ผู้สังเกต ณ ตำแหน่ง 3 เห็นดวงอาทิตย์ตกทางตะวันตก และเห็นดาว A ขึ้นทางตะวันออก ส่วนตำแหน่ง 4 เป็นตำแหน่ง เมื่อเวลาเที่ยงคืนของผู้สังเกต

ทิศบนท้องฟ้าและทิศบนโลกเกิดจากเหตุเดียวกัน

โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก คือสาเหตุที่ทำให้ผู้สังเกตบอกได้ว่า ประเทศเมียนมาร์อยู่ทาง ทิศตะวันตกของประเทศไทย เพราะโลกหมุนจากตะวันตก (เมียนมาร์) มาทางตะวันออก (ประเทศไทย) มีอีกหลายประเทศ นอกจากเมียนมาร์ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย เช่น อินเดีย ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ในแอฟริกา และในฝั่งตะวันออก ของอเมริกาใต้ ส่วนประเทศที่อยู่ตรงกันข้ามกับประเทศไทย คือ ประเทศที่ใช้เขตเวลามาตรฐานน้อยกว่าของประเทศไทย 12 ชั่วโมง (เขต -5 ชั่วโมง) เช่น ฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ สำาหรับประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย โดยเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนมีหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมไปถึงฝั่งตะวันตกและตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ

ทิศบนท้องฟ้าเกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง จากภาพ 2 ดวงอาทิตย์และดาว C อยู่ตรงข้ามกับดาว A ทำให้เห็น ดาว A ตลอดทั้งคืน (ขึ้นเวลา 18 นาฬิกา ตกเวลา 6 นาฬิกา) ดาว D อยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์เป็นมุม 90 องศา จึงขึ้นเวลา 12 นาฬิกากลางวัน (เวลาเที่ยงวัน) และตกเวลา 24 นาฬิกา (เวลาเที่ยงคืน)

ดาว B อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์เป็นมุม 90 องศา จึงขึ้นเวลากลางคืนเมื่อเวลา 24 นาฬิกาหรือเที่ยงคืน และตกเวลาเที่ยงวัน

ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ เมื่ออยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลากลางวัน และเมื่ออยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลากลางคืน

ดวงจันทร์ โคจรรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก รอบละ 1 เดือน จึงมีโอกาสที่จะอยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์ประมาณ ครึ่งเดือน และอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์อีกครึ่งเดือน ตำแหน่ง ที่ดวงจันทร์อยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์คือ ดวงจันทร์ข้างขึ้น และตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์คือ ดวงจันทร์ข้ามแรม ดังนั้น ดวงจันทร์ข้างขึ้นจึงขึ้นเวลากลางวัน เช่นวันขึ้น 8 ค่ำ ดวงจันทร์จะขึ้นเวลาประมาณ 12 นาฬิกา ส่วนดวงจันทร์ข้างแรม ขึ้นเวลากลางคืน เช่น วันแรม 8 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นเวลาประมาณ 24 นาฬิกา


ภาพ 3 แสดงข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
ที่มา https://www.stkc.go.th/info/ข้างขึ้นข้างแรม

ดาวเคราะห์ โคจรรอบดวงอาทิตย์จากตะวันตกไปตะวันออก ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น ดาวพุธ ดาวศุกร์ เคลื่อนที่ไปทาง ตะวันออกเร็วกว่าดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปทาง ตะวันออกวันละประมาณ 1 องศา เพราะการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ การเลื่อนไปทางตะวันออกวันละประมาณ 1 องศา จึงเป็นการเคลื่อนที่ แทนโลก ซึ่งโคจรเร็วเป็นที่ 3 รองจากดาวพุธและดาวศุกร์) ส่วนดาวเคราะห์ ที่เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกช้ากว่าดวงอาทิตย์คือ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์

ถ้าบ้าน b อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าน a มุมแอซิมัทจากบ้านa ไปบ้าน b คือข้อใด

ภาพ 4 ระบบสุริยะ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสุริยะ

การปรากฏเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ทำาให้ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออกหรือตะวันตกแตกต่างกันไปอย่างไม่คงที่ ในขณะที่ดาวฤกษ์ ดวงใดดวงหนึ่ง จะอยู่ห่างไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของดวงอาทิตย์เป็นมุมที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างคงที่ ตามวันที่เพิ่ม ไปข้างหน้า ดังตารางต่อไปนี้

ภาพ 5 แสดงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออก

ภาพ 5 เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออก ทำให้คนบนโลกสังเกตเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางตะวันออก ผ่านดาวฤกษ์ A B C D และกลับมาที่เดิม A ในเวลา 1 ปี โดย A B C D เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวปลา กลุ่มดาวคนคู่ และกลุ่มดาวหญิงสาว ตามลำดับ ภาพนี้ใช้บอกตำแหน่งของดาวเทียบกับดวงอาทิตย์ในตารางข้างบน

มุมห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์

เป็นมุมที่วัดตามแนวสุริยวิถี ซึ่งเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี และโดยเหตุ ที่มุมเอียงของระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์กับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมเล็ก ๆ (น้อยกว่า 7 องศา) ดาวเคราะห์จึงปรากฏอยู่ใกล้ สุริยวิถี เมื่อเห็นดาวเคราะห์อยู่บนฟ้า จึงเรียงเป็นเส้นโค้งเดียวกัน ดังภาพ 6

ภาพ 6 แสดง ตำแหน่งดวงอาทิตย์  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวศุกร์ 
ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2463 เวลา 6 นาฬิกา

จากภาพ 6 ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคารและดาวเสาร์อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ โดยอยู่ห่างดวงอาทิตย์ เป็นมุม 67 องศา 67 องศา 60 องศา ตามลำดับ ดาวพฤหัสบดีจึงขึ้นก่อนดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ ดาวพฤหัสบดี คือ ดาวอังคาร และต่ำลงไปทางตะวันออกคือ ดาวเสาร์ ซึ่งสว่างกว่าดาวอังคาร (โชติมาตร-2) เพราะมีโชติมาตร-2 ในขณะที่ดาว พฤหัสบดี (โชติมาตร-2) สว่างกว่าดวงอื่น ๆ ในเวลาใกล้รุ่ง
ส่วนดาวศุกร์ (โชติมาตร-4.2) อยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์เป็นมุม 45 องศา จึงขึ้นเวลากลางวันตาม หลังดวงอาทิตย์ ปรากฏให้เห็นเป็นดาวประจำเมือง เป็นดาวที่สว่างสุกใสทางตะวันตกในเวลาหัวคำค่ำ
โชติมาตรคือ การบอกความสว่างของเทห์ฟ้าเมื่อมองจากโลก เป็นความสว่างตามที่มองเห็นหรือตรวจวัดได้ ขึ้นกับการส่องสว่าง ค่ายิ่งน้อยแสดงว่ายิ่งสว่างมาก เช่น ดวงอาทิตย์ ค่าความสว่าง = -26.8 Magnitude [mag.] ดาว Sirius = -1.5 Magnitude [mag.] ดาวเคราะห์น้อย = +15 Magnitude [mag.] ขึ้น

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/ 

บรรณานุกรม
K. Adulyanukosol, S. Poovachiranon & P. Boukaew, (2010). Stomach contents of dugongs (Dugong dugon) from Trang Province, Thailand. Proceedings of the th International Symposium on SEASTAR2000 and Asian Bio-logging Science (The 9th SEASTAR2000 workshop):51-57.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ทิศ, การโคจรของดวงอาทิตย์, การโคจรของดวงจันทร์

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอาทิตย์, 01 มีนาคม 2563

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

ถ้าบ้าน b อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าน a มุมแอซิมัทจากบ้านa ไปบ้าน b คือข้อใด

Hits

ถ้าบ้าน b อยู่ทางทิศตะวันตกของบ้าน a มุมแอซิมัทจากบ้านa ไปบ้าน b คือข้อใด
(628)

โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยดูจากเหนือขั้วโลกเหนือ ซึ่งแสดงโดยจุด ช่วงปลายเดือน (ประมาณวันที่ 21 ของเดือ ...