จริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้คลอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ดังนี้

  • การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
  • การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
  • การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
  • การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมา แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์


2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ

  • ความถูกต้องของข้อมูลขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูล
  • ต้องมีผู้รับผิดชอบในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
  • ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนการบันทึกหรือนำเข้าฐานข้อมูล
  • ข้อมูลต้องมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
  • ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ 

3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ ฯลฯ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) อันได้แก่ ดนตรี วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปิดช่องทางให้ผลงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานด้านดนตรี วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตร์สามารถถูกจัดเก็บในรูปแบบที่เป็นข้อมูลดิจิทัล ทำให้ง่ายต่อการคัดลอกและนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน จึงเกิดเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น

โดยทั่วไปในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะพิจารณาถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การใช้ซอฟต์แวร์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากผู้สร้าง โดยใบอนุญาต (license) เป็นสัญญาระหว่างผู้สร้างกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ที่ให้สิทธิผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่นั้นจะมาพร้อมลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เมื่อเราซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ หมายความว่าเราได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้า แต่ลิขสิทธิ์นั้นไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินซื้อเสมอไป อันที่จริงแล้วลิขสิทธิ์มีไว้เพื่อบ่งบอกสิทธิของผู้ที่จะใช้ว่า มีสิทธิแค่ไหน ทำอะไรได้บ้างซึ่งซอฟแวร์ลิขสิทธิ์แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะการคุ้มครอง ดังนี้
ประเภทของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
  • Commercial ware คือ ซอฟต์แวร์ที่เน้นในเรื่องของการทำธุรกิจ ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้ มีการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
  • Share ware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้ทดลองใช้งานก่อน เมื่อผู้ใช้ตัดสินใจซื้อ เจ้าของจะทำการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
  • Ad ware คือ โปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยมักมีโฆษณาขึ้นมาในหน้าเบราว์เซอร์ระหว่างการใช้ หรือมีการเก็บเงินหากต้องการใช้ในเวอร์ชั่นที่ไม่มีโฆษณา ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่
  • Free ware คือ โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี โดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ เลย แต่ผู้ใช้ต้องไม่นำโปรแกรมไปใช้ในเชิงธุรกิจ การคุ้มครองจะน้อย หรือมีการคุ้มครองเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
  • Open source คือ โปรแกรมที่ทำออกมาให้ใช้ฟรี และผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก้ไขได้อีกด้วย

4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibillty) 

แนวประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล จะต้องมีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล โดยการกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลตามระดับของผู้ใช้งาน และป้องกันมิให้ผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้องเข้าดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

กันมากขึ้น เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความบกพร่อง และความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมหรือจริยธรรมของผู้คนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งเน้นการสร้างสรรค์ทางวัตถุ และการแสวงหาความสุขสบายให้แก่ชีวิตด้วยการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวก และรูปแบบของความบันเทิงในลักษณะต่าง ๆ ได้แพร่กระจายเข้าสู่สังคมเมืองของไทยอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว อิทธิพลการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้คนในชนบทหลั่งไหลกันอพยพเข้าสู่เมืองหลวงอย่างมากมายและต่อเนื่อง


 


จริยธรรมทางธุรกิจ


              องค์การธุรกิจในยุคใหม่ต้องบริหารงานโดยคำนึงถึงจริยธรรม รับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อพนักงานด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม และรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังต้องดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใสพร้อมจะให้สาธารณชนตรวจสอบเสมอ   จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่อง จริยธรรมจะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใดๆ


 


จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


 


         จริยธรรม หมายถึง "หลัก ศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการ ใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ แล้ว จะกล่าวถึงใน 4ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
                1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)


                2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)   


                3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
                4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) 


 


ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 
                ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้า สังเกตดังนี้


                1. การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการ บันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่ม ข่าวสาร


                2. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรม ของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของ พนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
                3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
                4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์


 


ความถูกต้อง (Information Accuracy) 
                ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการ บันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัด เก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด


ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง 


 


ความเป็นเจ้าของ (Information Property)


                สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น


ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด


 


การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)


                ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้า ถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่าง เคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น


 


กรณีศึกษา เรื่องจริยธรรมของนักสารสนเทศ และ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ


      เป็นที่ทราบกันดีว่า คอมพิวเตอร์หรือ อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน ขึ้นอยู่กับคนที่ใช้ว่าใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายล้าง แต่ถ้าพูดถึงด้านการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางที่ผิด ก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นข่าวครึกโครมอยู่บ่อยครั้งกับกรณีที่มีผู้ไม่หวังดีใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงหญิงสาวไปข่มขืนและชิงทรัพย์
      จากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2549 ที่ผ่านมา ตำรวจได้ตาม ตะครุบตัว นายหนึ่ง (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี หลังจากได้ร่วมกับพรรคพวกที่ยังหลบหนี หลอกลวงหญิงสาวผู้เสียหายที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมแชต (Chat) โดยมีการแลกเบอร์โทรศัพท์และนัดเจอกัน สุดท้ายก็ไปจบลงตรงที่เหยื่อถูกบังคับข่มขืนจนยับเยิน แถมยังบังคับให้เหยื่อโทรศัพท์ไปบอกญาติโอนเงินมาให้อีกกว่า 1 แสนบาท ก่อนจะพาร่างอันสะบักสะบอมของเหยื่อไปปล่อยทิ้งไว้
     ถัดมารุ่งเช้า จิ้งจอกสังคมออกปฏิบัติการอีก โดยใช้ แชตออนไลน์เป็นเครื่องมือเหมือนเดิม พูดคุยหลอกล่อเหยื่อสาวซึ่งเป็น นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งจนตายใจ แล้วใช้แผนสองนัดแนะเจอกัน เมื่อเหยื่อสาวหลงเชื่อยอมซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปด้วย โดยพาเหยื่อเลี้ยวเข้าอพาร์ตเมนต์ไปบังคับข่มขืนใจ ก่อนจะชิ่งหนีลอยนวล  ซึ่งจากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นแล้วว่ามหาภัยจาก แชตออนไลน์น่ากลัวและอันตรายเพียงใด หากถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม เหยื่อบางรายอาจจะ โชคดีในความ โชคร้ายที่แม้จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเอาชีวิตรอดกลับบ้านได้ ในขณะที่หลายรายอาจไม่โชคดีเช่นนั้น


1. จากกรณีศึกษาข้างต้นมีปัญหาที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง ให้ระบุออกเป็นข้อ ๆ อย่างชัดเจน


    1.1.ตัวบุคคลไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
    1.2.ใช้ Internet ในทางที่ผิดจรรยาบรรณ
    1.3.การใช้สื่อในทางที่ผิด
    1.4.ไม่สามารถวิเคราะห์ ข้อมูล หรือ เจตนา ของฝ่ายตรงข้ามได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่
    1.5.อัตราเสี่ยงในการถูกล่อลวงและละเมิดทางเพศมีสูง


2. วิเคราะห์ปัญหาในแต่ละข้อ ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง


     2.1 ปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลเองที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  การสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตมนปัจจุบันมีการใช้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นที่มีค่านิยมที่ผิดหลงเชื่อคนงายไม่คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ไว้ใจคนอื่นที่ยังไม่รู้จักเป็นอย่างมาก ทั้งนี้สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น อาจมาจากการที่วัยรุ่นบางคนได้รับค่านิยมที่ผิดๆ คิดว่าบุคคลอื่นที่เป็นคู่สนทนามีความเชื่อใจได้มาก ขาดความดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง ขาดประสบการณ์  และไม่ได้รับคำแนะนำจากคนใกล้ชิด
     2.2 การใช้ Internet ที่ผิดจรรยาบรรณ จากตัวอย่าง ในการใช้ Internet ที่ผิดกฏหมายของกรณีตัวอย่าง เป็น การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย ทั้งร่างกาย และ จิตใจ เนื่องจากในโลกของ Internet ผู้ที่ถูกล่อลวงไปนั้น ไม่ทราบว่า ตนเองถูกล่อลวงไปทำมิดี มิร้ายจนทำให้ผู้ร้ายเกิดการชะล่าใจในการกระทำความผิด
     2.3 การใช้สื่อในทางที่ผิด    ในยุคแห่งการสื่อสารที่ทันสมัย ไม่ว่าจะอินเตอร์เน็ตหรือโทรศัพท์ นอกจากผู้ใช้จะได้รับประโยชน์แล้ว ยังให้โทษหรือผลเสียจากการใช้ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งจากกรณีศึกษานี้โปรแกรมแชตออนไลน์ที่วัยรุ่นส่วนมากใช้สนทนากัน เช่น เอ็มเอสเอ็นและแคมฟรอก รวมถึงเกมออนไลน์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น เนื่องจากเกิดการติดงอมแงม เลิกไม่ได้ และหากไม่ได้เล่นก็จะเหงา เศร้า บางรายอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและชอบใช้กำลังร่วมด้วย
             “เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันมีกล้องที่สามารถติดต่อคุยกันหรือโชว์อวัยวะเพศกันสดๆ ยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจขึ้นไปอีก ที่น่าเป็นห่วงก็คือในสมัยก่อนจะกระทำกันในเฉพาะห้องส่วนตัว แต่ปัจจุบันแม้กระทั่งร้านอินเตอร์เน็ตก็ไม่มีใครอาย นี่คือตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีที่ผิด ส่วนผลที่ตามมาอาจจะมีการอัดวิดีโอเพื่อทำเป็นคลิปโพสต์ตามเว็บไซต์ต่างๆ สร้างความเดือดร้อนและอับอายแต่ตนเองและครอบครัว
     2.4 การแชตทางอิเตอร์เน็ตมีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกได้ง่าย เพราะการแชตเป็นการสนทนาที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไรอยู่ ต่างฝ่ายต่างไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน จึงมีการแลกเปลี่ยนเบอร์เพื่อที่จะทำความรู้จักกันมากขึ้น นำไปสู่ปัญญาที่ไม่อาจคาดคิดได้
     2.5 การหลงเชื่อคนง่ายในการสนทนาออนไลน์จะเป็นอัตราเสี่ยงที่ทำให้ถูกล่อลวงจนทำให้เป็นสาเหตุที่เกิดภัยและการแชตเพื่อหาเพื่อนคุยจากเวลาว่างของวัยรุ่นโดยทั่วไปมักจะใช้การแชตออนไลน์และการเล่นเกมหรือกระทำการต่างๆโดยใช้อินเตอร์เน็ตจนทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตไปแล้ว จึงทำให้เป็นอัตราที่มีความเสี่ยงในการถูกกระทำการล่อลวงและถูกละเมิดทางเพศสูง


3. ท่านจะแก้ปัญหาจากกรณีศึกษานี้อย่างไร ขอให้เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้จริงโดยอ้างอิงจากเนื้อหาสาระ ทฤษฎีที่เรียน


     3.1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) ในการใช้อินเตอร์เน็ตหรือการสนทนาของวัยรุ่นควร มีความรู้และรู้จักการให้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และที่สำคัญควรรู้จักการตัดสินใจคิดวิเคราะห์ที่มีหลักการ ควรมีการพิจาราอย่างรอบด้าน
     3.2 คิดเป็นแบบแผน (Mental Models) ในการใช้อินเตอร์เน็ตหรือการสนทนา จากตัวตัววัยรุ่นเองควรมีการพิจารณาคิดอย่างมีหลักการและควรคิดให้รอบคอบ
สามารถนำความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)
     3.3 สร้างภูมิคุ้มกันจากครอบครัวและสังคม
     3.4 สื่อในฐานะที่มีบทบาทชี้นำ ยกระดับ ถ่ายทอดวัฒนธรรม และสะท้อนปัญหาก็ควรทำหน้าที่เชิงรุก เพราะเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลอยู่แล้ว ต้องเป็นฝ่ายกระตุ้นให้ผู้ปกครองลุกขึ้นมา เตือนลูกหลานและหาวิธีการป้องกันที่เป็นปัญหาที่เกิดจากต้นเหตุและไปหาข้อสรุปที่ปลายเหตุของปัญหานั้น
     3.5 ไม่ควรไว้ใจคนง่าย ควรทำความรู้จักกันให้มากก่อนที่จะแลกเบอร์หรือนัดพบกันตามลำพัง
     3.6 ในการแก้ปัญหาจะทำโดยจะต้องมีความเชื่อในตัวเองไม่หลงเชื่อคนง่ายและควรใช้เวลาว่างส่วนใหญ่เปลี่ยนไปทำสิ่งใหม่ๆและจะใช้หลักการวิเคราะห์ในลักษณะความรู้ที่ไม่ชัดเจนความรู้ในคนคือบางสิ่งบางอย่างในความคิดของบุคคล บุคคลอื่นก็ไม่สามารถทราบความคิดของบุคคลนัน้ได้จึงทำให้การใช้หลักการวิเคราะห์นี้เป็นการวิเคราะห์ที่ช่วยทำให้ลดอัตราความเสี่ยงการเกิดการล่อลวงและล่วงละเมิดทางเพศได้ในด้านการเปลี่ยนทิศทางความคิดของตัวบุคคล


4. การตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ ขอให้เสนอเหตุผลมาสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงตัดสินใจเช่นนั้น


     - ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) เพราะ การสนทนาบนโลกออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษ จึงควรมีความรู้รอบด้านที่มาใช้ในการตัดสินใจ และรู้จักป้องกันตนเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น หนทางในการแก้ไขปัญหาจึงไม่ใช้หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ตกเป็นของทุกฝ่ายที่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นมากที่สุด ต้องให้ความเข้าใจ และไว้วางใจกับเด็ก เพื่อบรรเทาปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
     -การใช้สื่อในทางผิดกฎหมายในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งในระดับสังคมซึ่งยากที่จะแก้ไขได้เพราะเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ที่เลือกสถาบันครอบครัวมาช่วยในการแก้ปัญหานี้ก็เพราะว่า ครอบครัวมีความสำคัญยิ่งที่จะคอยสอดส่องดูแลบุตรหลานในการประพฤติปฏิบัติตัวในการดำรงชีวิตในสังคม และสื่อก็เป็นตัวนำเสนอเหตุการณ์หรือข้อคิดดีๆเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าปัญหาที่เกิดในปัจจุบันนี้ได้ส่งผลกระทบในเรื่องใดบ้างแล้วจะมีปัญหาอะไรตามมา ครอบครัวก็จะได้
     - เพราะหลักการวิเคราะห์จะช่วยทำให้ลดอัตราความเสี่ยงการเกิดการล่อลวงและล่วงละเมิดทางเพศได้ในด้านการเปลี่ยนทิศทางความคิดของตัวบุคคล


5.สรุป


      จากการใช้ทฤษฎีในด้านความรู้ที่ไม่ชัดในด้านความรู้ในคนจะช่วยทำให้สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับความคิดในตัวของแต่ละบุคคลที่จะวิเคราะห์ถึงความจริงหรือเท็จในคำกล่าวที่ได้ทราบถึงข้อมูลที่บุคคลนั้นได้กล่าวมา

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

จรรยาบรรณในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง

เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ ดังนี้คือ 1) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2) ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3) ต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4) ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5) ต้องไม่ใช้ คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6 ...

จริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สารสนเทศ มีกี่ประเด็น อะไรบ้าง

υ จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะ ตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย υ 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) υ 2.ความถูกต้อง (Accuracy) υ 3.ความเป็นเจ้าของ (Property) υ 4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไรให้ปลอดภัย และมีจริยธรรม

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย.
ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว.
กำหนดรหัสผ่านให้รัดกุม เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน.
ออกจากระบบทุกครั้งหลังใช้งาน.
ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์.
ขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา.