ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร

ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีหลากหลายวัฒนธรรมและใช้หลายภาษา (พหุภาษา) แต่ ‘คิดว่าตัวเองเป็นสังคมภาษาเดียว’ จากความพยายามในการสร้าง ‘ชาติ’ และวัฒนธรรม ‘ไทย’ เพื่อรวมคนทั้งประเทศด้วยแนวคิดชาตินิยม   ความหลากหลายในยุคนั้นจึงถูกมองเป็นภัยคุกคามประเทศ ผู้มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์จำนวนหนึ่งจึงได้มีความพยายามที่จะหลอมตัวเองเข้ากับวัฒนธรรมทางการเพื่อให้ได้การยอมรับจากสังคมภายนอก ซึ่งนอกจากจะทำให้คนรุ่นหลังพูดและแสดงออกทางวัฒนธรรมน้อยลงแล้ว ยังส่งผลให้ความคิดและโลกทัศน์ ภูมิปัญญา อย่างดนตรี ภาษาเขียน การแต่งกาย เรื่องเล่า นิทาน องค์ความรู้ สูตรอาหาร หายไปอย่างน่าเสียดาย

เมื่อเวลาผ่านไปได้มีการเรียกร้องให้ให้รัฐเคารพอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการแสดงออก รวมถึงให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สามารถกำหนดวิถีชีวิตตนเอง อย่างไรก็ดีอคติทางสังคมยังคงอยู่ และกลายเป็นช่องว่างระหว่างผู้ที่มีวัฒนธรรมย่อย กับ ‘คนไทย’  ยกตัวอย่าง การที่รัฐไม่ยอมรับว่าคนกลุ่มชาติพันธุ์เป็นคนของรัฐด้วยการไม่ให้สัญชาติ ซึ่งส่งผลให้พวกเขาเสี่ยงถูกละเมิดสิทธิ์ (ถูกไล่ที่อยู่ที่ทำกิน) และมักถูกละเลยจากกระบวนการการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำปะปา การบริการสาธารณะ การศึกษา การบริการทางการแพทย์ และมากกว่านั้น  หนำซ้ำ ยังถูกผลิตซ้ำภาพจำของการ ‘เป็นอื่น’ เป็นผู้อพยพ ผู้ร้าย (เผาป่า ค้ายา) คนด้อยโอกาส และไร้การศึกษา ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและความรู้สึกของผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยตรง

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา

เรามีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 70 กว่ากลุ่มที่อยู่ในพื้นที่หรือย้ายเข้ามาก่อนการแบ่งเขตแดน หรือก่อนการเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ ส่วนภาษาที่ใช้ในประเทศไทยก็มีถึง 72 กลุ่มภาษา เป็นอย่างต่ำ ซึ่งมีตั้งแต่ภาษาที่มีจำนวนผู้พูดหลักร้อย เช่น ภาษาบีซู (เชียงราย) ภาษากว๋อง (ผู้อพยพชาวจีน) และภาษาชอง (จันทบุรี ตราด) ไปจนถึงหลักแสน เช่น ภาษามลายูถิ่น (ชายแดนภาคใต้) ภาษาเขมรถิ่นไทย (ศรีสะเกษและชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-กัมพูชา) ภาษากะเหรี่ยง (กระจายอยู่ทั่วประเทศ) และภาษาม้ง (เชียงราย แม่ฮ่องสอน และแถบภาคเหนือตอนบน)  และหลักล้าน ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นตามภาคต่างๆ และภาษาไทยราชการ

เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมคนเข้ากับสังคมและการเรียนรู้ คนที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาจะใช้ภาษาต่างๆ ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น ใช้ภาษาท้องถิ่นในครอบครัว/ชุมชน ใช้ภาษาท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคเพื่อติดต่อและค้าขาย และใช้ภาษาไทยราชการเพื่อทำงานติดต่อกับคนนอกพื้นที่และเรียนหนังสือ 

บ้าน

บ้านเป็นกลุ่มสังคมแรกที่เราเข้าไปอยู่ นอกจากบ้านจะปฏิบัติและพูดภาษาตามรากเหง้าตัวเองแล้ว แต่ละครอบครัวมีวัฒนธรรมย่อยในบ้านอีกที  ไม่ว่าจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ระดับความเคร่งครัดของการปฏิบัติตามธรรม ไลฟ์สไตล์ การส่งเสริมคนในบ้านตามคุณค่าที่ยึดถือ บางบ้านสอนลูกฟังและพูดภาษาแม่ (ภาษาแรกที่เราเรียนรู้มักถูกสอนโดยแม่) บางบ้านสอนให้ใช้ภาษากลางเป็นภาษาแรก ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ในบ้านเป็นผู้นำ


ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร
ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร

ภาพจาก UNICEF – รายงานโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ–พหุภาษา (ภาษาไทย–มลายูถิ่น)

จากปัญหาการลดการแสดงออกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และผลกระทบจากกระแสโลกผ่านอินเทอร์เน็ต เศรษฐกิจ ค่านิยมด้านวัฒนธรรมสมัยใหม่ของสังคมและการเมืองทำให้มรดกทางวัฒนธรรมหลายอย่างหายไป  ยกตัวอย่างเรื่องการใช้ภาษาถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนจึงไม่มีการเก็บบันทึกและสืบทอดอย่างเป็นระบบและหลักฐาน และมีผู้พูดเพียงร้อยคนจึงยากที่จะรักษาไว้ มีกลุ่มภาษาอย่างน้อย 25 จาก 72 กลุ่มตกอยู่ในภาวะวิกฤติใกล้สูญหาย

โรงเรียน
จากการเรียนรู้ทักษะการฟังพูดจากภาษาแม่ (และการอ่านเขียน หากมี) ก่อนจะไปเรียนฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทย ซึ่งหลายๆ ครั้ง บทเรียนที่ใช้ในหลักสูตรทั่วไปก็ไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงภาษาและวัฒนธรรมและประสบการณ์ชีวิตที่บ้านได้ เนื่องด้วยที่ผ่านมา การศึกษาที่รัฐจัดให้กับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมบ่มเพาะและ ‘เปลี่ยน’ ให้เป็น ‘ไทย’ และในช่วงพ.ศ. 2500 โรงเรียนได้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานในการเรียนการสอนเท่านั้น และมีการสั่งห้ามไม่ให้นักเรียนพูดภาษาถิ่นในโรงเรียน (ปัจจุบันได้ยกเลิกคำสั่งนี้แล้ว) ทำให้ภาษาท้องถิ่นหมดความหมายและเยาวชนไม่เห็นประโยชน์ของภาษาท้องถิ่นของตน

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจึงเริ่มเกิดขี้นกับนักเรียนชาติพันธุ์ในโรงเรียน เพราะเด็กที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาแรกนั้นมีอุปสรรคในการสื่อสาร ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ครูพูดและบทเรียนได้ เมื่อสอบออกมาก็ได้คะแนนน้อย  และในกรณีเรียนรวมกับเด็กกลุ่มที่พูดภาษาไทยหรือภาษาท้องที่เป็นภาษาแม่ เด็กชาติพันธุ์ก็มักจะต้องต่อสู้กับการถูกล้อเลียนเรื่องสำเนียง การใช้คำมากกว่าเรียนรู้  สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุให้เด็กเกิดความทุกข์ ไม่สนุกกับการเรียน และไม่อยากไปโรงเรียน ขาดเรียนบ่อย และอาจออกกลางคันในที่สุด

ที่ทำงาน/ชุมชน/สังคม

นอกจากอคติที่ทำให้พวกเขาเป็นอื่นในสังคมและไม่ได้รับสิทธิ์สวัสดิการอย่างเท่าเทียมแล้ว กลุ่มผู้มีวัฒนธรรมหลากหลายยังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่มีรายได้และที่ทำกิน   ย้อนกลับไป พวกเขาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าหรือแหล่งธรรมชาติทำให้อาชีพดั้งเดิมของพวกเขาเป็นการทำเกษตรหรือทำประมงเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและมีการห้ามไม่ให้อาศัยหรือทำมาหากินในพื้นที่ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนหนึ่งถูกสั่งย้ายถิ่นฐาน ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยน อาจปรับตัวกับชุมชนใหม่ไม่ทันและไม่สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามข่าว

การเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งในหารายได้ แต่งานส่วนใหญ่ที่คนชาติพันธุ์ทำมักจะเป็นงานแรงงาน หาเช้ากินค่ำมากกว่างานในระดับสูงที่ได้ค่าตอบแทนมากกว่าและมั่นคงกว่า รวมไปจนถึงทำงานผิดกฎหมาย (เช่น เด็กไร้สัญชาติออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อไปทำงานบ่อนการพนัน เนื่องจากได้ค่าแรงมากกว่ารอเรียนจนจบมัธยมด้วยซ้ำ เพราะต่อให้เรียนจบสูง ออกไปทำงานก็ถูกกดค่าแรงอยู่ดี) 

Interesting Facts

  • จากผลการดำเนินการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาไทยเพียงอย่างเดียว (ที่ใช้กันมากว่า 70 ปี) นั้นพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ เพราะเด็กนักเรียนไทยเชื้อสายอื่นๆ ยังคงมีผลการเรียนวิชาภาษาไทยต่ำ และมักจะยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้  การบรรจุภาษาแม่ของเด็กไปในระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการจึงเป็นทางออกใหม่  ซึ่งตอบรับกับแนวโน้มที่โรงเรียนหลายแห่งมีเด็กต่างชาติและเด็กชาติพันธุ์หลากหลายเรียนอยู่รวมกันจะเพิ่มจำนวนขึ้น 
  • การเปิดพื้นที่ที่บ้านให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยียนเรียนรู้ก็เป็นอีกทางช่องทางที่กลุ่มชาติพันธุ์นิยม แต่ในความจริง รายได้เพียง 5% เท่านั้นที่ไปถึงมือเจ้าของบ้าน เพราะต้องเสียค่าผ่านให้กับโรงแรมและบริษัทท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยวจึงไม่สามารถยืนด้วยแข้งขาตัวเองได้ แถมวิถีชีวิตของผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ถูกทำให้กลายเป็น ‘สินค้า’ ของการท่องเที่ยว โดยไม่ได้รับการสนับสนุนการผลิตสินค้าเลย เช่น การทอผ้านั้นต้องใช้อุปกรณ์ตามวิธีการดั้งเดิม และบางอย่างอาจอยู่ในเขตป่าสงวน ป่าอุทยาน ไม่สามารถนำมาผลิตผ้าได้

Challenges!

  1. ความหลากหลายทางวัฒนธรรมควรได้รับการให้ความสำคัญมากกว่านี้ โดยเป็นบทเรียนที่สำคัญในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการเน้นเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้เรียนหลากวัฒนธรรมเรียนอยู่เท่านั้น เพราะในความจริง สังคมคือการอยู่ร่วมกันของคนหลากหลายที่มา และวัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งตายตัวแต่เป็นวิถีชีวิตของคน  โรงเรียนจึงควรที่จะสอนทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม การเปิดใจมองวัฒนธรรมอื่นที่ต่างจากตนเองอย่างไม่ด่วนตัดสิน การพยายามทำความเข้าใจ ยอมรับ เคารพความแตกต่าง และลดอคติ เราทำอย่างไรได้บ้างให้นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ได้รู้จัก เรียนรู้ และเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  2. หากภาษาถิ่น องค์ความรู้ที่มักอยู่ในภาษาเขียน และวัฒนธรรมสูญหายไปจะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นบ้าง ทำไมการรักษาวัฒนธรรมหลากหลายถึงมีความสำคัญ แล้วเราจะรักษาวัฒนธรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นได้อย่างไรบ้าง
  3. มีผู้มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ทำงานระดับสูง ในระดับที่ได้ตัดสินใจน้อยมาก ทำให้เด็กชาติพันธุ์รุ่นใหม่ไม่มี Role Model ในการเรียนให้จบสูงๆ มากนัก เราสามารถผลักดันให้เกิดภาพจำใหม่ที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างไรบ้าง

Our favorite projects to bridge the gap

Hear & Found เข้าใจกันผ่านดนตรี

ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร
ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร

ขอบคุณภาพจาก Facebook Page: Hear & Found

เมและรักษ์ทำงานกับชุมชนและบ่อยครั้ง พบว่าดนตรีถิ่นนั้นมีความเฉพาะตัวสูง มีเครื่องเล่นดนตรีและเสียงที่แปลกและเพราะ แต่กลับเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ทั้งจากคนนอกชุมชนและคนในชุมชน อีกทั้งพวกเธอยังพบว่าคนชาติพันธุ์ถูกเข้าใจผิด จากภาพจำผิดๆ และภาพจำเหล่านั้นมีผลกับวิถีชีวิต ความรู้สึก สิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับ ซึ่งส่งผลให้วัฒนธรรมหลากหลายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  

พวกเธอพบว่าดนตรีเป็นสิ่งที่เชื่อมคนเข้าหากันได้ และด้วย background ที่เรียนด้านดนตรีและการสื่อสาร พวกเธอจึงก่อตั้ง Hear & Found เพื่อสร้างพื้นที่ให้คนเข้าใจกันผ่านดนตรี  เริ่มจากการทดลองจัดคอนเสิร์ตให้คนเมืองมาฟังดนตรีและเรื่องเล่าจากศิลปินโดยตรง ลบล้างความเชื่อผิดๆ ที่มีเกี่ยวกับชาติพันธุ์นั้นๆ และยังได้สนับสนุนรายได้ให้กับนักดนตรีด้วย  ปัจจุบัน Hear & Found กำลังทำ Music Library เพื่อเป็นศูนย์รวมดนตรีถิ่นและเสียงธรรมชาติให้คนทั่วโลกได้ฟังและหยิบไปใช้ต่อยอดในงานของตัวเอง โดยที่ให้ค่าลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมแก่เจ้าของดนตรี ซึ่งในกระบวนการเก็บเสียงดนตรีและที่มาที่ไปนั้น พวกเธอก็ได้ช่วยถอดตัวโน้ตให้ดนตรีถิ่นที่มักจะถูกสอนโดยไม่มีโน้ต ได้เทียบกับหลักดนตรีสากล เป็นการเก็บรักษาวัฒนธรรมไม่ให้สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย

โครงการฝึกอบรมล่ามเพื่อให้บริการกับคนชาติพันธุ์ 

ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร
ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร

ขอบคุณภาพจาก The Cloud

วิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นคนชนเผ่าที่ทำงานกับกลุ่มคนชนเผ่า ทำให้เห็นชนกลุ่มน้อยถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบโดยตลอด รวมถึงการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ด้วยปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดกันคนละภาษา หรือความพยายามที่จะการสื่อสารแต่เกิดความผิดพลาด ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เกือบ 5 แสนคน ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล  

โครงการฝึกอบรมล่ามจึงเกิดขึ้นเพื่อให้บริการแก่ชาวเผ่าและคนชายขอบตามโรงพยาบาลต่างๆ ให้ได้รับบริการที่เท่าเทียมกับบุคคลผู้ถือสัญชาติไทย  ปัจจุบันโครงการล่ามชนเผ่าทำงานกับ 4 กลุ่มชนเผ่าใหญ่ๆ ได้แก่ ลีซู ลาหู่ กะเหรี่ยง และไทใหญ่  โดยการอบรมล่ามนั้นมีความเข้มข้นเพราะต้องเรียนรู้คำศัพท์และเสริมความรู้ทางการแพทย์เชิงเทคนิคหรือองค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษด้วย

ความหลากหลายทางสังคมมีอะไรบ้าง

Diversity คือ ความหลากหลายของผู้คนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ เพศกำเนิด ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ ชาติพันธุ์ สีผิว การศึกษา วัฒนธรรม สังคม ความพิการ ความเจ็บป่วย รสนิยมทางเพศ สถานภาพการสมรส สถานภาพทางสังคม หรือความเห็นทางการเมือง

ความหลากหลายทางสังคม หมายถึงอะไร

สังคมพหุลักษณ์หรือพหุสังคม [Plural Society]หมายถึงกลุ่มสังคมที่แยกย่อยออกเป็นกลุ่มภาษา กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มศาสนาหรือเชื้อชาติต่างๆ และกลุ่มชุมชน ซึ่งเป็นคำเดียวกับ Multicultural society หรือ สังคมหลากวัฒนธรรมที่นำมาใช้กับรัฐที่มีความแตกต่างหลากหลายอย่างในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแนวคิดแบบ Multiculturalismนี้เป็นการมองความ ...

Cultural Diversity มีความสําคัญอย่างไร

สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จะทำให้คนในสังคมนั้นตระหนักว่าอะไรคือเอกลักษณ์เฉพาะของวัฒนธรรมต่างๆ กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมองหาเอกลักษณ์ของตัวเอง ในขณะเดียวกันคนกลุ่มต่างๆก็เรียนรู้ที่จะเข้าใจวัฒนธรรมอื่นและอยู่ร่วมกับคนอื่น ในชีวิตประจำวันเราอาจพบเห็นคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนที่มีพ่อแม่อพยพ ...

สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติศาสนา วิถีชีวิต ความคิดและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชนในสังคมนั้นๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขสามัคคี และการเปิดรับ การไหลบ่าทางวัฒนธรรม