บิดาแห่งปัญญาประดิษฐ์คือบุคคลในข้อใด

พฤติกรรมของฝูงสัตว์ที่ทำงานร่วมกัน เช่น มดและปลวกที่ไม่ต้องมีผู้นำ แต่มีกฎง่าย ๆ ที่สมาชิกทุกตัวถือปฏิบัติ และมีการสื่อสารในหมู่สมาชิกตลอดเวลา นักธรรมชาติวิทยาเรียกพฤติกรรมนี้ว่า “การจัดการตนเอง” (Self – organization) [4] วิธีการที่มีชื่อเสียงมากวิธีหนึ่งคือ การจำลองการเดินทางของฝูงมดไปหาอาหารของมาร์โค โดริโก้ (Marco Dorigo) ที่เรียกว่า “อัลกอริทึมฝูงมด” (Ant Colony Algorithm) ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) [5] จากการสังเกตพบว่า มดเดินทางไปหาอาหารด้วยเส้นทางที่สั้นที่สุดเสมอ การจำลองพฤติกรรมของฝูงสัตว์มีอีกหลายวิธี เช่น ฝูงปลา ฝูงนก และฝูงผึ้ง [6] เป็นต้น

พฤติกรรมของฝูงสัตว์ที่ทำงานร่วมกันเช่น มดและปลวกที่สร้างรังโดยไม่ต้องมีผู้นำ แต่มีกฎง่ายๆ ที่สมาชิกทุกตัวถือปฏิบัติ และมีการสื่อสารในหมู่สมาชิกตลอดเวลาที่นักธรรมชาติวิทยาเรียกพฤติกรรมนี้ว่า ‘การจัดการตนเอง’

การค้นหาด้วยการจำลองพฤติกรรมฝูงสัตว์มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาสูงมาก ปัจจุบัน วิธีการนี้ถูกนำไปใช้หาคำตอบของปัญหาที่ยากและซับซ้อน เช่น การควบคุมให้หุ่นยนต์หลายตัวทำงานประสานกัน การหาวิธีลดค่าใช้จ่ายในระบบโลจิสติกของบริษัทขนส่ง การจัดตารางทำงานของเครื่องจักรในโรงงานขนาดใหญ่ การพยากรณ์อากาศ และการวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีการประมวลผลข้อความ (Text Processing) ซึ่งเป็นการจัดระเบียบ การนำเข้า และแสดงผลตัวอักษร เข้ามามีบทบาททำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาด เกิดขึ้นเมื่อ เนวิล (Newell) ชอว์ (Shaw) และ ไซมอน (Simon) นำเสนอวิธีแก้ปัญหาแบบทั่วไป (General Problem Solving) หรือ GPS ในปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) [7] ซึ่งเป็นการเขียนกฎแบบตรรกศาสตร์ให้เป็นระบบฐานความรู้ (Knowledge-based System) และประมวลผลด้วยวิธีค้นหาที่เรียกว่าเครื่องอนุมาน (Inference Engine) ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ลอตฟี ซาเดช (Lotfi Zadeh) ได้นำเสนอวิธีการที่เรียกว่า ตรรกะฟัสซี (Fuzzy logic) เพื่อใช้ประมวลผลกฎที่มีความกำกวม 
ด้วยการใช้วิธี GSP โจเซฟ ไวเซนบาม (Joseph Weizenbaum) ได้สร้างกฎการเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคไวยากรณ์อย่างง่าย แล้วสร้างเป็นแชทบอท (Chat bot) ตัวแรกของโลกชื่อ ELIZA ในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) [8] ในปีเดียวกัน โจชัว ลิเดอร์เบิร์ก (Joshua Lederberg) นักเคมีรางวัลโนเบล เอ็ดเวิร์ด ไฟเจนบาม (Edward Feigenbaum) และบรูซ บูชาแนน (Bruce Buchanan) ได้ร่วมกันสร้างเดนดรอล (Dendral) จากแนวคิดของ GPS เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลทางเคมี และพัฒนาต่อมาเป็น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ชื่อ ไมซิน (Mycin) ในปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) [9] 

ไมซินเป็นระบบผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยหมอวินิจฉัยโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จากการทดสอบโดยวิทยาลัยการแพทย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ไมซินทำงานได้ดีมาก แต่ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากปัญหาด้านจรรยาบรรณทางการแพทย์

การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ถูกกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น เมื่อสหภาพยุโรปได้ประกาศโครงการยูโรตร้า (Eurotra) เพื่อสร้างคอมพิวเตอร์แปลภาษา (Machine Translation) ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศโครงการคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (Fifth Generation Computer) ในปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982) ที่มีการสร้างเครื่องแปลภาษาเช่นกัน อุปสรรคอย่างหนึ่งของโครงการเหล่านี้คือ การสร้างกฎให้ครอบคลุมเงื่อนไขทุกอย่างของภาษา
โครงการเหล่านี้ประสบความสำเร็จไม่มากนัก แต่ได้ให้เครื่องมือกับปัญญาประดิษฐ์ไว้หลายชิ้น เช่น การประมวลผลแบบขนาน (Parallel Processing) การเขียนเว็บ (HTML) ฐานข้อมูลคำศัพท์ (WordNet) ตรรกะฟัสซี (Fuzzy logic) และวิธีการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented Programing) เป็นต้นการประมวลผลข้อมูล (Data Processing) ซึ่งดูเหมือนจะมีวิวัฒนาการที่สร้างผลกระทบต่อปัญญาประดิษฐ์มากที่สุด วิวัฒนาการของเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) หลังจากที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกเกิดได้ไม่นาน วอแรน แมคคูลล็อค (Warren McCulloch) และ วอล์เตอร์ พิทซ์ (Walter Pitts) นำเสนอแนวคิดการประมวลผลข้อมูลแบบโครงข่ายประสาทของมนุษย์ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดย แฟรงค์ โรเซนบลัทท์ (Frank Rosenblatt) และพัฒนาต่อมาเป็น การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) โดยผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกคือ ฮินตัน (Geoffrey Everest Hinton) การทำงานของโครงข่ายประสาทเทียมเป็นการประมวลผลเชิงตัวเลขที่แทนความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ป้อนเข้ากับผลลัพธ์ที่ต้องการทำนาย ไม่ว่าข้อมูลที่ป้อนให้กับระบบจะเป็นภาพหรือข้อความก็ตาม สาเหตุที่โครงข่ายประสาทเทียมทำแบบนี้ได้เป็นเพราะคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลทุกอย่างในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งก็คือ ตัวเลข นั่นเอง การพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมเกิดการก้าวกระโดดอย่างมากในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) เมื่อแอนดรูว์ เอง (Andrew Ng) และเจฟ ดีน (Jeff Dean) ได้พัฒนาระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบใหม่ที่สามารถเรียนรู้และจำภาพในลักษณะของกรอบแนวคิดระดับสูง (Higher-level Concepts) ระบบนี้รู้จักภาพของแมว ไม่ว่าภาพแมวนั้นจะมีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร เช่น แมวกำลังยืน นั่ง วิ่ง หรือมีสีขนที่ต่างกันออกไป ระบบการเรียนรู้เชิงลึกนำตัวอย่างที่เก็บอยู่ในรูปดิจิตอลเป็นข้อมูลป้อนเข้า และใช้คณิตศาสตร์สังเคราะห์คุณลักษณะของข้อมูลดิจิตอลให้กลายเป็นโมเดลคุณลักษณะ ที่ทำหน้าที่เสมือนกฎในการอธิบายถึงคุณลักษณะของข้อมูลป้อนเข้า ด้วยวิธีการดังกล่าว การเรียนรู้เชิงลึกจะเรียนรู้ว่าข้อมูลป้อนเข้าคืออะไร และมีคุณลักษณะอย่างไร ดังนั้น ยิ่งมีข้อมูลป้อนเข้ามากขึ้น ระบบนี้จะยิ่งฉลาดขึ้น กล่าวคือ ถ้ามีการนำตัวอย่างประโยคของการแปลภาษาไทย-อังกฤษป้อนเข้าระบบการเรียนรู้เชิงลึกมากๆ ระบบก็จะแปลภาษาได้ หรือถ้านำข้อมูลเสียงพูดที่มีตัวอักษรกำกับป้อนให้กับระบบมากๆ ระบบก็จะสามารถเขียนตัวอักษรตามเสียงพูดได้ เป็นต้น 

ถ้านำตัวอย่างประโยคของการแปลภาษาไทย-อังกฤษป้อนเข้าระบบการเรียนรู้เชิงลึกมากๆ ระบบก็จะแปลภาษาได้

ปัจจุบันทฤษฎีของปัญญาประดิษฐ์ทั้ง 3 วิธีดังกล่าว เริ่มเข้ามาบรรจบกันและทำให้เกิดเทคนิคใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญญาประดิษฐ์ยังคงมีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันมีความฉลาดเฉพาะเรื่องเท่านั้น เช่น ปัญญาประดิษฐ์ที่รู้จักภาพแมว ยังไม่สามารถเป็นล่ามได้ เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านความเร็วในการประมวลผลของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในอนาคต หากข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์หมดไป เราอาจได้เห็นปัญญาประดิษฐ์ที่คล้ายมนุษย์มากขึ้น หากนำปัญญาประดิษฐ์นี้ไปใส่ไว้ในหุ่นยนต์ เราอาจได้เห็นมนุษย์หุ่นยนต์แบบในภาพยนตร์เรื่อง I Am Mother ก็เป็นได้

บิดาแห่งปัญญาประดิษฐ์คือบุคคลในข้อใด * ก. อาริสโตเติล ข. เซอร์ไอแซ็ก นิวตัน ค. โทมส ยัง ง. จอห์น แม็กคาร์ที

อาริสโตเติล

ข้อใดคือปัญญาประดิษฐ์

AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence[1] โดยภาษาไทยใช้คำว่า ปัญญาประดิษฐ์[2] หมายถึง ระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกคล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้

คำกล่าวในข้อใดหมายถึงปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) คือเครื่องจักร (machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง

ข้อใด คือ นิยามปัญญาประดิษฐ์ ของ "จอห์น แม็กคาร์ที"

นิยายของปัญญาประดิษฐ์ใน ค.ศ.1956 จอห์น แม็กคาร์ที ได้ให้คำนิยามของปัญญาประดิษฐ์ว่า " เป็นศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ในการความฉลาดให้กับเครื่องจักร ประเภทของปัญญาประดิษ Artificial General lntelligence ( AGI )