อาเซียน +6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

อาเซียนนัด 6 ชาติกลุ่ม RCEP เร่งเจรจาเปิดเสรีการค้า-ลงทุน

ปี2013-02-28
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ไทยผนึกสมาชิกอาเซียนนัด 6 ชาติคู่ค้าเจรจาเปิดเสรี RCEP เร่งลดภาษีสินค้า ขจัดอุปสรรคการค้า-ลงทุน ที่บาหลี 26-28 เดือนนี้

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่บาหลี อินโดนีเซีย จะมีการประชุมร่วมระหว่างสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะเจรจาการค้าเสรีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค หรือ RCEP Trade Negotiating Committee เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจาความตกลงฯ รวมถึงการสรุปกรอบและแนวทางการเจรจาทั้งด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน

ทั้งนี้ RCEP จะเป็นความตกลงยุคใหม่ของอาเซียนที่จะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่แล้ว 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดย RCEP จะเป็นความตกลงแบบครอบคุมทุกด้าน ประกอบไปด้วยความร่วมมือทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และจะครอบคลุมทุกมิติในด้านการเข้าถึงตลาด

“อาเซียนตั้งเป้าลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุนและการบริการ โดยจะเปิดกว้างผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ นโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา” นางพิรมลกล่าวและว่า

ความตกลง RCEP เป็นข้อตกลงที่สำคัญที่จะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก และจะเกิดผลประโยชน์กับไทยและอาเซียนอย่างมาก เนื่องจากตลาดจะใหญ่มากขึ้น เพราะจะมีประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคนหรือคิดเป็น 49.3% ของประชากรทั้งโลก และจะมี GPD รวมกันกว่า 17,100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 27% ของ GDP โลก ซึ่งประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ถือว่า เป็นทั้งคู่เจรจา คู่ค้าและตลาดส่งออกที่สำคัญของอาเซียน

นางพรพิมล กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย RCEP จะเป็นก้าวสำคัญของยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของประเทศ และจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษา การขยายโอกาส และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่สำคัญ

อย่างไรก็ตามการเจรจาระหว่างผู้นำอาเซียนกับ RCEP ได้เริ่มเป็นครั้งแรกในคราวประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการตั้งเป้าหมายการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และที่ผ่านมาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน

สำหรับความตกลง RCEP มีผลการศึกษาที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า การจัดทำข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 4.03% โดยสินค้าที่จะได้รับประโยชน์ทางด้านส่งออกเพิ่มมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก เป็นต้น


ตีพิมพ์ครั้งแรก: เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในชื่อ อาเซียนนัด 6 ชาติกลุ่มRCEP เร่งเจรจาเปิดเสรีการค้า-ลงทุน

อาเซียน +6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

สำหรับ ‘อาเซียน +6’  คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ อันมีกลุ่มสมาชิกหลัก คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจำนวนประชากรในกลุ่มนี้ จะมีจำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 3 พันล้านคน หรือ 50% ของประชากรจากทั่วทั้งโลกเลยทีเดียว คำถามต่อมา คือ แล้วทำไมต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศซึ่งไม่ใช่สมาชิกอาเซียนด้วย ? คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอย่างยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มระดับความสามารถในการลงทุน , ทำการค้า รวมทั้งความสามารถระหว่างประเทศในด้านอื่นๆ ให้มีศักยภาพสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แข็งแกร่ง จนกระทั่งสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างทัดเทียม เช่น สหภาพยุโรป เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นเตรียมทำข้อตกลงเปิดการค้าเสรี พร้อมผนึกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าไว้ด้วยกันอย่างมั่นคง เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความเป็นมาในการก่อตั้ง ‘อาเซียน +6’

อาเซียน +6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง

โดยความเป็นมาของแนวคิด ‘อาเซียน +6’ นี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และ จีน – ญี่ปุ่น – เกาหลี ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในเดือนสิงหาคม 2006 โดยประเทศญี่ปุ่นได้เสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ของกลุ่มประเทศ EAS ลงมือศึกษาในการจัดตั้งกลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+ ต่อมา ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 วันที่ 15 มกราคม 2007 ณ เมืองเชบู ที่ประชุมก็อนุญาตให้ดำเนินการศึกษาเรื่องที่ยื่นเสนอมาในคราวก่อน ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมนักวิชาการ ที่เป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2007 เพื่อหาความเป็นไปได้ในการตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6

โดยนักวิชาการได้ประชุมทั้งหมด 6 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2007 – 2008 ก่อนที่จะได้ผลสรุปว่า ถ้ามีการจัดทำความตกลงทางด้านการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 จะก่อให้เกิดความสะดวกสบาย ทางด้านการค้าและการลงทุน อีกทั้งยังได้ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ , พลังงาน , สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อสรุปของ อาเซียน+6

เมื่อได้ข้อสรุปรับรู้โดยทั่วกันแล้ว กลุ่มนักวิชาการ จึงลงมือศึกษาความเป็นไปได้ อันเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงทางด้านการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 ต่อมาเกิดการดำเนินงานในระยะที่ 2 ที่มุ่งเน้นในเรื่องของความร่วมมือ , การอำนวยความสะดวก และการเปิดเสรี ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6

ต่อมาในการประชุมวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้ดำเนินงานก็ได้บทสรุปในการประชุมว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 ควรให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก ซึ่งต้องดำเนินการไปพร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ ควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและ SMEs รวมทั้งสร้างพื้นฐานอันแน่นหนาสำหรับการพัฒนาต่อไป

ประเทศใดไม่ได้อยู่ในอาเซียน+6

อาเซียน +6 คือ มีจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งทั้ง 6 ประเทศที่กล่าวมาไม่ได้อยู่ในกลุ่มสมาชิกของอาเซียน สำหรับญี่ปุ่น อาเซียนกำลังสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษ;:ฐกิจระหว่างกันให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นรวมทั้งการสร้างเขตการค้าเสรีใน บางส่วนที่จะดำเนินการให้สำเร็จในทันทีที่เป็นไปได้และภายในสิบปี ที่สำคัญ ...

อาเซียน+6ได้เพิ่มความร่วมมือกับประเทศใดมาเพิ่ม

อาเซียน +3 คือ ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศใหญ่ คือ จีน เกาหลีใต้ และญีปุ่น ส่วนอาเซียน +6 มี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพิ่มเข้ามาอีก 3 ประเทส ซึ้งทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ

อาเซียน+3 ประกอบไปด้วยประเทศใดบ้าง

อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอก กลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อน าไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ...

อาเซียน+6 เกิดขึ้นเมื่อใด

โดยความเป็นมาของแนวคิด 'อาเซียน +6' นี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และ จีน – ญี่ปุ่น – เกาหลี ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในเดือนสิงหาคม 2006 โดยประเทศญี่ปุ่นได้เสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ของกลุ่มประเทศ EAS ลงมือศึกษาในการจัดตั้งกลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยเป็น FTA ระหว่างประเทศ ...