การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลต่อครอบครัวอย่างไร

ในปัจจุบันปัญหาที่ร้ายแรง และแผ่ขยายไปทั่วในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วยก็คือผลของการดื่มเหล้าหรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิสกี้ บรั่นดี เบียร์หรือไวน์ก็ตาม ผู้ที่ดื่มในปริมาณไม่มากแต่ดื่มอย่างสม่ำเสมอจะมีแนวโน้มที่คอจะแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ ดื่มในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกวัน แม้ว่าบุคคลผู้นั้นจะไม่เคยเมาเลยก็ตามแต่ยิ่งจำนวนแอลกอฮอล์มากขึ้นผลที่ตามมาก็คือการทำร้ายสุขภาพไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ระบบประสาท กระเพาะอาหารและตับก็ตามล้วนได้รับผลภัยจากแอลกอฮอล์ได้ทั้งสิ้นรวมทั้งโอกาสนี้จะเกิดมะเร็งในช่องปาก ลำคอกล่องเสียงและหลอดอาหารมีได้สูงกว่าเช่นเดียวกัน

เพื่อให้ท่านที่สนใจหัวข้อเรื่องนี้ทราบว่า อวัยวะต่าง ๆของร่างกายได้รับผลกระทบอย่างไรจากการดื่มเหล้า เบียร์ หรือไวน์ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ขอชี้แจงให้ท่านได้ทราบดังนี้

1. ผลต่อหัวใจ พบว่าการดื่มในปริมาณที่มากจะทำให้มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง เกิดหัวใจวายได้ง่าย
2. ผลต่อตับ พบว่าการดื่มจะทำให้เกิดโรคตับแข็งได้ตับที่ถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์จะไม่สามารถทำหน้าที่ที่จำเป็นได้ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีในการย่อยสลายสารอาหารต่าง ๆหรือการเปลี่ยนแปลงของยาที่รับประทานเข้าไป บางรายอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง มักอาเจียนเป็นเลือด
3. ผลต่อผิวหน้า แอลกอฮอล์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ผิวหน้าจะเห็นเป็นสีแดงเรื่อ ๆมีผลทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนออกไปบางส่วนจากทางผิวหน้าจนบางครั้งอาจเกิดอาการหนาวจนสั่น หรือเกิดโรคปอดบวมได้ง่ายในฤดูหนาว
4. ผลต่อสมอง บางคนเชื่อว่าทานเหล้านิดหน่อยจะช่วยกระตุ้นสมองให้กระฉับกระเฉงแต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่เช่นนั้น แอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กดการทำงานของสมองถ้าดื่มมาก ๆ เข้า จะทำให้ความจำเสื่อม การตัดสินใจไม่เหมาะสม สมาธิเสียไปโกรธง่ายการพูดจะช้าลง สายตาพร่ามัวและการทรงตัวเสียไป
5. ผลต่อกระเพาะอาหาร มีผลทำให้กระเพาะอาหารอักเสบอย่างฉับไวทันทีภายหลังดื่มในปริมาณมากซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
6. ผลต่อระบบสืบพันธุ์ ในเพศชายอาจเกิดการเลื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีผลร้ายต่อทารกทั้งทางร่างกายและทางจิตใจสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.กรุงเทพพัทยา หรือโทร.1719


ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

บทคัดย่อ
ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่น (Alcohol’s Harm to Others) เป็นมิติหนึ่งในผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ความสนใจผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นนอกจากผู้ดื่ม ซึ่งมักมีลักษณะตามรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดื่มกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น กรณีผู้ดื่มเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนแปลกหน้า ผลกระทบมีหลากหลายระดับ ครอบคลุมตั้งแต่ความรุนแรงในระดับเล็กน้อย เช่น การรู้สึกรำคาญใจ จนถึงผลกระทบที่รุนแรงมาก เช่น การถูกทำร้ายเสียชีวิต ข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อผู้อื่นของประเทศไทย มีการศึกษาและรวบรวมอยู่ใน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การสำรวจผลกระทบในประชากร การรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาต้นทุนทางสังคม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่มากทั้งในประเด็นขอบเขตของปัญหาและวิธีการศึกษา โดยมีเฉพาะบางประเด็นที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร ความรุนแรงในครอบครัว หรือการนำเสนอเป็นสัดส่วนของเหตุการณ์ที่มีแอลกอฮอล์เกี่ยวข้อง จึงยังไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ของผลกระทบของการดื่มต่อผู้อื่นในภาพรวมอย่างแท้จริง แต่มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจศึกษาต่ออีกหลายประเด็น เช่น ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตร่างกายและจิตใจ หรือทรัพย์สินที่เสียหายของคนรอบข้างผู้ดื่ม ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนจากการดื่มของคนในครอบครัว ผลกระทบในสถานที่ทำงานต่อเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย ข้อมูลเชิงประจักษ์ของสถานการณ์และความรุนแรงของผลกระทบเชิงลบของแอลกอฮอล์ที่เกิดต่อสาธารณะนี้ถือว่ามีความสำคัญและประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนานโยบายควบคุมแอลกอฮอล์ การติดตามผล รวมถึงการสร้างตระหนักต่อสังคมของประเทศได้


บทคัดย่อ
Study on Alcohol’s Harm to Others (HTO) is an innovative paradigm for revisiting the whole range of alcohol-related problems. It comprehensively focuses on the negative consequences of alcohol drinking to non-drinkers. Patterns of relationship between drinker and non-drinkers play a major role for this harm. Problems emerged from drinking by family member, relative, friend, colleague or stranger in society can be vastly different in terms of magnitude and pattern. The range of HTO covers from the less severe such as mere annoyance to the most severe such as assault and death. HTO-related national data were only available from social cost study, population survey and data of service system such as the hospital, the police and court cases. But due to methodological or conceptual constraints, the data might not best reflect the real situation. While Thai society may recognize alcohol-related traffic accident and domestic violence as HTO, other problems have been largely ignored. Other HTO issues have not been covered such as quality of life, impact on physical, mental health and belonging of people surrounding drinker, impact to children and youth from parents and caretakers as well as impact on co-workers in workplace. Comprehensive HTO data could demonstrate panoramic magnitude and severity of negative impacts to the public, support alcohol policy development, and raise public awareness.

สุรา หรือแอลกอฮอล์ เป็นสารเสพติดที่มีทั้งคุณและโทษ หากดื่มอย่างพอดีก็ไม่อันตรายอะไรและอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มประเภทไวน์  แต่หากดื่มสุราปริมาณมาก ดื่มติดต่อกันเป็นประจำ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาทส่วนกลาง และอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้

โทษของสุรามีตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงรุนแรง เช่น เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด และหมดสติ

ดังนั้นสุราจึงถูกควบคุมทั้งการจำหน่าย และการผลิตอย่างเคร่งครัด

ประเภทของแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์มีหลายประเภท โดยประเภทที่ใช้ในชีวิตประจำวันมี 3 ประเภท ได้แก่

  • เอทานอล (Ethyl alcohol) แอลกอฮอล์ประเภทเดียวที่สามารถดื่มได้ เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เช่น วิสกี้ บรั่นดี เบียร์ เหล้าองุ่น หรือแชมเปญ
  • เมทานอล (Methyl alcohol) เป็นส่วนประกอบในเชื้อเพลิงรถยนต์ และเรือ หรือใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำยาล้างสี น้ำยาปัดน้ำฝน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย
  • ไอโซโพรพานอล (Isopropyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพะตัว ระเหยง่าย มักพบในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาล้างเล็บ หรือกาว

สาเหตุที่เมเทนอลและไอโซโพรพานอลไม่สามารถดื่มได้ เพราะร่างกายเผาผลาญสารเหล่านี้เป็นพิษ ทำให้เกิดภาวะตับวาย หากดื่มเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในเครื่องดื่มทั่วไป

ปริมาณแอลกอฮอล์ 1 ดีกรี เท่ากับ ร้อยละ 1 หรือ 1 เปอร์เซนต์

  • เบียร์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 4-7 ดีกรี
  • สาโท มีปริมาณแอลกอฮอล์ 7-15 ดีกรี
  • กระแช่ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10-12 ดีกรี
  • สุราไทย มีปริมาณแอลกอฮอล์ 28-40 ดีกรี
  • อุ มีปริมาณแอลกอฮล์ 10 ดีกรี
  • ไวน์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10-15 ดีกรี
  • วิสกี้ หรือบรั่นดี มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40-50 ดีกรี
  • วอดก้า มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40 -50 ดีกรี

โทษของการดื่มสุราต่ออวัยวะต่างๆ

การดื่มสุราปริมาณมากเกินไป ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้

1. สมอง และระบบประสาท

  • ระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า และเสียการทรงตัว
  • สมอง หากดื่มเพียงเล็กน้อยจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิก แต่หากดื่มสุรามากเกินไปจะทำให้มึนเมา ง่วงนอน และหมดสติได้ นอกจากนี้การดื่มสุราเป็นประจำจะทำให้สมองเสื่อม ซึมเศร้า ความคิดเลอะเลือน และมีปัญหาด้านความทรงจำ

2. ระบบทางเดินอาหาร และตับ

  • กระเพาะอาหาร พิษของสุราจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง หรืออาเจียนเป็นเลือดได้
  • ตับอ่อน แอลกอฮอล์จะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งน้ำย่อยออกมามากผิดปกติ ทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) มีอาการปวดท้องรุนแรง ไข้สูง ในบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • ตับ ทำหน้าที่กรองแอลกอฮอล์ หากดื่มสุราเข้าไปปริมาณมากจนตับไม่สามารถกรองได้หมด ตับจะเกิดอาการบวม มีไขมันแทรกตามเซลล์ของตับ ทำให้เกิดโรคตับแข็ง และอาจพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้

3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • ระบบหัวใจ หากดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะทำให้การเต้น และการบีบตัวของหัวใจผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว
  • ระบบหลอดเลือด การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดขยายตัว และไขมันในเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย เพิ่มความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตก และโรคความดันโลหิตสูง

4. ระบบเม็ดเลือด

  • มีอาการเลือดจาง
  • การดูดซึมผิดปกติ ทำให้ขาดวิตามินบี 9 หรือกรดโฟลิกได้ง่าย
  • เม็ดเลือดขาวผลิตน้อยลง ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
  • เกร็ดเลือดทำหน้าที่ไม่ดี ทำให้เลือดหยุดไหลยาก และตกเลือดง่าย

5. อัตราการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ

  • โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของกลุ่มคนติดสุราเรื้อรัง
  • ผู้ที่ติดสุราเรื้อรังมีโอกาสเกิดมะเร็งได้สูงถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ โดยอวัยวะที่พบมะเร็งบ่อยคือ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ และตับอ่อน

6. ระบบขับถ่าย และอวัยวะสืบพันธุ์

  • หากดื่มในปริมาณน้อยจะทำให้ความต้องการทางเพศสูงขึ้น
  • หากดื่มสุราเรื้อรังจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลง และอาจส่งผลทำให้ลูกอัณฑะเล็กลงได้
  • ในผู้หญิงตั้งครรภ์จะทำให้แท้ง หรือคลอดบุตรเร็ว และบุตรที่เกิดมาก็มีโอกาสเกิดความผิดปกติสูง

โทษของการดื่มสุราต่อสังคม

  • อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ เนื่องจากผู้ดื่มสุรามักมั่นใจว่า ไม่เมา มีสติ สามารถขับรถได้ แต่ในความเป็นจริง สุราจะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้การรับรู้เรื่องราวต่างๆ ช้าลง ส่งผลกระทบต่อระบบการตัดสินใจ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเองได้เต็มร้อย
  • ทะเลาะวิวาท สุรามีผลกระทบต่อสมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่ควบคุมสติ และการตัดสินใจ ทำให้ทะเลาวิวาทกับผู้อื่นได้ง่าย
  • ฆาตกรรม ผลการศึกษาคดีฆาตกรรมจากการผ่าพิสูจน์ศพ พบว่า มากกว่า 60% ของผู้เสียชีวิต ตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกาย เพราะการดื่มสุราจะช่วยให้ศูนย์ควบคุมจิตใจทำงานได้แย่ลง ทำให้ไม่สามารถป้องกันตัวได้
  • ฆ่าตัวตาย ผลการวิจัยพบว่า ในจำนวนคนกว่า 50% ของผู้ที่เคยฆ่าตัวตาย ต้องดื่มสุราเพื่อเรียกความกล้าก่อนเสมอ

วิธีหลีกเลี่ยง และเลิกดื่มสุรา

  • เด็กไม่ควรดื่มสุรา เนื่องจากยังไม่สามารถพิจารณาข้อดีข้อเสียของสุราได้ ทำให้ติดสุราได้ง่าย อีกทั้งอวัยวะภายในร่างกายยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผู้ใหญ่
  • ไม่ควรทดลองดื่มสารที่ผสมด้วยแอลกอฮอล์ เพราะอาจพัฒนาไปเป็นการดื่มสุราได้
  • ขจัดค่านิยมที่ว่า ลูกผู้ชายต้องดื่มสุรา ออกไป
  • ผู้ที่ติดสุราควรศึกษาโทษของสุรา และควรหาสาเหตุที่ทำให้ติดสุรา
  • กรณีไม่สามารถเลิกสุราได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการติดสุราเรื้อรัง ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคประสาท โรคตับ หรือโรคกระเพาะอาหาร

การดื่มสุราในปริมาณพอเหมาะ นานๆ ครั้ง ตับย่อมสามารถกรองแอลกอฮอล์ออกจนหมด และฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหายกลับมาเป็นปกติได้ แต่หากดื่มในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ตับจะไม่สามารถกรองแอลกอฮอล์ได้หมด 

เกิดการสะสมไขมัน ทำให้เป็นโรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด

ผู้ที่ติดสุราเรื้อรังจึงควรตรวจการทำงานของตับ และคัดกรองมะเร็งตับทุกปี เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

ดูแพ็กเกจตรวจตับ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @hdcoth หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง