ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร

การถ่ายละอองเรณู

1. การถ่ายละออกเรณูของพืชดอก (Pollination)

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร

การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกัน

การถ่ายละออกเรณูเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูเจริญเต็มที่ อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไป โดยอาศัยลม น้ำ โดยเฉพาะ แมลง มีความสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก และบนยอดเกสรตัวเมีย โดยจะมีน้ำเหนียวๆ(Stigma) ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยในการดักละอองเรณู

การถ่ายละอองเรณู มี 2 แบบ คือ

  • การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน หรือคนละดอกในต้นเดียวกัน (Self pollination) การถ่ายละอองเรณูแบบนี้จะทำให้รุ่นลูกมีสมบัติทางกรรมพันธุ์เหมือนเดิม ถ้าเป็นพันธุ์ดีก็จะถ่ายทอดลักษณะพันธุ์ดีไปเรื่อย ๆ
  • การถ่ายละออกเรณูคนละดอกของต้นไม้คนละต้นในพืชนิดเดียวกัน (Cross pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอก หรือต่างต้นกัน ก็จะทำให้พืชมีลักษณะต่างๆ หลากหลายและอาจจะได้พืชพันธุ์ใหม่ ๆขึ้นมาได้

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร

ละอองเรณูชนิดต่างๆ

    การถ่ายละอองเกสร

                        การถ่ายละอองเกสรหมายถึงการที่ละอองเรณูตัวผู้ถูกพาไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย  แล้วจะมีการผสมพันธุ์ระหว่างเซลล์ตัวผู้กับรังไข่ ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ที่จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ดต่อไป

                การถ่ายละอองเรณูจะเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันหรือระหว่างดอกของต้นเดียวกันหรือข้ามดอกก็ได้  สิ่งที่ช่วยในการผสมพันธุ์พืช (การถ่ายละอองเรณูคือ ลม น้ำ คน สัตว์

             การถ่ายละอองเรณูของพืช  อาศัยสิ่งต่อไปนี้คือ

1. ลม จะพาละอองเรณูปลิวไปตกบนยอดเกสรตัวเมียก็จะผสมพันธุ์ได้ เช่น ดอกข้าว ข้าวโพด ดอกหญ้า

2.  น้ำ  พาละอองเรณูตัวผู้ที่ร่วงลงน้ำไปสู่ยอดเกสรตัวเมีย  ได้แก่  พืชน้ำพวกสันตะวา  สาหร่าย

3. แมลง  จะดูดน้ำหวานจากดอกไม้  ผงละอองเรณูจะติดตามปีก ขา  ปากของแมลง เมื่อไปเกาะดอกตัวเมียจะเกิดการถ่ายละอองเรณูขึ้น นับว่าแมลงช่วยในการถ่ายละอองเรณูมากที่สุด

4. คน มีส่วนช่วยในการนำเกสรมาผสมพันธุ์กัน ทำให้เกิดพันธุ์พืชที่ดี หรือเกิดพันธุ์พืชใหม่

5. สัตว์ เช่น นก

การปฏิสนธิ คือ เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (ละอองเรณูผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (ไข่อ่อน)

เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียและได้รับอาหารที่ยอดเกสรตัวเมีย จะงอกหลอดไปตามเกสรตัวเมีย และเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ (ไข่อ่อนภายในรังไข่

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร

  • http://learners.in.th/blog/my-new/324557
  • http://203.113.101.214/biology/BioText/Student/BE2542/STUD2542/s643/ m05/flower3.htm
  • http://oak.cats.ohiou.edu/~braselto/readings/differ_intro.html

คำถาม  1.  การถ่ายละอองเกสรหมายถึง อะไร

ตอบ   การที่ละอองเรณูตัวผู้ถูกพาไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย  แล้วจะมีการผสมพันธุ์ระหว่างเซลล์ตัวผู้กับรังไข่ ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ที่จะเจริญเติบโตเป็นเมล็ด

คำถาม 2.การถ่ายละอองเรณูมีกี่แบบ 

ตอบ  มี 2 รูแบบ

โครงสร้างของดอกไม้ เป็นอวัยวะสำคัญสำหรับสืบพันธุ์ของพืชดอก

โครงสร้างของดอกไม้ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนหลัก โดยแต่ละส่วนจะเรียงตัวจากชั้นที่อยู่นอกสุดเข้าสู่ส่วนใน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ตามลำดับ โดยส่วนประกอบทั้ง 4 นี้จะอยู่บนฐานรองดอก ซึ่งอยู่ปลายสุดของก้านชูดอก

ดอกไม้ (Flower) คือ อวัยวะส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืชดอก (Angiosperm) เป็นส่วนโครงสร้างของพืชที่พัฒนามาจากกิ่งและใบ ดอกไม้แต่ละดอกมักมีขนาด รูปร่าง และสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์พืช ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เรามักเห็นดอกไม้มีสีสันสวยงามและส่งกลิ่นหอม หารู้ไม่ว่าลักษณะทางโครงสร้างที่โดดเด่นเหล่านี้ ช่วยส่งเสริมกระบวนการสืบพันธุ์ของพืช โดยการดึงดูดและล่อเหล่าแมลงนานาชนิดเข้ามาช่วยในการผสมเกสรนั่นเอง

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร
ดอกไม้มีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างกันออกไป แตสามารถจำแนกตามโครงสร้างได้ 4 ส่วนหลักๆ

โครงสร้างหลักของดอกไม้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

ชั้นกลีบเลี้ยง (Calyx) ชั้นกลีบดอก (Corolla) ชั้นเกสรเพศผู้ (Androecium) และชั้นเกสรเพศเมีย (Gynaecium) ซึ่งเรียงตัวจากชั้นนอกสุดเข้าสู่ด้านในของดอกไม้ โดยส่วนประกอบทั้ง 4 ตั้งอยู่บนฐานรองดอกที่บริเวณปลายสุดของก้านชูดอก ดังนี้

1. ชั้นกลีบเลี้ยง (Calyx)

หรือวงของกลีบเลี้ยงประกอบด้วยกลีบเลี้ยง (Sepal) ที่เป็นโครงสร้างห่อหุ้มด้านนอกสุดของตัวดอก มักมีสีเขียวคล้ายส่วนของใบไม้จากการมีองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์อยู่ภายใน ซึ่งทำให้กลีบเลี้ยง

นอกจากทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนโครงสร้างภายในของดอกไม้แล้ว ยังสามารถสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) เพื่อสร้างสารอาหารให้แก่พืชอีกด้วย กลีบเลี้ยงส่วนใหญ่จะหมดหน้าที่และหลุดร่วงไปจากต้น เมื่อดอกไม้บานเต็มที่แล้ว

ในพืชดอกบางชนิดวงของกลีบเลี้ยงอาจมีสีสันสดใส เพื่อทำหน้าที่ล่อแมลงให้เข้ามาผสมเกสรเช่นเดียวกับกลีบดอก อีกทั้ง ในพืชบางชนิดยังมี “ริ้วประดับ” (Epicalyx) หรือกลีบสีเขียวขนาดเล็กที่เรียงตัวเป็นวงบริเวณใต้กลีบเลี้ยง เช่นที่ปรากฏในดอกชบา และพู่ระหง เป็นต้น

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร
โครงสร้างของดอก ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์คือ เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย รวมถึงมีส่วนของกลีบดอก และกลีบเลี้ยง ที่ช่วยล่อแมมลงผสมเกสร

2. ชั้นกลีบดอก (Corolla)

หรือวงของกลีบดอกประกอบด้วยกลีบดอก (Petal) ที่เป็นส่วนโครงสร้างอยู่ถัดเข้ามาจากกลีบเลี้ยง มักมีสีสันสวยงามจากรงควัตถุประเภทต่าง ๆ เช่น แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) หรือแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ในพืชดอกบางชนิด อย่างดอกพุดตาน กลีบดอกนั้นสามารถเปลี่ยนสีได้ หรือในพืชบางชนิด กลีบดอกอาจมีกลิ่นหอมผสมผสานอยู่ด้วย จากการมีทั้งต่อมกลิ่นและต่อมน้ำหวานตรงบริเวณโคนของกลีบดอก ซึ่งทำหน้าที่ช่วยดึงดูดแมลงให้เข้ามาผสมเกสร

นอกจากนี้ ยังมี “วงกลีบรวม” (Perianth) ที่ปรากฏขึ้นในพืชซึ่งวงของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายคลึงกันจนแยกไม่ออก อย่างเช่นในจำปี จำปา บัวหลวง และทิวลิป เป็นต้น

3. ชั้นเกสรเพศผู้ (Androecium)

ประกอบด้วยเกสรเพศผู้ (Stamen) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ซึ่งในพืชส่วนใหญ่มักมีจำนวนมากและเรียงตัวเป็นวง โดยเกสรเพศผู้มีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันเป็นอิสระและส่วนของเกสรที่มีโครงสร้างติดกันหรืออาจเชื่อมติดกับส่วนอื่น ๆ ของดอกไม้ อย่างเช่นในดอกเข็มและดอกลำโพง ซึ่งเกสรเพศผู้จะเชื่อมติดกับส่วนของกลีบดอก หรือที่พบในดอกรักและดอกเทียนที่เกสรเพศผู้มีโครงสร้างติดกับเกสรเพศเมีย เกสรเพศผู้มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร

  • อับเรณู (Anther) หรืออับเกสรเพศผู้ มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาว 2 พู ภายในประกอบด้วย “ถุงเรณู” (Pollen Sac) ขนาดเล็ก 4 ถุง ซึ่งบรรจุละอองเรณู (Pollen Grain) ที่มีลักษณะเป็นเม็ดขนาดเล็กสีเหลืองจำนวนมาก ผิวของเรณูนั้นแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้ว ถุงละอองเรณูจะแตกออก ทำให้ละอองเรณูปลิวไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย เพื่อสร้างสเปิร์ม (Sperm) ที่ใช้ในการผสมพันธุ์ต่อไป ในพืชแต่ละชนิด จำนวนของเกสรเพศผู้จะมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว พืชโบราณหรือพืชชั้นต่ำมักมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงเกสรจะมีจำนวนลดลง
  • ก้านชูเกสรเพศผู้ (Filament) คือ ส่วนโครงสร้างที่ทำหน้าที่ชูอับเรณู มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นที่อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือแยกจากกันเป็นอิสระ มีขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช

4. ชั้นเกสรเพศเมีย (Gynaecium)

ประกอบด้วยเกสรเพศเมีย (Pistil) อยู่ด้านในสุดของดอก เป็นส่วนโครงสร้างที่พัฒนามาจากใบ เพื่อทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ในพืชแต่ละชนิด เกสรเพศเมียอาจมีเพียงหนึ่งหรืออาจมีจำนวนมากขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์พืช เกสรเพศเมียมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร
พืชส่วนใหญ่ มักจะมีเกสรตัวเมียเพียงหนึ่งอัน โดยส่วนมากจะอยู่ชั้นในสุดของโครงสร้างดอกไม้
  • ยอดเกสรเพศเมีย (Stigma) คือ ส่วนที่มีลักษณะโปร่งพองออกมาเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก ๆ เป็นพูและมีน้ำหวานเหนียวค้นหรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด
  • ก้านชูเกสรเพศเมีย (Style) คือ ส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือก้านขนาดเล็กที่เชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่รังไข่ เพื่อเป็นเส้นทางให้สเปิร์มเคลื่อนตัวเข้ามาปฏิสนธิกับไข่
  • รังไข่ (Ovary) คือ ส่วนของกระเปาะพองโตที่ยึดหรืออาจฝังอยู่กับฐานรองดอก (Receptacle) ภายในมีลักษณะเป็นห้องขนาดเล็กเรียกว่า “โลคุล” (Locule) ซึ่งภายในโลคุลประกอบด้วยออวุล (Ovule) ที่มีหน้าที่สร้างไข่ (Egg) บรรจุอยู่ แต่ละหน่วยของเกสรเพศเมียที่มีโลคุลที่ห่อหุ้มไข่ไว้ภายในเรียกว่า “คาร์เพล” (Carpel) โดยใน 1 โลคุล อาจมี 1 คาร์เพล หรือหลายคาร์เพลตามชนิดของดอกไม้ เมื่อเกิดการปฏิสนธิ รังไข่จะเจริญไปเป็นผล ขณะที่ออวุลจะเจริญไปเป็นส่วนของเมล็ดนั่นเอง

สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ


ข้อมูลอ้างอิง

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล – http://www.satriwit3.ac.th/files/200429099330853_20091916164326.pdf
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – http://1.179.173.242/moviesnew/Admin/acrobat/v_3_sc_sc_141.pdf
สำนักงานเทศบาลเมืองตาก – http://www.tessabantak.go.th/backoffice/php_form/uploads/files/2561-06/070625611630.pdf


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : การสืบพันธุ์ของพืชดอก : การปฏิสนธิของพืชดอก

ลักษณะต่างๆของดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกได้หรือไม่อย่างไร