หนังสือรับรอง สิ่ง ปลูก สร้าง มีอายุ กี่ เดือน

หนังสือรับรองสถานภาพสมรส

คำร้องขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (แบบ PDF)

หากท่านมีหนังสือรับรองสถานภาพสมรสจากอำเภอไทยมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนังสือรับรองโสดไม่เคยแต่งงานมาก่อน หรือ หนังสือรับรองโสดหลังการหย่า หรือ หนังสือรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต และยังมีอายุตั้งแต่วันออกไม่เกิน 6 เดือน ท่านสามารถมายื่นคำร้องขอใบรับรองสถานภาพสมรสจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ ได้

ท่านต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง พร้อมเอกสารประกอบต่อไปนี้ โดยเซ็นชื่อในสำเนาทุกฉบับ (หากเป็นไปได้ให้นำเอกสารต้นฉบับตัวจริงมาด้วย)

  • สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด (ถ่ายสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย หน้าที่มีการต่ออายุ และหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและนามสกุล)
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ชุด (หากทะเบียนบ้านไทยแปลเป็นภาษาเยอรมันแล้ว ให้ยื่นสำเนาคำแปลภาษาเยอรมันด้วย)
  • สำเนาบัตรประชาชนไทย 1 ชุด
  • สำเนาสูติบัตร หรือ สำเนาหนังสือรับรองการเกิด 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากประเทศไทย 1 ชุด (รับรองว่าเป็นโสดไม่เคยแต่งงานมาก่อน หรือ หลังหย่าไม่ได้แต่งงานอีกเลย หรือ หลังคู่สมรสเสียชีวิตไม่ได้แต่งงานอีกเลย) ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือ ใบเปลี่ยนนามสกุล 1 ชุด (ถ้ามี)
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมัน (Meldebestätigung) หรือ สำเนาหนังสือเชิญตัว 1 ชุด
  • สำเนาสำเนาบัตรประชาชนของคู่หมั้น 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมัน (Meldebestätigung) ของคู่หมั้น 1 ชุด

เอกสารเพิ่มเติม

  1. กรณีที่เคยหย่าร้าง
    • หนังสือสำคัญการหย่า หรือ คำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว
    • หากเป็นหญิง ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์ ถ้าหย่ายังไม่ครบ 310 วัน นับตั้งแต่วันที่การหย่ามีผลบังคับใช้
  2. กรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต
    • มรณบัตรคู่สมรสที่เสียชีวิต
    • ทะเบียนสมรส
    • หากเป็นหญิง ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์ ถ้าคู่สมสรสเสียชีวิตไม่เกิน 310 วัน
  3. กรณีอายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์
    • หนังสือยินยอมให้สมรสได้จากบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ที่ขอมาจากอำเภอ

ข้อแนะนำอื่น ๆ ที่ควรทราบ

  1. ถ้าหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด) จากอำเภอมีอายุมากกว่า 6 เดือน สถานกงสุลใหญ่ ฯ ไม่สามารถออกหนังสือรับรองสถานภาพสมรสของสถานกงสุลให้ได้
  2. เจ้าของเรื่องต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง ให้คนอื่นมายื่นแทนไม่ได้ และต้องมารับเอกสารด้วยตัวเอง เพราะต้องมาเซ็นชื่อในหนังสือรับรองสถานภาพสมรสของสถานกงสุลต่อหน้าเจ้าหน้าที่
  3. สถานกงสุลใหญ่ ฯ ไม่สามารถรับคำร้องขอหนังสือรับรองสมรสของสถานกงสุลที่มายื่นโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเรื่อง
  4. ก่อนแต่งงาาน ผู้ยื่นคำร้องควรทราบรายละเอียดการใช้นามสกุลตามกฎหมายไทย โดยดูข้อมูลที่ “พระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548”

หนังสือรับรองเงินเดือนถือเป็นเอกสารที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับตัวพนักงาน เพื่อใช้ยืนยันค่าตอบแทนที่ได้รับในทุกๆ เดือน ซึ่งวันนี้ FlowPayroll จะมาพูดถึงประโยชน์ของหนังสือรับรองเงินเดือน และองค์ประกอบที่สำคัญในการออกหนังสือรับรองเงินเดือนกรณีที่เจ้าของธุรกิจ หรือ HR ต้องทำให้กับพนักงานต่อไป

  • ให้เราอ่านให้ฟัง 
  • ประโยชน์ของหนังสือรับรองเงินเดือน
  • หนังสือรับรองเงินเดือนมีอายุการใช้งานได้นานแค่ไหน
  • องค์ประกอบที่สำคัญของหนังสือรับรองเงินเดือน 
  • พนักงานออกหนังสือรับรองเงินเดือนเองได้หรือไม่
  • พนักงานรายวันออกหนังสือรับรองเงินเดือนได้หรือไม่
    • About Author

ให้เราอ่านให้ฟัง 

ประโยชน์ของหนังสือรับรองเงินเดือน

หนังสือรับรองเงินเดือน (Salary Certificate) มีไว้เพื่อยืนยันการทำงานว่าในแต่ละเดือนพนักงานได้รับได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนเท่าไหร่ตามฐานเงินเดือน ซึ่งจำนวนเงินเดือนที่ระบุจะเป็นจำนวนเงินเดือนเต็มที่ไม่ผ่านการหักภาษีและค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 

ทั้งนี้พนักงานสามารถนำหนังสือรับรองเงินเดือนไปทำธุรกรรมตามที่พนักงานประสงค์ อาทิ การขอไปทำวีซ่า การขอสินเชื่อกับทางสถาบันการเงิน ทั้งการกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ ตลอดจนสมัครบัตรเครดิตกับทางธนาคาร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทางสถาบันการเงินจะใช้พิจารณาในการตัดสินใจ และให้วงเงินสินเชื่อจากความสามารถในการชำระหนี้ของพนักงานที่ขอยื่นกู้ต่อไป

หนังสือรับรอง สิ่ง ปลูก สร้าง มีอายุ กี่ เดือน

ตัวอย่างหนังสือรับรองเงินเดือน

หนังสือรับรองเงินเดือนมีอายุการใช้งานได้นานแค่ไหน

โดยทั่วไปเมื่อเจ้าของธุรกิจออกหนังสือรับรองเงินเดือนให้กับพนักงานแล้ว หนังสือรับรองจะมีอายุการใช้งานตามวันและเวลานับจากวันที่ออกให้ โดยแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ดังนี้ 

  • หนังสือรับรองเงินเดือนเพื่อใช้ยื่นขอสินเชื่อหรือบัตรจากธนาคาร มักใช้งานได้ไม่เกิน 1 เดือน หรือ 30 วัน 
  • หนังสือรับรองเงินเดือนเพื่อใช้เกี่ยวกับหน่วยงานราชการ ใช้ได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 90 วัน 
  • หนังสือรับรองเงินเดือนเพื่อยื่นขอวีซ่า มักใช้งานได้ไม่เกิน 1 เดือน หรือ 30 วัน ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เอกสารเป็นภาษาอังกฤษ

ทั้งนี้พนักงานควรตรวจสอบกับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่ร้องขอหนังสือรับรองเงินเดือนอีกครั้ง เพื่อสามารถยื่นหนังสือรับรองเงินเดือนภายในระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง

องค์ประกอบที่สำคัญของหนังสือรับรองเงินเดือน 

กรณีที่เจ้าของกิจการต้องออกหนังสือรับรองให้กับพนักงานหรือลูกจ้างนั้น ควรออกหนังสือรับรองเงินเดือนที่มีองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้ 

  • ถ้อยคำที่ระบุว่าเอกสารฉบับนี้เป็น “หนังสือรับรองเงินเดือน”
  • ชื่อ-นามสกุล ของพนักงาน
  • ชื่อบริษัทที่พนักงานทำงานอยู่  
  • ตำแหน่งงานที่ทำ  
  • วัน/เดือน/ปีที่เริ่มต้นทำงาน จนถึงวันที่ปัจจุบันที่ออกหนังสือรับรองเงินเดือน
  • อัตราเงินเดือน โดยที่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่นๆ
  • ระบุความต้องการใช้งานเอกสารว่าจะเอาไปทำอะไร เช่น ใช้เฉพาะงานราชการ หรือใช้ขอสินเชื่อธนาคาร เป็นต้น 
  • วันที่ในการออกเอกสาร
  • ลงชื่อผู้อออกเอกสาร พร้อมตำแหน่ง และลงชื่อหัวหน้างาน หรือเจ้าของที่มีอำนาจในการออกหนังสือเงินเดือน  
  • ลงตราประทับของบริษัท (ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท)

พนักงานออกหนังสือรับรองเงินเดือนเองได้หรือไม่

คำตอบคือ พนักงานไม่สามารถทำเองได้ ต้องให้เจ้าของกิจการ หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) หรือผู้มีอำนาจ เช่น ผู้จัดการสาขาที่ได้รับการมอบอำนาจ เป็นผู้ทำการออกให้เท่านั้น เพราะต้องมีลายเซ็นผู้ออก มิเช่นนั้นอาจจะถือว่าทุจริตในฐานะปลอมแปลงเอกสารหรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือถ้าจะนำเอกสารไปทำธุรกรรม ก็อาจจะทำให้ยื่นขอกู้ไม่ผ่าน และอาจส่งผลกระทบต่อเครดิตหรือความน่าเชื่อถือในการขอยื่นกู้ครั้งต่อไปด้วย 

พนักงานรายวันออกหนังสือรับรองเงินเดือนได้หรือไม่

ในกรณีที่พนักงานรายวันมาขอหนังสือรับรองเงินเดือน ทางบริษัทสามารถออกเป็นหนังสือรับรองรายได้รายวันให้กับพนักงานแทนได้ โดยในหนังสือรับรองเงินเดือนจะต้องมีการระบุประเภทการจ้างของพนักงานว่าเป็นพนักงานรายวัน แต่การอนุมัติสินเชื่อก็ต้องขึ้นอยู่กับธนาคารนั้นๆ จะพิจารณาต่อไป