ตัวอย่าง audit program จัดซื้อจัดจ้าง

ตัวอย่าง audit program จัดซื้อจัดจ้าง
          
ตัวอย่าง audit program จัดซื้อจัดจ้าง

อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

https://chirapon.wordpress.com

ตัวอย่าง audit program จัดซื้อจัดจ้าง

          งานจัดซื้อจัดจ้างยังคงเป็นหนึ่งในขอบเขตงานตรวจสอบของทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐซึ่งนำเอาเงินงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในกิจการของหน่วยงาน และเป็นจุดเพ่งเล็งว่าอาจจะเกิดความไม่โปร่งใส จุดรั่วไหลหรือช่องทางการทุจริตได้ ซึ่งงานจรวจสอบภายในไม่อาจจะละเว้นได้

การตรวจสอบภายในส่วนของงานจัดซื้อจัดจ้างจึงเป็นเสมือนงานประจำทุกปีอยู่แล้ว เพียงแต่ลักษณะ รูปแบบและเงื่อนไขของการจัดซื้อจัดจ้างอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

ขอบเขตของการตรวจสอบภายในด้านจัดซื้อจัดจ้างควรจะประกอบด้วย

  • การตรวจสอบเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและเพียงพอ ชัดเจนของการระบุความจำเป็นและการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การตรวจสอบการพัฒนาเงื่อนไข รายละเอียดเฉพาะเจาะจง
  • การตรวจสอบความสมเหตุสมผลและรายละเอียดการเลือกวิธีการจัดซื้อ
  • การตรวจสอบเอกสารเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการเชิญชวนผู้เสนอราคา การคัดกรอง การคัดเลือกและการปิดการคัดเลือกผู้เสนองาน
  • การตรวจสอบการประเมินข้อเสนอของผู้เสนองานทุกราย
  • การตรวจสอบการคัดเลือกผู้เสนองานรายที่ชนะ
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารสัญญาว่าจ้าง
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการประเมินกระบวนการการจัดซื้อ
  • การตรวจสอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน

1.การระบุความจำเป็นและการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเป็น กิจกรรมที่ควรให้ความเห็น
1.การประเมินความจำเป็นต่ำเกินไป มีการจัดซื้อสินค้าและบริการ

ที่ไม่เหมาะสม

สูญเงิน

ความจำเป็นไม่ได้รับการตอบสนอง

วิเคราะห์ความจำเป็นว่ามีความถูกต้อง
2.การประเมินความจำเป็นสูงเกินไป รายจ่ายมากเกินไป

การแข่งขันมีน้อยกว่าที่ควร

วิเคราะห์ความจำเป็นว่ามีความถูกต้อง

ใช้ความจำเป็นด้านหน้าที่การใช้ประโยชน์และประสิทธิผลของการใช้งาน

3.การตีความของความจำเป็นของผู้ใช้ไม่ถูกต้อง การซื้อได้ผลที่ไม่อาจยอมรับได้ หรือไม่เหมาะสมเป็นส่วนใหญ่

สูญเสียเวลา

มีต้นทุนเพิ่มขึ้น

ปรับปรุงการหารือ ทำความเข้าใจกับผู้ใช้งานให้ได้ข้อมูลชัดเจน

มีการสรุปประเด็นของสิ่งที่ต้องการใช้งานและนิยามของความจำเป็น

4.มีเงินงบประมาณไม่เพียงพอ ความล่าช้าในการจัดซื้อ

มีการขอเพิ่มงบประมาณ

มีการเสนอความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินงานตามความรับผิดชอบ

มีการปรับปรุงแผนงานดำเนินการใหม่

5.กรอบเวลาดำเนินงานไม่เหมาะสม ปฏิบัติไม่ได้ การตอบสนองจากผู้เสนองานไม่เพียงพอ

การแข่งขันต่ำกว่าที่ควร

ตารางเวลาที่ต้องส่งมอบสินค้าและบริการไม่สามารถทำได้

ปรับปรุงการประเมินสถานการณ์ การพยากรณ์ การวางแผน และการหารือกับผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง

ปรับปรุงการสื่อสารกับผู้เสนองานที่เป็นไปได้

6.ดำเนินการโดยไร้ทิศทาง กรอบการปฏิบัติ ต้นทุนการจัดซื้อเพิ่มขึ้น

ทรัพยากรใช้ผิดวัตถุประสงค์

ไม่ได้รับสินค้าและบริการที่เหมาะสม

การดำเนินงานขาดธรรมาภิบาล

อิงแนวปฏิบัติที่ดี มีนโยบาย แนวทางวิธีการที่ชัดเจนก่อนดำเนินงาน

ธำรงรักษาสภาพแวดล้อมด้านธรรมมาภิบาลปรับปรุงการอบรมบุคลากร

งานการควบคุมเพิ่มเติม และทบทวนระหว่างดำเนินการเป็นระยะ

จัดหาที่ปรึกษาโครงการที่มีความรู้ความชำนาญ ปรับปรุงการสื่อสารกับผู้นำเสนองานที่เป็นไปได้

2.การพัฒนาเงื่อนไข รายละเอียดเฉพาะเจาะจง

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเป็น กิจกรรมที่ควรให้ความเห็น
1.ระบุนิยามแคบเกินไปหรือเน้นตรายี่ห้อ สเปคของบางรายเท่านั้น มีทางเลือกน้อยไป

ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม

ต้นทุนดำเนินงานเพิ่มขึ้น

นิยามจากผลผลิตที่ต้องการและคาดหวัง

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่ควรจะเป็น

2.ระบุนิยามตัวสินค้าหรือบริการไม่เหมาะสม ความจำเป็นของการจัดซื้อไม่ได้รับการตอบสนอง

สูญเสียเวลา

ต้นทุนดำเนินงานเพิ่ม

ดำเนินการไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง

ทำให้มั่นใจว่าสเปคสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความจำเป็น

ปรับปรุงความรู้จากตลาด

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็น

3.การกำหนดสเปคบิดเบือน เอนเอียง การตอบสนองจากผู้เสนองานไม่เพียงพอ

การร้องเรียนว่าการจัดซื้อไม่เป็นธรรม

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็น

วางกลไกการควบคุมเพื่อทบทวนสเปคก่อนการเริ่มเปิดตัว

4.การระบุรายละเอียดทั้งหมดของสิ่งที่ต้องการไม่เพียงพอ การนำเสนองานมีความหลากหลาย

การตอบสนองไม่เพียงพอ

สินค้าที่นำเสนอไม่ตรงกับความจำเป็น

มีความยุ่งยากในการประเมินข้อเสนอ

หาทางทำความเข้าใจ และคุ้นเคยกับสิ่งที่ต้องการให้มากที่สุด

กำหนดสเปคด้วยฟังชั่นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเป็น

3.รายละเอียดการเลือกวิธีการจัดซื้อ

ประเด็นความเสี่ยง ผลกระทบที่คาดว่าจะเป็น กิจกรรมที่ควรให้ความเห็น
1.ความล้มเหลวในการระบุแหล่งเสนองานที่เป็นไปได้ ขาดข้อเสนอจากผู้เสนอที่เหมาะสม ปรับปรุงกระบวนการวางแผนจัดซื้อจัดจ้าง

ปรับปรุงองค์ความรู้เกี่ยวกับตลาด

ดึงการมีส่วนร่วมจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม

เข้าถึงเครือข่ายที่ใช้ค้นหาแหล่งนำเสนอที่เป็นไปได้

2.เลือกวิธีการไม่เหมาะสม จำเป็นต้องแสวงหาแหล่งเสนองานซ้ำ

มีความแปรปรวนของต้นทุนที่เป็นไปได้

ล้มเหลวในการทำให้การจัดซื้อคุ้มค่า

ปรับปรุงนโยบายแนวทางปฏิบัติวิธีการใหม่ให้เหมาะสม

ปรับเอกสารการนำเสนอใหม่และระบุเงื่อนไขการประเมินผลที่ชัดเจน

ให้การอบรมและเพิ่มประสบการณ์แก่บุคลากรอย่างเพียงพอ

สนใจเชิญบรรยายหัวข้อนี้ติดต่อ