เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้เรียน ทั้ง แบบ รายบุคคล และ ราย กลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้เรียน ทั้ง แบบ รายบุคคล และ ราย กลุ่ม

1) การรู้จักนักเรียน

ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน

การดูแลช่วยเหลือ หมายรวมถึง การส่งเสริม การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และปลอดภัยจากสารเสพติด

กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการปฏิบัติงานมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ

  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การส่งเสริมนักเรียน
  4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
  5. การส่งต่อ

ความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น “การรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อการคัดกรองนักเรียนเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียนได้อย่างถูกทาง” ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดา โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด

ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน ครูผู้สอนควรมีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน อย่างน้อย 3 ด้านใหญ่ๆ คือ

  1. ด้านความสามารถ แยกเป็น ด้านการเรียน และด้านความสามารถอื่นๆ
  2. ด้านสุขภาพ แยกเป็น ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-พฤติกรรม
  3. ด้านครอบครัว แยกเป็น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครองนักเรียน
  4. ด้านอื่นๆ ที่ครูพบเพิ่มเติม ซึ่งมีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

ครูที่ปรึกษาควรใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลนักเรียนที่ครอบคลุมทั้งด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ และด้านครอบครัว ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญ คือ

  1. ระเบียนสะสม
  2. แบบประพฤติกรรมเด็ก (SDQ)
  3. วิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การสัมภาษณ์นักเรียน การศึกษาจากแฟ้มสะสมผลงาน การเยี่ยมบ้าน การศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองซึ่งจัดทำโดยกรมอนามัย เป็นต้น

ขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีหลักปฏิบัติง่ายๆ และสามารถทำได้ดังนี้

  1. จัดทำบัญชีรายชื่อและสรุปผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคน โดยจำแนกนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน (สร้างเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มเอง ตามความเหมาะสม)
  2. จัดทำแบบฟอร์มแนะนำตนเองของนักเรียนที่ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน
  3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้: สำหรับขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลนี้ ผู้เขียนได้เริ่มดำเนินการ โดยการนำผลการเรียนของนักเรียนมาวิเคราะห์และจำแนกกลุ่ม เก่ง ปานกลาง อ่อน ในเบื้องต้นไว้ และเตรียมแบบฟอร์มการแนะนำตนเองให้นักเรียนบันทึกด้วยตนเอง ในชั่วโมงการปฐมนิเทศ ควบคู่กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน (ทุกครั้งที่สอน) ซึ่งถือเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่จะมองข้ามไม่ได้ นอกจากนี้ การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน และการประเมินพฤติกรรมนักเรียนด้านต่างๆ โดยใช้ SDQ จะช่วยให้ครูผู้สอน ครูที่ปรึกษา นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ภาพกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน และผลการวิเคราะห์ผู้เรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้เรียน ทั้ง แบบ รายบุคคล และ ราย กลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้เรียน ทั้ง แบบ รายบุคคล และ ราย กลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้เรียน ทั้ง แบบ รายบุคคล และ ราย กลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ผู้เรียน ทั้ง แบบ รายบุคคล และ ราย กลุ่ม

อ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2552. แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี

          อย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

  1. แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำเริง แหยงกระโทก. 2554. การเยี่ยมบ้านนักเรียน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

          นครราชสีมา. นครราชสีมา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.

ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียน

          สังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

นักเรียนจะใช้เครื่องมืออะไรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล มีด้วยการหลายประเภท โดยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้มาก ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire), แบบสัมภาษณ์ (Interview), แบบสังเกต (Observation) และแบบทดสอบ (Test) ซึ่งมีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน ดังนี้

เครื่องมือสําหรับเก็บข้อมูล มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก.
HDD และ SSD ภายนอก ... .
อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช ... .
สื่อจัดเก็บข้อมูลด้วยแสง ... .
ฟลอปปีดิสก์ ... .
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลัก: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory: RAM) ... .
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง: ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) และโซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD) ... .
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ... .
โซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD).

วิธีการรวบรวมข้อมูลช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่ค้นหาได้อย่างไร

1. ข้อมูลที่ได้ต้องเป็นข้อมูลที่ชัดเจน สามารถเข้าใจได้ง่าย 2. ข้อมูลที่จัดหาต้องตรงความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่สรรหามาเป็นอย่างดี 3. เป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เท่าทันเหตุการณ์ ไม่ล้าสมัย 4. เมื่อได้ข้อมูลหลาย ๆ อย่างแล้ว ต้องเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันจัดให้เข้าพวกเข้าหมู่อย่างมีระเบียบ

เครื่องมือแนะแนวสำหรับรวบรวมข้อมูลนักเรียนมีกี่ประเภท

1.1 การสังเกต (Observation) 1.2 แบบสอบถาม (Questionnaire) 1.3 อัตชีวประวัติ (Autobiography) 1.4 ระเบียนพฤติการณ์ (Anecdotal Recording)