โครงสร้างองค์กร การบินไทย 2564

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการประชาคมคน TG ว่า ตามที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการนั้น เพื่อให้การฟื้นฟูสำเร็จลุล่วงจนบริษัทฯ สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ บริษัทฯ จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์ทางธุรกิจหลายๆ ด้าน 

ในการนี้ การบินไทยได้จัดโครงสร้างองค์กรที่เป็นแบบรวมศูนย์สำหรับงานเกี่ยวกับการเงินบัญชี การบริหารงานบุคคล การจัดซื้อ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงานและเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกัน ส่งผลให้โครงสร้างองค์กรมีความกระชับและมีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งลดจำนวนผู้บริหารลงจาก 740 อัตรา เหลือประมาณ 500 อัตรา 

อีกทั้งลดขั้นตอนการบังคับบัญชา จากเดิม 8 ระดับ เหลือ 5 ระดับ ได้แก่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ระดับ 14, ประธานเจ้าหน้าที่ (Chief of) ระดับ 12-13, ผู้อำนวยการ (Director) และกรรมการผู้จัดการ (Managing Director) ระดับ 11-12, หัวหน้าฝ่าย (Head of) ระดับ 10 และหัวหน้ากลุ่มงาน (Team Lead) ระดับ 8-9 และแบ่งออกเป็น 8 สายงาน ได้แก่ สายการพาณิชย์, สายปฏิบัติการ, สายช่าง, สายการเงินและการบัญชี, สายทรัพยากรบุคคล, ฝ่ายดิจิทัล, ฝ่ายขับเคลื่อนองค์กร และหน่วยธุรกิจการบิน 

ทั้งนี้ ภายในหน่วยงานดังกล่าว บริษัทฯ ได้เพิ่มหน่วยงานใหม่ 2 หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายขับเคลื่อนองค์กร (Transformation) โดยจะทำหน้าที่ขับเคลื่อน ประสานเชื่อมโยง และรวบรวมความคิดริเริ่มที่มาจากพนักงาน (Bottom Up) เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งขณะนี้มีโครงการริเริ่มแล้วกว่า 600 โครงการ หากดำเนินการตามแผนคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ และฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาองค์กร (Corporate Strategy & Development) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่วางแผนกำหนดทิศทางกลยุทธ์ในภาพรวม การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของบริษัทฯ และการบริหารจัดการบริษัทในเครือ 

ขณะเดียวกัน การบินไทยได้เปิดโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร (Mutual Separation Plan) ให้พนักงานสมัครใจเสียสละเข้าร่วมโครงการและลาออกจากบริษัทฯ แบ่งเป็น 2 โครงการ ได้แก่ โครงการร่วมใจจากองค์กรแผน B (MSP B) เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการลาระยะยาว Leave With 20% Pay (LW 20) ที่พนักงานได้รับเงินเดือน 20% เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2564 และโครงการร่วมใจจากองค์กรแผน C (MSP C) 

โดยทั้งสองโครงการจะเปิดรับสมัคร แบ่งเป็น 4 บล็อก ได้แก่ บล็อกที่ 1 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม 2564, บล็อกที่ 2 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 2-16 มีนาคม 2564, บล็อกที่ 3 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2564 และบล็อกที่ 4 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-19 เมษายน 2564 ซึ่งพนักงานที่เข้าโครงการฯ จะได้รับเงินตอบแทนในอัตราเทียบเท่าค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน คำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้ายของพนักงานตามกฎหมาย และยังมีเงินตอบแทนพิเศษเพิ่มเติม 

โดยพนักงานที่เข้า MSP B จะได้เงินตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมเท่ากับเงินเดือน 4 เดือน ส่วนพนักงานที่สมัครใจเข้าโครงการ MSP C จะได้เงินตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมเท่ากับเงินเดือน 0.5-1 เดือน ตามอายุของพนักงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ จะแบ่งจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวเป็นระยะเวลา 12 งวด โดย MSP B บล็อกที่ 1 เริ่มจ่ายงวดแรกในเดือนมิถุนายน 2564 และบล็อกที่ 2-4 เริ่มจ่ายงวดแรกในเดือนถัดไปตามลำดับ ส่วน MSP C บล็อกที่ 1 เริ่มจ่ายงวดแรกในเดือนกันยายน 2564 และบล็อกที่ 2-4 เริ่มจ่ายงวดแรกในเดือนถัดไปตามลำดับ

“การบินไทยเชื่อมั่นว่าการปรับโครงสร้างองค์กรในครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะกลับมาให้บริการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจนสามารถกลับมาเป็นผู้นำในตลาดอุตสาหกรรมการบินได้ ทั้งนี้ การฟื้นฟูกิจการจะประสบความสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงเจ้าหนี้และพนักงานทุกคน”

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

โครงสร้างองค์กร การบินไทย 2564

ABOUT THE AUTHOR
ถนัดกิจ จันกิเสน

Content Creator ประจำกองบรรณาธิการ THE STANDARD WEALTH

โครงสร้างองค์กร การบินไทย 2564

รายงานข่าวจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาการบินไทยมีการประชุมเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กร และการปรับลดพนักงาน โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหาร ที่ประชุมได้ข้อสรุปดังนี้
.
1. ปรับลดตำแหน่งผู้บริหารจาก 740 อัตรา เหลือไม่เกิน 500 อัตรา
.
2. รวมศูนย์งาน 3 ด้าน ทั้งด้านบริหารบุคคล-การเงิน-จัดซื้อ ไปอยู่ที่ส่วนกลาง
.
3. แบ่งระดับโครงสร้างองค์กร ดังนี้
ระดับ CEO (DD) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ระดับ CHIEF หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร
ระดับ HEAD หัวหน้าฝ่าย / Managing Director กรรมการผู้จัดการ
ระดับ TEAM HEAD หัวหน้าหน่วยงาน
ระดับ TEAM LEAD หัวหน้ากลุ่มงาน
.
4. บำเหน็จแยกเป็น 2 ช่วง เงินเดือนเดิมคูณอายุงานก่อน 1 พฤษภาคม 2564 บวกกับเงินเดือนใหม่คูณอายุงานหลัง 1 พฤษภาคม 2564
.
5. การคัดเลือกพนักงานกลับเข้ามาใหม่ โดยจัดตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือกของแต่ละฝ่าย เกณฑ์การคัดเลือก 50% เป็นคะแนนจากส่วนกลาง และอีก 50% เป็น ความสามารถการทำงานในตำแหน่งตัวเอง
.
6. สัญญาจ้างใหม่ นายจ้างเป็นนายจ้างเดิมคือ บริษัทการบินไทย
.
7. ปิดฝ่ายช่างอู่ตะเภา ในวันที่ 31 มีนาคม 2564
.
8 . พนักงานที่ไม่ผ่านการคัดเลือกและไม่ประสงค์เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร ( Mutual Separation Plan : MSP B) หรือ MSP C เบื้องต้นจะถูกย้ายไปรวมที่หน่วยงานกลาง
.
9 .การเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี จะเกษียณอายุ ณ วันสิ้นเดือนของเดือนที่อายุครบ 60 ปี
.
10. มีการเสนอขอแก้ไขข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยจะเปิดโอกาสให้พนักงานที่ลาออกจากกองทุนฯ แต่ไม่ลาออกจากการเป็นพนักงาน ได้รับเงินกองทุนทั้งเงินสะสมของพนักงาน และเงินสมทบจากนายจ้าง
.
11. พนักงานที่บริษัทรับภาระภาษี อาจได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือน เพื่อให้พนักงานรับภาระภาษีเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณของบริษัท
.
โดยการประชุมครั้งถัดไปจะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 18 ก.พ. 2564 เวลา14.00 น. นอกจากนี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาคัดเลือกพนักงานแต่ละฝ่าย เปรียบเสมือนปิดบริษัทแล้วเปิดใหม่ พนักงานที่ผ่านการพิจารณาก็ทำสัญญาใหม่ ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะต้องการลดจำนวนพนักงาน คาดว่าจะมีพนักงานไม่เกิน 8,000 คน จากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 การบินไทยมีพนักงานทั้งหมด 21,265 คน แต่หลังจากเมื่อปลายปีที่ผ่านมามีโครงการร่วมใจจากองค์กร ทำให้มีพนักงานสนใจเข้าร่วมโครงการไปจำนวนมาก ปัจจุบันน่าจะมีพนักงานประมาณ 15,000-16,000 คน
.
อย่างไรก็ตามการบินไทย ยังมีปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ จะใช้เงินจากที่ไหนในการดำเนินการ โดยเฉพาะการจ่ายพนักงานที่จะสมัครใจลาออก
.
ที่สำคัญก่อนหน้านี้การบินไทย ได้สรุปแผนฟื้นฟูกิจการด้านการปรับลดฝูงบินแล้ว โดยบริษัทปลดระวางเครื่องบิน 3 ประเภท คือ แอร์บัส A-330-300,แอร์บัส A380 และโบอิ้ง 747 คงเหลือเครื่องบิน 3 ประเภทที่จะใช้ในการทำบินต่อไป ได้แก่ โบอิ้ง 777-300ER, โบอิ้ง 787 และแอร์บัส 350-90 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อนักบินที่ทำการบินเครื่องบิน 3 ประเภท รวมประมาณ 395 คน ซึ่งจะต้องถูกปลดออก โดยเฉพาะนักบินที่มีอายุเกินกว่า 52 ปี บริษัทมีคำแนะนำให้สมัครใจลาออก โดยจะอนุมัติให้ออกตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 ส่งผลให้มีนักบินเหลือที่จะปฏิบัติงานรวม 905 คน จากปัจจุบันที่มีนักบินรวม 1,300 คน ในช่วงปี 2564-2565 และจะไม่มีการเพิ่มจำนวนนักบินอีก
.
โดยวันที่ 21 ก.พ. 2564 บริษัทจะประกาศรายชื่อนักบิน โดยคัดเลือกโดยพิจารณาจากประสิทธิภาพการทำงานด้านต่างๆ และจะทำปรับโครงสร้างเงินเดือนของนักบินใหม่ทั้งหมด โดยจะปรับลดอัตราเงินเดือนลง 15-20% ตามตลาดความต้องการนักบินทั่วโลกที่ปรับลดลง