การนำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร

การนำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร

‘จะขับรถไปเที่ยวก็ต้องเปิด GIS เอ้ย! GPS เอ้ย! หรือจะเป็น GNSS กันนะ’ เพื่อน ๆ ที่กำลังเรียนเรื่องระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คงจะคุ้นเคยกับคำเหล่านี้กันดี แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังสับสนกับความแตกต่างของตัวย่อเหล่านี้กันใช่ไหมล่ะ วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบสรุป ๆ เข้าใจง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย (หรือสามารถดูแบบวิดีโอได้ที่แอป StartDee ดาวน์โหลดได้เลย)

การนำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร

GIS คือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แล้วระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ล่ะคืออะไร?

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System หรือ GIS) คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ มีการใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบที่มีความสามารถในการรวบรวมหรือซ้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันมาร่วมจัดการข้อมูลด้วย ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ ตำแหน่งของเรา ภาพถ่ายทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมคำนวณข้อมูลต่าง ๆ ในเชิงพื้นที่ เช่น เส้นทางการเดินทางที่เหมาะสม การบันทึกตำแหน่งหรือสถานที่ที่เราสนใจ

เพื่อน ๆ จะเห็นว่านิยามของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นกว้างมาก ๆ เพราะรวมไปถึงกระบวนการและระบบที่ใช้จัดการกับข้อมูล นอกจากนี้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ยังมีความสามารถที่หลากหลาย เนื่องจากอาศัยการทำงานขององค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

อุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเข้าและแสดงผลข้อมูล ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ เครื่องอ่านพิกัด (digilizer) เครื่องกราดภาพ (scanner)

2. ซอฟต์แวร์ (Software)

โปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้เราจัดเก็บ วิเคราะห์ เรียกค้น และแสดงผลข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่น ArcView, ArcGIS, ArcInfo, MapInfo, QGIS นอกจากโปรแกรมชื่อไม่คุ้นเหล่านี้ Google map และ Google earth ที่เราคุ้นเคยกันดีก็ถือว่าเป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เหมือนกันนะ

การนำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร

3. ข้อมูล (Data)

รายละเอียดของข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงบรรยายที่เป็นตัวอักษร พิกัดทางภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายรูปแบบต่าง ๆ และข้อมูลเชิงพื้นที่อื่น ๆ

การนำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีขั้นตอนอย่างไร

4. กระบวนการวิเคราะห์

ขั้นตอนการปฎิบัติงาน วิเคราะห์ความหมายของข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ รวมถึงนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ 

5. บุคคล

ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงาน การใช้อุปกรณ์และโปรแกรมต่าง ๆ ในงานด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอย่างดี

GNSS ระบบนำทางด้วยดาวเทียม หรือระบบกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียม

อีกหนึ่งตัวย่อชวนสับสนก็คือ GNSS หรือระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satelite System) นั่นเอง GNSS เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สามารถระบุตำแหน่งของตนเองได้ โดยระบบจะรับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อระบุว่าเราอยู่ในตำแหน่งไหน ที่ความสูงระดับใดของโลก

แล้ว GPS ล่ะคืออะไร?

นอกจาก GIS และ GNSS เพื่อน ๆ อาจเคยได้ยินชื่อ GPS ซึ่งย่อมาจาก Global Positioning System หรือระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว GPS เป็นเพียงระบบหนึ่งของ GNSS โดย GPS เป็นระบบที่เกิดขึ้นและตั้งชื่อโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบ GNSS ในโลกจึงมีระบบอื่น ๆ อีก เช่น GLONASS ของรัสเซีย BeiDou ของจีน 

อีกหนึ่งข้อสังเกตเกี่ยวกับหลักการใช้งาน GIS, GNSS และ GPS ก็คือ ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ระบบก็สามารถรับรู้และระบุตำแหน่งของเราได้ เพราะการรับส่งข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เหล่านี้ทำงานด้วยการรับส่งสัญญาณโดยตรงระหว่างอุปกรณ์กับดาวเทียมนั่นเอง

เป็นยังไงบ้างเพื่อน ๆ หายสับสนกับตัวย่อในบทเรียนเรื่องระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์กันแล้วใช่ไหม รู้แบบนี้แล้วครั้งหน้าที่ออกทริปอย่าลืมนำคำศัพท์เท่ ๆ ในบทเรียนนี้ไปใช้กันคนรอบตัวกันดู ส่วนครั้งหน้าเราจะมีบทเรียนวิชาภูมิศาสตร์สนุก ๆ เรื่องไหนมาฝากเพื่อน ๆ อีกต้องรอติดตามกันนะ ส่วนตอนนี้ไปสนุกกับบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์สากล หรือบทเรียนออนไลน์เรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ กันก่อนเลย