ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองขุดในประเทศไทย

ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากคลองเป็นอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนกล่าวได้ว่า วิถีชีวิตของคนไทยเกี่ยวข้องกับคลองอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด อาจกล่าวถึงคลองขุด ที่สำคัญๆ ของไทย โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงระยะเวลาใหญ่ๆ ดังนี้

๑. คลองที่ขุดขึ้นในช่วงก่อนสมัยรัตนโกสินทร์  

ก. คลองที่ขุดขึ้นในสมัยสุโขทัย

คลองที่ขุดขึ้นในสมัยสุโขทัยน่าจะสัมพันธ์กับ "ถนนพระร่วง" หรือ "ท่อปู่พระยาร่วง" ที่นักประวัติศาสตร์ และโบราณคดีสันนิษฐานว่า เป็นแนวคลองที่ขุดขึ้น เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำปิงผ่านเมืองกำแพงเพชร มาที่กรุงสุโขทัย และเชื่อมต่อกับคลอง ที่ขุดจากแม่น้ำยม ที่เมืองศรีสัชนาลัยมาที่กรุงสุโขทัยเช่นเดียวกัน

ข. คลองที่ขุดขึ้นในสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยามีสภาพคล้ายเป็นเกาะโดยมีแม่น้ำล้อมรอบอยู่ทุกด้าน ปัจจุบันจึงเรียกชื่อว่า ตัวเกาะเมือง แม่น้ำที่ไหลโอบล้อมตัวเกาะเมือง ได้แก่ แม่น้ำลพบุรี อยู่ทางด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสัก อยู่ทางด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เดิมแม่น้ำลพบุรีไหลไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา ได้มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำลพบุรีกับแม่น้ำป่าสัก เรียกชื่อว่า คูขื่อหน้า ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเหนือสุดของตัวเกาะเมือง แม่น้ำลพบุรีจึงไหลมาลงแม่น้ำป่าสักมากขึ้น เพราะระยะทางใกล้กว่า ส่งผลให้แม่น้ำลพบุรีสายเดิมที่ไหลไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา ตื้นเขินและแคบลง ปัจจุบันเรียกชื่อว่า คลองเมือง อยู่ทางตอนเหนือสุดของตัวเกาะเมือง

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

แผนที่ตัวเกาะเมืองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวต่างประเทศ ในสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นแม่น้ำที่โอบล้อมเกาะและคลองต่างๆ ที่ขุดผ่านเมืองเป็นจำนวนมาก


นอกจากจะมีแม่น้ำล้อมรอบแล้ว ภายในตัวเกาะเมืองยังมีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบด้วย ความยาวทั้งหมด ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และมีการขุดคลองเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายภายในตัวเกาะเมือง ทั้งจากทิศเหนือไปทิศใต้ และทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ทำให้เรือสามารถสัญจรไปมาจากแม่น้ำสายต่างๆ ผ่านตัวเกาะเมืองได้โดยสะดวก คลองที่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ ได้แก่ คลองฉะไกรใหญ่ คลองฉะไกรน้อย คลองประตูเทพหมี คลองประตูจีน และคลองในไก่ (คลองมะขามเรียง) ปัจจุบันคลองเหล่านี้ถูกถมไปหมดแล้ว เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ภายในตัวเกาะเมือง

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

แผนที่สังเขปตัวเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก คลองเมือง และคูขื่อหน้าล้อมอยู่โดยรอบ


นอกจากการขุดคลองภายในตัวเกาะเมืองของกรุงศรีอยุธยา และสถานที่ใกล้เคียงแล้ว ยังมีการขุดคลองลัด ในลำน้ำเจ้าพระยาหลายแห่ง เพื่อให้เรือเดินทางจากปากน้ำ ไปสู่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น คลองลัดสำคัญในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขุดขึ้น ในสมัยอยุธยา เรียงตามลำดับระยะเวลาในการขุด ได้แก่

คลองลัดบางกอก ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๕ ในรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปัจจุบัน กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ท่าราชวรดิฐ วัดอรุณราชวราราม และท่าเตียน ส่วนแม่น้ำเดิมแคบลง กลายเป็นคลอง ที่เรียกชื่อว่า คลองบางกอกน้อย คลองบางขุนศรี และคลองบางกอกใหญ่ เชื่อมต่อกัน

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหน้าวัดอรุณราชวราราม ซึ่งเดิมเป็นคลองลัดบางกอกที่ขุดขึ้นในสมัยอยุธยา


คลองลัดเกร็ดใหญ่
ขุดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม คลองสายนี้ได้กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เมื่อมีคลองลัดตัดตรงไป จึงทำให้แคบลง ปัจจุบัน เป็นคลองบ้านพร้าว เชื่อมต่อกับคลองบางหลวงเชียงราก อยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานี

คลองลัดเมืองนนท์
ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๘ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปัจจุบัน กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนที่ไหลผ่านหน้าตลาดขวัญ ในจังหวัดนนทบุรี ส่วนแม่น้ำเดิมแคบลง กลายเป็นคลองที่เรียกกันว่า คลองแม่น้ำอ้อม เชื่อมต่อกับคลองบางกรวย

คลองลัดเกร็ดน้อย
ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๕ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ปัจจุบัน กลายเป็นแม่น้ำใหญ่ ของลำน้ำเจ้าพระยา ส่วนลำน้ำเดิมไหลอ้อมผ่านไปทางตำบลเกาะเกร็ด และตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ในเขตจังหวัดนนทบุรี เรียกชื่อว่า คลองอ้อมเกร็ด

คลองลัดโพธิ์
ขุดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โดยโปรดให้พระยาราชสงคราม (ปาน) เป็นแม่กองขุดคลองนี้ ตรงบริเวณคอคอด ที่แม่น้ำเจ้าพระยาโค้งเข้าหากัน ในเขตพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน เดิมคลองนี้มีความยาว ๒๕ เส้น (๑,๐๐๐ เมตร) ต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชดำริว่า คลองลัดอาจทำให้น้ำเค็มจากปากน้ำไหลมาถึงกรุงเทพฯ ได้เร็วขึ้น และกระแสน้ำ อาจทำให้คลองลัดกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ได้ในภายหลัง เนื่องจาก การกัดเซาะอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับคลองลัดเกร็ด และคลองลัดบางกอกที่มีมาก่อนแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำทำนบกั้นปากคลอง และถมคลองให้แคบลง แต่ถึงกระนั้น กระแสน้ำก็ยังกัดเซาะตลิ่งบริเวณปากคลองลึกเข้าไป จนความยาวของคลองเหลือเพียง ๖๐๐ เมตรเท่านั้น

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองลัดโพธิ์ในเขตพื้นที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ปัจจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ สะพานต่อเนื่องกัน เป็นแนวขนานไปกับคลองนี้


เพื่อป้องกันการกัดเซาะตลิ่งปากคลองไม่ให้คงมีอยู่ต่อไป และเพื่อสนองพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ จึงได้มีการทำประตูน้ำถาวรกั้นบริเวณปากคลองทางด้านทิศเหนือ และบุคอนกรีตต ามแนวตลิ่งริมสองฝั่งคลอง โดยจะเปิดประตูน้ำ ก็ต่อเมื่อต้องการให้มีการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเวลาน้ำหลาก ออกสู่บริเวณปากน้ำได้เร็วขึ้น คลองนี้จึงไม่ได้ใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ เช่นคลองอื่นๆ โดยทั่วไป

นอกจากคลองลัดในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังมีคลองที่ขุดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา กับแม่น้ำสายอื่น ในสมัยอยุธยาที่สำคัญอีก ๒ คลอง คือ คลองสำโรง และคลองพระพุทธเจ้าหลวง - มหาไชยชลมารค

คลองสำโรง
ไม่ปรากฏปีที่เริ่มขุดในครั้งแรก แต่สันนิษฐานว่า คงขุดขึ้นตั้งแต่ สมัยที่ขอมมาสร้างเมืองพระประแดงเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ต่อมา ในรัชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้ขุดซ่อมคลองนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๑ เนื่องจากคลองที่ขุดไว้แต่เดิมนั้นตื้นเขิน คลองนี้ขุดแยกจาก แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ที่บ้านปากคลองสำโรง ในตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงฝั่งขวาในตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ยาว ๕๑ กิโลเมตร

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองสำโรงขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ในพื้นที่ของ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงฝั่งขวา ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา


คลองพระพุทธเจ้าหลวง - มหาไชยชลมารค เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๘ ในรัชกาล สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ คลองนี้ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ไปเชื่อมกับแม่น้ำท่าจีนฝั่งซ้าย ในตำบลมหาชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร ยาว ๓๐ กิโลเมตร แต่เดิมคลองนี้เรียกชื่อเป็น ๒ ตอน คือ จากปากคลองด้านแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงคลองโคกขาม เรียกว่า "คลองพระพุทธเจ้าหลวง" และจากคลองโคกขามไปถึงแม่น้ำท่าจีน เรียกว่า "คลองมหาไชยชลมารค" ปัจจุบันคลองนี้เรียกชื่อว่า "คลองมหาชัย" ตลอดทั้งสาย  

ค. คลองที่ขุดขึ้นในสมัยธนบุรี  

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงสร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานี แทนกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าเผาทำลาย เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น  ด้โปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในขณะเดียวกันก็ขยายพื้นที่ของราชธานี มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลโค้งเข้าไปทางฝั่งธนบุรีด้วย ทำให้กรุงธนบุรีมีพื้นที่อยู่บนฝั่งซ้าย ของแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเล็กน้อย

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

แผนที่คลองคูเมืองของกรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ


ในการสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ขุดคลองคูเมือง เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึกศัตรู โดยคลองคูเมืองด้านทิศตะวันตกทางฝั่งธนบุรี ขุดตั้งแต่คลองบางกอกน้อยมาออกคลองบางกอกใหญ่ เรียกชื่อกันเป็น ๓ ตอน ตอนที่ ๑ เรียกว่า "คลองบ้านขมิ้น" ตอนที่ ๒ เรียกว่า "คลองบ้านหม้อ" และตอนที่ ๓ เรียกว่า "คลองวัดท้ายตลาด" รวมความยาวทั้งหมด ๔ กิโลเมตร ส่วนคลองคูเมือง ที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตพระนคร ของกรุงเทพฯ เรียกชื่อว่า"คลองคูเมืองเดิม" ปากคลองด้านเหนือ ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปทางทิศเหนือ ของปากคลองบางกอกน้อย และปากคลองด้านใต้ ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปทางทิศใต้ของปากคลองบางกอกใหญ่ ไม่มีหลักฐานระบุความยาวของคลอง

คลองคูเมืองเดิมนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานี ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดซ่อมใหม่ในปีต่อมา เพื่อขยายคลองให้กว้าง และลึกมากขึ้น เป็นคลองคูเมืองชั้นในสุด ของกรุงเทพฯ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระบรมมหาราชวัง

๒. คลองที่ขุดขึ้นในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์

ส่วนใหญ่เป็นคลองในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง ที่ขุดขึ้นในช่วง ๕ รัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๔๕๓) ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ คลองที่ขุดขึ้นก่อนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๙๘) และคลองที่ขุดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง (พ.ศ. ๒๓๙๘ -  ๒๔๕๓) การที่ใช้สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นข้อกำหนด ในการแบ่งกลุ่มของคลอง เพราะสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำกับอังกฤษใน พ.ศ. ๒๓๙๘ และเป็นแบบอย่างให้ประเทศตะวันตกอื่นๆ ดำเนินการแบบเดียวกันต่อมานั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของไทย จากแบบยังชีพ มาเป็นแบบการค้าส่งสินค้าออกสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะข้าว ทำให้มีการส่งเสริมการขุดคลองเป็นจำนวนมาก เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าว และนำผลผลิตจากแหล่งผลิต ออกสู่แม่น้ำและท่าเรือ เพื่อส่งต่อไปยังต่างประเทศ โดยทางทะเล

ก. คลองที่ขุดก่อนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (ช่วง พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๙๘)

คลองที่ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔ ก่อนการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่สำคัญ ได้แก่

๑. คลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง - บางลำพู) ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ขุดแล้วเสร็จในปีใด มีวัตถุประสงค์ในการขุด เพื่อเป็นคลองคูเมืองที่อยู่ถัดจากคลองคูเมืองเดิมออกมาอีกชั้นหนึ่ง เริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกด้านเหนือ เริ่มตั้งแต่บางลำพู มาออกแม่น้ำเจ้าพระยาด้านใต้ เหนือวัดสามปลื้ม มีความยาว ๑๗๗ เส้น ๙ วา (๗.๐๙กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง - บางลำพู) ในสมัยที่ยังมีการสัญจรทางน้ำอยู่มาก


๒. คลองหลอด มี ๒ คลอง คลองหนึ่งอยู่ที่ข้างวัดเทพธิดาราม อีกคลองหนึ่งอยู่ที่ข้างวัดสุทัศนเทพวราราม ทั้ง ๒ คลอง ขุดจากคลองคูเมืองเดิม ไปบรรจบกับคลองรอบกรุง โดยขุดในรัชกาลที่ ๑ ในเวลาที่ใกล้เคียง กับการขุดคลองรอบกรุง

๓. คลองมหานาค เป็นคลองสั้นๆ อยู่บริเวณเหนือวัดสระเกศ ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ และขยายคลองให้ใหญ่ขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๔๔ คลองนี้ขุดขึ้น เพื่อให้ประชาชนชาวพระนครได้ลงเรือไปประชุมเล่นเพลงเรือ และสักวา ในฤดูน้ำหลาก เหมือนอย่างคลองมหานาคที่กรุงศรีอยุธยา และให้ชื่อคลองอย่างเดียวกัน คลองนี้ขุดแยกจากคลองรอบกรุงที่ใกล้ป้อมมหากาฬ ไปทางทิศตะวันออก และบรรจบกับคลองผดุงกรุงเกษม ที่ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๔

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองมหานาค ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๑) ถ่ายที่บริเวณใกล้ป้อมมหากาฬ


๔. คลองลัดหลวง เป็นคลองลัดที่ขุดขึ้นในลำน้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ห่างไปทางทิศตะวันตก ของคลองลัดโพธิ์ ประมาณ ๒ กิโลเมตร โดยขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา ในตำบลบางพึ่ง เป็นแนวตรงไปทางทิศใต้ จนออกแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวาในตำบลบางครุ มีความยาวประมาณ ๓ กิโลเมตร คลองนี้ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ผู้ดำเนินการขุด คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่ขุด มีวัตถุประสงค์ในการขุด เพื่อช่วยย่นระยะทางเดินเรือ ในลำน้ำเจ้าพระยาตอนปลาย ซึ่งมีความคดโค้งมาก และเพราะเกรงว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจะกัดเซาะตลิ่งของคลอง ให้กว้างออกเช่นเดียวกับคลองลัดโพธิ์ ปัจจุบัน จึงมีประตูน้ำเปิดปิดได้เองโดยอัตโนมัติติดตั้งไว้ที่ปากคลอง เพื่อควบคุมการไหลของน้ำ ไม่ให้แรงเกินไป

๕. คลองสุนัขหอน ขุดเชื่อมแม่น้ำท่าจีนฝั่งขวา ในตำบลท่าจีน อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลองฝั่งซ้าย ในตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม คลองนี้มีความยาว ๗๕๐ เส้น (๓๐ กิโลเมตร) ขุดในรัชกาลที่ ๓ ผู้ดำเนินการขุดคือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๓๗๗ ไม่ปรากฏปีที่ขุดแล้วเสร็จ

๖. คลองพระโขนง อยู่ในเขตพระโขนง และส่วนหนึ่งของเขตประเวศ กรุงเทพฯ ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ใกล้กับบริเวณท่าเรือกรุงเทพฯ ไปต่อกับคลองประเวศบุรีรมย์ ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ผู้ดำเนินการขุดคือ พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต บุนนาค) เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๘๓ ยาว ๓๖๒ เส้น ๕ วา (๑๔.๕ กิโลเมตร)

๗. คลองแสนแสบ ขุดเชื่อมคลองบางกะปิ กรุงเทพฯ กับคลองบางขนาก ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยคลองบางกะปิเป็นคลองที่ขุดแยก จากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งตะวันออก ตรงข้ามกับปากคลองมหานาค ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ไปสิ้นสุดที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ ต่อจากนั้น จึงเป็นคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมักถือว่า คลองแสนแสบตั้งต้นจากประตูน้ำในเขตปทุมวัน จึงครอบคลุมอาณาเขตส่วนหนึ่งที่เดิมเป็นของคลองบางกะปิ

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ นับเป็นคลองขุดที่ยาวที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ปัจจุบันยังคงเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญมากของกรุงเทพฯ


จากประตูน้ำในเขตปทุมวัน คลองแสนแสบไหลผ่านเขตต่างๆ คือ เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตมีนบุรี และเขตหนองจอก ก่อนไหลไปเชื่อมกับคลองบางขนาก ซึ่งไหลไปลงแม่น้ำบางปะกง ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา

คลองแสนแสบขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ผู้ดำเนินการขุดคือ พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต  บุนนาค) เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๘๓ มีความยาว ๑,๓๓๗ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก (๕๓.๕๖ กิโลเมตร) นับเป็นคลองขุดที่ยาวที่สุด ในบรรดาคลองที่ขุดขึ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สามารถเดินทางติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองฉะเชิงเทราได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผ่านทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นเส้นทางที่อำนวยประโยชน์ ทางด้านยุทธศาสตร์การปกครอง และป้องกันหัวเมืองภาคตะวันออก ซึ่งในรัชกาลที่ ๓ ไทยต้องทำสงครามกับญวน ที่ขยายอำนาจเข้ามาในเขมร เป็นเวลายาวนานเกือบ ๑๕ ปี

๘. คลองผดุงกรุงเกษม ขุดเป็นคูเมืองชั้นนอกของกรุงเทพฯ เมื่อคราวขยายเขตพระนครออกไป ในรัชกาลที่ ๔ ปากคลองตอนบน แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ใต้วัดเทวราชกุญชร ในเขตดุสิต ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงปากคลองมหานาค แล้ววกลงทางทิศใต้ มาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ใต้ที่ว่าการเขตสัมพันธวงศ์ ผู้ดำเนินการขุด คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๙๗ มีความยาว ๑๓๗ เส้น ๑๐ วา (๕.๕ กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองผดุงกรุงเกษม ปัจจุบันมีเขื่อนคอนกรีตสร้างกั้นตลิ่ง ๒ ฝั่งคลอง เพื่อความสวยงาม


ข. คลองที่ขุดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง (ช่วง พ.ศ. ๒๓๙๘ - ๒๔๕๓)

ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงใน รัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลที่ ๕ ได้มีการขุดคลองเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่สำคัญได้แก่

๑. คลองถนนตรง ขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ไม่ปรากฏปีที่ขุดแล้วเสร็จ วัตถุประสงค์ในการขุด เนื่องจาก ชาวตะวันตกกราบบังคมทูลร้องเรียน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า จะขอไปตั้งห้างร้าน เพื่อค้าขายในบริเวณตั้งแต่ใต้ปากคลองพระโขนงถึงบางนา จึงขอให้รัฐบาลขุดคลองต่อจากคลองผดุงกรุงเกษม ไปออกคลองพระโขนง ดินที่ได้จากการขุดคลอง นำมาถม สร้างเป็นถนนขนานไปกับคลองในชื่อเดียวกัน (ปัจจุบัน ถนนตรงคือ ส่วนใหญ่ของถนนพระรามที่ ๔) คลองนี้มีความยาว ๒๐๗ เส้น ๒ วา (๘.๒๘ กิโลเมตร)

๒. คลองสีลม ขุดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๐๔ แต่ไม่ปรากฏปีที่ขุดแล้วเสร็จ วัตถุประสงค์ในการขุด เพื่อเอาดินถมถนน ตามแนวถนนสีลมในปัจจุบัน มีความยาว ๖๘ เส้น ๑๖ วา (๒.๗๕ กิโลเมตร)

๓. คลองเจดีย์บูชา พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม ข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี เป็นผู้ดำเนินการขุด แต่ไม่ปรากฏหลักฐานปีที่เริ่มขุด และปีที่ขุดแล้วเสร็จ มีวัตถุประสงค์ในการขุดคือ

  • เพื่อเป็นเส้นทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
  • เพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูก และการตั้งถิ่นฐาน
  • เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งอ้อยและน้ำตาล จากเมืองนครชัยศรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญ
คลองนี้เริ่มจากแม่น้ำนครชัยศรี ที่บ้านท่านา ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ไปถึงหน้าพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม มีความยาว ๔๔๙ เส้น (๑๗.๙๖ กิโลเมตร)

๔. คลองมหาสวัสดิ์ เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๔๐๐ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๐๓ โดยมีวัตถุประสงค์ในการขุด คือ

  • เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี เพื่อการขนส่งอ้อยและน้ำตาล
  • เพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งคลอง
  • เพื่อเป็นเส้นทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ โดยเชื่อมต่อกับคลองเจดีย์บูชา
คลองนี้ขุดแยกจากคลองลัดบางกรวย ซึ่งเชื่อมระหว่างคลองแม่น้ำอ้อมกับคลองบางกอกน้อย โดยแยกจากคลองลัดบางกรวย ที่วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร ไปบรรจบกับฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำนครชัยศรี ในตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีความยาว ๖๘๔ เส้น (๒๗.๓๖ กิโลเมตร)

๕. คลองภาษีเจริญ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เจ้าภาษีฝิ่น ได้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้เงินจากภาษีฝิ่นขุดคลองนี้ โดยดำเนินการขุด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ มีวัตถุประสงค์ในการขุดคือ

  • เพื่อประโยชน์ในการค้าขาย และการสัญจรทางน้ำระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองสมุทรสาคร
  • เพื่อผลประโยชน์ของพระภาษีสมบัติบริบูรณ์เอง เพราะมีโรงหีบอ้อยอยู่ที่บ้านดอนไก่ดี (ดอนกะฎี) ทำให้สามารถขนส่งอ้อย และน้ำตาลทราย ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น   
คลองนี้เริ่มต้นจากคลองบางกอกใหญ่ และคลองบางขุนศรี มารวมกันที่วัดประดู่ ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ปลายคลองออกแม่น้ำท่าจีน ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาว ๖๒๐ เส้น (๒๔.๘ กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองภาษีเจริญ บริเวณวัดปากน้ำภาษีเจริญ


๖. คลองดำเนินสะดวก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กองขุด เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๔๐๓ แล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๔๑๑ วัตถุประสงค์ในการขุด เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง โดยขุดแยกจากแม่น้ำท่าจีนฝั่งขวา ที่ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ไปเชื่อมกับเแม่น้ำแม่กลองที่ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีความยาว ๘๔๐ เส้น (๓๓.๖ กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองดำเนินสะดวกขุดเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง มีตลาดน้ำอยู่ในบริเวณลำคลองหลายแห่ง


๗. คลองสวัสดิ์เปรมประชากร (ปัจจุบันเรียกว่า คลองเปรมประชากร) เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการขุด พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร  บุนนาค) เป็นแม่กองขุด เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๔๑๓ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ นับเป็นคลองแรก ที่ขุดขึ้นในรัชกาลที่ ๕ มีวัตถุประสงค์ในการขุดคือ
  • เพื่อความสะดวก และรวดเร็ว ในการสัญจรทางน้ำ และการค้าขายระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เพื่อเปิดพื้นที่บริเวณสองฝั่งคลอง ซึ่งเป็นป่าให้เป็นที่อยู่อาศัย และทำการเพาะปลูก   
คลองนี้ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านบางกะสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาจนถึงเขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปบรรจบกับคลองผดุงกรุงเกษม ที่หน้าวัดโสมนัสวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีความยาว ๑,๒๗๑ เส้น ๓ วา (๕๐.๘๕ กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองเปรมประชากร เขตดุสิต กรุงเทพฯ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เพื่อการระบายน้ำ มีการตกแต่งบริเวณริมคลองให้ดูร่มรื่นสวยงาม


๘. คลองนครเนื่องเขตร พระชลธารวินิจฉัยเป็นแม่กองขุด เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๔๑๙ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๒๐ มีวัตถุประสงค์ในการขุดคือ
  • เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ และการค้าขาย
  • เพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูก และการตั้งถิ่นฐานริมสองฝั่งคลอง
คลองนี้ขุดแยกจากคลองแสนแสบช่วง ที่ติดต่อระหว่างเขตหนองจอก กรุงเทพฯ กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ตรงไปต่อปากคลองท่าไข่ ซึ่งไปออกแม่น้ำบางปะกง ที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีความยาว ๓๐ เส้น ๑ วา (๑๒.๐๒ กิโลเมตร)

๙. คลองประเวศบุรีรมย์ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการขุด พระยาดำรงราชพลขันธ์ เป็นแม่กองขุด เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๔๒๑ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ มีวัตถุประสงค์ในการขุดคือ

  • เพื่อเชื่อมการคมนาคมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณด้านใต้ของกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • เพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูกในบริเวณดังกล่าว   
คลองนี้ขุดต่อจากคลองพระโขนง ในเขตประเวศ กรุงเทพฯ แล้วไหลไปทางทิศตะวันออก ผ่านเขตลาดกระบังไปออกแม่น้ำบางปะกง ที่ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาว ๑,๑๕๐ เส้น (๔๖ กิโลเมตร)

๑๐. คลองทวีวัฒนา เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นแม่กองขุด เริ่มขุดใน พ.ศ. ๒๔๒๑ และขุดแล้วเสร็จในปีเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการขุด คือ

  • เพื่อเชื่อมการสัญจรทางน้ำระหว่างคลองมหาสวัสดิ์กับคลองภาษีเจริญ
  • เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกในบริเวณดังกล่าว
คลองนี้ขุดแยกจากฝั่งใต้ของคลองมหาสวัสดิ์ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ไปออกคลองภาษีเจริญ ในเขตทวีวัฒนา มีความยาว ๓๔๐ เส้น (๑๓.๖ กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองทวีวัฒนา ขุมเชื่อมคลองภาษีเจริญกับคลองมหาสวัสดิ์ในกรุงเทพฯ ยังคงเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองที่มีการยกยอ เพื่อจับปลาบริโภคในครัวเรือน


๑๑. คลองนราภิรมย์ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นแม่กองขุด เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๒ มีวัตถุประสงค์ในการขุด คือ
  • เพื่อเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำจากคลองทวีวัฒนาไปถึงแม่น้ำนครชัยศรี
  • เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกในบริเวณดังกล่าว  
คลองนี้ต่อเนื่องกับคลองทวีวัฒนาที่ตรงจุดตัดกับคลองมหาสวัสดิ์ แล้วขึ้นไปทางเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ ไปออกแม่น้ำนครชัยศรี มีความยาว ๕๔๐ เส้น (๒๑.๖ กิโลเมตร)

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองนราภิรมย์ ขุดเชื่อมคลองมหาสวัสดิ์กับแม่น้ำนครชัยศรี เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ กับแม่น้ำนครชัยศรี ใน จ.นครปฐม


๑๒. คลองเปร็ง เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นแม่กองขุด เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๑ มีวัตถุประสงค์ในการขุด คือ
  • เพื่อเปิดพื้นที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองฉะเชิงเทราให้เป็นแหล่งปลูกข้าว ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากในขณะนั้น
คลองนี้ขุดแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านคลองนครเนื่องเขตร ไปออกคลองบางขนาก ซึ่งเป็นส่วนตอนปลาย ของคลองแสนแสบ มีความยาว ๔๔๘ เส้น (๑๗.๙๒ กิโลเมตร)

๑๓. คลองหลวงแพ่ง หลวงแพ่ง กรมการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขุด เริ่มขุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๓ มีวัตถุประสงค์ในการขุด คือ

  • เพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูกบริเวณดังกล่าว
  • เพื่อเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำระหว่างคลองประเวศบุรีรมย์กับคลองนครเนื่องเขตร
คลองนี้ขุดแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือ ในเขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ไปบรรจบกับคลองนครเนื่องเขตรฝั่งใต้ ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาว ๓๘๓ เส้น ๑๕ วา (๑๕.๓๕ กิโลเมตร)

๑๔. คลองอุดมชลจร พระยาสีหราชเดโชขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุด เริ่มขุด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๓

คลองนี้อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ขุดแยกจากคลองนครเนื่องเขตรฝั่งใต้ ในตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ไปออกคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือ ในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีความยาว ๓๘๐ เส้น (๑๕.๒ กิโลเมตร)

๑๕. คลองรังสิตประยุรศักดิ์ (เรียกกันสั้นๆ ว่า คลองรังสิต) ผู้ดำเนินการขุดคือ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระปฏิบัติราชประสงค์ พระนานาพิธภาษี หลวงสาทรราชายุตก์ (เจ้าสัวยม) และนายโยราคิม คราซี วิศวกรชาวอิตาเลียน ได้เข้าหุ้นกันตั้งบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ขุดคลอง ในบริเวณพื้นที่ราบฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเดิมเรียกว่า "ทุ่งหลวง" โดยขุดเป็นคลองสายใหญ่ เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับแม่น้ำนครนายก แล้วสร้างระบบคลอง เป็นเครือข่ายติดต่อถึงกัน พร้อมทั้งสร้างประตูระบายน้ำ และประตูเรือสัญจร สำหรับการควบคุมน้ำ และการจราจรทางน้ำ มีวัตถุประสงค์ในการขุดคลอง คือ

  • เพื่อเปิดพื้นที่รกร้างว่างเปล่าในท้องทุ่งหลวงให้เป็นแหล่งเพาะปลูกทำนา   
  • เพื่อเชื่อมเส้นทางสัญจรทางน้ำระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก
  • เพื่อสร้างระบบน้ำเพื่อการเกษตร ควบคุมน้ำและรักษาระดับน้ำ ในคลองที่จะขุดขึ้น ให้มีเพียงพอตลอดปี โดยเฉพาะให้มีน้ำเพียงพอต่อการทำนา แม้ในปีที่มีน้ำไม่ปกติ
บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขุดคลองใน พ.ศ. ๒๔๓๓ โดยได้รับสัมปทานในการดำเนินการขุดคลองเป็นเวลา ๒๕ ปี และบริษัทได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ในรูปของกรรมสิทธิ์ที่ดินสองฝั่งคลองที่ขุด ตลอดทั้งลำคลอง โดยมีข้อกำหนดว่า สำหรับคลองที่กว้าง ๘ วา บริษัทจะได้ที่ดิน ยื่นเข้าไปฝั่งละ ๔๐ เส้น คลองกว้าง  ๖ วา บริษัทจะได้ที่ดินยื่นเข้าไปฝั่งละ ๓๐ เส้น คลองกว้าง ๔ วา บริษัทจะได้ที่ดินยื่นเข้าไปฝั่งละ ๒๕ เส้น ซึ่งที่ดินเหล่านี้ บริษัทมีสิทธิที่จะขายให้แก่ผู้ใดก็ได้ เมื่อบริษัทขุดคลองเสร็จแล้ว บริษัทมีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาคลอง สามารถเรียกเก็บเงินจากเรือที่ผ่านไปมาได้ ทั้งนี้ โดยมีข้อตกลงว่า บริษัทจะต้องให้ผลประโยชน์ตอบแทน แก่รัฐบาล ร้อยละ ๒๐ ของผลกำไร ที่บริษัทจะได้รับนั้น จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ กิจการสัมปทานของบริษัท ได้โอนมาเป็นของรัฐบาล แล้วมอบให้กรมคลอง (ต่อมาคือ กรมชลประทาน) รับมาดำเนินการปรับปรุงต่อไป

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

นาข้าวแถวรังสิต ซึ่งใช้น้ำจากคลองรังสิตประยุรศักดิ์ทำการเพาะปลูกและจับสัตว์น้ำด้วยวิธีง่ายๆ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามคลองที่ขุดขึ้นนี้ว่า คลองรังสิตประยุรศักดิ์ คลองดังกล่าวขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดปทุมธานี ผ่านบริเวณทุ่งหลวง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอธัญบุรี ไปทางทิศตะวันออกจนถึงแม่น้ำนครนายก ในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก นอกจากตัวคลองใหญ่แล้ว ยังมีคลองแยกและคลองซอย รวม ๔๓ คลอง มีความยาว รวมทั้งสิ้น ๓๓,๔๐๐ เส้น (๑๓๓.๖ กิโลเมตร) เฉพาะคลองใหญ่มีความยาว ๕๕.๖ กิโลเมตร

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

นาข้าวแถวรังสิต ซึ่งใช้น้ำจากคลองรังสิตประยุรศักดิ์ทำการเพาะปลูกและจับสัตว์น้ำด้วยวิธีง่ายๆ


๑๖. คลองพระราชาภิมล พระราชาภิมลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุดใน พ.ศ. ๒๔๓๓ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ มีวัตถุประสงค์ในการขุด เพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูก โดยผู้เข้าหุ้นขุดคลองหวังจะขายที่ดินริมฝั่งคลองให้ได้กำไร เช่นเดียวกับบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

แผนที่แสดงที่ตั้งของคลองสำคัญต่างๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำที่อยู่ห่างไปทางด้านตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพฯ


คลองนี้ขุดแยกจากบริเวณที่คลองแม่น้ำอ้อมเชื่อมต่อกับคลองบางบัวทอง ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ไปออกแม่น้ำนครชัยศรี ที่ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีความยาว ๘๐๐ เส้น (๓๒ กิโลเมตร) ปัจจุบันคลองนี้เรียกชื่อว่า "คลองพระพิมล"

๑๗. คลองพระยาบรรฦา พระยาบรรฦาสิงหนาท (เจ๊ก) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุด ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ขุดแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ มีวัตถุประสงค์ในการขุด เนื่องจากพระยาบรรฦาสิงหนาท (เจ๊ก) ซึ่งเป็นชาวญวน และเป็นผู้บังคับบัญชาทหารอาสาญวนในเมืองไทย เห็นว่า ชาวญวนยากจนมาก ไม่มีที่ทำมาหากิน จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขุดคลอง เพื่อเปิดพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นไร่นา สำหรับชาวญวนได้ใช้เป็นที่เพาะปลูก ซึ่งก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพราะรัชกาลที่ ๕ ก็มีพระราชประสงค์ ที่จะทำนุบำรุงชาวญวนอยู่แล้ว

คลองนี้ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา ในอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปออกแม่น้ำนครชัยศรี ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีความยาว ๔๐๐ เส้น (๑๖ กิโลเมตร) ปัจจุบันคลองนี้เรียกชื่อว่า "คลองพระยาบรรลือ"

๑๘. คลองสาทร หลวงสาทรราชายุตก์ (เจ้าสัวยม) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ขุดใน พ.ศ. ๒๔๓๘ และขุดแล้วเสร็จ ในปีเดียวกันนั้นเอง มีวัตถุประสงค์ในการขุดคือ

  • เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคม และค้าขาย ในเขตชานพระนคร ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้น ควบคู่กับถนนสาทรซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกัน
  • เพื่อทำให้ที่ดินของหลวงสาทรฯ ที่อยู่ในบริเวณนั้นมีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะนำประโยชน์ มาสู่หลวงสาทรฯ เองด้วย นอกเหนือจากเป็นสาธารณกุศล และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเอง
คลองนี้เริ่มจากปากคลองด้านหนึ่งไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองอีกด้านหนึ่ง ไปต่อกับคลองถนนตรง ซึ่งบัดนี้ถูกถมเป็นถนนแล้ว ในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า สี่แยกถนนวิทยุ
ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง
คลองสาทร ในปัจจุบันไม่ได้ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและค้าขาย เหมือนในอดีต แต่เป็นทางน้ำคู่ขนานไปกับถนนสาทร ตั้งแต่บริเวณสี่แยกถนนวิทยุถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

๑๙. คลองประปา วัตถุประสงค์ในการขุดคลองประปาไม่เหมือนกับคลองขุดอื่นๆ กล่าวคือ เพื่อนำน้ำมาทำเป็นน้ำประปา สำหรับชาวกรุงเทพฯ สืบเนื่องมาจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริหาน้ำบริโภค สำหรับประชาชน ในเขตพระนคร ด้วยทรงเห็นว่า ในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำซึ่งไม่สะอาดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับต่ำ ทำให้น้ำทะเลเข้ามาถึง น้ำมีรสกร่อยไม่เหมาะสำหรับการบริโภค

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองประปา ที่บริเวณสามเสน ปัจจุบันมีการสร้างทางด่วนคร่อมอยู่เหนือคลอง


ดังนั้น ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการนำน้ำ มาใช้ในพระนคร ดังนี้

๑) ให้ตั้งทำที่ขังน้ำที่คลองเชียงราก ในเขตจังหวัดปทุมธานี อันเป็นที่พ้นเขตน้ำเค็มขึ้นถึงทุกฤดู
๒) ให้ขุดคลองแยกจากที่ขังน้ำนั้น เป็นทางลงถึงริมคลองสามเสนฝั่งเหนือใกล้แนวทางรถไฟ
๓) ตั้งโรงสูบขึ้น ณ ตำบลสามเสน สูบน้ำขึ้นขังยังที่เกรอะ กรองตามกรรมวิธีให้น้ำสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งซึ่งจะเป็นเชื้อโรค แล้วจำหน่ายน้ำ ไปในที่ต่างๆ ตามควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร

มีการซื้อที่ดินสำหรับสร้างคลองประปา โรงสูบน้ำ และโรงกรองน้ำสามเสน จำนวน ๑,๐๙๗ ไร่ ๓ งาน ๔๓ ตารางวา คิดราคาเฉลี่ยตารางวาละ ๓๐ สตางค์ และเนื่องจาก เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงมีผู้มอบที่ดินให้เพื่อช่วยราชการถึง ๓๓ ราย รวม ๒๔ ไร่ ๓ งาน ๒๘ ตารางวาด้วย

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง

คลองประปาที่บริเวณถนนประชาชื่น ซึ่งมีลำคลองกว้าง เป็นแหล่งเก็บกักน้ำใสสะอาด ที่จะส่งเป็นน้ำดิบไปเข้าโรงกรองน้ำที่สามเสน


การดำเนินการสร้างคลองประปา คือ ขุดคลองแยกจากที่ขังน้ำ ที่ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ขนานกับคลองเปรมประชากร มายังโรงกรองน้ำสามเสน ยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร จากการที่น้ำไหลผ่านคลองเป็นระยะทางยาวมาก มีโอกาสได้สัมผัสกับอากาศและแสงแดด ทำให้น้ำสะอาดขึ้น การก่อสร้างได้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ และได้มีการประกาศพระราชบัญญัติรักษาคลองประปา ในปีเดียวกัน โดยมีสาระสำคัญ คือ ห้ามลงไปจับสัตว์น้ำ ตกปลา อาบน้ำ ซักล้างเสื้อผ้า หรือทิ้งสิ่งโสโครกลงไปในคลอง โดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนมีโทษปรับอย่างรุนแรง

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๓ การประปานครหลวงพิจารณาว่า การชักน้ำจากที่ขังน้ำ เข้าคลองประปา มายังโรงกรองน้ำ ทำให้มีน้ำดิบในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ ที่เพิ่มมากขึ้น จึงขยายแนวคลองประปาขึ้นไปถึงเหนือวัดสำแล ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดปทุมธานี เพื่อสูบน้ำดิบโดยตรงจากแม่น้ำเจ้าพระยา คลองประปาจึงยาวขึ้นเป็น ๓๑ กิโลเมตร

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาและแม่น้ําท่าจีนตอนล่าง มีน้ําเน่าเสียอย่างรุนแรงต่อเนื่อง

เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนประสบปัญหาคุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและแม่น้ำท่าจีนตอนล่างที่คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากมาโดยตลอด

แม่น้ําเจ้าพระยามีความสําคัญอย่างไร

แม่น้ำเจ้าพระยาทำหน้าที่สายเลือดสำคัญ สำหรับภาคการเกษตร เป็นแหล่งอาหารจากการทำประมง เป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้า การเดินทางทางน้ำ เป็นที่กำเนิดไฟฟ้า จากเขื่อนภูมิพล สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว อย่างมากมายในแต่ละปี ทำหน้าที่ระบายน้ำ ในฤดูฝน รวมทั้งการรองรับของเสียจากชุมชนต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น จุด ...

ข้อใดเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้แม่น้ําเจ้าพระยาเน่าเสีย

ด้วยอัตราการเจริญเติบโตของประชากรและการประกอบกิจการทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม พบว่า แหล่งกำเนิดมลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา 71% มาจากชุมชน และอีกกว่า 18% มาจากมลพิษโรงงานอุตสาหกรรม

สุพรรณบุรี แม่น้ําอะไร

สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตภาคกลางด้านทิศตะวักตกของประเทศไทย ตั้งอยู่ บนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านตามแนวยาวของจังหวัดจากเหนือจรดใต้ จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 4 ลิปดา ถึง 15 องศา 5 ลิปดาเหนือและระหว่างเส้นแวง 99 องศา 17 ลิปดา ถึง 100 องศา 16 ลิปดา ตะวันออก อยู่ ...