วิสัย ทัศน์ พันธ กิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของบริษัท การบินไทย

สายการบินไทยนานาชาติ

(Thai Airways International) 

วิสัย ทัศน์ พันธ กิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของบริษัท การบินไทย

บริษัท สายการบินไทยนานาชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นสายการบินขนส่งระดับชาติแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นการดำเนินการของสายการบินภายในประเทศ ส่วนภูมิภาค และนานาชาติ กระจายไปทั่ว จากฐานส่วนกลางกรุงเทพมหานครไปจนสุดปลายทางรอบโลก และภายในประเทศไทย 

บริษัทได้จ่ายการลงทุนค่าหุ้นเต็มจำนวน ประมาณ 16,988,765,500 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2005 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ 53.77 เปอร์เซ็นต์ ปลายเดือนกันยายน 2004 ได้รวมกองทุนทรัพย์สินทั้งหมดประมาณ 193.2 พันล้านบาท จากการดำเนินการนี้ สายการบินไทยบรรลุผลกำไรทุกปี เป็นเวลากว่า 40 ปี

          สายการบินไทยนานาชาติถือกำเนิดในปีค.ศ.1960 ซึ่งเป็นการรวมพลังกับความเสี่ยงระหว่างการขนส่งภายในประเทศไทย (Thailand’s domestic carrier) บริษัทสายการบินไทย (Thai  Airways Company : TAC) และระบบสายการบินสแกนดิเนเวีย (Scandinavian Airlines System : SAS) โดยการขนส่งสแกนดิเนเวียได้เริ่มเข้าหุ้นลงทุน 30 เปอร์เซ็นต์ 2 ล้านบาท 

ในช่วงแรกนั้น SAS เป็นผู้ดำเนินการ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหาร และการตลาด การฝึกอบรมดูแลนี้เป็นการสร้างสายบินอิสระระดับภายในประเทศด้วยเวลาอันรวดเร็วเท่าที่จะเป็นได้ ด้วยการฝึกอบรมและประสบการณ์สายการบินไทยจึงสามารถเติบโตจน มีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการบริหาร SAS จึงลดจำนวนพนักงานลง

กระทั่งปี 1987 มีจำนวนน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานประจำฐานในประเทศไทย  ดังนั้นในวันที่ 1 เมษายน  1977  เป็นเวลา 17 ปีหลังจากที่ได้มีการร่วมลงทุนเป็นหุ้นส่วนกับ SAS  ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงได้ซื้อหุ้น SAS ที่มีอยู่ 15% ทำให้สายการบิน THAI เป็นเจ้าของสมบูรณ์แบบโดยประชาชนคนไทย

          ในปีค.ศ.1960 สายการบินได้เปิดทำการบินจากกรุงเทพมหานครไปยัง 9 เส้นทางแห่งโพ้นทะเล แต่ทั้งหมดยังอยู่ภาคพื้นเอเซีย

ในปีค.ศ.1971 การบริการระหว่างทวีปได้เปิดดำเนินการขึ้น ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย ตามด้วยสายการบินยุโรป ในปีค.ศ.1972 และไปยังอเมริกาเหนือในปีค.ศ.1980 

การเติบโตของสายการบินนานาชาติมีอัตราเร่งที่เร็วมาก ซึ่งเป็นผลจากการเข้ารวมกับบริษัทสายการบินไทย (TAC) สายการบินภายในประเทศ ซึ่งได้เพิ่มหุ้นลงทุนของบริษัทจาก 1.4 พันล้านบาทเป็น 2.23 พันล้านบาท  ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติโดย ฯพณฯ เปรม ตินสูรานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 1988 สายการบินนานาชาติรับผิดชอบทั้งการบินพาณิชย์นานาชาติและภายในประเทศ 

วันที่ 25 มิถุนายน 1991  รัฐมนตรีของประเทศไทยอนุมัติรับรอง ทำให้สายการบินไทยสามารเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Stock Exchange of Thailand : SET)  ในการเปลี่ยนหุ้น 10.77 พันล้านบาท ยังคงได้รับการลงทุนและเพิ่มทุนเป็น 3 พันล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าหุ้นครั้งแรก 100 ล้านหุ้น  และจากหุ้นเหล่านี้ มี 5 ล้านหุ้นที่เก็บไว้สำหรับพนักงานสายการบินหุ้นละ 10 บาท และ 95 ล้านหุ้นได้นำเสนอขายให้แก่สาธารณะ

          บัญชีหุ้นสายการบินไทย เริ่มต้นวันที่ 19 กรกฎาคม 1991 โดยผู้เปลี่ยนยังคงได้รับในกองทุนและเพิ่มหุ้นลงทุนโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี การลงทุนหุ้นสายการบินไทยที่จดทะเบียนได้เพิ่มขึ้น 2.2 พันบ้านบาท สูงไปถึง 14.0 พันล้านบาท  ทำให้มีค่าหุ้นไทยทั้งหมดนำไปสู่การลงทุนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดใน SET ยิ่งไปนั้น ยังเป็นหุ้นสาธารณะของไทยที่เป็นกองทุนเดี่ยวโดดๆ ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการดำเนินการมาในประเทศไทย

          จุดมุ่งหมายหลักในการนำเสนอของ SET และแบ่งหุ้นให้แก่สาธารณะได้เพิ่มกองทุน funds เพื่อรักษาให้กรอบของการแข่งขันสายการบินในตลาดนานาชาติ และเพื่อปล่อยให้สาธารณชนและพนักงานของสายการบินไทยได้เป็นผู้ถือหุ้น (share holders) ในการขนส่งระดับชาติแห่งประเทศไทย วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2003

สายการบินไทยได้ปล่อยหุ้นธรรมดา 442.75 ล้านหุ้น ประกอบด้วย 285 ล้านทุนเป็นการเพิ่มหุ้นธรรมดา และ 157.75 ล้านหุ้นธรรมดา ที่ถือโดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ที่ผ่านมติของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ขั้นตอนดำเนินการเริ่มโดยผู้ขายได้ลงทุนในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ และการเพิ่มบริการการบินจากที่นั่งของผู้โดยสารไปยังส่วนอื่นด้วยความสุภาพ

          ตั้งแต่เดือนกันยายน 2004 บริษัทได้ขายหุ้นไทยให้แก่พนักงานโดยแผนทางเลือกความปลอดภัยของพนักงาน (The Employee Securities Option Plan : ESOP) ทุนทั้งหมด 13,896 หุ้น หุ้นละ15 บาท บริษัทได้ขายหุ้นต่อไปแก่พนักงานที่ต้องถือหุ้นให้เป็นหลักค้ำประกัน จนกระทั้งสิ้นสุดแผนในเดือนเมษายน 2007 

ในเดือนกันยายน 2010 สายการบินไทยประกาศแผนเพื่อทำให้แผนสารธารณะที่นำเสนอ ไม่เกิน 1,000 ล้านหุ้น ตามที่ประกาศไว้  ขั้นตอนการนำเสนอจะทำให้สถานะการเงินของบริษัทแข็งแกร่ง และสนับสนุนโครงการการขยายธุรกิจ ดังที่มีการปรับปรุงผลผลิตและการบริหาร ซึ่งทำให้สายบินไทยยกระดับขึ้นอย่างมั่นคงในอันดับต้นๆ ถึงอันดับที่ 3 ของสายการบินแถบเอเซีย และอันดับที่ 5 ของโลก

          ตลอดเวลา 40 ปี บริษัท สายการบินไทยนานาชาติ จำกัด (มหาชน) มีชื่อเสียงในระดับโลกทำให้ผลผลิตและการบริการลูกค้ามีมาตรฐานสูง ความสำเร็จจึงเป็นที่ปรากฏจากการสำรวจลูกค้าจำนวนมากที่จัดทำโดยสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งภายในและภายนอกประเทศไทย 

ยิ่งไปกว่านั้น สายการบินไทยได้รับความไว้วางใจจากการขนส่งนานาชาติ การปฏิบัติการสู่สนามบินกรุงเทพมหานครในระดับนานาชาติทำการจัดการภาคพื้น การบำรุงรักษาเครื่องบิน และการบริการขนส่งสินค้า

ประกอบกับความมีชื่อเสียงในระดับโลกทางด้านอาหารไทยที่อร่อย การบริการขนส่งอาหารของสายการบินไทย ได้พัฒนามาตรฐานการบริการ เพื่อจัดให้มีอาหารที่มีคุณภาพสูงบนเครื่อง และเป็นหนึ่งในผู้รับส่ง จนเป็นผู้บริหารอาหารของสายการบินที่ดีที่สุดในโลก

โดยมีนิตยสารสวัสดีของสายการบินไทยมอบให้ผู้โดยสารที่เดินทางของสายการบินไทยระหว่างประเทศ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบริการบนเครื่องบิน พร้อมทั้งมีบทความหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางที่มีคุณภาพเยี่ยม โดยได้รับการพิสูจน์จากความนิยมอย่างมากจากผู้โดยสาร

การบินไทยมีพนักงานซึ่งมีคุณสมบัติดีในระดับโลก 24,000 คน สายการบินไทยมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ และมีการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่มีประสิทธิผล เพื่อส่งมอบคุณภาพและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

เครื่องมือจัดการความรู้และตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทยระหว่างประเทศ

(Thai Airways International Cognitive Tools and Branding)

วิสัยทัศน์ (Vision)

วิสัยทัศน์ของสายการบินไทยระหว่างประเทศ คือ

1. เสนอการเดินทางภายในและระหว่างประเทศ และผูกพันกับการบริหารที่ปลอดภัย สะดวกสบาย และมีคุณภาพที่ให้ความมั่นใจด้านความพอใจและความไว้วางใจจากลูกค้า

2. ให้คำมั่นสัญญาในด้านมาตรฐานสากลให้มีประสิทธิภาพทางด้านการบริหาร ความโปร่งใส และการบูรณาการ เพื่อให้บรรลุผลการบริการให้เป็นที่พอใจ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น

3. เสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม เสนอเงินเดือน และค่าจ้างที่เหมาะสม เพื่อเป็นกำลังใจแก่พนักงานในการเรียนรู้และทำงานให้บรรลุศักยภาพสูงสุด และภูมิใจในการให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทจนประสบความสำเร็จ

4. เพื่อให้ความรับผิดชอบต่อสังคม ดังที่สายการบินระหว่างประเทศกำลังปฏิบัติการอยู่

นโยบาย (Policies)

ดังที่เป็นสายการบินในระดับชาติ ทางบริษัทจึงได้นำเสนอการป้องกันอาณาจักรไทย การขยายเส้นทางบินของประเทศ และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ให้เป็นเครื่องมือแห่งบ่อเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั้งเงินบาทไทยและกระแสเงินไหลเวียนระหว่างประเทศ บริษัทยังได้ส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้รับทักษะใหม่ๆ และมีมาตรฐานในความเป็นมืออาชีพมากขึ้นในการทำงานระหว่างต่างประเทศ  สายการบินไทยยังเกื้อกูลความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทุกรูปแบบซึ่งสอดคล้องกับอุตสาหกรรมทางการบินพาณิชย์ในโลก  สุดท้าย บริษัทเล็งเห็นเป้าหมายในการแสดงบทบาทความเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม จารีต และประเพณีไทยไปสู่สายตาของชาวโลก

จริยธรรม (Ethics)

บริษัทสัญญาค้ำประกันที่จะดำเนินการอย่างยุติธรรมและปกป้องผลกำไรที่จะได้รับอย่างถูกต้อง ยุติธรรม และรับทราบความสำคัญของพนักงาน เป็นดังแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นตัวแทนของบริษัท  พนักงานทั้งหมดมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือในการสร้างความสำเร็จของบริษัท เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้างต้น บริษัทต้องดำเนินการตามจริยธรรมทางธุรกิจทั่วไป เป็นดังแนวปฏิบัติและเครื่องเตือนใจโดยเฉพาะ เพื่อตำแหน่งของพนักงานในองค์การ คือ

1. รักษาลูกค้าและธุรกิจให้สัมพันธ์กันด้วยความยุติธรรมและซื่อสัตย์ และปกป้องรายได้ของลูกค้าทั้งหมด

2. เป็นส่วนหนึ่งทางการเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประเทศและสังคม

3. เพื่อดำเนินการธุรกิจบทพื้นฐานการแข่งขันที่ยุติธรรม

4. เพื่อสนับสนุนการใช้ที่มีประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรภายใน โดยขณะที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

การสร้างภาพลักษณ์และตราสัญลักษณ์ (Thai Airways International Branding and Logo)

          ตราสัญลักษณ์ได้สร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างชัดเจนแก่บริษัท “ตราสัญลักษณ์/ยี่ห้อ” ของสายการบินไทยสรุปได้ไม่เพียงแค่สายการบิน หรือกิจกรรมที่นำเสนอให้แก่โลกเท่านั้น แต่ยังเป็นการสะท้อนให้โลกได้รับรู้ถึงบริษัทและคุณค่าที่ประกาศไว้ด้วย

สายการบินมุ่งมั่นในความทันสมัย นวัตกรรม และความก้าวหน้า กระนั้นยังคงพยายามเฉลิมฉลองทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อทำให้เอกลักษณ์ไทยได้ปรากฏ คือ วัฒนธรรม ประเพณี และเหนืออื่นใดบรรยากาศแห่งความอบอุ่น

ดังที่กล่าวไว้ตามวัตถุประสงค์ทั้งหมดของกระบวนการตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทยนี้ เพื่อส่งมอบการมีส่วนร่วมตามปรัชญาที่จะเป็นสายการบินชั้นนำในระดับโลก ความไว้วางใจอันสูงส่ง และที่สัมผัสได้ในความเป็นไทย

          ภาพลักษณ์ทั้งหมดของสายการบิน เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมของนโยบายในการตราสัญลักษณ์นี้ ย้อนไปถึงการกระทำเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายปลายทาง ตารางเวลา และมาตรฐานแห่งความปลอดภัย พร้อมทั้งการเติมเต็มความคาดหวังที่สูงสุดของลูกค้าในเรื่องของความสะดวก การบริการ และความเป็นอยู่ที่ดี คุณค่าของสายการบินไทยยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของประเทศไทย ไม่เพียงแค่ปรากฏการณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ยังเป็นบรรยากาศที่น่าหลงใหลทั้งในอากาศ และบนแผ่นดิน

          องค์ประกอบของตราสัญลักษณ์สายการบินไทย (Elements of THAI’s Brand) 

ตราสัญลักษณ์ที่จดทะเบียนของสายการบินไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลายประการ ซึ่งทำให้เห็นถึงเอกลักษณ์ และฉายภาพลักษณ์ที่ต้องการเข้ามีส่วนร่วมในทุกๆ ประเด็นของการติดต่อลูกค้า 

องค์ประกอบพื้นฐาน คือ “ลายเซนชื่อตราสัญลักษณ์” (brand signature) ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่มีสีสัน และรูปแบบโลโก้ที่สอดคล้องกัน ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรที่จะสร้างและยอมรับคำขวัญบนปลายเส้นเชือก หรือป้ายที่เขียนติดแปะไว้ “นุ่มเหมือนผ้าไหม (smooth as silk)”  ที่ถูกนำไปใช้ในการเชื่อมโยงกับการเขียนชื่อสัญลักษณ์ในการเน้นปรัชญาแห่งการบริการ

ความเชื่อมโยงระหว่างสายการบินไทยกับผ้าไหม ซึ่งมีความใกล้ชิดกันตั้งแต่สายการบินได้ก่อตั้งแล้ว ดังเช่น การใช้ผ้าไหมไทยที่เงางาม สำหรับชุดเครื่องแบบในการบินของผู้ดูแลลูกเรือ 

องค์ประกอบอื่นที่เชื่อมโยง คือ การโฆษณาของสายการบินไทย และวัสดุการพิมพ์ ที่ได้รับการออกแบบเป็น “ภาพเส้นโค้ง (curve graphic)” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นประเพณีท่าทางการทักทายของ “การไหว้แบบไทย” (Thai Wai)

วิสัย ทัศน์ พันธ กิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของบริษัท การบินไทย

โลโก้สายการบินไทยกับ “ภาพเส้นโค้ง (curve graphic)”

          ลักษณะเด่นและองค์ประกอบหลักของภาพ ในการใช้ตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทย เป็นภาพกำแพงใหญ่ลายเส้นซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการจัดทำ เพื่อเป็นกุญแจสำคัญทางด้านศิลปะในการนำเสนอภาพลักษณ์ของสายการบินไทย 

ภาพนี้มีชื่อว่า “อายตนะ” (Ayatana) หมายถึง “ประสาทสัมผัส (senses)” เป็นคำชั้นสูงที่บ่งบอกประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ การมองเห็น ลิ้มรส การดมกลิ่น การได้ยิน การสัมผัส และความรู้สึกจากหัวใจ 

ส่วนหนึ่งของอายตนะ คือ ปรากฏโดยรอบสำนักงาน หรือในสื่อสารมวลชนทั้งหลาย การใช้รูปแบบเชิงศิลปะและสี เป็นการสร้างแง่มุมที่มีชีวิตให้แก่ตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทย ให้ได้รับการสื่อสารจนปรากฏในการทำโฆษณา การประดับเป็นลวดลายต่างๆ ในห้องขายตั๋ว ห้องรับรองแขกของสนามบิน ในเอกกสารการลงทะเบียน เอกสารการพิมพ์ต่างๆ และการส่งเสริมทุกรูปแบบ

สีที่ใช้ของสายการบินไทยร่วมกับลักษณะเด่นแห่งเอกลักษณ์ที่ลุ่มลึก โดยเน้นสีม่วงเข้ม และแต่งเติมสีเหลืองทอง

(ที่มา http://www.thaiairways.com/about-thai/company-profile/en/element-thais-brand.htm)

การใช้ตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทย (THAI’s Brand Journey)

การนำเสนอตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทยให้แก่ลูกค้าเริ่มต้นด้วยการติดต่อ หรือทางเว็บไซต์ ทางสื่อสารโฆษณา และแผ่นปลิว หรือการเข้าเยี่ยมสำนักงานขายตั๋ว  ตราสัญลักษณ์เป็นหน้าตาของสายการบินไทยที่ลูกค้าสามารถสัมผัสและรับทราบได้จากประสบการณ์การเดินทาง  การตัดสินใจในการบินของสายการบินไทย การเข้าสัมผัสของลูกค้าในการติดต่อได้จากสนามบิน ซึ่งพวกเขาได้เข้าไปตรวจเช็ค และถ้ามีโอกาสขึ้นเครื่องบินชั้นหนึ่ง ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกจากห้องนั่งพักของสนามบินที่สวยหรู  บริษัทเชื่อว่าความเป็นอยู่ที่ชัดเจนของเอกลักษณ์ในสายการบินไทยที่สนามบิน  ย่อมเป็นแง่มุมที่สำคัญในการให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสาร ดังนั้นทุกๆ การบริการต้องใช้เอกลักษณ์ของสายการบินไทยให้ถูกต้อง ชัดเจน และธำรงไว้อย่างต่อเนื่อง  โอกาสที่ยิ่งใหญ่ของสายการบินไทยต้องทำให้ผู้โดยสารประทับใจระหว่างการเดินทางของพวกเขา  ดังนั้น ตราสัญลักษณ์ของสายการบินไทย และเอกลักษณ์ที่โดดเดนชัดเจนยังคงรักษาไว้ในการประดับห้องลูกเรือ การตกแต่ง อุปกรณ์เครื่องมือ ทุกแง่มุมในการขายอาหาร และระบบความเพลิดเพลินต่างๆ  ตราสัญลักษณ์สายการบินไทยนำเสนออย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้โดยสาร เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาเห็นภาพลักษณ์ของสายการบินไทยเพื่อการให้บริการที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง

ผลสรุปจากการสัมภาษณ์เชิงลึก : สายการบินไทยนานาชาติ

          สายการบินไทยนานาชาติใส่จุดเน้นที่แข็งแกร่งในประสาทสัมผัสทั้ง 6 และมารยาทสำหรับการบริการจัดการด้านความประทับใจครั้งแรก เป็นดังการสร้างคุณค่าให้กระบวนการบริการ ดังเช่นคำพูดของผู้จัดการส่วนการพัฒนาการเรียนรู้ว่า

“สายการบินไทยมีการสร้างภาพพจน์เสมอ ไม่ว่าจะรสชาติ กลิ่น เสียง การสัมผัส และสติปัญญา ซึ่งเราตั้งใจทำให้เกิดขึ้นกับทุกๆ วัฒนธรรม” 

สายการบินไทยฝึกให้พนักงานบริการจากหัวใจ หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรเน้นให้ทุกคนว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การที่มีชีวิตชีวา พร้อมเสมอที่จะห้าระดับการบริการที่ดีที่สุด

          การฝึกอบรมมีการเน้นมาก ไม่เพียงแค่รอยยิ้มแบบไทยๆ มันเกี่ยวข้องกับเสียงที่เหมาะสม ภาษาสายตา การแต่งกาย และการแต่งตัว เช่น การจัดผมให้ถูกรูปแบบ และการแต่งหน้า เป็นต้น

          การเน้นคุณค่าแบบไทยๆ รวมถึงคุณค่าที่สะสมกับแต่ละคน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม สิ่งนี้รวมถึงความเชื่อในกรรม (karma) และหลักคำสอนของพุทธศาสนา สรุปความคิดที่ว่า “สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา…มันมาและก็ไป”  ความเชื่อพื้นฐานที่เหมือนกันอธิบายด้วยการปฏิบัติศาสนพิธีแบบเรียบง่าย และมีความเชื่อศรัทธาธรรมดา

คุณค่าของการปฏิบัติการที่โดดเด่นที่สุดคือ การให้บริการและปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยความมีจิตใจดี เอื้ออาทร มีน้ำใจ สุภาพ และการยอมรับตามด้วยความเข้าใจว่า การทำงานบริการที่ต้องทำด้วยความพอใจ จึงจะประสบความสำเร็จ

ผลที่ได้สอดคล้องกับการสร้างกระบวนการบริการที่สำคัญ และความสำคัญของประสาทสัมผัสทั้ง 6 และความเป็นไทย สำหรับสายการบินไทยนานาชาติสามารถสรุปได้ ตามตารางดังนี้

การสร้างองค์ความรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประการ สำหรับสร้างความประทับใจครั้งแรก ดังการสร้างคุณค่าในความสำคัญของกระบวนการบริการของสายการบินไทยนานาชาติ

ประสาทสัมผัสทั้ง 6

หัวข้อสำคัญในกระบวนการบริการ

การให้คะแนนความสำคัญ

(สูง-กลาง-ต่ำ)

มุมมองสำคัญในความเป็นไทย

การมองเห็น

ช่างแกะสลัก การท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม ศิลปะการมอง การออกแบบ แฟชั่น

สูง

มารยาทของคน การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบเครื่องบิน การดูแลในรายละเอียด ความร่ำรวยทางด้านสัญลักษณ์สีสัน มรดกที่หลากหลายและสูงส่ง ความงาม คุณภาพที่พอใจ การออกแบบความพึงพอใจ

การได้ยิน

ดนตรี และการแสดงศิลปะ

ปานกลาง

เสียงภาษาจาก 6 ภาคของประเทศไทย

เสียงดนตรีขณะอยู่บนเครื่องจากรอบโลกที่จะทำให้ ร่มเย็น และทำให้ประสาทสัมผัสพอใจ

การลิ้มรส

อาหารและผลไม้

ปานกลาง

สัมผัสลิ้มรสในอาหารที่ทำให้รู้สึกพอใจ สายการบินไทยเป็นที่สำหรับกินและดื่ม ภัตตาคารบนท้องฟ้า

การดมกลิ่น

ประเพณีไทย

ยา:สมุนไพร

ดอกไม้

ปานกลาง

กลิ่นอายสวรรค์ด้วยดอกไม้และกลิ่นสมุนไพรที่พบได้ในสรวนสวรรค์แถบร้อน

การสัมผัส

ประเพณีไทย

ยา:การนวดแผนโบราณ และศาสนาพุทธ

ปานกลาง

สัมผัสแบบไทย

ความอบอุ่นขณะให้บริการบนเครื่อง และประสบการณ์ใหม่ด้านความรู้สึก

การหยั่งรู้

การแสดงออกความเป็นไทยด้วยความรู้สึกด้านบริการ

โดยภาษากาย

สูง

จิตสำนึกการให้บริการ สัมผัสที่หกทางสติปัญญาสะท้อนให้เห็นถึงความสุภาพ เป็นกันเอง การดูแลและความรักตามธรรมชาติที่อยู่ในคนไทย สายการบินไทยยินดีต้อนรับคนจากหัวใจ

Etiquette

ตะวันออกพบตะวันตก

สูง

ใช้สิ่งที่ดีที่สุดของทั้งสองฝั่ง และความสำคัญของความเป็นไทย