วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

ครม.ไฟเขียว “กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566–2570” ปฎิรูปประเทศด้าน อววน.

เผยแพร่: 13 ธ.ค. 2565 11:21   ปรับปรุง: 13 ธ.ค. 2565 11:21   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ครม.ไฟเขียว “กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2566–2570” ปฎิรูปประเทศด้าน อววน. ขณะที่กระทรวง อว.ชี้เป็นกลไกนำการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2580


เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2566 – 2570 ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สนอว.) เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางและกลไกนำประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2580 ตามยุทธศาสตร์ชาติ ขอขอบคุณ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลที่ได้จัดตั้งกระทรวง อว. ซึ่งได้แสดงผลงานสำคัญและผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูป อววน. มาอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นและไว้วางใจมอบหมายให้กระทรวง อว. ในฐานะที่เป็นกระทรวงหลักเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศในเรื่องนี้ โดย อว. จะรับเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานขับเคลื่อน อววน. สร้างความร่วมมือกับเอกชนและภาคีทุกภาคส่วน ทำงานแบบบูรณาการกับทุกกระทรวง เพื่อทำให้เกิดก้าวกระโดดครั้งใหญ่ต่อไป

ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ในฐานะกรรมการและเลขานุการของสภานโยบายฯ กล่าวว่า กรอบนโยบายฯ ดังกล่าวประกอบด้วยสองแผนซึ่งเชื่อมโยงกันทั้งแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยที่สำคัญในกรอบนโยบายนี้มีการตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุว่าจะเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของประเทศร่วมกันในหลายด้าน ซึ่งทุกหน่วยงานทุกกระทรวงจะได้ทำงานสอดประสานร่วมกันเป็นอย่างดี มีการขับเคลื่อนกรอบนโยบายนี้ไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมโยงทั้งด้านกำลังคน การวิจัยพัฒนา และการใช้ประโยชน์ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป อาหารที่มีคุณค่าและมูลค่าสูง เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง ผู้สูงอายุมีศักยภาพและโอกาสเต็มที่ เป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวหน้าและเทคโนโลยีอวกาศ รวมไปถึงการสร้างกำลังคนสมรรถนะสูงและเป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้วย

ปลัดกระทรวง อว.กล่าวต่อว่า กรอบนโยบายฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย เพื่อพลิกโฉมให้ประเทศในการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าและพร้อมเข้าสู่อนาคต ด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ระดับขั้นแนวหน้า ที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน”

“ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี และ รมว.อว. ที่ได้ขับเคลื่อนการปฏิรูปครั้งสำคัญของประเทศ เป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของรัฐบาล ที่ทำให้เกิดการปฏิรูปทั้งในเชิงนโยบาย โครงสร้างหน่วยงาน งบประมาณ และกลไกการดำเนินงาน” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ กล่าว

วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์


วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

แกลเลอรี

วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

วิจัยการใช้ปัญหาเป็นฐาน วิทยาศาสตร์

+4

กำลังโหลดความคิดเห็น

Website นี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยเรื่องระบบบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐข้ามหน่วยงาน: ด้านกฎหมายและนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน ภายใต้แผนงานวิจัย Phuket Excellent Map มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อการให้บริการสาธารณะด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิดการใช้ทรัพยากรข้อมูลร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถหาได้โดยประหยัดค่าใช้จ่าย ทีมนักวิจัยขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยทั้งในด้านการสนับสนุนข้อมูล ทุนวิจัย และการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงงานวิจัยอย่างต่อเนื่องจนได้เป็น www.landusephuket.com ในปัจจุบัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลผลิตและบริการที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยในเฟสนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคสังคม และประชาชนทั่วไป ในขณะเดียวกันการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ของท่าน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดของเราเช่นกัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แสงดาว วงค์สาย (หัวหน้าโครงการ)