กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ

การสอนแบบแก้ปัญหาเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน ให้เรียนรู้ตามกระบวนการ โดยเริ่มตั้งแต่มีการกำหนดปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ผู้สอนเป็นผู้เสนอปัญหาหรือผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันกำหนดปัญหาที่มีความสำคัญ เป็นปัญหาใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่เคยประสบมาก่อน และต้องไม่เกินทักษะทางเชาวน์ปัญญาของผู้เรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้แก้ปัญหา หรือหาคำตอบด้วยตนเอง ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ แรงจูงใจ อารมณ์ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาจะไม่มีรูปแบบหรือขั้นตอนตายตัว ผู้สอนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ผู้สอนจะต้องให้โอกาสผู้เรียนใช้ความคิดและฝึกการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความชำนาญ จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดี ในการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหานั้น มีหลักการสำคัญ คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลงมือกระทำกิจกรรมการเรียนรู้ จะเน้นทักษะการแสวงหาความรู้ การค้นพบ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นประชาธิปไตย นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในขั้นตอนการจัดกิจกรรม


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 


ประโยชน์และข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา

ประโยชน์ของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา

1.การเสนอปัญหาที่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน

2.ผู้เรียนได้ฝึกคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีการฝึกทักษะ การสังเกต วิเคราะห์ หาเหตุผลใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ

3.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นการฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตย

4.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย

5.ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ตรง ทำให้มีความกระจ่างชัดเจนจากประสบการณ์การเรียนรู้ นำทักษะที่ได้รับ เช่น การเผชิญปัญหา การหาแนวทางในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ เป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต


ข้อจำกัดของการสอบแบบแก้ปัญหา

1.ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ค่อนข้างมาก

2.ปัญหาที่นำมาเสนอนั้นจะต้องน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและระดับสติปัญญาของผู้เรียน

3.ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูล มิฉะนั้นจะได้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการสรุปและตัดสินใจ

4.ผู้สอนจะต้องมีความสามารถในการช่วยแนะนำหรือแนะแนวทางในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน


ขั้นตอนการสอน

วิธีสอบแบบแก้ปัญหาสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้

1.ขั้นกำหนดปัญหา

ผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันตั้งปัญหา ปัญหาที่นำมานั้นอาจมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ปัญหาที่มาจากความสนใจของผู้เรียนส่วนใหญ่ ปัญหาที่มาจากบทเรียน โดยผู้สอนกำหนดขึ้นมาเองโดยพิจารณาจากบทเรียน เนื้อหาตอนใดเหมาะสมที่จะนำมาเป็นประเด็นในการตั้งปัญหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ปัญหาที่เกี่ยวกับสังคมเป็นปัญหาที่พบเห็นกันทั่วไปในสภาพแวดล้อมของตัวผู้เรียน การหยิบยกมาเป็นปัญหาในการศึกษาย่อมจะเป็นสภาวะที่ทำให้ผู้เรียนเห็นว่ากำลังเผชิญกับปัญหาในชีวิตจริง ปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน ได้แก่ ปัญหากฎหมาย ปัญหาชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อม


เมื่อกำหนดปัญหาแล้ว ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจปัญหาที่พบในประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาถามว่าอย่างไร มีข้อมูลใดแล้วบ้าง ต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง การฝึกให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาจะทำให้มีความเข้าใจปัญหามากขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในขั้นนี้ ผู้สอนอาจตั้งปัญหา ตั้งคำถามให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย เช่น การใช้คำถามการเล่าประสบการณ์หรือการสร้างสถานการณ์ให้เกิดปัญหาการให้ผู้เรียนคิดคำถามหรือปัญหาและการสาธิต เพื่อก่อให้เกิดปัญหา


2.ขั้นตั้งสมมติฐาน

การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ช่วยในการคาดคะเน ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ปัญหาและคาดคะเนคำตอบ พิจารณาแยกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย แล้วคิดอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนจะพยายามใช้ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์เดิมมาคิดแก้ปัญหา คาดคะเนคำตอบ แล้วจึงหาทางพิสูจน์ว่าคำตอบที่คิดกันขึ้นมานั้นมีความถูกต้องอย่างไร แนวทางการคิดเพื่อตั้งสมมติฐาน เช่น ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใด


3.ขั้นวางแผนแก้ปัญหา

ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่มีการวางแผน หรือออกแบบวิธีการหาคำตอบจากสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้โดยศึกษาถึงสาเหตุที่เกิดปัญหาขึ้น และใช้เหตุผลในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุ โดยหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธี แล้วใช้วิธีพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาวิธีที่ดีที่สุด เป็นไปได้มากที่สุด ในกรณีที่มีปัญหานั้นต้องตรวจสอบด้วยการทดลอง ก็ต้องกำหนดวิธีทดลองหรือตรวจสอบเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่จะใช้ให้พร้อม

4.ขั้นการเก็บและการรวบรวมข้อมูล

ขั้นการเก็บและรวบรวมข้อมูลนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ตำราเรียน การสังเกต การทดลอง การไปทัศนศึกษา การสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ จากสถิติต่างๆ ในขั้นนี้ผู้เรียนจะใช้วิธีการจดบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลมาทดสอบสมมติฐาน

5.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน

เมื่อได้ข้อมูลที่รวบรวมมาแล้ว ผู้เรียนก็นำข้อมูลนั้นๆ มาพิจารณาว่าจะน่าเชื่อถือหรือไม่ประการใด เพื่อนำข้อมูลนั้นๆ ไปวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่


6.ขั้นสรุปผล

เป็นขั้นที่นำข้อมูลมาพิจารณาแปลความหมายระหว่างสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น ผู้เรียนประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเลือกวิธีการที่ได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหา หรือเป็นการสรุปลงไปว่าเชื่อสมมติฐานที่กำหนดไว้นั่นเง ซึ่งอาจจะสรุปในรูปของหลักการที่จะนำไปอธิบายเป็นคำตอบ หรทอวิธีแก้ปัญหา และวิธีการนำความรู้ไปใช้ อนึ่งในการสรุปผลนั้น เมื่อได้ข้อสรุปเป็นหลักการแล้ว ควรนำพิจารณาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าน่าเชื่อถือหรือไม่


https://sixzoda.wordpress.com/6-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2problem-solving-method/



1.2 วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)

การแสดงบทบาทจะสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้เกิดกับนักเรียนได้ดี

วิธีสอนแบบแสดงบทบาทเป็นวิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาทสมมุติ หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน โดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมุติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น การแสดงบทบาทอาจกระทำได้ทั้งทางด้านความรู้ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดง วิธีการนี้จะสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้เกิดกับนักเรียนได้ดี  (ทิศนา แขมมณี25452547254825502551)


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 

ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท

1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นทีม

2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรม

3. เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา


ขั้นตอนของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท

1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก จำยากสับสน หรือกล่าวตามสภาพจริงไม่ได้มาเป็นเรื่องที่จะแสดงบทบาท

2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลจะเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง


ข้อดีของวิธีสอนแบบแสดงบทบาท

1. นักเรียนได้เรียนพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

2. สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย และจดจำได้ดี

3. ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม

4. ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในการทำงาน


ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบบทบาท

1. ครูผู้สอนต้องมีภาระในการเตรียมสอนมากขึ้น และการแสดงบทบาทบางครั้งใช้เวลามาก

ทั้งในการแสดงจริงและการฝึกซ้อม

2. การแสดงบทบาทบางครั้งต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

3. การกำหนดเรื่องที่นำมาแสดงบทบาทต้องมีสาระสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้


https://www.gotoknow.org/posts/457177


1.3 วิธีการสอบแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์


ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์

1. ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหาเป็นขั้นในการกระตุ้น หรือเร้าความสนใจให้นักเรียนเกิดปัญหา อยากรู้อยากเห็นและอยากทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน หน้าที่ของครูคือการแนะนำให้นักเรียนเห็นปัญหา จัดสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหาโดยมีนวัตกรรมต่างๆ เป็นเครื่องช่วย

2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา ขั้นนี้ครูและนักเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหา กำหนดขอบข่ายการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา ดังนี้

2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา

2.2 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบและทำงานตามความสามารถและความสนใจ

2.3 แนะนำให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มรู้จักแหล่งความรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา

3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูลเป็นขั้นการเรียนรู้ของนักเรียนเองโดยการกระทำจริงๆ โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้ ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในขั้นนี้ครูมีหน้าที่ ดังนี้

3.1 แนะนำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าใจปัญหา รู้จักวิธีแก้ปัญหา และรู้จักแหล่ง ความรู้สำหรับแก้ปัญหา

3.2 แนะนำให้นักเรียนทำงานอย่างมีหลักการ

4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล

เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดง ผลงานของตน


5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าวว่ามีผลดีผล เสียอย่างไร แล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 



ข้อดีของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์

1. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม

2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย

3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ

4. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดหาเหตุผลและมีการคิดอย่างเป็นระบบ


ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์

1. ปัญหาที่นำมาใช้ต้องเป็นปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ครูกำหนด

2. ครูต้องยึดมั่นในบทบาทของตนในการทำหน้าที่ให้แนวทางในการคิดแก้ปัญหา ไม่ใช่เป็นผู้ชี้นำความคิดของนักเรียน

http://neric-club.com/data.php?page=9&menu_id=76


1.4 วิธีการสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist ‘s Method)

ขั้นต่างๆของอริยสัจสี่ = ขั้นของวิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการทางวิทยาสาสตร์ Reflective Thinking

                ทุกข์        =             กำหนดปัญหา

                สมุทัย     =             การตั้งสมมติฐาน

                นิโรธ     =             การทดลองและเก็บข้อมูล

                มรรค      =             การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป


 

กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ


1.5 วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)

                วิธีการสอนแบบทดลอง มีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มีการปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์

                วิธีการสอนแบบทดลอง แสดงข้อเท็จจริง จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง

                วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างจากการสอนแบบสาธิตด้วย เพราะการสอนแบบสิตเป็นผู้ทดลองให้นักเรียนดู ส่วนการสอนแบบทดลองนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง





1.6 วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)

                วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน     ครูไม่ต้องซักถามปัญหานักเรียนและช่วยกันตอบอันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูดและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 




1.7 วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)

                วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมการศึกษา (Education Innovation) เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม โดยสอนในห้องเรียนแบบง่ายๆกับนักเรียน 5-6 คน ใช้เวลา 5-15 นาที เปิดโอกาสให้ครู ได้ฝึกทักษะการสอนแบบใหม่ๆขณะการสอนมีการบันทึกภาพ เพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้นก่อนนำไปใช้จริงในชั้นเรียน การสอนวิธีนี้จึงเป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงานและทักษะ


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 


1.8 วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)

                วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการและดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการนั้น เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง นักเรียนเริ่มต้นทำโครงการด้วยการตั้งปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น โครงการแก้ปัญหาความสกปรกของโรงเรียน เป็นต้น


1.9 วิธีการสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)

                วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” โดยไม่ยึดขอบเขตของรายวิชา แต่ถือเอาความมุ่งหมายของวิชาเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน การสอนเป็นหน่วยนั้นบางหน่วยจะสอนเป็นเวลาหลายเดือน บางหน่วยสอนจบภายในสองสามวัน แล้วแต่ความเล็กใหญ่ของหน่วย


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ


1.10 วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)

                เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียน โดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กำหนดไว้ในชุดการสอน  แต่ละกลุ่มจะมีสื่อการสอนที่จัดไว้ในวางหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกันประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆแห่งละ 15-20 นาที จนครบทุกศูนย์


1.11 วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)

                วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม หมายถึง สื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆกรอบ แต่ละกรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทำพร้อมเฉลยคำตอบ



กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 


1.12 บทเรียนโมดูล (Module)

                บทเรียนโมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น บทเรียนโมดูลจะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญคือ องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล

                1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)

                2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)

                3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)

                4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)

                5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)


 

กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ



1.13 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

                คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน หลักการของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกแนวคิด มุ่งที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นสื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ในสถานการณ์และเนื้อหาวิชาที่มีความยาวที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะทางการรับรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ผู้เรียนได้ทราบผลแห่งการทำกิจกรรมทันที และผู้เรียนได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 


1.14 การสอนซ่อมเสริม

                การสอนซ่อมเสริม หมายถึง การจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำเรียนไม่ทันเพื่อน ขาดความคิดรวบยอดหรือจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่งฉลาดเพื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่การซ่อมเสริมมักจัดให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ เรียนในเวลาไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจเรียน


 

กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ


1.15 หมวกแห่งความคิด (The Six Thinking Hats)

                Edward de Bon ได้พัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิด

                หมวก คือ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิด ทั้งในกรอบ คิดทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่สนใจ ความรู้สึกที่มีต่อจุดนั้นๆ แทนที่จะยึดกับความคิดเพียงด้านเดียว หมวกแห่งความคิดมี 6 ใบ ดังนี้

1.หมวกสีขาว เป็นตัวแทนข้อเท็จจริง ข้อมูล ตัวเลข เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับไม่มีการโต้แย้ง

วิธีการใช้ ผู้เรียนคนใดสวมหมวกสีขาว หมายถึง การขอร้องให้สมาชิกคนอื่นเงียบ ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใด ผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริงหรือความรู้

                2. หมวกสีแดง แทนอารมณ์ความรู้สึกและการหยั่งรู้

วิธีการใช้ เมื่อมีการสวมหมวกสีแดง คือความต้องการให้สมาชิกพูดแสดงความรู้สึกของคนต่อเรื่องราวต่างๆ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ความกลัว

                3. หมวกสีดำ แทนความคิดทางลบในทางที่ไม่ดี ไม่ได้ผล จุดด้อย ข้อผิดพลาด

วิธีการใช้ เมื่อมีการสวมหมวกสีดำ คือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ข้อเสีย ข้อผิดพลาด หมวกสีดำจะไม่ใช่เรื่องเริ่มแรกในกรณีที่มีการเสนอความคิดใหม่ๆ ในทางปฏิบัติจะใช้หมวกสีเหลืองก่อน

                4. หมวกสีเหลือง แทนสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งสร้างสรรค์ สนับสนุน ให้กำลังใจ

วิธีการใช้ เมื่อมีการสวมหมวกสีเหลือง คือความต้องการให้บอกในด้านดี จุดเด่น คุณค่าประโยชน์ ความคิดใหม่ๆที่มีต่อส่วนรวม การใช้หมวกสีเหลืองจะช่วยพัฒนาความคิดใหม่ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การคิดแบบสร้างสรรค์

                5. หมวกสีเขียว แทนการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ คุณค่าของความคิด

วิธีการใช้ การสวมหมวกสีเขียวจึงเป็นความต้องการให้แสดงความคิดใหม่ๆ ความคิดที่ได้นั้นมีความเป็นไปได้และต้องเป็นความคิดที่มีประโยชน์ด้วย

                6.หมวกสีน้ำเงิน แทนการควบคุมบทบาทสมาชิกของกลุ่ม

วิธีการใช้ เมื่อมีการสวมหมวกสีน้ำเงิน คือหัวหน้าสมาชิกอื่นๆ ควบคุมกระบวนการทำงาน ควบคุมวิธีการอภิปรายรวมทั้งการควบคุมกำหนดปัญหา กระบวนการคิด



กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 


1.16 การสอนแบบ 4 MAT

                เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม แต่กิจกรรมจะเน้น 4 ขั้นตอน หรือใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ

                ขั้นที่ 1 Why (ทำไม) เพื่อตั้งคำถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน

                ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง

                ขั้นที่ 3 How (ทำอย่างไร) เป็นการนำไปปฏิบัติ นำไปใช้

                ขั้นที่ 4 If (ถ้า) เป็นการกระตุ้น



กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ



1.17 แผนการสอนแบบ CIPPA

                แผนการสอนแบบ CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน ได้แก่

1.             Construct หรือการสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง

2.             Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนสื่อและสิ่งแวดล้อมรอบตัว

3.             Physical Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมลักษณะต่างๆ

4.             Process Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

5.             Application หรือการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ


กําหนดปัญหา วิธีการใช้ทักษะ
 


1.18 วิธีสอนแบบ Storyline

                เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยการดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษา ศิลปะ โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหาและกิจกรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน โดยคำนึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะ เช่น เรียนรายบุคคล กลุ่มใหญ่แต่เน้นการทำงานแบบร่วมมือ (