เครื่องชั่งสาร ใช้ ทํา อะไร

เครื่องชั่งดิจิตอลมีประโยชน์อย่างไร

เครื่องชั่งดิจิตอลมีประโยชน์อย่างไร

เป็นอุปกรณ์วัดที่ใช้วัดน้ำหนักหรือมวลของวัตถุ ทำงานบนพื้นฐานของเทคโนโลยีโหลดเซลล์ ซึ่งเซลล์โหลดจะตรวจจับการวัดของวัตถุและชั่งน้ำหนักได้ ตาชั่งดิจิตอลสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายวัตถุประสงค์เช่น

  • การวัดส่วนผสมในห้องครัว
  • การวัดค่าที่ซับซ้อนของสารในห้องปฏิบัติการ โดยหลายอุตสาหกรรมต้องใช้เครื่องชั่งมาตรฐานเพื่อกำหนดน้ำหนักของสินค้าให้ถูกต้อง ขนส่งและจัดเก็บ

เครื่องชั่งดิจิตอลลักษณะส่วนใหญ่

วัสดุทำมาจากสแตนเลสโดยโครงสร้างของเครื่องสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความแม่นยำ และความละเอียดของหน่วย คุณลักษณะที่สำคัญอื่น ๆ ของเครื่องชั่งแบบดิจิตอลรวมถึงการนับชิ้นงานการกำหนดและการทำงานของภาชนะ เมื่อซื้อตาชั่งดิจิตอลขนาดใหญ่สิ่งสำคัญคือต้องทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ชั้นนำของอุตสาหกรรม

ในขณะที่มีผู้จัดจำหน่ายจำนวนมากที่จะเลือกเพียงไม่กี่คนมีรูปร่างอุตสาหกรรมและมีประวัติยาวนานและเป็นอุตสาหกรรมที่ผ่านการรับรองกระบวนการหรือการขนส่งใด ๆ ที่โหลดธุรกิจใดๆ ควรมีระดับพื้นสะดวกในการกำหนดน้ำหนักของผลิตภัณฑ์มากที่สุด และหรือบริการ

เครื่องชั่งรถบรรทุก หรือเครื่องชั่งน้ำหนัก ใช้ในการชั่งน้ำหนักบรรทุกที่บรรทุกโดยรถบรรทุกว่างเปล่าและเมื่อโหลด เครื่องชั่งเหล่านี้มักจะถูกยึดและติดตั้งในที่ใดที่หนึ่งเรียกว่าดาดฟ้าซึ่งเป็นพื้นฐานที่ติดตั้งอยู่

เครื่องชั่งดิจิตอลน้ำหนักรถบรรทุกมาในรูปแบบต่างๆ บางส่วนเป็นแบบแม่เหล็กไฟฟ้าและบางรุ่นเป็นแบบตาชั่งดิจิตอล สามารถติดตั้งได้ทั้งบนพื้นหรือในหลุม ประเภทของหลุมมักใช้ในพื้นที่ที่มีหิมะตกหนักเกิดขึ้น กฎระเบียบของรัฐและท้องถิ่นกำหนดแนวทางเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละรถมีแนวทางคงที่เพื่อให้ผู้ขับขี่และประชาชนทั่วไปมีความปลอดภัย

ในอดีตสะพานชั่งน้ำหนัก สะพานถูกติดตั้งเหนือหลุมสี่เหลี่ยมที่มีคันโยกเพื่อเชื่อมต่อกับกลไกสมดุล แต่ในปัจจุบันเครื่องชั่งน้ำหนักส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะประเภทที่มีความสามารถในการวัดและรายงานได้อย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตามมาตราส่วนการชั่งน้ำหนักเป็นตาชั่งดิจิตอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหลังเครื่องชั่งชั้น เครื่องชั่งนี้ไม่เพียงแต่นำเสนอผลิตภัณฑ์และวัสดุที่จะจัดส่ง แต่ยังแสดงถึงความสม่ำเสมอของน้ำหนัก

เครื่องชั่งดิจิตอลชั่งได้รับการชั้นนำของตลาดเป็นเวลาหลายปีที่รู้จักกันเป็นชื่อที่ดีที่สุด เมื่อมันมาถึงเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องชั่งเทย์เลอร์ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่า เมื่อความถูกต้องและความทนทานที่ไม่เหมือนใคร พวกเขาเป็นคนเดียวที่ผ่านการทดสอบทั้งหมดด้วยสีของการบิน บริษัท ตาชั่งดิจิตอลได้รับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแม่นยำกว่าร้อยปี

05 มีนาคม 2564

ผู้ชม 3663 ครั้ง

เครื่องชั่งถือว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ทุกห้องปฏิบัติการมีใช้งาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้งานเครื่องชั่งอย่างถูกต้องตรงตามคู่มือเครื่องชั่งที่ระบุไว้ รวมทั้งจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องชั่ง และวิธีการตรวจสอบการทำงานของเครื่องชั่งให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้งานเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง อีกทั้งต้องมีการประเมินการทำงานของเครื่องชั่งว่ายังให้ผลการอ่านค่าที่ถูกต้อง

บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลการใช้งานเครื่องชั่งระบบไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องชั่ง การตรวจสอบการทำงานของเครื่องชั่ง การควบคุมคุณภาพการทำงานของเครื่องชั่ง และข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องชั่ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทดสอบ นำไปใช้เป็นแนวทางในการใช้งานเครื่องชั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2005

promotion ล่าสุด

ความสำคัญของเครื่องชั่งไฟฟ้า

เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่มีใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับชั่งสารเคมี หรือสิ่งที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ เพื่อให้การตรวจวิเคราะห์เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด

เครื่องชั่งจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ต่อการทดสอบและสอบเทียบ เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อผลการตรวจวิเคราะห์

โดยเครื่องชั่งนั้น มีหลายประเภท หลายรูปแบบ หากจำแนกตามระบบการทำงาน สามารถแบ่งเครื่องชั่งเป็นดังนี้

  1. เครื่องชั่งระบบกล
  2. เครื่องชั่งระบบไฟฟ้า

ซึ่งเครื่องชั่งระบบกล ใช้หลักการเปรียบเทียบค่าน้ำหนัก ของสิ่งที่ต้องการทราบน้ำหนัก กับน้ำหนักมาตรฐาน โดยอาศัยการสมดุลของคาน เครื่องชั่งประเภทนี้ได้แก่

  • เครื่องชั่งสองแขน
  • เครื่องชั่งจานเดียว
  • เครื่องชั่งสปริง

ซึ่งเครื่องชั่งประเภทนี้ จะมีการอ่านค่าความละเอียดได้น้อยกว่าเครื่องชั่งไฟฟ้า จึงไม่นิยมนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์

ดังนั้นผู้ใช้งานเครื่องชั่ง จึงต้องทราบวัตถุประสงค์ในการใช้เครื่องชั่ง ว่าต้องการใช้งานเครื่องชั่งที่มีคุณลักษณะอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับงาน เช่น ค่าความละเอียด ความแม่น (Accuracy) และความเที่ยง (Precision) ในระดับใด เพื่อให้สามารถเลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสมกับความต้องการ

เครื่องชั่งสาร ใช้ ทํา อะไร

เครื่องชั่งระบบไฟฟ้า เป็นเครื่องชั่งที่นิยมนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบและสอบเทียบ เนื่องจากมีการใช้งานง่าย สะดวก ให้ ค่าความละเอียด ความแม่น และความเที่ยง ได้ดีกว่าเครื่องชั่งระบบกล โดยเครื่องชั่งระบบนี้มีการพัฒนาให้มีการใช้กระแสไฟฟ้าทำงานร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น ระบบอิเลกทรอนิกส์ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่

1. เครื่องชั่งไฟฟ้าระบบอิเลกทรอนิกส์ อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน ของตัวนำไฟฟ้าที่เรียกว่า Strain Gauge จำนวน 4 ชิ้น ติดอยู่กับส่วนรับน้ำหนักที่ฐานเครื่องชั่งซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ เมื่อไม่มีวัตถุบนจานชั่ง Strain Gauge ทั้ง 4 ตัวจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าเท่ากันทุกตัว ทำให้ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า มีค่าเป็น 0

เมื่อวางวัตถุบนจานชั่ง Strain Gauge ทั้ง 4 ตัวจะถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงจรไฟฟ้า แรงกดของวัตถุบนจานชั่ง จะทำให้ส่วนรับน้ำหนักที่ฐานเครื่องชั่งและ Strain Gauge ทั้ง 4 ตัว มีการยืด หดไม่เท่ากัน ทำให้มีความต่างศักย์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นระหว่าง Strain Gauge ทั้ง 4 ตัว อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ภายในเครื่องชั่ง จะทำการแปลงค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าให้เป็นตัวเลข แสดงเป็นค่าน้ำหนักวัตถุบนหน้าจอเครื่องชั่ง รวมทั้งเครื่องชั่งไฟฟ้าระบบอิเลกทรอนิกส์ มักเป็นเครื่องชั่งที่สามารถอ่านค่าน้ำหนักความละเอียดได้จุดทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่งหรือ 3 ตำแหน่ง

2. เครื่องชั่งไฟฟ้าระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หลักการทำงานของเครื่องชั่งประเภทนี้คือ ขดลวดตัวนำที่ติดอยู่ใต้จานชั่งจะวางอยู่ในตำแหน่ง ที่มีสนามแม่เหล็กภายในเครื่องชั่ง เมื่อไม่มีวัตถุอยู่บนจานชั่ง จานชั่งจะอยู่ในลักษณะสมดุล แต่เมื่อวางวัตถุบนจานชั่ง ระบบไฟฟ้าภายในเครื่องชั่งจะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดตัวนำใต้จานชั่ง ทำให้เกิดแรงแม่เหล็กไฟฟ้าต้านการเลื่อนต่ำลงของจานชั่ง เพื่อให้จานชั่งอยู่ในลักษณะสมดุล

ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ทำให้จานชั่งอยู่ในลักษณะสมดุล จะถูกแปลงให้เป็นค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าและแสดงค่าเป็นตัวเลข ที่เป็นค่าน้ำหนักของวัตถุบนหน้าจอเครื่องชั่ง เครื่องชั่งไฟฟ้าระบบแม่เหล็กไฟฟ้า มักพบในเครื่องชั่งที่สามารถอ่านค่าน้ำหนักความละเอียดได้จุดทศนิยม 4 ตำแหน่งและ 5 ตำแหน่ง

เครื่องชั่งสาร ใช้ ทํา อะไร

เครื่องชั่งสาร ใช้ ทํา อะไร

กลับสู่สารบัญ

ส่วนประกอบของเครื่องชั่งไฟฟ้า

  1. ฐานเครื่องชั่ง (Balance Main Body) ภายในบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์แม่เหล็ก ตุ้มน้ำหนักและอุปกรณ์สำหรับเปรียบเทียบน้ำหนัก
  2. กล่องครอบจานชั่ง (Weight Chamber) อาจทำด้วยกระจกใส หรือพลาสติกใสครอบจานชั่ง เพื่อป้องกันลม ทำให้น้ำหนักที่ชั่งได้คงที่ มักใช้กับเครื่องชั่งที่อ่านค่าความละเอียดทศนิยม 3 ตำแหน่งขึ้นไป
  3. ประตูสำหรับ ปิด-เปิด (Door) เครื่องชั่งที่มีกล่องครอบจานชั่งจะมีประตูที่สามารถเปิดได้ 2 หรือ 3 ด้าน คือด้านซ้าย ด้านขวา หรือด้านบน ส่วนด้านหน้าจะไม่มีประตู เพื่อป้องกันการชั่งตัวอย่างผ่าน ด้านหน้า ซึ่งอาจทำให้ตัวอย่างหกใส่หน้าจอแสดงผลและปุ่มป้อนข้อมูล
  4. จานชั่ง (Pan) สำหรับวางสิ่งที่ต้องการชั่งน้ำหนัก โดยทั่วไปจะไม่วางสิ่งที่ต้องการชั่งบนจานชั่งโดยตรง แต่จะวางในภาชนะรองรับก่อน
  5. วงแหวนป้องกันจานชั่ง (Anti Draft Ring) ใช้ป้องกันการเลื่อนตัวของจานชั่ง
  6. หน้าจอแสดงผลการชั่ง (Display Panel) แสดงค่าน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งเป็นตัวเลข
  7. ตัวชี้บอกระดับ (Level Indicator) ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นฟองอากาศ ที่ขังอยู่ในน้ำที่ครอบแก้วไว้สร้างขึ้นมา เพื่อเป็นตัวชี้บอกการตั้งตรงของเครื่องชั่ง ถ้าฟองอากาศอยู่ตรงกลางครอบแก้ว แสดงว่าเครื่องชั่งตั้งตรง ถ้าฟองอากาศไม่อยู่ตรงกลางครอบแก้วแสดงว่าเครื่องชั่งตั้งเอียงอยู่ เราสามารถปรับเครื่องชั่งให้ตั้งตรงได้โดยการหมุนปุ่มปรับระดับที่ขาเครื่องชั่ง
  8. ปุ่มปรับระดับ (Level Screw) ใช้ปรับระดับเครื่องชั่งให้ตั้งตรง โดยสังเกตจากระดับฟองอากาศ ซึ่งใช้เป็นตัวชี้บอกระดับ หรือที่เรียกว่า ลูกน้ำ ที่ตัวเครื่องชั่งให้อยู่ตรงกลาง
  9. แผ่นป้าย (Label) ระบุรายละเอียดของข้อมูลที่จำเป็นของเครื่องชั่ง เช่น ความสามารถในการอ่านค่าความละเอียดของน้ำหนัก

ดูสินค้าโปรโมชั่นและสินค้าขายดีที่นี้เลย เครื่องชั่งดิจิตอล

กลับสู่สารบัญ

การเลือกเครื่องชั่งไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สามารถพิจารณาจากเกณฑ์การยอมรับได้ของเครื่องชั่ง ดังนี้

1. น้ำหนักสูงสุดที่เครื่องชั่งสามารถชั่งได้ (Maximum Capacity) ต้องสามารถรองรับน้ำหนักที่ต้องการชั่งได้ โดยไม่ควรชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่าค่า Maximum Capacity ของเครื่องชั่ง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อระบบการทำงานภายในของเครื่องชั่งได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงน้ำหนักภาชนะที่ใส่ด้วย

ค่าน้ำหนักรวมที่ชั่งไม่ควร เกิน 95 % ของน้ำหนักสูงสุดที่เครื่องชั่งสามารถชั่งได้ เพราะจะทำให้ค่าน้ำหนักที่อ่านได้มีความถูกต้องน้อยลง เช่น เครื่องชั่งที่ระบุค่าน้ำหนักสูงสุดที่สามารถชั่งได้ 100 กรัมไม่ควรชั่งน้ำหนักเกิน 90 กรัม เป็นต้น

2. ค่าความละเอียดของเครื่องชั่ง (Resolution) ดูจากค่าตำแหน่งทศนิยมของเครื่องชั่ง ซึ่งควรเลือกใช้งานเครื่องชั่งที่มีค่าความละเอียดของเครื่องชั่ง ไม่น้อยกว่าค่าความละเอียดของน้ำหนักที่ต้องการชั่ง

3. ความคลาดเคลื่อนของเครื่องชั่ง ต้องมีค่าไม่เกินค่าความผิดพลาดสูงสุด ที่ยอมรับได้ของน้ำหนักที่จะชั่ง (Maximum permissible error)

สภาวะแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องชั่ง

เครื่องชั่งสาร ใช้ ทํา อะไร

เครื่องชั่งควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อให้ผลการชั่งที่ได้มีความถูกต้องมากที่สุด โดยพิจารณาจาก

1. สถานที่ตั้งเครื่องชั่ง ควรเป็นห้องที่มีลักษณะดังนี้

  • เป็นห้องขนาดเล็ก มีประตูเข้า – ออก ด้านเดียว และควรเป็นประตูที่ ปิด – เปิด โดยเลื่อนด้านข้าง มีหน้าต่างในห้องน้อยที่สุด ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรมีหน้าต่างเลย เพื่อให้สามารถควบคุมกระแสลม อุณหภูมิความดันอากาศและ ความชื้น ในสภาวะที่เหมาะสมตามที่กำหนดในคุณสมบัติของเครื่องชั่ง
  • ควรเป็นห้องที่อยู่ด้านล่างของอาคาร อยู่ห่างจากถนน ห่างจากการทำงานของเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน หรือห่างจากบริเวณที่มีผู้คนเดินผ่านตลอดเวลา บริเวณที่เหมาะสมในการตั้งเครื่องชั่งควรจะอยู่บริเวณมุมห้อง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผลต่อการสั่นสะเทือนน้อยที่สุด
  • ไม่ควรปูพรมภายในห้องตั้งเครื่องชั่ง เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละออง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องชั่ง
  • ไม่ควรวางเครื่องชั่งไว้ใกล้ประตูหรือหน้าต่าง หรือวางในแนวทิศทางลมของเครื่องปรับอากาศเพื่อหลีกเลี่ยงกระแสลม
  • ไม่ควรวางเครื่องชั่งบริเวณที่แสงแดดส่องถึง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้สามารถป้องกันโดยหา ผ้าม่านหรือกระดาษแข็ง มาปิดกั้นบริเวณที่แสงแดดส่องถึง
  • ไม่ควรวางเครื่องชั่งไว้ใกล้กับเครื่องมือ ที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน หรือเครื่องมือที่มีพัดลมระบายอากาศอยู่ภายในเครื่อง เช่น ตู้อบ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องชั่ง

2. อุณหภูมิ

ห้องตั้งเครื่องชั่ง ควรมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ เพื่อให้เครื่องชั่งสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปมักกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องชั่งในช่วง 10 – 30 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิห้องที่เปลี่ยนไป จากอุณหภูมิที่ปรับตั้งจะส่งผลต่อความถูกต้องในการอ่านค่าของเครื่องชั่ง และความไวต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักที่อ่านได้

อุณหภูมิห้องเครื่องชั่งไม่คงที่ เช่น ห้องมีแสงแดดส่องถึง หรือ มีเครื่องมือที่มีแหล่งกำเนิดความร้อน ได้แก่ ตู้อบ จะส่งผลให้การแสดงค่าน้ำหนักของเครื่องชั่งผิดพลาดไป

3. ความชื้นสัมพัทธ์

ความชื้นภายในห้องเครื่องชั่งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่มีผลต่อน้ำหนักที่ชั่งได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมความชื้นในห้องเครื่องชั่งให้เหมาะสมและคงที่ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมสำหรับห้องเครื่องชั่งจะอยู่ในช่วง 45 – 60 % หากความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 45 % จะทำให้อากาศแห้งเกินไป จนเกิดไฟฟ้าสถิตระหว่างเครื่องชั่งและภาชนะที่ใส่ตัวอย่างหรือกับตัวอย่างเอง ซึ่งแรงไฟฟ้าสถิตจะสามารถเกิดแรงดูด หรือแรงผลักกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายในตัวเครื่องชั่ง

ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดของน้ำหนักที่ชั่งได้ แต่ถ้าอากาศในห้องเครื่องชั่งมีค่าความชื้นสัมพัทธ์เกิน 60 % จะทำให้น้ำหนักของสิ่งที่ชั่งได้มีน้ำหนักเกินจริง ทั้งนี้อาจต้องจัดหาเครื่องกำจัดความชื้นมาใช้เพื่อช่วยกำจัดความชื้นภายในห้อง หรือควรจัดหาเครื่องวัดความชื้นสำหรับวัดปริมาณความชื้นในห้องเครื่องชั่ง

4. โต๊ะวางเครื่องชั่ง

โต๊ะที่นำมาใช้วางเครื่องชั่ง ส่วนใหญ่มักทำด้วยหิน มีความหนาไม่น้อยกว่า 40 มิลลิเมตร มีผิวหน้าเรียบ แข็งแรง มั่นคง ไม่ยุบตัวง่าย ไม่ควรใช้โต๊ะที่ทำด้วยเหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็กมาใช้วางเครื่องชั่ง เนื่องจาก อาจมี ผลกระทบต่ออำนาจสนามแม่เหล็กที่อยู่ภายในเครื่องชั่ง ทำให้การอ่านค่าของการชั่งน้ำหนักผิดพลาดได้ โต๊ะวางเครื่องชั่งไม่ควรวางอยู่ติดกับผนังห้อง เพราะอาจทำให้เกิดการสั่นสะเทือน จากผนังห้องส่งมายังเครื่องชั่งได้ง่ายขึ้น

กลับสู่สารบัญ

การดูแลเครื่องชั่งไฟฟ้า

  1. ผู้รับผิดชอบดูแลเครื่องชั่ง ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งว่าส่วนประกอบต่างๆ มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน เช่น ประตูเครื่องชั่งปิดสนิททุกครั้ง จานชั่งสะอาด ไม่มีรอยเปรอะเปื้อนเศษหรือคราบตัวอย่าง
  2. ตรวจสอบการตั้งตรงของเครื่องชั่ง โดยสังเกตจากระดับลูกน้ำที่ติดอยู่ที่เครื่องชั่งต้องอยู่ตรงกลาง หากไม่อยู่ตรงกลางแสดงว่าเครื่องชั่งไม่อยู่ในสภาพตั้งตรง ให้ปรับระดับโดยหมุนที่ปุ่มปรับระดับซึ่งมักจะอยู่ที่ขาเครื่องชั่ง
  3. เปิดเครื่องชั่งก่อนใช้งานเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาทีหรือตามเวลาที่กำหนดตามคู่มือเครื่อง เพื่อให้เครื่องชั่งอยู่ในสภาพพร้อมทำงาน
  4. ชั่งน้ำหนักสิ่งที่ต้องการ โดยวางให้อยู่ตรงกลางจานชั่ง เพื่อลดความผิดพลาดในการอ่านค่า
  5. หลังใช้งานเครื่องชั่งเสร็จแล้ว ปรับเครื่องชั่งให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่นการปรับ 0 และการทำความสะอาดเครื่องชั่งหลังการใช้งานแต่ละครั้ง
  6. ผู้รับผิดชอบเครื่องชั่งต้องตรวจเครื่องชั่งให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย กดปุ่ม Standby เมื่อไม่มีผู้ใช้งานเครื่องชั่งแล้ว

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องชั่งไฟฟ้า

  1. สภาวะแวดล้อมภายในห้องเครื่องชั่ง เช่น อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ที่ไม่คงที่จะทำให้น้ำหนักที่ชั่งได้ผิดพลาดไป ดังนั้นผู้ดูแลเครื่องชั่งจึงต้องควบคุมอุณหภูมิความชื้นของห้องเครื่องชั่ง โดยการจัดหาเครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ สำหรับอ่านค่าอุณหภูมิห้อง และค่าความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงเวลาต่างๆในแต่ละวัน และจดบันทึกอุณหภูมิลงในแบบบันทึก เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิห้องเครื่องชั่ง
  2. การวางเครื่องชั่งไว้ใกล้เคียงกับเครื่องมือที่ทำให้เกิดความร้อน ความชื้น เช่น อ่างควบคุมอุณหภูมิหรือเครื่องมือที่ใช้ระบบการเหนี่ยวนำไฟฟ้า เช่น ตู้อบ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของเครื่องชั่ง
  3. การชั่งตัวอย่างไม่ควรใช้มือจับภาชนะใส่ตัวอย่างโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อน หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ ควรใส่ถุงมือผ้าหรือใช้ที่จับ และควรวางสิ่งที่ต้องการชั่งบริเวณกลางจานชั่ง เพื่อป้องกันการอ่านค่าน้ำหนักผิดพลาดไป
  4. การทำความสะอาดเครื่องชั่งและจานชั่ง สามารถใช้แปรงปัด หรือผ้าเช็ด หากมีรอยเปื้อนเป็นคราบอาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือชุบสารละลาย 50% เอทานอล เช็ดด้านบนของจานชั่ง สำหรับด้านล่างจานชั่งให้ใช้ลมเป่าสิ่งสกปรกหรือฝุ่น ผงที่อยู่ใต้จานชั่ง
  5. ก่อนทำการปรับตั้งเครื่องชั่ง ต้องปรับระดับให้เครื่องชั่งตั้งตรงและแสดงหน้าจอเป็นศูนย์ (Zero reading) ก่อนเสมอ

กลับสู่สารบัญ

ปัญหาและสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องชั่งไฟฟ้า

ปรับศูนย์ด้วยปุ่มปรับศูนย์ไม่ได้ – เครื่องชั่งเอียง

  • จานชั่งมีน้ำหนักผิดพลาด
  • กลไกปรับมุมกระจกสะท้อนแสงขัดข้อง

ตัวเลขที่จออ่านค่าไม่ชัด – เครื่องชั่งเอียง

  • จานชั่งเอียงเพราะวางวัตถุไม่อยู่ตรงกลางจานชั่ง
  • เลนส์รวมแสงเคลื่อนที่

ค่าที่ชั่งไม่ถูกต้อง – วัตถุที่นำมาชั่งสกปรก

  • มีแรงกระทำจากภายนอก
  • ใช้เครื่องชั่งไม่ถูกต้อง
  • ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไม่ถูกต้อง
  • สเกลอ่านค่าไม่ถูกต้อง
  • เครื่องชั่งเอียง

ตัวเลขไม่นิ่ง

  • มีแรงสั่นสะเทือน หรือมีกระแสลมมาก
  • วงจรอิเลกทรอนิกส์ขัดข้อง
  • กระแสไฟฟ้าไม่คงที่
  • อุณหภูมิไม่คงที่

ความไวลดลง

  • คมมีดเสียหาย หรือสกปรก
  • เครื่องชั่งเอียง
  • ระบบทางเดินแสงคลาดเคลื่อน

กลับสู่สารบัญ

สรุปทิ้งท้าย

เครื่องชั่งถือว่าเป็นเครื่องมือ ที่มีความสําคัญต่อการตรวจวิเคราะห์ ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพราะจําเป็นต้องใช้ในการชั่งสารตัวอย่างต่างๆ ถ้าเกิดความผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการชั่งสาร ย่อมส่งผลต่อความผิดพลาด ในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ขั้นต่อๆ ไป

ดูสินค้าโปรโมชั่นและสินค้าขายดีที่นี้เลย เครื่องชั่งดิจิตอล

เข้าสู่ระบบ

เครื่องชั่งไฟฟ้าเป็นเครื่องมือใช้วัดอะไร

เครื่องชั่งดิจิตอล (Digital Scale) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดน้ำหนักของวัตถุหรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงหน่วยวัดได้หลาหลากหลายไม่ว่าจะ กรัม (g) ออนซ์ (oz) ปอนด์ (Ib) กิโลกรัม (Kg) กะรัต (ct) เป็นต้น การใช้เครื่องชั่งจะช่วยในการวัดปริมาณน้ำหนักได้อย่างละเอียดแม่นยำและรวดเร็ว โดยเครื่องชั่งดิจิตอลที่นิยมนำมาใช้งานจะมี ...

เครื่องชั่งไฟฟ้าทำหน้าที่อะไร

เครื่องชั่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่มีใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับชั่งสารเคมี หรือสิ่งที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ เพื่อให้การตรวจวิเคราะห์เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด เครื่องชั่งจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบและสอบเทียบ ครื่องชั่งหากจำแนกตามระบบการทำงาน สามารถแบ่งเครื่องชั่งเป็นเครื่อง ...

เครื่องชั่งแบบสามคาน ใช้วัดอะไร

เครื่องชั่งสารชนิดจานเดียว (Triple Beam Balance) เป็นเครื่องมือวัดที่มีลักษณะเป็นคาน จำนวนสามคานไว้สำหรับใส่ตุ้มน้ำหนักขนาดมาตรฐาน ขนาด 0-10กรัม, 10-100กรัม, 100-500กรัม ความละเอียด 0.1กรัม คานทั้งสามใช้เข็มชี้วัดอันเดียวกัน ฐานทำด้วยโลหะเคลือบสีกันสนิม เหมาะสำหรับการชั่งวัตถุหรือสารน้ำหนักขนาดปานกลาง มีจานชั่งวางอยู่ ...

เครื่องชั่ง 4 ตําแหน่ง ใช้ทำอะไร

เครื่องชั่ง 4 ตําแหน่ง Analytical Balance 4 Digits. เป็นเครื่องชั่งที่ใช้ชั่งสารเคมี ชั่งตัวอย่างในห้องแล๊ปหรือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ มีความแม่นยำสูง ใช้ชั้สารหรือตัวอย่างที่มีราคาแพงหรือชั่งตวงเพื่อทดสอบทางวิทยาศาสตร์ทุกประเภท สามารถคาลิเบรทหรือสอบเทียบได้ในตัว (Internal calibration)