เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ภาษาอังกฤษ

Experiential learning หรือ การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ถูกพัฒนาโดย David A. Kolb นักทฤษฎีการศึกษา ซึ่งมีการนำเสนอออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT)

Experiential Learning เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการที่ได้ลงมือทำจริง หรือที่คุณพ่อคุณแม่มักเคยได้ยินคำว่า “Learning by doing” เรียนรู้จริง ทำจริง และเมื่อทำออกมาแล้วสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ตลอดจนมีขั้นตอนของการทบทวน-ตกผลึก-ศึกษาผลตอบรับที่ได้ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดทักษะการใช้ชีวิตในอนาคต ซึ่งการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือทำจริงนี้ เป็นหัวใจสำคัญที่สุด ที่จะทำให้เด็กได้ฝึกพัฒนาการเรียนรู้ “ทักษะชีวิต (Life Skills)” ที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การคิดทบทวน เพื่อนำไปปรับปรุงวางแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ความกล้าที่จะแตกต่างเพื่อค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ รอบตัว โดยไม่กลัวความล้มเหลว ความยืดหยุ่นและยอมรับหากต้องผิดหวัง การมุ่งมั่นที่จะลุกขึ้นมาทำใหม่และแก้ไขข้อผิดพลาด ฝึกทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม ฝึกการทำงานร่วมกันทั้งระหว่าง นักเรียน-นักเรียน | นักเรียน-คุณครู | นักเรียน-ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ | นักเรียน-ชุมชน ไปจนถึงเพิ่มพูนความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และพร้อมที่จะเป็นแรงผลักดันเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ในสังคม เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติและขับเคลื่อนสังคมต่อไป

“ เพราะประสบการณ์สร้างชีวิต”

Experiential learning : 4 หัวใจหลักส่งเสริมทักษะชีวิต

การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ผ่าน มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน (Experiential Learning Cycle : EL Cycle) เป็นหัวใจสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยตนเอง รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปสู่ทักษะชีวิตที่มีคุณภาพแบบยั่งยืนประกอบไปด้วย

  1. การสร้างประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Concrete Experience) ให้ผู้เรียนได้ลองเข้าไปอยู่ในประสบการณ์นั้น ๆ ด้วยตนเอง โดยเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจ และลองเข้าไปเรียนรู้และใช้ประสบการณ์จริง เพื่อนำมาประมวลผลต่อ
  2. การสะท้อนการเรียรู้ หรือ ทบทวนการเรียนรู้ (Reflective Observation) เมื่อผู้เรียนได้ลองเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว ได้นำกลับไปทบทวนและประมวลผลสิ่งที่ได้พบเห็นหรือเรียนรู ผ่านการวิเคราะห์ด้วยตนเอง หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เพื่อเป็นการตกผลึกการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์โดยตรง
  3. การสรุปองค์ความรู้ (Abstract Conceptualisation) เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์และได้ลองทบทวนองค์ความรู้นั้นกับความเข้าใจเดิมที่ตนมีแล้ว ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนขั้นตอนการตกผลึกองค์ความรู้โดยการสรุปและนิยามองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ เช่น ผ่านการเขียนภาพมโนทัศน์ (mind mapping) หรือการสรุปการเรียนรู้ผ่าน model หรือ framework เป็นต้น
  4. การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้รับ (Active Experimentation) เมื่อผู้เรียนผ่านขั้นตอนการเรียนรู้-ทบทวน-ตกผลึกองค์ความรู้ที่ได้รับมาแล้ว ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง ผู้เรียนจะได้ใช้ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมไปถึงได้ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดโดยใช้กรอบความคิดที่ตนเองได้ตกผลึกจากประสบการณ์จริง

เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต  การนำ Experiential Learning Cycle มาปรับใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้เรียนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผ่านการวิเคราะห์ ตกผลึก และพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆที่น่าสนใจได้เสมอ

หลักสูตรการเรียนการสอนของ D-PREP ที่สอดคล้องกับ Experiential learning

 “เราเลือกใช้หลักสูตรที่เหมาะสม โดยเชื่อว่าเด็ก ทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ภายใต้การดูแลที่ใส่ใจจากคุณครู โดยนำหลักสูตรที่ดีที่สุดจากทั่วโลกมาพัฒนาปรับปรุงระบบการเรียนการสอน เพื่อให้ตอบโจทย์กับยุคสมัยใหม่ในปัจจุบันมากที่สุด”

ที่ D-PREP เราเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนล้วนมีศักยภาพในตัวเอง และเรียนรู้จากการเล่นและการลงมือทำจริงเสมอ หลักสูตรของ D-PREP นานาชาติ บางนา ที่ใช้หลักสูตร International Baccalaureate Programme (IB) และ Expeditionary Learning Approach (EL) ได้รับการรับรองจากกระทรวงการศึกษาไทย, ISAT, ONESOA, IB Primary Years Programme, Ontario และอื่นๆ โดยทางเราได้นำหลักการที่มีประโยชน์ของ Experiential Learning มาปรับใช้ในทุกระดับของการเรียนการสอนโดย

  • Play-based learning ในระดับชั้นเตรียมอนุบาล (Nursery) ชั้นอนุบาล (Kindergarten) และ ชั้นประถม (Elementary)

    ในระดับเตรียมอนุบาล และอนุบาล ที่ D-PREP ได้ออกแบบหลักสูตรให้มีบรรยากาศการเรียนที่มุ่งเน้น play-based learning (ใช้การเล่นเป็นสื่อการเรียนรู้) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะหลากหลายด้าน เช่น ฝึกการสังเกต ฝึกตั้งคำถาม ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสนุกและชื่นชอบการมาโรงเรียน รวมไปถึงในระดับประถม ที่ D-PREP ได้ออกแบบหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สนุกกับการได้ทดลองสิ่งต่างๆรอบตัวด้วยตัวเอง โดยหลักสูตรนี้ผู้เรียนได้ลงมือทำจริง เรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบและพัฒนาศึกษาต่อยอดในการเรียนขั้นต่อไป

  • Expeditionary learning ในระดับชั้นมัธยม (Middle School)

    Expeditionary learning ในระดับชั้นมัธยม (Middle School) ในระดับมัธยม เราได้ออกแบบหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้มีการเรียนการสอนด้วยหลักสูตร Expeditionary Learning Approach (EL) เรายังเป็นโรงเรียนแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้หลักสูตรนี้มาใช้ในเด็ก Middle School ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เชิงประสบการณ์ผ่านการค้นคว้า ทดลอง ออกแบบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่สามารถใช้งานได้จริง และผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในหัวข้อที่ตนเองสนใจ รวมไปถึงได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ, คุณครู ตลอดไปจนทีมงานที่จะคอยดูแลใกล้ชิดให้คำแนะนำตลอดโครงการให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้เชิงลึกอย่างบูรณาการ

    โดยหลักสูตร Expeditionary Learning Approach (EL) ในเด็ก Middle School นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี Experiential Learning เพราะเป็นการเรียนรู้จากการได้ทดลองทำจริง ซึ่งการเรียนผ่าน Expeditionary Learning Approach เป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนได้ทดลองและลงมือทำจริง และนำไปใช้ในผู้ใช้จริง เพื่อพัฒนาชุมชนที่มีอยู่จริง รวมไปถึงได้พัฒนาแนวความคิดและมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากคุณครู และทีมงานผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆจริง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับการนำไปประยุกต์ใช้กับโลกในปัจจุบัน

    จากหลักสูตรทั้งหมดที่ รร.นานาชาติ D-PREP International School Bangna ได้คัดสรรมานั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กๆในแต่ละช่วงวัยได้เรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างเหมาะสม ….จะดีแค่ไหนถ้าเด็กๆได้ทดลองลงมือทำจริงเพื่อตามความฝันและค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตนเองนำไปสู่การพัฒนาตนเองและสังคมที่ไม่หยุดนิ่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่ออนาคตที่สดใส