Business risk เกิดจากการทําหน้าที่ใด

บริษัท เอส พี วี ไอ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญและเป็นเครื่องมือในการบริหารงานที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ช่วยลดความสูญเสียและเพิ่มศักยภาพในการ แข่งขัน อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) จึงได้จัดให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบขึ้น โดยได้กำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk) ด้านการเงิน (Financial Risk) และด้านการตลาด (Marketing Risk) เพื่อให้สามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนกลยุทธิ์ของบริษัทฯ

  โดยรายละเอียดของแต่ละความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวแบ่งตามประเภทของความเสี่ยงสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk) : ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่เพียงพอ หรือความล้มเหลวของกระบวนการภายใน บุคลากร ระบบงาน หรือจากเหตุการณ์ภายนอก รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย และผลกระทบต่อชื่อเสียงอันเกิดจากความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน

2. ความเสี่ยงด้านการด้านการเงิน (Financial Risk) : ครอบคลุมความเสี่ยงจากผลประกอบการอาจไม่เป็นไปตาม เป้าหมายจากสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อผลการดำเนินงาน และงบการเงินของบริษัท รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดสภาพคล่อง ความเพียงพอ และทันกาลของเงินทุนที่จะใช้

3. ความเสี่ยงด้านการตลาด (Marketing Risk) : ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดจากการแข่งขัน ความเสี่ยงจากการออกสินค้ารุ่นใหม่

การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ 

ความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
          1) ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
          2) ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
          3) ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
          4) ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)


ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factor)
          ปัจจัยความเสี่ยง หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใดและจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกำหนดมาตรการความเสี่ยง ในภายหลังได้อย่างถูกต้อง

ปัจจัยความเสี่ยงพิจารณาได้จาก
          1) ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย ฯลฯ
          2) ปัจจัยภายใน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับภายในองค์กร ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ระบบการทำงาน ฯลฯ


การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)
          1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง
          2) ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง
          3) ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก


การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
          การบริหารความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงหรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธีดังนี้
          1) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง
          2) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
          3) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป
          4) เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น


การควบคุม (Control)
          การควบคุม หมายถึง นโยบาย แนวทาง หรือขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งกระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินบรรลุวัตถุประสงค์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
          1) การควบคุมเพื่อการป้องกัน (Preventive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยง และข้อผิดพลาดตั้งแต่แรก
          2) การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อค้นพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว
          3) การควบคุมโดยการชี้แนะ (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
          4) การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต

ที่มา : เว็บไซต์ การบริหารความเสี่ยง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


แนวทางการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (PDF)

การบริหารความเสี่ยงคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในตามแนวทางข้างต้น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ/ควบคุม

ข้อใดก่อให้เกิด Business Risk

เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจคืออะไร

ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ โดยจะส่งผลให้กำไร หรือผลประกอบการที่คาดว่าจะได้รับของการลงทุนในธุรกิจนั้นไม่เป็นไปตามคาดหมาย มารู้จักความเสี่ยงทางธุรกิจจากผู้มีประสบการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงหรืออยากรู้จะทำธุรกิจยังไงให้เสี่ยงน้อยที่สุด แต่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

Financial Risk เกิดจากการทําสิ่งใด

2. ความเสี่ยงด้านการด้านการเงิน (Financial Risk) : ครอบคลุมความเสี่ยงจากผลประกอบการอาจไม่เป็นไปตาม เป้าหมายจากสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อผลการดำเนินงาน และงบการเงินของบริษัท รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดสภาพคล่อง ความเพียงพอ และทันกาลของเงินทุนที่จะใช้

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานการดําเนินงานโครงการ/กิจกรรมไม่เป็นไปตามแผนฯ ☒บุคลากรในหน่วยงาน ขาดทักษะ, ความชํานาญและความรู้เฉพาะ ทางในการปฏิบัติงาน ☒เกิดอุบัติเหตุ หรือข้อผิดพลาด หรือได้รับอันตรายจากการปฏิบัติงาน ☒เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานล่าสมัย ☒การขัดข้องของระบบการสื่อสาร เช่น Computer.