สถาบันการเงินแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

สถาบันทางการเงิน

สถาบันการเงินแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

สถาบันการเงินแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

สถาบันการเงินแบ่งตามลักษณะของกิจการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่ดำเนินงานรับฝากเงินที่สามารถไถ่ถอนคืนได้ และให้กู้ยืม เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมกับผู้ต้องการเงินทุน 
ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ

2. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่จัดตั้งเพื่อดำเนินธุรกิจเฉพาะสาขาของธุรกิจ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายของสถาบันการเงินนั้น ๆ
เช่น บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น

สถาบันการเงินแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

บทบาท และหน้าที่และความสำคัญของสถาบันการเงิน 

 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย

               บทบาทและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485   ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551  สรุปได้ดังนี้

               1. เป็นผู้ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคารแต่ผู้เดียว ในราชอาณาจักร               2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ               3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง  ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ               4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของรัฐบาล   

               5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน
  มีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน รับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน แต่จะไม่รับฝากเงินจากประชาชนโดยตรง               6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินจัดตั้งระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงินและบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ               7. กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ               8. บริหารจัดการ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา               9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

2. ธนาคารพาณิชย์

                ธนาคารพาณิชย์ เป็นธนาคารที่มีบทบาท หน้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพราะมีปริมาณเงินหมุนเวียนและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลมากที่สุด เป็นแหล่งเงินฝากของประชาชน มาให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุด
ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่บริการที่สำคัญ ดังนี้

               1. การรับฝากเงิน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากประเภทอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ โดยให้ผลตอบแทน เป็น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละประเภท

               2. ให้กู้ยืมเงิน เป็นบทบาทสำคัญทางด้านการเงินให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนและเพื่อการบริโภค มีที่มีระยะเวลาในการชำระหนี้และเสียอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดในเงื่อนไขในการกู้ยืม

               3. การให้บริการอื่น ๆ เช่น การโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเรียกเก็บเงินเนื่องจากการโอนเงินระหว่างกัน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การให้เช่าตู้นิรภัย เพื่อเก็บสิ่งของมีค่าและสิ่งสำคัญของลูกค้า เป็นต้น

ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เป็นธนาคารของรัฐบาล ที่มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน อำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมอาชีพและการดำเนินงานให้แก่เกษตรกรทั้งรายบุคคล
รายกลุ่ม และสถาบันเกษตรกรทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว 
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( ธ.อ.ส.)เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง 

3. ธนาคารออมสินเป็นธนาคารของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินออมจากประชาชน แล้วนำมาให้รัฐบาลกู้ยืม ส่งเสริมการออมของเยาวชนและประชาชนเพื่อปลูกฝังการประหยัดและการออมเงิน


4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank Of Thailand : EXIM BANK)  อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการนำเข้า


5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 
(Small and Medium Enterprise Development Bank Of Thailand : SME BANK) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา

ส่งเสริม ช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงานการขยาย หรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 

1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ระดมเงินออมจากประชาชน  โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำหน่ายแก่ประชาชน แล้วนำเงินที่กู้ยืมแก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยทั่วไป
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ จำหน่ายหลักทรัพย์ และถ้าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
เงินทุนควบคู่กับธุรกิจหลักทรัพย์ เรียกว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  


2. สหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืม ส่งเสริมการออม ช่วยเหลือในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและการจำหน่ายผลิตผล
รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ด้านวิชาการการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่สมาชิก


3. สหกรณออมทรัพย์
 ทำหน้าที่รับฝากและให้กู้ยืมแก่สมาชิกโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นการระดมเงินในรูปของค่าหุ้นและเงินฝาก แล้วนำกำไรมาแบ่งปันให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผล

4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทำหน้าที่รับฝากและให้กู้ยืมแก่สมาชิกภายในท้องที่ของสหกรณ์ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นการระดมเงินในรูปของค่าหุ้นและเงินฝาก แล้วนำกำไรมาแบ่งปันให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผล


5. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
 เป็นสถาบันการเงินของเอกชนที่ระดมเงินทุนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายให้กับประชาชน  และให้ประชาชนกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย


6. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 
2517 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีแหล่งกลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์
ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ
 มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน อำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ 


7. บริษัทประกันภัย
   เป็นสถาบันการเงินที่เป็นองค์กรอิสระอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนโดยออกเป็นหนังสือสัญญา เรียกว่า กรมธรรม์ มีทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนความเสี่ยง หากเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
บริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์ 

สถาบันการเงินแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

สหกรณ์กับองค์กรธุรกิจรูปอื่น มีลักษณะคล้ายกันในข้อที่มีการรวมทุนและมีการประกอบธุรกิจซื้อ-ขาย แต่มีหลักการที่แตกต่างกันหลายประการ ดังต่อไปนี้

1. สหกรณ์กับห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด

1.1 วัตถุประสงค์ การรวมกันเป็นสหกรณ์มีความมุ่งหมายเพื่อต้องการให้บริการแก่สมาชิกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนรวบรวมผู้ถือหุ้นจัดตั้งขึ้น เพื่อทำการค้ากับบุคคลภายนอก

1.2 ลักษณะการรวม สหกรณ์เป็นองค์กรของผู้มีกำลังทรัพย์น้อย ไม่อาจถือเอาทุนเป็นหลักในการรวมได้ สหกรณ์ถือว่าการรวมคนเป็นหลักสำคัญ และเพื่อให้กลุ่มคนที่รวมกันมีกำลังเข้มแข็ง สหกรณ์จึงต้องมีการกำหนดและคัดเลือกลักษณะตลอดจนคุณสมบัติของสมาชิกที่จะเข้าร่วมในสหกรณ์ ส่วนในบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนั้นถือหลักการรวมทุนเป็นสำคัญ บุคคลทีมีเงินสามารถเข้าถือหุ้นของบริษัทได้ ไม่เลือกว่าบุคคลนั้นจะมีลักษณะนิสัยอย่งไรหรืออยู่ใกล้ไกลเพียงใด การรวมกันในสหกรณ์เป็นการรวมของผู้ที่อ่อนแอในทางทรัพย์ให้มีกำลังเข้มแข็งขึ้น เพื่อมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ส่วนการรวมกันของบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนเป็นการรวมผู้ที่มีกำลังทรัพย์อยู่แล้ว ให้มีกำลังเข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อทำการค้าหากำไร

1.3 หุ้นและมูลค่าหุ้น หุ้นของสหกรณ์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้นไว้ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ ดังนั้น สหกรณ์จึงมีหุ้นที่จะจำหน่ายให้แก่สมาชิกใหม่อยู่เสมอ ราคาหุ้นของสหกรณ์จะคงที่ มูลค่าหุ้นของสหกรณ์ มักกำหนดไว้ค่อนข้างต่ำเพื่อเปิดโอกาสให้ผุ้มีกำลังทรัพย์น้อยเข้าเป็นสมาชิกได้ สำหรับหุ้นของบริษัทจำกัด กฎหมายบังคับให้ต้องกำหนดจำนวนทุนเรือนหุ้น และต้องมีผู้จองหุ้นไว้ครบจำนวนก่อนขอจดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นบริษัทด้วยเหตุนี้ถ้ากิจกรรมของบริษัทสามารถจ่างเงินปันผลได้สูงก็มีผู้ต้องการซื้อหุ้นของบรษัทจึงอาจขึ้นลงได้เหมือนสินค้าอย่างหนึ่ง นอกจากนี้มูลค่าหุ้นของบริษัทมักกำหนดไว้สูงเพื่อให้เงินทุนตามจำนวนที่ต้องการโดยคนถือหุ้นจะมีจำนวนมากหรือน้อยไม่ถือเป็นข้อสำคัญ

1.4 การควบคุมและการออกเสียง สหกรณ์ถือหลักการรวมคนจึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคลเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้สมาชิกของสหกรณ์ทุกคนไม่ว่าจะถือหุ้นมากหรือน้อยย่อยมีสิทธิออกเสียงลงคุแนนให้สหกรณ์ได้คนละหนึ่งเสียงเหมือนกันหมดยกเว้นผู้แทนสหกรณ์ในระดับชุมนุมสหกรณ์อาจให้มีเสียงเพิ่มขึ้นตามระบบสัดส่วน ตามที่กำหนดในข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์นั้นก็ได้ (มาตรา 106) และสมาชิกต้องมาใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเอง จะมอบให้บุคคลอื่นมาออกเสียงแทนไม่ได้ ดังนั้นอำนาจในสหกรณ์จึงตกอยู่กับเสียงข้างมากของสมาชิก ส่วนบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วน ซึ่งถือหลักการรวมทุนจึงให้ความเคารพในเงินทุนค่าหุ้นเป็นสำคัญ โดยการให้สิทธิออกเสียงตามจำนวนหุ้นที่ถือ และยังสามารถมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาออกเสียงแทนได้ อำนาจในบริษัทจึงตกอยู่กับผู้ถือหุ้นมาก กล่าวคือทุนมีบทบาทในการประชุมด้วยนั่นเอง

1.5 การแบ่งกำไร จากการที่สมาชิกทำธุรกิจซื้อขายกับสหกรณ์จึงทำให้เกิดกำไรหรือเงินส่วนเกินขึ้น ดังนั้นการแบ่งกำไรของสหกรณ์จึงเท่ากับการจ่ายคือส่วนที่สหกรณ์รับเกินให้สมาชิกในรูปการจ่ายเงินเฉลี่ยคืน ตามส่วนแห่งปริมาณธุรกิจที่สมาชิกทำกับสหกรณ์และจำนวนหุ้นที่ถือ สำหรับบริษัทจำกัดจะทำการติดต่อซื้อขายกับบุคคลภายนอกสมาชิกบริษัทลงทุนถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงถือหลักการแบ่งเงินปันผลตามหุ้นที่ถือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้ถือหุ้นจะมีการติดต่อซื้อขายกับบริษัทหรือไม่
เราอาจเปรียบเทียบให้เห็นความแต่กต่างระหว่างสหกรณ์กับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ได้ดังนี้

ลักษณะ

สหกรณ์

ห้างหุ้นส่วน/บริษัท จำกัด

1. วัตถุประสงค์

ดำเนินธุรกิจและบริการเพื่อช่วยเหลือสมาชิก ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

ดำเนินธุรกิจเพื่อการค้า ทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกเพื่อแสวงหากำไรให้มากที่สุด 

2. ลักษณะการรวมกัน

มุ่งด้านการรวบรวมคนมากกว่าทุน

มุ่งด้านการรวบรวมทุนต้องการทุนในการดำเนินงานมาก 

3. หุ้นและมูลค่าหุ้น

ราคาหุ้นคงที่และมีอัตราต่ำเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถือหุ้นได้ หุ้นมีจำนวนไม่จำกัด 

ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงตามฐานะของกิจการ จำนวนหุ้นมีจำกัด 

4. การควบคุม และการออกเสียง

ควบคุมตามแบบประชาธิปไตย สมาชิกออกเสียงได้คนละหนึ่งเสียง (ยกเว้นระดับชุมนุมสหกรณ์) และออกเสียงแทนกันไม่ได้

ออกเสียงได้ตามจำนวนหุ้นที่ถือและออกเสียงแทนกันได้

5. การแบ่งกำไร

การแบ่งกำไรจะแบ่งตามความมากน้อยของการทำธุรกิจกับสหกรณ์ และจำนวนหุ้นที่ถือ

การแบ่งกำไร แบ่งตามจำนวนหุ้นที่ถือ ถือหุ้นมากได้เงินปันผลคืนมาก


2. สหกรณ์กับรัฐวิสาหกิจ

           
            การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ จะดำเนินการโดยรัฐบาลหรือในนามของรัฐบาลไม่ใช่กิจกรรมของเอกชน งานของรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องสาธารณูปโภค เช่น การรถไฟ การสื่อสารไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ เป็นต้น กิจการเหล่านี้มุ่งในด้านให้สวัสดิการแก่ประชาชน ส่วนสหกรณ์นั้นเป็นของสมาชิกดำเนินธุรกิจ เพื่อต้องการจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สมาชิก

3. สหกรณ์กับองค์กรการกุศล

             องค์กรการกุศลมีจุดมุ่งหมายเพื่อสงเคราะห์ผู้ยากจนหรือทุพพลภาพให้พ้นจากความยากลำบาก เป็นการช่วยเหลือจากภายนอก ไม่ใช่เป็นการส่งเสริมให้ช่วยตนเอง จึงอาจจะทำให้ผู้ได้รับการสงเคราะห์มีลักษณะนิสัยอ่อนแอลงไปอีก ส่วนสหกรณ์นั้นส่งเสริมให้สมาชิกมีลักษณะนิสัยเข้มแข็งนอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้รับจากสหกรณ์ย่อมถาวรกว่าการช่วยเหลือขององค์กรการกุศล

4. สหกรณ์กับสหภาพแรงงาน

             ในสภาพแรงงานบรรดาลูกจ้างจะรวมกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เกิดกำลังเป็นปึกแผ่น เพื่อต่อรองกับนายจ้างในเรื่องผลประโยชน์ของการทำงานหรือสวัสดิการของลูกจ้าง บางครั้งอาจใช้วิธีการรุนแรงเพื่อบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามที่ลูกจ้างเรียกร้อง สำหรับการร่วมมือกันแบบสหกรณ์นั้นสมาชิกจะร่วมมือกันจัดการประกอบการขึ้น แล้วสมาชิกก็อาศัยบริการนั้นให้เป็นประโยชน์แก่อาชีพหรือการครองชีพของสมาชิกร่วมกัน การทำงานของสหกรณ์เป็นวิธีการที่ไม่ก่อความเดือดร้อนหรือเรียกร้องให้ใครช่วยแต่จะติดต่อกับบุคคลภายนอกเกี่ยวกับธุรกิจซื้อขายตามปกติ

สถาบันการเงินที่สําคัญ มีอะไรบ้าง

สถาบันการเงิน ประกอบกิจการธนาคาร วัตถุประสงค์ทั่วไป วัตถุประสงค์เฉพาะ 1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 2. ธนาคารกรุงไทย 3. ธนาคารออมสิน 4. ธนาคารไทยพาณิชย์ 5. ธนาคารกรุงเทพ 6. ธนาคารกสิกร 7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 8. ธนาคารธนชาติ 9. ธนาคารอิสลาม 10. ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธกส.) 11. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนา ...

สถาบันการเงินที่แบ่งตามหน้าที่ในการดำเนินการมีกี่ประเภท

1) สถาบันการเงินทั่วไปเป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่างๆ ทางการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น 2) สถาบันการเงินเฉพาะอย่าง เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะทางการเงินหรือทำธุรกรรมทางการเงินเฉพาะด้าน เช่น ธนาคารอาคารสงเคาระห์ ที่เน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น 2.3 แบ่งตามอายุของหลักทรัพย์

สถาบันการเงินเกี่ยวข้องกับอะไร

สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเงินของประเทศ โดยทำหน้าที่ระดมและจัดสรรเงินทุนแก่ภาคเศรษฐกิจจริง การชำระราคาและบริการ การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการให้ข้อมูลทางการเงินเพื่อการตัดสินใจ ดังนั้น การดูแลให้การดำเนินงานของสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ก่อ ...

สถาบันการเงินที่มีความสําคัญที่สุด คือข้อใด

- ธนาคารพาณิชย์ (commercla bank) คือ สถาบันการเงินภาคเอกชนที่มีความสำคัญที่สุดในประเทศไทย เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุดเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยยอมให้ไม่ต้องใช้คำว่า “บริษัท” นำหน้า แต่ให้ ...