ฟินเทคส่งผลกระทบต่อธุรกิจในข้อใด

ฟินเทคส่งผลกระทบต่อธุรกิจในข้อใด

Show

หากนึกถึงคำฮิตติดหูราวๆ 2 – 3 ปีมานี้ “ฟินเทค สตาร์ทอัพ” เป็นคำๆ หนึ่งที่พูดถึงกันมากที่สุดในโลก จากผลสำรวจ Blurred Lines: How FinTech is shaping Financial Services ของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในกลุ่มธุรกิจการเงินและผลกระทบต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ผ่านการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอ หัวหน้าสายงานนวัตกรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสารสนเทศ และผู้บริหารระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงิน ดิจิทัล และเทคโนโลยี จำนวน 544 ราย จาก 46 ประเทศว่า “ฟินเทค” กำลังเป็นกระแสที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมทางการเงินทั่วโลก โดยผู้ประกอบการในตลาดธุรกิจให้บริการทางการเงินรวมทั้งประเทศไทย ต่างหันมาลงทุนในฟินเทคมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล โดยคาดการณ์ว่า ภายใน 3 – 5 ปีนับจากนี้จะมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง 1.5 แสนล้านดอลล่าร์ หรือ 5.3 ล้านล้านบาทไหลเข้ามาลงทุนในธุรกิจฟินเทคทั่วโลก

เทคโนโลยีของฟินเทคได้เข้ามาเปลี่ยนบทบาทของธุรกิจบริการทางการเงิน (Financial Services) แบบดั้งเดิม ที่เคยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินทุน จัดสรรเงินทุน การชำระราคา หรือบริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ด้วยโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับผู้เล่นที่หลากหลายเพียงแค่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีก็สามารถเข้าสู่ฟินเทคได้จึงเห็นการลงทุนในธุรกิจนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่าผู้บริหารสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Financial Institution) กว่า 83% เชื่อว่าธุรกิจบริการทางการเงินของตนมีความเสี่ยงที่จะเสียผลประโยชน์ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งให้แก่บริษัทผู้ประกอบการฟินเทค โดยผู้บริหารในกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นกลุ่มที่แสดงความกังวลสูงสุดถึง 95% ขณะที่ 23% ของผู้บริหารภาคธุรกิจการเงินยังมองว่าบริษัทมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจฟินเทคอย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าฟินเทคกำลังมีบทบาทต่อทุกผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็นภาคธนาคารพาณิชย์ การลงทุนในหุ้น การลงทุนของนักลงทุนสถาบัน การโอนเงินระหว่างประเทศ การกู้ยืมสินเชื่อ ระบบชำระเงิน ประกันภัย งานวิจัย

โดยจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินโดยแอคเซนเจอร์ (Accenture) พบว่าการลงทุนฟินเทคทั่วโลกในปี 2551 (2008) อยู่ที่ประมาณ 930 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 33.2 หมื่นล้านบาท) และได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2557 (2014) การลงทุนฟินเทคทั่วโลกสูงถึงประมาณ 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4.28 แสนล้านบาท) สะท้อนให้เห็นว่าฟินเทคเป็นเมกกะเทรนด์และทำให้โลกการเงิน การลงทุนเปลี่ยนโฉมอย่างชัดเจน

กระแสการลงทุนในเทคโนโลยีการเงินหรือฟินเทคนั้น นับเป็นนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคไปสู่สิ่งใหม่ (Disruptive) ที่น่าจับตามากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะทลายธุรกรรมการเงินแบบเดิมที่เคยผูกขาดในมือธนาคารหรือสถาบันการเงิน ให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกและลูกเล่นใหม่ๆ ที่สอดรับกับยุคสมัย ก็ยังเปิดโอกาสสำคัญให้กับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ใช้ไอเดียและนวัตกรรม (Startup) ได้เข้ามาร่วมผลักดันยุคสมัยของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนอีกด้วย

แม้จะมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2000 แต่อาจกล่าวได้ว่าฟินเทคเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ปี 2008 เนื่องจากเป็นช่วงที่ระบบการเงินในสหรัฐกำลังล่มสลายในวิกฤตการณ์ทางการเงิน การที่ภาคการเงินมัวแต่วุ่นอยู่กับการล้างหนี้เสียและตัวเลขขาดทุนมหาศาล ซ้ำยังเผชิญวิกฤติศรัทธาครั้งใหญ่ ทำให้แวดวงซิลิคอน วัลลีย์ มองเห็นโอกาสเปลี่ยนแปลงโลกการเงินใหม่ ซึ่งสอดรับกับยุคที่โลกเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน

ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การเกิดขึ้นของ ฟินเทคสตาร์ทอัพจำนวนมากกำลังจะเป็นตัวเปลี่ยนโครงสร้างการแข่งขัน จากเดิมที่ในแต่ละประเทศมีผู้แข่งขันน้อยราย (Oligopoly) ให้กลายเป็นตลาดผู้ขายมากราย (Monopolistic Competition) ผลลัพธ์คือส่วนต่างกำไรจะมีแนวโน้มลดลงเพราะการแข่งขันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โบรคเกอร์อย่าง Robinhood ที่คิดค่าธรรมเนียม 0%, บริการ Peer to peer lending ที่ให้ดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งการแข่งขันที่สูงขึ้นนี้จะกลายเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยรวม ทั้งความหลากหลายของบริการที่มากขึ้น ราคาที่ถูกลง และการเข้าถึงผลิตภัณฑ์การเงินของประชาชนที่มากขึ้นในที่สุด

วิกฤตการณ์ คือความท้าทายที่จะทำให้ก้าวไปข้างหน้า ฟินเทค คืออาวุธทางการค้าที่ทำให้ธุรกิจคุณเข้มแข็งมากขึ้น เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์ Mr. Fintech หรือ คุณ แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวตจำกัด

ฟินเทค (Fin Tech) คืออะไร

ชื่อเต็มคือ Financial Technology แปลตรงตัวคือ เทคโนโลยีทางด้านการเงิน ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจแบบเดิมที่มีช่องทางการขายแบบเก่า เก็บแค่เงินสด เกิดวันหนึ่งเขาอยากจะมีช่องทางการขายที่มากขึ้น มีช่องทางการจ่ายเงินที่มากขึ้น เลยใช้การโอนผ่านธนาคาร จ่ายผ่านมือถือ ผ่าน QR Code นั่นแหละเรียกว่า ฟินเทค

ฟินเทค สำคัญในชีวิตประจำวันคนธรรมดาอย่างไร

มนุษย์เราทุกคนมีชีวิตอยู่กับเรื่องการเงินและไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น บางประเทศอาจไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยี บางประเทศอาจไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการท่องเที่ยว เขาอาจจะไปเน้นความสำคัญในเรื่องอื่น แต่ไม่ว่าประเทศไหนก็หนีเรื่องการเงินไม่พ้น ทุกประเทศล้วนต้องใช้เงิน ฟินเทคจึงสำคัญ

อะไรทำให้คุณรู้สึกสนใจในเรื่องของฟินเทค

ตั้งแต่เรียนจบก็ทำงานธนาคารมาตลอด ช่วงหนึ่งในฝ่ายด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อ เรารู้สึกว่าเวลาสมัคร ทำไมต้องกรอกเอกสารยาวถึงสามสี่หน้า จึงมองหาเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เลยเริ่มทำแอปพลิเคชัน ขึ้นมา สามารถแลกคะแนนได้ เจ้านายซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางด้านดิจิทัลของธนาคารก็ให้ไปหาความรู้เพิ่มเติม จึงได้มารู้จักกับ เทคซอส จนกระทั่งได้มาทำโปรเจคร่วมกันโดยใช้ชื่อว่า กรุงศรียูนิสตาร์ทอัพ ต่อมาก็อีกโครงการคือ กรุงศรีไรส์ขึ้นมา สร้างกระแสฮือฮาอย่างมาก ทีมที่ชนะเลิศการประกวดในเวลานั้นชื่อ ฟินโนมีนา ซึ่งเราร่วมลงทุนกับเขา นั่นเป็นการลงทุนในฟินเทคครั้งแรกเมื่อสามปีที่แล้ว และยังทำมาตลอด

ทิศทางของฟินเทคในปี 2020 เป็นอย่างไรบ้าง

ถ้าพูดถึงฟินเทคทุกธนาคารให้ความสำคัญมานานแล้ว แต่จะไม่ทำเองเพราะใช้เวลานาน สตาร์ทอัพสามารถทำให้เสร็จได้เร็วกว่ามากเพราะเขาโฟกัสอยู่เรื่องเดียว ถ้าเป็นบุคลากรจากธนาคารเราจะต้องทำงานไปพร้อมกันหลายด้าน ในปีนี้เราจึงจะเห็นธนาคารร่วมมือสตาร์ทอัพเจ้าต่าง ๆ เพื่อทำฟินเทค

อีกตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ธนาคารจะลดจำนวนสาขาลง เปลี่ยนช่องทางไปใช้ออนไลน์มากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ที่เราต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านการเงินมาช่วย ต่างกันในแต่ละแบรนด์เท่านั้นว่าจะเน้นในเรื่องไหน

ฟินเทคส่งผลกระทบต่อธุรกิจในข้อใด

สงครามการค้า ไวรัสโคโรนา ฝุ่น PM2.5 หรือแม้กระทั่งเซอร์กิตเบรกเกอร์ วิกฤตการณ์เหล่านี้จะกระทบกับวงการฟินเทคมากน้อยแค่ไหน

ที่กระทบมากที่สุดคงจะเป็นเรื่องโคโรนาไวรัส ตัวลูกค้าของธนาคารจะอยู่รอดหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อธนาคารโดยตรง ยอดหนี้เสียมากขึ้น ยอดขายของธนาคารลดลง ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจเดลิเวอรี่ออนไลน์อาจจะอยู่ในจังหวะขึ้น แต่ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็อยู่ยาก แต่แน่นอนว่ายอดการใช้จ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์จะเติบโตขึ้นทดแทนการใช้เงินสดในช่วงนี้

ช่วงหลายปีที่ผ่านมากระแส Digital Disruption กำลังมีบทบาทสำคัญกับธุรกิจทุกประเภท รวมถึงฟินเทค สำหรับผู้เล่นหน้าเก่าที่อยู่ในวงการนี้มามานานควรปรับตัวอย่างไรและผู้เล่นรายใหม่ที่กำลังเข้ามาสู่ธุรกิจฟินเทคควรทำอย่างไรเพื่อให้อยู่รอดในวงการนี้ได้

Digital Disruption เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด คุณต้องปรับตัวให้ทันในทุกสถานการณ์ เคล็ดลับคือการดูเทรนต่างประเทศ จะพอเห็นแนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการปล่อยกู้ของธนาคาร ซึ่งตอนนี้เป็นการสร้างรายได้มากที่สุด เรากำลังจะโดนแทนที่โดยธุรกิจที่เรียกว่า เพียร์ทูเพียร์ เขาจะเป็นผู้จับคู่กันระหว่างผู้ที่มีความต้องการจะกู้กับตัวนักลงทุน ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจเอ เดินเข้าไปในธนาคารกรุงศรีเพื่อขอกู้เงิน ธนาคารก็จะขอดูสินทรัพย์ บ้าน รถ โฉนดที่ดิน เพื่อค้ำประกันเงินกู้ แต่เอเป็นธุรกิจที่เปิดได้ไม่นานยังไม่มีสินทรัพย์ ทำให้เอไม่ได้เงินกู้ แต่เพียร์ทูเพียร์ไม่ได้ใช้หลักการพิจารณาเดียวกับธนาคาร เขาจะดูลึกไปถึงประวัติของบุคคลที่ขอกู้ ประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจว่าจะทำกำไรในอนาคตหรือไม่ ดูแผนธุรกิจว่าจะคืนทุนในระยะเวลาเท่าไหร่ พิจารณาแล้วก็ให้เกรด เอ บี ซี ดี สมมติได้เกรดซีดอกเบี้ยสิบห้าเปอร์เซ็นต์ เพียร์ทูเพียร์ก็จะประกาศไปยังบรรดานักลงทุนว่ามีใครอยากลงทุนจำนวนเท่านี้ไหม นักลงทุนเข้ามาดูแล้วสนใจเพราะว่ามันดีกว่าฝากเงินไว้ เฉย ๆ

นอกจากนี้ยังมีการ Disruption ด้านบริหารเงิน คนทั่วไปจะลงทุนก็จะวิ่งเข้าสาขาธนาคาร ถ้าวิ่งเข้ากรุงศรีก็จะได้ของกรุงศรี ซึ่งเราอาจจะมีไม่กี่ตัวนอกจากนี้ก็ต้องไปธนาคารอื่น แต่ทุกวันนี้จะมีตัวกลางที่เรียกว่า ฟีโนมีนา เขาสามารถลงได้ทุกกองทุน และที่สำคัญคือเขาไม่ได้วิเคราะห์โดยมนุษย์แต่เป็นด้วยระบบเรียกว่าโรบอทแอดไวเซอร์

ด้านการปรับตัวธนาคารก็ต้องปรับ หนึ่งคือทำแข่งกันเลยซึ่งจะมีแค่บางโปรดักส์ที่เรากล้าที่จะแข่ง (หัวเราะ) ถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะแข่งก็จะไปร่วมทุน เขาโตเราโตด้วยลดความเสี่ยงโดยที่เราไม่ต้องทำเอง

ธุรกิจฟินเทคแบบไหนที่กำลังมาแรงบ้าง

ก็จะมีเพียร์ทูเพียร์ที่เล่าให้ฟังเมื่อสักครู่กับอีกอันคือเรื่องการโอนเงินไปยังต่างประเทศ มีอยู่แค่สองกลุ่มที่ใช้งานบ่อย หนึ่งคือคนที่ทำธุรกิจกับต่างประเทศ สองคือแรงงานต่างด้าว ลาว พม่า เวียดนาม ปัญหาคืออย่างหลังเขาเรียกว่าโอนผ่านโพยก๊วน คือระบบเก่าที่โอนเงินให้กับนายหน้า แล้วนายหน้าส่งต่อให้กับครอบครัวโดยหักค่าดำเนินการซึ่งไม่มีกำหนดมาตรฐาน ปัจจุบันนี้ยังไม่มีอะไรทดแทนกันได้ ระบบนี้มันยากตรงที่การพิสูจน์ว่าเงินที่โอนมาจากการทำงานสุจริตไม่ใช่การฟอกเงิน ต้องหาวิธีพิสูจน์ก่อนถึงจะเปิดใช้ ถ้ามีใครทำได้เราก็พร้อมจะลงทุนด้วย (หัวเราะ) มีอีกหลายอย่างซึ่งเป็นธุรกิจที่มองเห็นปัญหาและมีวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้คือดาวรุ่งทั้งหมด

แล้วธุรกิจฟินเทคแบบไหนเรียกว่าดาวร่วง

ดาวร่วงส่วนใหญ่จะเป็นสตาร์ทอัพที่ตัวเจ้าของยังไม่มีประสบการณ์ ปัญหาของเด็กยุคนี้คือมีมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก กับ อีลอน มัสก์ เป็นไอดอล คิดว่าไม่ต้องเรียน ไม่ต้องมีประสบการณ์ก็ประสบความสำเร็จได้ ถามว่าเป็นไปได้ไหมก็เป็นไปได้ แต่มันคิดเป็นแรร์เคสซึ่งมีจำนวนน้อย ในต่างประเทศสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในพวกเขาอายุค่อนไปทางแก่ทั้งหมด เขามีประสบการณ์จากบริษัทที่เขาเคยไปเป็นลูกจ้างมาก่อน เขาเรียนรู้ระบบทำงานกับคนหมู่มาก เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างมาเรียบร้อยแล้ว เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาในองค์กรเก่า ๆ คนพวกนี้ส่วนใหญ่จะทำสำเร็จแล้วนักลงทุนจะให้ความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก

ฟินเทคส่งผลกระทบต่อธุรกิจในข้อใด
 

ธุรกิจฟินเทคในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเติบโตก้าวขึ้นไปสู่ระดับแนวหน้าของเอเชียและระดับโลกได้หรือไม่

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วกรุงศรีประกาศการลงทุนในแกร็บ เขามีมูลค่าไปไกลเกินกว่าหนึ่งหมื่นสี่พันล้านเหรียญ เรียกได้ว่านี่เป็นยูนิคอร์นสิบสี่ตัว (หัวเราะ) เรื่องที่น่าสนใจสำหรับแกร็บคือ เขาสามารถเข้าถึงการเงินของคนจำนวนมากได้มากกว่าธนาคาร ในอนาคตจะกลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ในระดับโลก ประกอบกับเทรนด์โลกต่อจากนี้ คนจะใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลงเปลี่ยนเป็นใช้รถยนต์สาธารณะ หรือไม่ก็เปลี่ยนมาเช่ารถยนต์ระยะยาว นั่นคือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

มีอะไรเพิ่มเติมที่จะฝากถึงคนที่ทำฟินเทคและคนที่กำลังจะเริ่มลงมือทำฟินเทคบ้าง

เมื่อไม่นานมานี้กรุงศรีเราเปิดตัว กรุงศรียูนิคอร์น โดยเริ่มจากบริษัทลูกก่อน ใครที่อยากเป็นสตาร์ทอัพให้มาสมัคร จะมีทีมที่ช่วยดูและและให้คำแนะนำ ถ้าผ่าน คุณจะได้ออกมาทำสตาร์ทอัพจริง ๆ แต่ถ้าคุณไม่ผ่าน คุณก็สามารถกลับมาเป็นพนักงานได้ คือมันมีเหตุผลที่ทำแบบนี้เพราะพนักงานเราชอบลาออกไปตามฝันแล้วก็เจ๊ง พอเจ๊งแล้วก็กลับมาไม่ได้ นั่นคือความน่าเสียดาย เราเลยหันมาสนับสนุน ถ้าเขาทำได้ดีเราจะเป็นผู้ลงทุนให้เลย เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จให้มากขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่พนักงานกรุงศรี เราแนะนำให้หาที่ปรึกษาให้ดี ซึ่งทางกรุงศรีเองก็กำลังคุยกับบริษัทเอกชนอื่น ๆ เพื่อรวมตัวกันสร้างเป็นโรงเรียนสอน น่าจะมีให้เห็นในอีกไม่นานและก็แนะนำว่าถ้าคิดอยากจะทำมันต้องเป็นสิ่งที่คุณมีความรู้ความเข้าใจอย่างดี หรือถ้าฟอร์มทีมเริ่มทำไปแล้วก็ปรึกษาเราได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์หรือทางเฟซบุ๊กของกรุงศรีฟินโนเวตได้

เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ในยุคของวิกฤตการณ์ ทั้งโคโรนาไวรัสที่กำลังระบาด PM2.5 และอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้น ทางรอดของพวกเราในยุคนี้คือการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด และนี่คืออีกบทหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้

FinTech มีผลกระทบอย่างไร

การที่ FinTech เข้ามามีอิทธิพลในการท าธุรกรรมทางการเงิน ท าให้สถาบันการเงินชั้นน ามีการเร่งปรับตัวในด้านการ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเป็นพันธมิตรทางธุรกิจหรือร่วมลงทุน (Venture Capital) กับผู้ประกอบการ FinTech เพื่อให้เกิด การต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินและนาเสนอออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในยุค Digital เพิ่มขึ้นเรื่อย ...

ฟินเทคมีประโยชน์และผลกระทบต่อกลุ่มใด

“FinTech ช่วยให้การบริการจัดการง่ายขึ้น จากเดิมหากผู้บริหารต้องการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทอาจจะต้องรอฝ่ายบัญชีเก็บข้อมูลซึ่งอาจจะล่าช้า แต่ปัจจุบันสามารถใช้เครื่องมือ FinTech เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ทันที จึงนำมาสู่การตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น และผลลัพท์จะตามมาด้วยรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น”

ความเสี่ยงของฟินเทค (FinTech) มีอะไรบ้าง

แต่สำหรับในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดหลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของฟินเทคและต้องได้รับการปรับปรุง เช่น การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภค การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ การขาดเงินทุนสนับสนุน ความไม่ชัดเจนของกฎเกณฑ์การกำกับดูแล และความอ่อนแอของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีภายในประเทศ

ฟินเทคมีประโยชน์อย่างไร

บุคคลทั่วไป ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงินในลักษณะการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ที่ทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถใช้จ่าย ทำธุรกรรม รวมถึงสามารถขอสินเชื่อ ลงทุนได้ด้วยตนเอง