ข้อใดกล่าวถึง fintech ที่มีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินได้ถูกต้อง

        Financial Technology คือการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการเงินในการสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อเป็นสินค้า บริการ การแก้ปัญหาทางการเงิน รวมถึงเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจใหม่ ๆ ทำให้การจัดการ และการเข้าถึงทางการเงินเป็นไปได้ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยี

        เทคโนโลยีทางการเงิน มีจุดเริ่มต้นจากการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบงานของธนาคาร เมื่อเทคโนโลยีเติบโตขึ้นพร้อม ๆ กับความสามารถในการเข้าถึงของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะสมาร์ตโฟนที่ถือเป็น Disrupter แห่งยุค ก็ทำให้อำนาจในการทำธุรกรรมและเข้าถึงบริการทางการเงินไม่ถูกจำกัดอยู่กับสถาบันการเงินอีกต่อไป เทคโนโลยีทางการเงิน ได้แตกแขนงออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ กัน เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของผู้ใช้

                Fintech ย่อมาจาก Financial Technology (เทคโนโลยีทางการเงิน) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีในส่วนของการออกแบบและการให้บริการทางการเงิน โดยเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องเข้าใจว่า fintech นั้นไม่ใช่สาขาวิชาของตัวเองแต่เป็นการควบรวมส่วนสำคัญต่างๆ เอาไว้ ที่ร่วมถึงการกู้ยืมระหว่างบุคคลต่อบุคคลทางออนไลน์ (peer-to-peer lending), ความปลอดภัยของข้อมูล (data security), ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence), บล็อกเชน (blockchain), ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data), ผู้แนะนำการลงทุนอัตโนมัติ (robo-advisers), และการระดบทุนจากสาธารณะชน (crowd-funding) และทั้งหมดนี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงวิถีของการธนาคารที่ เรารู้จักไปอย่างแท้จริง (บทความจากเว็บ https://www.marketingoops.com/)

เทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech คือ การผสมระหว่างคำว่า Financial และ Technology เข้าไว้ด้วยกัน

ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้หรือสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน การธนาคาร และการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งหากศึกษาวิวัฒนาการของ FinTech จะพบว่านับจากการวางระบบเคเบิลใต้น้ำ (Transatlantic Cable) อันถือเป็นจุดกำหนดของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในราวปี 1866 เป็นต้นมา รูปแบบการให้บริการทางการเงินที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จวบจนปัจจุบัน ที่กลุ่มอุตสาหกรรมทางการเงินกำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ จากการมีสำนักงานสาขาในแบบเดิม หรือ “Brick-and-Mortar Branches” มาเป็นการให้บริการที่อยู่ในโลกออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ หรือที่เรียกว่า “Virtual Bank”

จาก Bank 1.0

ผู้เขียนขอวิเคราะห์วิวัฒนาการของธนาคารตามการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการให้บริการ โดยอธิบายเป็นยุคต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้

ธนาคารในยุคแรก หรือ Bank 1.0 คือ ยุคที่ธนาคารยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ ในการให้บริการ ดังนั้น การดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าจะฝาก ถอน หรือกู้ยืม ล้วนแล้วแต่กระทำลงในรูปแบบกระดาษทั้งสิ้น ซึ่งประชาชนในยุคนั้นเลือกใช้บริการธนาคารด้วยความเชื่อที่ว่า ธนาคาร คือ สถานที่ ๆ ปลอดภัยในการเก็บเงิน หรืออาจกล่าวได้ว่า ประชาชนได้ให้ Trust กับการดำเนินงานของธนาคารนั้นเอง

ต่อมาในยุค Bank 2.0 ความต้องการในการใช้บริการธนาคารมีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ เริ่มจากการใช้ระบบ Mainframe เพื่อการรองรับการให้บริการ จนกระทั้งมีการให้บริการผ่านตู้ ATM โดยธนาคาร Barclays และมีการออกบัตรเครดิตโดยสถาบันการเงินในสหรัฐอมริกา (Bank of American และ American Express)

หลังจากนั้นในยุค Bank 3.0 หรือ ในช่วงปี 1990 เป็นต้นมาได้เริ่มมีการใช้ Internet Banking และ Mobile Banking ตามลำดับ ต่อมา ในปี 1999 หลักจากที่มีการก่อตั้งบริษัท Alibaba พบว่า รูปแบบการให้บริการ e-Commerce platform ที่มีการเก็บข้อมูลการขายสินค้า/บริการออนไลน์ ทำให้ platform ทราบข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการได้ไม่ยากนัก อันเป็นผลให้มีการเกิดกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับการชำระเงินอย่าง Alipay และธุรกิจไฟแนนซ์/Money Market Fund อย่าง Yue Bao ซึ่งธุรกิจการให้บริการทางการเงินประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของการให้บริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้คนมากมายและไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานสาขาในแบบกายภาพ เนื่องจากเป็นการให้บริการผ่าน Application ที่เชื่อมต่ออยู่ในโลกออนไลน์ หรืออาจกล่าวได้ว่า Bank ในยุค 4.0 นั้น ได้รับอิทธิพลจาก Business Model แบบ Alibaba จึงส่งผลให้การให้บริการทางการเงินในรูปแบบ Automated เพิ่มจำนวนมากขึ้น และส่งผลให้บริการทางการเงินในยุคนี้สามารถทำได้แบบ

No human Involved 

จาก Bank 4.0 สู่ Virtual Bank

Virtual Bank หรือ Internet Based Bank คือ สถาบันการเงิน (อาจเป็นธนาคารหรือการรวมตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมทางการเงินและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) ที่ให้บริการและดำเนินการทุกอย่างในรูปแบบ online เช่น ให้บริการผ่าน website, email หรือ mobile check deposit เป็นต้น

ปัจจุบัน กฎหมายในหลายประเทศได้อนุญาตให้ประกอบธุรกิจในแบบ Virtual Bank ได้ โดยประเทศที่ได้มีการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank แล้ว เช่น ฮ่องกง (8 ราย) และไต้หวัน (3 ราย) เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาในโครงสร้างของ Virtual Bank แต่ละรายที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว จะสังเกตเห็นว่า ผู้เล่นในธุรกิจ Virtual bank มักอยู่ในรูปแบบการรวมตัวของกลุ่มธุรกิจแบบร่วมทุน (Joint Venture) ระหว่าง กลุ่มธุรกิจที่เติบโตมากจาก App-Based enable Service (เช่น line, Ctrip, Tencent และ Ant Financial) กลุ่มธุรกิจธนาคารเดิม (Standard Chartered Bank และ CTBC Bank) กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม (เช่น Chunghwa Telecom) และกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี (เช่น Jingdong Digital Technology) เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น Virtual Bank license ในไต้หวัน FSC (Financial Supervisory Commission) ได้ให้ใบอนุญาตกับกลุ่มธุรกิจ Line Financial Taiwan ซึ่งเป็นการร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง Line Group, Taipei Fubon Commercial Bank, CTBC bank, Standard Chartered, Union Bank of Taiwan และบริษัทโทรคมนาคม FarEastTone 

อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติ การดำเนินการในรูปแบบ Virtual ในบางประเทศ ธนาคารยังคงรูปแบบ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาอยู่เช่นเดิม เพียงแต่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างสำนักงานสาขาและสำนักงานใหญ่เข้าด้วยกัน หรือเชื่อมต่อการให้บริการกับลูกค้าผ่านระบบ Kiosks เป็นต้น เช่น ระบบ Virtual Banking system ของธนาคารในประเทศคูเวต

ประเภทของ Fintech

Fintech คนมักจะคิดถึงระบบ Mobile Banking ของแต่ละธนาคารก่อนเป็นอันดับแรก  แต่ตามว่าเทคโนโลยีทางการเงินนั้นมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน และการแบ่งประเภทของฟินเทคก็สามารถแบ่งได้หลากหลายวิธีเช่นกัน แต่ถ้าจะจำแนกตามจุดประสงค์ในการใช้งาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 แบบ

1. Banking Technology

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่คนมักคิดถึง เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีทางการเงิน เพราะหลายคนคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่แล้ว และเชื่อว่าในโทรศัพท์ของคนวัยทำงานส่วนใหญ่จะต้องติดตั้งแอปพลิเคชันธนาคาร ซึ่ง ฟินเทคประเภทนี้คือ Mobile Banking ที่มีขึ้นเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการบริหารจัดการเงินของตัวเองได้ด้วยตัวเอง ทำงานในฟังก์ชันเดียวกับที่ธนาคารแบบดั้งเดิมทำ ทั้งเช็กยอดบัญชี โอนเงิน จ่ายบิล และอื่นๆ

2. Crowdfunding Platforms

เทคโนโลยีเพื่อการระดมทุน กล่าวคือ คราวด์ฟันดิงแพลตฟอร์ม เป็นแพลตฟอร์มตัวกลาง ระหว่าง ผู้ประกอบการ และนักลงทุน โดยแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการขอ และให้เงินทุน แทนที่ผู้ประกอบการจะต้องไปขอกู้สินเชื่อจากธนาคาร ก็สามารถระดมทุน จากนักลงทุนหลาย ๆ คนได้ และนักลงทุนเอง ก็สามารถเลือกลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจ ผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าวได้ โดยแพลตฟอร์ม นอกจากจะเป็น ตัวกลางในการเชื่อมต่อแล้ว ยังอำนวยความสะดวก ในเรื่องการสมัครขอระดมทุน ตรวจสอบเครดิต และอนุมัติ ด้วยเช่นกัน ซึ่ง เพียร์ พาวเวอร์จัดอยู่ใน ฟินเทคประเภทนี้ โดย การระดมทุนผ่านแพลตฟอร์ม ของเพียร์ พาวเวอร์ จะอยู่ในรูปแบบของหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ที่ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย

3. Cryptocurrency

สกุลเงินดิจิทัลทั้ง Cryptocurrency หรือเทคโนโลยี Blockchain เป็นการสมมติชุดข้อมูลขึ้นมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในโลกออนไลน์ แล้วทำให้ใช้งานได้เหมือนเงินจริง สามารถใช้จ่ายได้ รวมถึงเก็งกำไรได้ด้วย โดยสกุลเงินดิจิทัลสกุลแรกที่ถือกำเนิดมาในโลกคือ Bitcoin และที่สั่นสะเทือนวงการการเงินล่าสุดคือการประกาศเปิดตัว Libra สกุลเงินดิจิทัลของ Facebook ที่จับมือกับพาร์ทเนอร์เจ้าใหญ่ทั่วโลกซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะเป็น Technology Disruptive ที่ใหญ่ที่สุดในอนาคต

การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีทางการเงิน ประเภทนี้ บ้างก็ถูกมองเป็นโอกาสที่จะสร้างความเท่าเทียมทางการเงิน บ้างก็ถูกมองว่าเป็นภัยต่อระบบการเงินดั้งเดิมของโลก จึงได้รับทั้งการต้อนรับและขับไล่จากทั่วโลก อย่างไรก็ดี Cryptocurrency ถือเป็นระบบการเงินแห่งอนาคตที่มีการขยายขอบเขตความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 

4. Payment Technology

ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี ประเภทนี้คือระบบตัวแทนการใช้จ่าย ที่ผู้ใช้ต้องเปิดบัญชีกับทางแพลตฟอร์มจึงจะสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่นระบบ E-Wallet ต่าง ๆ เครดิตการ์ด ซึ่งระบบ Payment จะต่างจาก Mobile Banking ตรงที่เจ้าของแพลตฟอร์มไม่ใช่ธนาคาร และให้บริการเฉพาะการใช้จ่ายเท่านั้น

5. Enterprise Financial Software

ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร อีกหนึ่งเครื่องมือเทคโนโลยี ที่จะช่วยผู้ประกอบการในเรื่อง การจัดการทางด้านการเงิน ไม่ว่าจะเป็น การจัดการบัญชี ระบบจ่ายเงินเดือน-ภาษีและการจัดการพนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงสวัสดิการด้านการเงิน โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดเวลา และทรัพยากรที่ต้องใช้งาน ทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการภายในองค์กรดีขึ้น

6. Investment Management 

เทคโนโลยีที่จะช่วยจัดการทางด้านลงทุน ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า มีแพลตฟอร์มการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แอปพลิเคชันลงทุนใน Private fund, ทองคำ, กองทุนรวม รวมถึงแพลตฟอร์มที่ใช้ AI ช่วยในการวิเคราะห์หุ้น หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีอย่าง Robo Advisor มาช่วยในการจัดพอร์ตการลงทุน (Asset Allocation)

7. Insurance Technology/ Insurtech

หลายคนมองว่าการซื้อประกันภัย ประกันชีวิตคือการลงทุนรูปแบบหนึ่ง รวมทั้งระบบการคำนวณเบี้ยประกันมีความซับซ้อน การใช้เทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาช่วยทั้งด้านการคำนวณเบี้ยประกัน ผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงอัตราส่วนลดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้เสนอขายประกันภัย ประกันชีวิตบริหารจัดการระบบประกันได้ง่ายขึ้น

ผลสำเร็จของ Fintech

        ด้วยเหตุที่ FinTech เป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอบริการในช่องทางใหม่ ๆ หลักการที่เคยใช้ได้ดีในการสร้างสินค้าแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป  หัวใจของการสร้างสินค้าหรือบริการใน FinTech ให้ประสบความสำเร็จ มีดังนี้

แก้ปัญหาได้ตรงจุด


ต้องมองให้ออกว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร แล้วเสนอวิธีการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ เราสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสร้างพฤติกรรมการใช้บริการใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคได้ โดยดูจากตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น ตัดปัญหาเวลาทำการของธนาคารด้วยการทำธุรกรรมบน iBanking หรือลดเวลาการเดินทางไปห้างสรรพสินค้าด้วยการ Shopping Online
 

ใช้งานง่าย


เพราะการใช้ชีวิตทุกวันนี้ก็ยากพอแล้ว ลูกค้าจึงมองหาบริการที่ใช้งานได้ง่าย และให้ประสบการณ์ที่ดีระหว่างการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่เรียบง่าย เข้าถึงได้ทั้งจากเดสก์ท็อปและมือถือ ความสะดวกรวดเร็วในการติดตั้งแอปพลิเคชัน การใช้งานผ่าน user interface ที่เข้าใจง่าย สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในช่วงอายุใด ๆ ก็ตาม
 

มีความปลอดภัย


เนื่องจาก FinTech เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางด้านการเงินไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ความปลอดภัยในการใช้บริการย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ระบบจะต้องมี ทั้งในด้านการรักษาข้อมูลของลูกค้ารวมไปถึงความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่าง ๆ
 

ลูกค้าเข้าถึงการบริการได้ง่าย


ความสะดวกในการเข้าถึงการบริการถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นชัดในปัจจุบันนี้ เช่น การสร้าง Mobile application เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และสามารถเข้าใช้งานจากที่ใดก็ได้ เปรียบเสมือนจับเอาบริการหน้าร้านใส่ในมือของลูกค้า ซึ่งทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็ใช้ smartphone ดังนั้น การสร้าง Mobile application จึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่ไม่ควรมองข้าม 
 

ตรง life style ของกลุ่มเป้าหมาย


ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มลูกค้าเป็นนักวิเคราะห์ ชอบอ่านตัวเลข ตีเส้นราคาหุ้น และวิเคราห์ข้อมูลในเชิงลึก การใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากการใช้งานบนแท็บเล็ตหรือมือถืออาจจะมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน แต่หากเป็นบริการง่าย ๆ เช่น การชำระเงิน โอนเงิน หรือธุรกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมเหล่านี้บนมือถือก็จะให้ความคล่องตัวกับผู้ใช้งานมากกว่า
 

มีระบบรองรับที่มีประสิทธิภาพ


ไม่ว่าจะเป็นการบริการด้านใดก็ตาม ระบบจะต้องมีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าจำนวนมากได้อย่างเหมาะสม จะต้องมั่นใจว่าระบบยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ แม้จะมีจำนวนลูกค้าหลาย ๆ ท่านเข้าใช้งานพร้อม ๆ กันก็ตาม อีกทั้งควรมีแผนสำรอง ในกรณีระบบหลักเกิดมีปัญหาใช้งานไม่ได้ด้วย
 

ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

การบริการที่ดีควรจะปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้า นอกจากการนำ feedback มาพัฒนาและปรับปรุงบริการแล้ว การเห็นปัญหาและความต้องการในอนาคต ก็จะทำให้บริการของเราทันสมัยอยู่เสมอ

ความสำเร็จของ FinTech อาจจะวัดได้จากหลายด้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การมุ่งที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้า สามารถเป็นคำตอบในระยะยาวให้กับลูกค้าได้ โดยที่ลูกค้าไม่เลิกหรือเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

Fintech Revolution กำลังนำมาซึ่งการปรับปรุงใหม่จำนวนมากหนึ่งในผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดคือ “การเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำได้เข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น”

ตอนนี้เรามีประชากรประมาณ 2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของธนาคาร

ข้อใดกล่าวถึง fintech ที่มีประโยชน์ต่อสถาบันการเงินได้ถูกต้อง

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่เราสามารถทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินได้ ตามที่ธนาคารโลกได้กล่าวไว้นั้น ใน 5 ปีที่ผ่านมา มีประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคารจำนวน 700 ล้านคนที่สามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินได้ และนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น อุตสาหกรรม fintech นั้นจะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการเงินอย่างต่อเนื่องและลูกค้าจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ไม่เพียงแต่จากประสบการณ์ผู้ใช้ที่สะดวกสบายมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลดต้นทุนและการเข้าถึงทางการเงินที่มากขึ้นอีกด้วย

หุ่นพูดคุยแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Chatbots) กำลังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาแทนศูนย์ให้บริการแสนน่าเบื่อ ข้อมูลไบโอเมตริกซ์และเครื่องมือจดจำเสียงกำลังได้รับการทดสอบเพื่อไม่เพียงแค่เป็นการนำมาแทนรหัสผ่าน แต่ยังรวมถึงการใช้รหัส 2 ปัจจัยที่ทางธนาคารกำลังใช้อยู่ด้วยเช่นกัน

หลายๆ คนกำลังเชื่อมต่อ Fintech เข้ากับ Internet of Things ลองนึกภาพประกันรถยนตร์ของคุณกำลังปรับลดเบี้ยประกันแบบอัตโนมัติเพราะรถของคุณทราบเองว่าคุณขับรถอย่างปลอดภัยแล้วจึงแจ้งข้อมูลนี้ให้กับผู้ให้ประกันได้รับทราบโดยอัตโนมัติ

ธนาคารกำลังตระหนักว่าภูมิทัศน์กำลังเปลี่ยนแปลงไปและพวกเขาต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด บางธนาคารจะประสบความสำเร็จในการวิวัฒนาการนี้ แต่ธนาคารอีกหลายแห่งจะไม่ประสบผลดังกล่าว และสิ่งนี้มีจะผลตามมาในภายหลัง ธนาคารซิตี้แบงก์คาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า 30% ของงานในธนาคารจะหายไป ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้ให้ตัวเลขนี้ไว้สูงถึง 50% สิ่งนี้จะมีผลกระทบทางการเงินอย่างรุนแรง ไม่เพียงแค่ผลกระทบโดยตรงจากการสูญเสียตำแหน่งงาน (30% ถึง 50%) แต่ทั้งหมดนี้ยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจรอบด้านตั้งแต่บริษัทกฎหมายไปจนถึงบริษัทบัญชี บริษัทการโรงแรม และร้านอาหาร

PWC ได้ทำการวิจัยว่าประมาณหนึ่งในสี่ของกระแสรายได้ของธนาคารจะได้รับผลกระทบ

 งานใหม่บางตำแหน่งจะถูกสร้างขึ้นในอุตสาหกรรม Fintech แต่จะมีจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับงานที่จะหายไปและงานเหล่านี้จะแตกต่างไปจากเดิมอย่างมากพร้อมกับความต้องการด้านทักษะที่แตกออกไปจากนายธนาคารแบบดั้งเดิม งานเหล่านี้เป็นงานประเภทโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบความสร้างสรรค์ ที่ไม่ใช่สำหรับผู้ค้าขายหรือเจ้าหน้าที่ควบคุมกฎระเบียบ

แล้วในวันนี้เราต้องทำอะไรบ้าง

เราจำต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศใหม่อย่างรวดเร็ว เราจำต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในเรื่องของกระบวนความคิด ผู้ที่สามารถเปลี่ยนกระบวนความคิดได้ก่อนก็จะเป็นผู้ที่อยู่รอด

คนส่วนใหญ่คิดว่า Fintech คือเรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติวงการธนาคาร แต่เมื่อเร็วๆ นี้นั้น Fintech คือการนำเทคโนเลยีมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแต่ก็อาจจะเป็นการปฏิวัติวงการทางการเงินในบางกรนี เหล่าธนาคารที่ชาญฉลาดจะเห็นสิ่งที่บริการแบบ Fintech กำลังเสนออยู่และนำสิ่งเหล่านี้เพื่อมารับมือกับจุดที่ยากลำบากที่พวกเขากำลังประสบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับลูกค้าใหม่ หรือเรื่องประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือเรื่องการลดต้นทุน บางธนาคารจะอยู่ไม่ได้และมีเพียงผู้ที่ยอมรับเทคโนโลยีเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จในช่วงสองสามปีถัดจากนี้จริงๆ แล้วทวีปเอเชียกำลังเป็นผู้นำในเรื่อง Fintech Revolution

สำหรับบุคคลทั่วไป ตอนนี้พ่อแม่มีความสะดวกใจมากขึ้นที่จะส่งลูกๆ ออกไปสร้างหรือทำงานที่ธุรกิจ Startup มากกว่าที่จะหาตำแหน่งที่มั่นคงในธนาคารแบบดั้งเดิม

โดยส่วนตัวผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดก็คือการที่เราจะฝึกอบรมคนรุ่นต่อไปอย่างไร หลักสูตร Fintech ควรจะถูกนำเสนอในระดับมหาวิทยาลัยเพราะผมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่าในปี 2017 นี้นั้นจะเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อีกต่อไปถ้าเราปล่อยให้นักศึกษาจบการศึกษาในภาควิชาด้านการเงินโดยที่ไม่มีหลักสูตรเกี่ยวกับ Fintech เราจำเป็นต้องลงไปไกลกว่านั้น ใช่ครับ เรายังจำเป็นต้องสอนหลักสูตรหลักๆ เช่นเศรษฐศาสตร์ การเงินหรือบัญชีของบริษัท แต่เราก็ต้องปลูกฝังหลักสูตรการสอน Fintechในทุกหลักสูตรด้านการเงินใน Business School (MBA) หลักสูตรที่เกี่ยวกับการออกแบบ การเขียนโค้ด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะนายธนาคารแห่งอนาคตและเหล่าผู้ที่จะกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมจะไม่ใช่นายธนาคารแบบดั้งเดิมแต่จะเป็นนักออกแบบ นักเขียนโปรแกรม และนักคิดสร้างสรรค์แทน

เขียนโดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
Expertise:
  Blockchain & FinTech
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Top 10 Fintech Startup ที่มีมูลค่าการระดมทุนมากที่สุดในประเทศไทย