ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่

ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่

ชื่อ FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวก เพียงแค่มีบัตร, บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง

อ้าวงั้น FinTech ก็มีมาตั้งนานแล้ว งั้นทำไมช่วงนี้ฮอตจัง แล้วเกี่ยวอะไรกันกับ Startup? 
ลองดูดีๆ 3 ตัวอย่างข้างต้นที่เราหยิบยกขึ้นมา มันมีมานานแล้ว Credit card คิดค้นตั้งแต่ปี 1950, ATM ตั้งแต่ปี 1967, Online banking ที่แรก เริ่มตั้งแต่ปี 1980 กว่าแต่ละตัวจะเกิดขึ้น ใช้เวลาห่างกันเป็นสิบๆ ปี นานๆ ทีเราจะได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ

นั่นแปลว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน ได้รวดเร็วกว่าให้ลำพังบริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ

ตัวอย่างฟินเทค

ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่

รูปภาพจาก รายงาน Thailand FinTech Startup Landscape 

ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็น Startup บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่างๆ

Lufax.com จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้ ผ่านแอปพลิเคชัน

ตัวอย่างอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป

ทำไมฟินเทคถึงเป็นกระแสที่จับตามอง

เพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างข้างต้น ก็ช่วยให้เห็นได้แล้วว่าบริการของ Startup ช่วยนำเสนออะไรหลายอย่างที่ธนาคารทำให้ไม่ได้ หรือยังทำได้ไม่ดี แถมเรื่องเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน อุตสาหกรรมการเงิน นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญมาก นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจอีก เช่น

ฟินเทค และการเป็น Core ของธุรกิจอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมด้าน E-payment หรือการชำระเงินออนไลน์ นับว่ามีบทบาทสำคัญมากต่อ E-commerce การจะเปลี่ยนใจคนให้มาซื้อของออนไลน์ ต้องเกิดจากระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้ง่าย มีประสิทธิภาพด้วย เป็นต้น

กล่าวได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ - เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน, การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น

ฟินเทค และการนำมาสู่เทคโนโลยีพลิกโฉม

ในขณะนี้ กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้

ฟินเทค กับการสร้างความร่วมมือ

เมื่อทั้งองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดเล็กอย่าง Startup ก็ล้วนมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน เราจึงพบเห็นความตื่นตัวของทั้งสองฝ่าย ผ่านข่าวต่างๆ ที่เรานำเสนอ

ที่มา : techsauce

ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่

ในโลกการเงินปัจจุบัน หนึ่งในคำที่ได้ยินบ่อย คือ ฟินเทค หรือ เทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งถ้าตีความกว้าง ๆ คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว ความปลอดภัย ลดต้นทุนที่เกิดขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการได้ดียิ่งขึ้น BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับนี้ จึงขอสรุปภาพรวมพัฒนาการของฟินเทคในระบบการเงิน ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการผลักดันระบบนิเวศฟินเทคของ ธปท.

          ฟินเทคถูกคาดหวังว่าจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงินในส่วนที่เทคโนโลยีแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ได้ด้วยขีดจำกัดทางความชำนาญด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรม องค์กร แนวคิดการให้บริการแบบเดิม ๆ หรือกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตามในฐานะสถาบันการเงินก็ดี โดยในแต่ละประเทศมีการพัฒนาฟินเทคในมิติที่แตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป

          หนึ่งในพัฒนาการที่เห็นได้ชัด คือ การเกิดขึ้นของบริษัทฟินเทคเกิดใหม่ หรือที่เรียกว่า ฟินเทคสตาร์ทอัป (FinTech Startups) ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน โดยมีจุดเด่นคือความชำนาญในด้านเทคโนโลยีและลักษณะการดำเนินธุรกิจ (Business Model) รูปแบบใหม่ ซึ่งสามารถปิดช่องว่างที่เกิดขึ้นสำหรับลูกค้า โดยเน้นการให้บริการเฉพาะด้านและมีความคล่องตัวสูง ส่งผลให้มีบริษัทฟินเทคเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักรมีบริษัทฟินเทคราว 1,600 บริษัท ส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการชำระเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศ (Payments and Remittances) และซอฟต์แวร์ด้านการเงิน (Financial Software) ประเทศสิงคโปร์มีบริษัทฟินเทคราว 500 บริษัทที่ส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) การให้กู้เงินแบบทางเลือก (Alternative Lending) และการชำระเงิน ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียมีบริษัทฟินเทคราว 260 บริษัท เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) และการให้กู้เงินแบบทางเลือก

ความก้าวหน้าของฟินเทคในประเทศไทย

          สำหรับประเทศไทยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ฟินเทคเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก โดยมีผู้เล่นจากทั้งในและนอกประเทศ โดยมีฟินเทคสตาร์ทอัปที่เป็นสมาชิกของสมาคมฟินเทคประเทศไทยจำนวนเกือบ 70 บริษัท นอกจากนี้ สถาบันการเงินในไทยก็มีความตื่นตัวในการนำฟินเทคมาปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและรูปแบบธุรกิจของตัวเอง เร่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาความสามารถ เพื่อให้แข่งขันในยุคดิจิทัลได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงและขยายกลุ่มลูกค้า เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด รวมทั้งทำให้ประชาชนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินสามารถเข้าถึงได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่
         

          ฟินเทคกำลังก้าวเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันจนแทบจะขาดไม่ได้ หนึ่งในพัฒนาการด้านฟินเทคที่เด่นชัดที่สุดของไทยคือ การพัฒนามาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน ที่ช่วยเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) ให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถรับชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการขยายช่องทางการรับชำระเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ทำให้ร้านค้ามีต้นทุนต่ำลง

          ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนยังสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือได้ (Mobile Banking) โดยไม่ต้องจำชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้ยุ่งยาก โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล หรือ Biometrics ที่เพียงแค่สแกนลายนิ้วมือหรือใบหน้า ผู้ใช้บริการก็สามารถยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งาน Mobile Banking ได้ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังเริ่มใช้ Biometrics ในการเปิดบัญชีเงินฝาก เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องแม่นยำของการยืนยันตัวลูกค้า เป็นส่วนเสริมนอกเหนือจากการตรวจสอบโดยพนักงาน ด้วยเทคโนโลยีการใช้ข้อมูล Biometrics ที่กำลังจะมีบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต การพัฒนาระบบ National Digital Identity (NDID) โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลการพิสูจน์ยืนยันตัวตนลูกค้าระหว่างหน่วยงาน ด้วยวิธีที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง จะช่วยให้ผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องยื่นเอกสารหลักฐานหลายครั้งเช่น การเปิดบัญชีและการขอสินเชื่อกับผู้ให้บริการรายใหม่ได้สะดวกมากขึ้น โดยใช้หลักการตรวจสอบยืนยันข้อมูลกับหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือผู้ให้บริการที่เคยรู้จักตัวตนของผู้ขอใช้บริการแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดการให้บริการใหม่อื่น ๆ ได้ด้วย เช่น Digital Lending หรือ Bio-Payment (อาทิ การชำระเงินด้วยใบหน้าและลายนิ้วมือ)

          นอกจากเทคโนโลยี "หน้าบ้าน" หรือเทคโนโลยีที่ผู้ใช้บริการได้ใช้งานโดยตรงที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ยังมีเทคโนโลยี "หลังบ้าน" ที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานของผู้ให้บริการ ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนที่ถูกลง ตัวอย่างเช่น

Distributed Ledger Technology (DLT)

ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่

          เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเงินมากที่สุด ด้วยคุณลักษณะเด่นของบล็อกเชนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลชุดเดียวกัน โดยข้อมูลไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ที่เดียว มี ระบบ Consensus ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องรับทราบและยอมรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล ทำให้ข้อมูลในระบบมีความโปร่งใส มีความน่าเชื่อถือสูง สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา และมั่นคงปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ โดยในภาคการเงินไทย ได้เริ่มมีการนำบล็อกเชนมาใช้ในการให้บริการหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) ที่ช่วยให้สถาบันการเงินมีกระบวนการผลิต จัดเก็บ และนำส่งหนังสือค้ำประกันที่รวดเร็ว ปลอดภัย และน่าเชื่อถือได้ดีกว่าในรูปแบบกระดาษ ซึ่งนั่นหมายถึงประโยชน์ต่อภาคธุรกิจที่จะสามารถมั่นใจได้ว่าหนังสือค้ำประกันมีความถูกต้อง แม่นยำและลดต้นทุนในการจัดเก็บและนำส่งหนังสือค้ำประกันไปให้กับคู่ค้าอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการนำเอาบล็อกเชนเข้ามาใช้เพื่อการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนที่ต่ำลง และรวดเร็วมากขึ้นด้วย

Artificial Intelligence (AI)

          หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะมีความสำคัญไม่แพ้กัน AI คือการสร้างความฉลาด ความเข้าใจ ความรู้ ที่มีในมนุษย์ให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต โดย AI นั้นสามารถประยุกต์ใช้ในการให้ บริการทางการเงินได้หลากหลาย อาทิ การรู้จำตัวอักษร (Optical Character Recognition: OCR) เช่น การอ่านข้อมูลบัตรประชาชน ด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลผิด การรู้จำคำพูด (Speech Recognition) เช่น การพูดคำสั่งเมื่อโทรเข้า Call Center ที่เป็นระบบอัตโนมัติที่เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ และการเรียนรู้ของเครื่อง หรือ Machine Learning ที่สามารถเรียนรู้ และทำนายข้อมูลได้ผ่านการศึกษาและสร้างอัลกอริทึม (Algorithm)

          ในภาคการเงินได้เริ่มมีการนำ AI เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ โปรแกรมตอบกลับการสนทนาผ่านตัวอักษรแบบอัตโนมัติ (Chatbot) ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการและลดการใช้แรงงานมนุษย์ลง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินคุณภาพของลูกค้าผู้ขอกู้เงินด้วย AI ที่ใช้ Machine Learning ในการเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต ลักษณะการใช้จ่ายและการชำระเงิน เพื่อวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ ความสามารถในการชำระหนี้ วงเงินปล่อยกู้ที่เหมาะสม มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา

ประเภทของ FinTech กลุ่ม การชำระเงิน/โอนเงิน ได้แก่

Application Programming Interface (API)

          เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การเชื่อมต่อฐานข้อมูลแอปพลิเคชัน (Application) หรือระบบงานต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการทั้งสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงินได้สะดวกยิ่งขึ้นตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการบนพื้นฐานของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการจัดการความปลอดภัยที่เหมาะสม

          อย่างไรก็ตาม การจะดึงศักยภาพของฟินเทคให้ผู้ใช้บริการทางการเงินได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ การร่วมกันสร้างระบบนิเวศให้สมบูรณ์ ครบวงจร และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วน ดังนั้น ลักษณะการทำธุรกิจและการแข่งขันของผู้ให้บริการจะต้องเปลี่ยนแปลงไป และมีความร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด

ผลักดันนวัตกรรมทางการเงิน สร้างระบบนิเวศ ที่สมบูรณ์

          ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ดำเนินการเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินพร้อมกับระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในหลายด้าน ได้แก่ การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางการเงินผ่านกลไกการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) ที่เอื้อให้ผู้ให้บริการทางการเงินทั้งสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสามารถพัฒนาบริการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และทดลองให้บริการได้ โดยเริ่มจากการทดสอบการให้บริการในขอบเขตจำกัด ก่อนจะให้บริการในวงกว้าง เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและได้รับประโยชน์จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างเต็มที่ รวดเร็ว และปลอดภัย โดยที่ ธปท. ยังสามารถติดตาม ประเมินความเสี่ยงได้อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม

          นอกจากนี้ ธปท. ยังได้เริ่มประยุกต์ใช้บล็อกเชนในงานของ ธปท. เอง เพื่อให้ ธปท. และผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้บล็อกเชนในเชิงลึกและประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้จริงต่อไป โดยได้ดำเนินโครงการนำร่อง 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอินทนนท์ที่ทดสอบใช้บล็อกเชนในการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และ (2) โครงการ DLT Scripless Bond ที่นำบล็อกเชนมาทดสอบใช้ในงานจำหน่ายพันธบัตรเพื่อช่วยลดความซับซ้อน ลดขั้นตอน และเวลาในการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง

          ธปท. ยังมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา ต่อยอดบริการในอนาคต อาทิ การจัดตั้ง Thailand Blockchain Community Initiative ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคการเงินและภาคธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและส่งเสริมการนำบล็อกเชนมาพัฒนาบริการทางการเงินที่หลากหลาย รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ และสมาคม ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ ในการติดตามพัฒนาการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และแนวทางการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาฟินเทคในประเทศไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน ทันการณ์ สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน และสามารถช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการเงินไทยให้เท่าเทียมกับนานาประเทศได้

ประเภท Fintech กลุ่มการชำระเงินและโอนเงิน คืออะไร

ตัวอย่าง FinTech ที่ให้บริการรับช าระเงินค่าสินค้าและโอนเงินผ่านออนไลน์ ได้แก่ Paypal, Alipay, Line Pay, Paysbuyและการให้บริการของ 3 ค่ายมือถือ AIS Mpay, Jaew Wallet และ Wallet by TrueMoney ที่มีบริการรับช าระเงินค่าสินค้า/ บริการทางออนไลน์จากกระเป๋าเงินเล็กทรอนิกส์(e-Wallet) ที่ลูกค้าสามารถเติมเงินไว้สาหรับการชาระเงิน ...

ประเภทของธุรกรรมการเงินดิจิทัล (Fintech) มีกี่ประเภท

เทคโนโลยีทางการเงิน แบ่งออกได้กว้าง ๆ เป็น 7 ประเภท คือ Banking Technology การนำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบธนาคาร Crowdfunding Platforms แพลตฟอร์มออนไลน์ ตัวกลางในการระดมทุน Cryptocurrency เงินสกุลดิจิทัล

ประเภทของฟินเทคมีอะไรบ้าง

เราอาจจ าแนก Fintech ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Traditional Fintech และ Emergent Fintech1 โดยที่ Traditional Fintech เป็นธุรกิจเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่อ านวยความสะดวกและสนับสนุนด้านเทคโนโลยีแก่ภาค การเงินโดยทั่วไป เช่น บริษัทผู้พัฒนาบริการ internet banking หรือ mobile banking ให้แก่สถาบันการเงิน เป็นต้น ส่วน Emergent Fintech ...

Payment Technology คือรูปแบบการให้บริการข้อใด

Payment Technology หรือเทคโนโลยีด้านการจับจ่าย นอกเหนือจากการจ่ายเงินสดแล้ว ปัจจุบันการจ่ายเงินด้วยวิธีอื่น ๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพร้อมเพย์ บัตรเครดิต Internet Banking หรือ Alipay.