เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สินค้าเพื่อส่งเสริมการขายและการโฆษณา ต้องหักภาษีด้วยหรือไม่ ปัญหาภาษี ส่งเสริมการขาย ค่าส่งเสริมการขาย 40 8 อยู่หมวดไหน บุคคลธรรมดา รายได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มฃ เป็นเงินได้ประเภทใด คือ ส่วนลด ภาษี บุคคลธรรมดา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กรมสรรพากรกำหนด หากมีข้อผิดพลาด เช่น ยื่นแบบล่าช้า หลีกเลี่ยงการยื่นแบบ หรือยื่นแบบภายในกำหนดแล้วแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนก็จะต้องเสียเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม


พิจารณาค่าปรับอาญา เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ดังนี้

1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป)

  • กรณียื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท

  • กรณียื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท


2. เงินเพิ่ม

  • อัตรา 1.5% ต่อเดือน x ภาษีที่ต้องจ่ายชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

  • กรณีที่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม จ่ายชำระเฉพาะค่าปรับอาญาเท่านั้น


3. เบี้ยปรับ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ: การนับวันพ้นกำหนดเวลาชำระ ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระ (วันสุดท้ายของการยื่นแบบ) ถึงวันที่ยื่นแบบ

                 ข้อ 18  คำสั่งกรมสรรพากรที่ถูกยกเลิกโดยคำสั่งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับการจัดเก็บภาษีการค้าที่ต้องชำระอยู่ก่อนหรือในและหลังวันที่ คำสั่งฉบับนี้ใช้บังคับ

ภาษีขาย (บาท)1,000ภาษีซื้อ1,750ภาษีที่ต้องชำระ0ภาษีที่ชำระไว้เกิน(750)เงินเพิ่ม มาตรา 89/1ไม่มีเบี้ยปรับ มาตรา 89(2)ไม่มี

2. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม 1. ไปแล้ว ต่อมาได้มีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด

2.1   แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ

  แบบ ภ.พ. 30ความถูกต้องผลต่าง ภาษีขาย (บาท)1,0001,600600<— ขายขาดภาษีซื้อ 750400(350)<— ซื้อเกินภาษีที่ต้องชำระ2501,200950<— คลาดเคลื่อนภาษีชำระไว้เกินยกมา(70)(70)0 ภาษีต้องชำระสุทธิ1801,130950 เงินเพิ่มมาตรา 89/1 950 X 1.5% ต่อเดือนเบี้ยปรับมาตรา 89(2) 950 X 2 เท่า มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด 600 X 1 เท่า มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน 350 X 1 เท่า

ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(3) หรือ มาตรา 89(4) คือ จำนวน 70 บาท

                ข้อ 18  คำสั่งกรมสรรพากรที่ถูกยกเลิกโดยคำสั่งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้า ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับการจัดเก็บภาษีการค้าที่ต้องชำระอยู่ก่อนหรือในและหลังวันที่ คำสั่งฉบับนี้ใช้บังคับ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)
1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
    – คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม           
     เงินเพิ่ม คือ
ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนด
เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลา ให้ลดเหลือ 0.75% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
เริ่มนับเมื่อพ้นเวลายื่นแบบฯ ถึงวันชำระ
เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษี
หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับ
    3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คือเคยยื่นแบบเดือนนั้นแล้ว  คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20%
    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%
    3.2 กรณีไม่ได้ยื่นแบบของเดือนนั้นมาก่อน
    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า
    – กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญา


        เบี้ยปรับ จากกรณีต่าง ๆ ดังนี้
ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน เบี้ยปรับ 2 เท่า หรือเงิน 1 พันบาทต่อเดือน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
มิได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เบี้ยปรับ 2 เท่า
ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่จะต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ภาษีขายหรือภาษีซื้อคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
กรณีผู้เสียภาษีได้ยื่นแบบฯ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนเป็นหนังสือ ตามกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียดังนี้
มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เบี้ยปรับ 2 เท่า
ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก เบี้ยปรับ 2 เท่า
นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ เบี้ยปรับ 2 เท่า
มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย เบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
มิได้เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี เบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เบี้ยปรับ 2 เท่า
ยื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา


1. ค่าปรับอาญา
    – กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
    – เกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
2. เงินเพิ่ม
    – อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 และ ภ.ง.ด. 50 เกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา
    – กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
    – เกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

2. เงินเพิ่ม
    – อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น

ยื่นแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90,ภงด.91,94)
กรณียื่นเกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน