สําเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 20 ภาษาอังกฤษ

เราให้บริการ รับแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบ ภ.พ.20 / 09 / 01 รับแปลใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และแปลเอกสารด้านบัญชีทั้งหลาย เช่น แปลใบเสร็จรับเงิน แปลใบแจ้งหนี้ แปลใบเสนอราคา แปลใบสั่งซื้อ ใบหัก ณ ที่จ่าย ฯ แปลเอกสารยื่นวีซ่าทุกประเภท พร้อมรับรองคำแปลจากทางบริษัท และรับรองกงสุล เรามีประสบการณ์ในการแปลเอกสารมากว่า 15 ปี งานแปลทุกใบล้วนผ่านการแปลด้วยความตั้งใจ เน้นความถูกต้อง การจัดรูปแบบคำแปลตามต้นฉบับ และการจัดส่งงานแปลที่ตรงตามกำหนดนัด

วุ้นแปลภาษา.com

ติดต่อใช้บริการแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ทาง

Email: [email protected]

Line Id: woonpasa

ราคาค่าบริการแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • แปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษาอังกฤษ300 บาท

  • แปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จากภาษาไทยเป็นภาษาอื่นๆเริ่มต้น 500-800 บาท

    แปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษาญี่ปุ่น จีน เกาหลี อิตาลี กัมพูชา เวียดนาม ลาว

  • ราคาค่าจัดส่ง ems50 บาท

    กรณีให้จัดส่งไปต่างประเทศ ราคาตามไปรษณีย์ไทย

  • ค่าบริการยื่นรับรองเอกสาร กงสุล800 บาท/ท่าน

    ราคาค่ารับรองนี้ ไม่รวม ค่าแปลเอกสาร และค่าธรรมเนียมของกงสุล ฉบับละ 400 บาท

Q จะทราบค่าแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร?

A: ลูกค้าถ่ายรูป แสกน หรือส่งไฟล์ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงเอกสารอื่นๆทั้งหมดที่ต้องการแปล พร้อมแจ้งคู่ภาษาที่ต้องการแปล (เช่น แปล ภ.พ.20 จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ/แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น แปลเป็นภาษาจีน ฯ) กรณีที่ต้องการให้รับรองเอกสารกงสุลด้วย โปรดระบุมาด้วย แล้วส่งมาทาง email: [email protected] หรือทางไลน์ ID: woonpasa เมื่อได้รับไฟล์งานจากลูกค้าแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะแจ้งราคาค่าแปลและระยะเวลาที่ใช้แปลเอกสาร ให้ทราบภายใน 30 นาที (อาจจะนานกว่านี้ กรณีเอกสารมีจำนวนหลายหน้า)

หมายเหตุ 

ทางเจ้าหน้าที่จะไม่แจ้งราคาค่าแปลใดๆ ถ้าลูกค้าไม่ได้ถ่ายรูปหรือส่งไฟล์งานเอกสารทั้งหมดที่ต้องการแปลมาประเมินราคา

รับแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ รวม 8 ภาษา ได้แก่

สําเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 20 ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ

รับแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและแปลเอกสารบริษัททุกประเภท จากภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทย และจากไทยเป็นภาษาเวียดนาม

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

สําเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 20 ภาษาอังกฤษ

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. ภพ 20 คืออะไร?
  2. ตัวอย่างใบ ภพ 20
  3. ข้อมูลใน ภพ 20 มีอะไรบ้าง
  4. ใบ ภพ 20 เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
  5. สรุป

ภพ 20 คืออะไร?

ใบ ภพ 20 เป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าบริษัทนั้นได้จด Vat หรือเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องมีหน้าที่เพิ่มเติมดังนี้

  1. ยอดขายทุกๆรายการที่เกิดขึ้นจะต้องคิด Vat 7% และนำส่งภาษีขายให้แก่กรมสรรพากร
  2. ภาษีซื้อที่เกิดจากยอดซื้อต่างๆ บริษัทต้องเก็บใบกำกับภาษีเอาไว้ เพื่อเป็นหลักฐานในการเครดิตภาษี (คือการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย)
  3. จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภพ.30 เป็นประจำทุกเดือน

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจเพิ่มเติมนะครับ สมมติว่าบริษัท XYZ จำกัด มียอดขายทั้งเดือนที่ 500 บาท มีภาษีขาย 7% คือ 35 บาท และบริษัทมียอดซื้อทั้งเดือนที่ 400 บาท มีภาษีซื้อที่ 7% ที่ 28 บาท ดังนั้นยอดที่ทางบริษัทต้องนำส่ง ภพ 30 ให้แก่กรมสรรพากรคือ 35 – 28 = 7 บาท นั่นเอง

ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น สมมติว่าบริษัท DEF จำกัด มียอดขายทั้งเดือนที่ 100 บาท มีภาษีขาย 7% คือ 7 บาท และบริษัทมียอดซื้อทั้งเดือนที่ 200 บาท มีภาษีซื้อที่ 7% ที่ 14 บาท ดังนั้นยอดที่ทางบริษัทต้องนำส่ง ภพ 30 ให้แก่กรมสรรพากรคือ 7 – 14 = -7 บาท ยอดที่ติดลบอันนี้หมายความว่าบริษัทไม่ต้องจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแก่สรรพากร แต่สามารถนำยอด 7 บาท ที่ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย มาเครดิตภาษีในเดือนถัดไปได้ (คำว่าเครดิตภาษีนั้นหมายถึงหากเดือนถัดไปคุณมียอดที่ต้องจ่ายภาษี คุณมีสิทธินำยอด 7 บาทนี้มาหักออกก่อนได้)

ก่อนที่ผู้ประกอบการจะได้ ภพ 20 ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาผู้ประกอบการจะต้องไปยื่นแบบ ภพ 01 ที่กรมสรรพากรก่อนเพื่อเป็นการสมัครเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยเขียนบทความเอาไว้แล้วครับ ลองอ่านในบทความนี้ได้ : ภพ 01 คืออะไร