แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนของไทยมีมาตั้งแต่เมื่อใด

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงพัฒนาการสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ในช่วงที่ไทยได้รับอารยธรรมความเชื่อจากจีนและอินเดีย รวมถึงอิทธิพลจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา จนเกิดวัฒนธรรมที่ส่งผลโดยตรงต่อการยอมรับสิทธิมนุษยชนในบริบทของสังคมไทย นอกจากนี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นปัจจัยสำคัญ และเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการพัฒนาด้านสิทธิเสรีภาพขึ้นมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ มาจนถึงปัจจุบันที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ตลอดจนบทความนี้ยังกล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่มีการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์ทางด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมที่เกิดขึ้นในในสังคมไทย  

Downloads

Download data is not yet available.

แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนของไทยมีมาตั้งแต่เมื่อใด

Downloads

  • PDF

เผยแพร่แล้ว

2021-01-28

How to Cite

More Citation Formats

  • ACM
  • ACS
  • APA
  • ABNT
  • Chicago
  • Harvard
  • IEEE
  • MLA
  • Turabian
  • Vancouver

Download Citation

  • Endnote/Zotero/Mendeley (RIS)
  • BibTeX

ฉบับ

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2561): วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561)

          แน่นอน แนวคิดศาสนาคริสต์ มีส่วนสำคัญในการนิยามสิทธิมนุษยชนมาแต่โบราณ โดยเฉพาะหลักการสำคัญทั้งมวล แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันบางเรื่องก็ตาม หลักการสำคัญมาจากพระคัมภีร์ที่พระเยซูเจ้าทรงตรัสว่า “ความจริงจะทำให้ท่านเป็นอิสระ” (ยน. 8: 31-42) และความจริงนั้นก็คือ มนุษย์เป็นบุตรของพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงสร้างมาตามภาพลักษณ์ของพระองค์ มนุษย์จึงมี “ศักดิ์ศรี” ที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ และเพราะศักดิ์ศรีที่ศักดิ์สิทธิ์สูงส่งนี้ ทำให้มนุษย์มีเจตจำนงเสรี มีความคิดอ่าน ตัดสินใจเองได้ มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในหน้าที่และสิ่งที่ตัวเองกระทำ แต่สิทธิตามศักดิ์ศรีนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ซึ่งเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้าเช่นกัน) เป็นลำดับแรก มนุษย์ไม่สามารถนิ่งเฉยทำเป็นทองไม่รู้ร้อนหากมีการละเมิดศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ ความรับผิดชอบสูงสุดของมนุษย์ คือการร่วมสร้างและร่วมไถ่กู้มนุษย์และโลกตามที่ได้รับมอบหมายจากพระเยซูเจ้า ด้วยคุณค่าแห่งพระอาณาจักร (Kingdom Values) เป็นการร่วมทำให้พระอาณาจักรของพระเจ้า (Kingdom of God) เป็นจริงเป็นจังมากยิ่งขึ้น สิทธิมนุษยชนตามคำสอนของคาทอลิกจึงประกอบไปด้วยหลักเสรีภาพ ความยุติธรรม ความดีส่วนรวม
สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้น เพราะสิทธิมนุษยชนคือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights)

ในปี 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง องค์การสหประชาชาติได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด เช่น สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา

 

ไม่มีใครสามารถพรากสิทธิและเสรีภาพนี้ไปจากเราได้ เพราะสิทธิและเสรีภาพนี้เป็นของพวกเราทุกคน

 

นับตั้งแต่มีการกำหนดปฏิญญานี้ขึ้นเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถูกใช้เป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทุกฉบับ

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

 

 

 

สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาคมโลก ดังนี้

 

มีความเป็นสากล: สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน

 

พรากไปไม่ได้: สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้

 

ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน: รัฐบาลไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน

 

ทำไมคุณต้องสนใจสิทธิมนุษยชน?

สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมาย แต่สิทธิมนุษยชนคือการตัดสินใจ และสิ่งที่เราประสบพบเจอในแต่ละวัน

 

ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบใจในสิ่งที่รัฐบาลทำ ส่วนใหญ่แล้วพวกเราคงไม่รีรอที่จะเอาไปพูดกับเพื่อนไม่ว่าจะในอินเตอร์เน็ต หรือในร้านเหล้า การกระทำนี้อาจดูไม่มีความหมาย แต่มันคือสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

 

โดยส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่ให้ความสำคัญมื่อมีการเคารพสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เด็กๆ หลายคนไม่ยอมตื่นนอนไปโรงเรียนทั้งๆ ที่พวกเขาได้รับสิทธิในการศึกษา แต่เด็กๆ ที่ต้องอพยพออกจากประเทศตัวเอง และถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการศึกษาคงมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนทุกวัน


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว จำนวน 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ ทําให้ประเทศไทยมีพันธะผูกพันในการปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมไปถึงข้อตกลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประชุมระดับโลก โดยองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่หลักในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้ระบุถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้หลายมาตราด้วยกัน เช่น ในมาตรา 4 นั้นระบุว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" และ ในหมวดที่ 3 ซึ่งเป็นหมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตราที่ 25 ถึง 49 ยังได้บรรยายขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการแสดงออก การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น


นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดทำ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งจัดทำฉบับแรกในปี 2551 ในขณะที่ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 3 พ.ศ.2557-2561 โดยรัฐบาลได้จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนนําไปใช้ในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนในประเทศต่อไป

 

การต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พวกเรามักละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการเรื่องความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ หลายครั้งเราจะลุกขึ้นมาต่อสู้และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนก็ต่อเมื่อสิทธิของเราถูกละเมิด

 

ในความเป็นจริง สิทธิมนุษยชนนั้นถูกละเมิดตลอดเวลา ยังมีคนนับพันทั่วโลกที่ไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และถูกจำคุกเพียงเพราะความคิดหรือความเชื่อบางอย่างของพวกเขา อีกทั้ง พลเมืองยังตกเป็นเป้าโจมตีในสงคราม เด็กๆถูกบังคับให้ออกไปรบ การข่มขืนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายคน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ควรละเลยความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และทำไมสิทธิมนุษยชนจึงควรถูกคุ้มครองตามกฎหมาย เพื่อที่เราจะได้เอาผิดและดำรงความยุติธรรมเมื่อรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน