นายจ้างต้องจ่ายประกันสังคมไหม

นายจ้างต้องจ่ายประกันสังคมไหม
 

นาย ก. เป็นลูกจ้างของสถานประกอบการ นายจ้างได้ขึ้นทะเบียนให้นาย ก. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และนายจ้าง
หักเงินค่าจ้างของนาย ก. นำส่งเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน ต่อมาในเดือนที่ 6 นาย ก. ทำงาน
ได้ 10 วัน ลาออกจากงาน แล้วนาย ก. มีสิทธิที่จะขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือไม่?

Show

จากคำถามตัวอย่างข้างต้นนั้น กฎหมายประกันสังคมกำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

หน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของผู้ประกันตน 

นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15  ปีบริบูรณ์ ถึง 60  ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา
33 และทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่หักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายเป็นเงิน
สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และนายจ้างมีหน้าที่นำเงินที่หักจากค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวและเงินสมทบในส่วนของ
นายจ้างนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน

กรณีที่นายจ้างยังไม่ได้นำส่งเงินสมทบหรือไม่หักเงินค่าจ้างหรือค้างจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม กฎหมายประกัน
สังคมถือว่า ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง และถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือจ่ายไม่ตรง
ตามกำหนดเวลา นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบและถือเสมือนว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างแล้ว

ดังนั้น กรณีที่นาย ก. เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้กับนาย ก. ตลอดระยะเวลา
ที่ทำงานให้กับนายจ้าง ถึงแม้ว่าจะทำงานกี่วันก็ตาม

กรณีลูกจ้างทำงาน 10 วัน จะมีผลต่อการเกิดสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองในกองทุนประกันสังคมหรือไม่?

ตามตัวอย่าง นาย ก. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และนายจ้างหักเงินค่าจ้างของนาย ก. นำส่งเป็นเงินสมทบเข้ากองทุน
ประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน แต่ในเดือนที่ 6 นาย ก. ทำงานเพียง 10 วัน ลาออกจากงาน นาย ก. จะมีสิทธิที่จะขอรับ
ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือไม่?

กฎหมายประกันสังคมกำหนดเงื่อนเวลาการเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานว่า ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเข้า
กองทุนประกันสังคมมาแล้ว 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการเกิดสิทธิ (ก่อนการว่างงาน) กรณีนี้มีตัวอย่างจากคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 1518/2557 วินิจฉัยไว้ ดังนี้

คดีนี้นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างไม่เป็นไปตามรอบเดือนปกติ คือ จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ทุกวันที่ 20 ของเดือน
โดยผู้ประกันตนเริ่มทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายจ้างหักเงินค่าจ้างส่งเข้ากองทุนประกันสังคม
ตลอด แต่ลูกจ้างลาออกจากงานวันที่ 30 มิถุนายน โดยระหว่างวันที่ 21 - 30 มิถุนายน จำนวน 10 วัน ได้ทำงานให้กับ
นายจ้างและนายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง (10 วัน) และหักเงินค่าจ้างตามจำนวนที่จะต้องส่งเป็นเงินสมทบไว้
จำนวน 417 บาท (ค่าจ้าง 10 วัน) และได้นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม

ต่อมา ผู้ประกันตนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน แต่สำนักงานประกันสังคมปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่าผู้ประกันตน
จ่ายเงินสมทบเพียง 5 เดือน ยังไม่ครบเงื่อนไขการเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ปัญหา คือ ผู้ประกันตนได้มี
การจ่ายเงินสมทบงวดที่ 6 แล้วหรือไม่

ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้ว่า กรณีนี้ถือว่านายจ้างหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนรวม 6 โดยให้เหตุผลว่า
(1) การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 20 ของเดือน ต้องถือเอารอบค่าจ้างที่จ่ายในวันที่ 20 ของเดือนใดเป็นฐานใน
การคำนวณเงินสมทบในเดือนนั้น เมื่องวดที่ 5 นายจ้างได้หักเงินสมทบจากเงินค่าจ้างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน
ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม จึงถือว่ากองทุนประกันสังคมได้รับเงินสมทบรายเดือนของเดือนมิถุนายนแล้ว
(2) เงินสมทบที่คำนวณจากค่าจ้างระหว่างวันที่ 21 - 30 มิถุนายน ถือเป็นเงินสมทบสำหรับค่าจ้างเดือนกรกฎาคม ไม่ใช่
เดือนไม่ใช่เดือนมิถุนายน

  บางส่วนจากบทความ  “ลูกจ้างทำงาน 10 วันมีผลอย่างไร? กับสิทธิในกองทุนประกันสังคม”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม 2563
กฎหมายแรงงาน : ประกันสังคม : ปรานี สุขศรี
วารสาร : HR Society Magazine ธันวาคม 2563
นายจ้างต้องจ่ายประกันสังคมไหม

นายจ้างต้องจ่ายประกันสังคมไหม

สมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง


 


ผู้ประกอบการ ต้องไป ขึ้นทะเบียนประกันสังคม หรือไม่? และ ขึ้นเมื่อใด ?



นายจ้าง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล) ที่ มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป


ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน



และ เมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน


เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หน้งสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


 


หากไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะมีความผิดหรือไม่ ?




ตามกฎหมายประกันสังคม นายจ้าง จะถือว่า "มีความผิด"


ความผิดระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ


 

หลังขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง ?



หลังจากขึ้นประกันสังคมแล้ว นายจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน ให้กับ ประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างขึ้นทะเบียน โดย แบ่งเงินสมทบ เป็น 2 ส่วน คือ


ส่วนที่ 1 ส่วนเงินสมทบที่ หักจากเงินเดือนของลูกจ้าง


ส่วนที่ 2 ส่วนเงินสมทบที่ นายจ้างนำเงินมาสมทบ เท่ากับส่วนที่ 1


โดยนายจ้างจะจัดทำแบบ สปส.1-10 นำส่งแบบ พร้อมกับ เงินสมทบ (รวมส่วนที่ 1 +2) ที่ประกันสังคมในพื้นที่ ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


 

นายจ้าง ไม่ส่งเงินสมทบ ให้แก่ลูกจ้าง จะมีความผิดหรือไม่ ?


ถ้านายจ้าง ส่งเงินสมทบไม่ทัน หรือ ส่งไม่ครบ จะต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือ จำนวนเงินที่ขาดอยู่


โดยต้องนำส่งด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น


แต่หากนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง


หากยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง จะ มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 


นายจ้าง สามารถยื่น ขอเป็นผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) (มาตร33) ได้หรือไม่ ?


ในสถานะของนายจ้าง จะไม่สามารถยื่นเรื่องเข้าประกันสังคม ภายใต้กิจการตัวเองได้ (มาตรา33) ยกตัวอย่าง เช่น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงนามแทนห้างหุ้นส่วน จะไม่สามารถเป็นผู้ประกันตนภายใต้ลูกจ้างของกิจการได้


ยกเว้นกรณี หุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจ ลงนามแทนนิติบุคคล กรณีได้รับเงินเดือน จะยังคงถือเป็นลูกจ้าย ขึ้นประกันสังคมภายใต้กิจการได้ ประกันสังคม นายจ้างต้องจ่ายอะไรบ้าง

นายจ้างจะต้องเป็นผู้หักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยต้องมีการคำนวณเงินสมทบค่าจ้าง ฐานของเงินค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยพนักงานจะถูกหักจ้างเงินเดือน 5% ตามด้วยเจ้าของกิจการจ่ายสมทบ 5% และรัฐบาลจ่ายสมทบอีก 2.75%

สถานประกอบการต้องทำประกันสังคมให้กับลูกจ้างทุกคนเมื่อใด

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายจ้างจ่ายประกันสังคมกี่เปอร์เซ็น

ปรับอัตราประกันสังคม 2.5% ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว ปรับอัตราประกันสังคม ลดเงินสมทบให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เหลือ 2.5% ตั้งแต่ กันยายน ถึง พฤศจิกายน 2564 ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว

ประกันสังคมต้องยื่นอะไรบ้าง

โดยจำเป็นจะต้องใช้หลักฐานด้วยกัน ดังนี้ แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) พร้อมกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตัวตนได้ ใบอนุญาตทำงาน สำเนาหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนไม่ใช่ชาวไทย