ลาออกจากงาน เบิกประกันสังคมได้ไหม

ในภาวะเศรษฐกิจโดนพิษจากหลายวิกฤตแบบนี้ ทำให้หลายบริษัทอาจมีการปิดตัวลง ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือเหล่าพนักงานบริษัท ที่จำเป็นจะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่นอกเหนือจากเงินชดเชยจากทางบริษัทแล้ว อย่าลืมใช้สิทธิ์เงินชดเชยจากประกันสังคมในกรณีว่างงานด้วย ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง ตามไปอ่านในบทความนี้เลย

ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคม

ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมกรณีว่างงานหรือตกงานคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นั่นเอง โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 คือเหล่าพนังงานประจำที่มีนายจ้าง ซึ่งจะมีอายุระหว่าง 15 - 60 ปีบริบูรณ์

ปกติแล้วผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้สิทธิประโยชน์หลัก ๆ 7 กรณีด้วยกัน คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และสุดท้ายคือที่สิทธิประโยชน์ที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้คือ กรณีว่างงาน

เงินชดเชยที่จะได้รับจากประกันสังคม

ลาออกจากงาน เบิกประกันสังคมได้ไหม

เงินชดเชยที่จะได้รับจากประกันสังคมกรณีว่างงาน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. กรณีถูกเลิกจ้าง

จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 180 วัน (6 เดือน) ภายใน 1 ปี ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท

ตัวอย่าง นาย A เงินเดือน 15,000 บาท เมื่อถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท

2. กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน

จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 30 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท เช่นเดียวกับกรณีถูกเลิกจ้าง

ตัวอย่าง นาย B เงินเดือน 15,000 บาท เมื่อหมดสัญญาจ้างกลายเป็นผู้ว่างงาน จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท 4,500 บาท

เงื่อนไขของผู้รับสิทธิชดเชยกรณีว่างงาน

ในการรับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 จะต้องอยู่ภายในเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

  1. ผู้ประกันตนจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน
  2. ผู้ประกันตนจำเป็นต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน กับทางสำนักงานจัดหางานของจังหวัด ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญา หรือขึ้นทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th
  3. หลังจากได้รับสิทธิแล้ว ผู้ประกันตนยังต้องเข้าไปรายงานตนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th
  4. ที่สำคัญการว่างงานในครั้งนี้ของผู้ประกันตนต้องไม่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ทุจริตในหน้าที่หรือต่อนายจ้าง ละทิ้งหน้าที่เกิน 7 วันทำงาน ประมาณในการทำงาน จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ต้องโทษจำคุก ฯลฯ หากการว่างงานหรือถูกเลิกจ้างเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิเงินชดเชย
  5. ผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้ที่พร้อมสำหรับการทำงาน และต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  6. สำหรับสิทธิเงินชดเชยที่จะได้รับ ในกรณีถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งต่อปี สามารถยื่นรับสิทธิเงินชดเชยได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 180 วัน และในกรณีลาออกจากงานหรือหมดสัญญาจ้างมากกว่า 1 ครั้งต่อปี สามารถยื่นรับสิทธิเงินชดเชยได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 90 วัน

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นรับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงาน

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  3. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th
หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 1506 (กระทรวงแรงงาน)

การจ่ายเงินชดเชยจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างงาน

ลาออกจากงาน เบิกประกันสังคมได้ไหม

ตั้งแต่เกิดโรคระบาดทำให้เกิดวิกฤตจนหลายบริษัทต่างเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเล็กไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้นในฐานะพนักงานนอกจากการยื่นขอรับสิทธิเงินชดเชยจากประกันสังคมแล้ว จำเป็นจะต้องได้รู้ว่า ตัวเองควรได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างด้วยหรือไม่

โดยผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง จะต้องทำงานมาแล้วอย่างน้อย 120 วันขึ้นไป ซึ่งค่าชดเชยการเลิกจ้างจะมีรายละเอียดดังนี้

  • ลูกจ้างที่ทำงาน 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

โดยค่าชดเชยดังกล่าวยังไม่รวมค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ค่าตกใจ” ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 งวดของค่าจ้างอีกด้วย

สำหรับกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย ก็ต่อเมื่อลูกจ้างสมัครใจลาออกเอง หรือทุจริตในหน้าที่การงาน รวมถึงความผิดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่องานและนายจ้าง

ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดของการรับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือเหล่าพนักงานบริษัทนั่นเอง รวมไปถึงเงินชดเชยจากทางนายจ้างในกรณีถูกเลิกจ้างอีกด้วย ถือเป็นสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่คนทำงานหลายคนจำเป็นต้องทราบ จะได้ใช้สิทธิที่พึงได้รับอย่างถูกต้อง ถูกเวลา และไม่เสียสิทธิประโยชน์

ลาออกจากงาน ประกันสังคมได้อะไรบ้าง

2. กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 30 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท เช่นเดียวกับกรณีถูกเลิกจ้าง

ทํางานกี่เดือน ลาออกได้ประกันสังคม

ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

ลาออกจากงานได้เงินจากประกันสังคมไหม

คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

ลาออกจาก ม.33 ได้อะไรบ้าง

ผู้ประกันมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง จะยังใช้สิทธิประกันสังครบทั้ง 7 กรณีเหมือนเดิม ได้แก่ การได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานได้