บทที่ 4 ผลการศึกษา ตัวอย่าง

บทที่4

ผลการศึกษา

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตักสินใจใช้คอนแทคเลนส์ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 50 คน ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยไปด้วย เพศ อายุ แผนการเรียน ระดับชั้นปีที่กำลังศึกษา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน อาชีพผู้ปกครอง อาชีพผู้ปกครอง และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง

ส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมใช้คอนแทคเลนส์ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม ซึ่งประกอบไปด้วย สาเหตุที่ใช้คอนแทคเลนส์ ความถี่ในการใช้คอนเทคเลนส์ ประเภทของคอนแทคเลนส์ที่ใช้ ค่าใช้จ่ายในการซื้อคอนแทคเลนส์ ระยะเวลาของคอนแทคเลนส์ และความคาดหวังจากการใช้คอนแทคเลนส์

ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้คอนแทคเลนส์ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ส่วนที่ 4 ข้อมูลปัญหาเกี่ยวกับการใช้คอนแทคเลนส์และข้อเสนอแนะต่างๆ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

 

เพศ

ตารางที่ 4.1 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ

เพศ

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

ชาย

10

20

หญิง

40

80

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่าง ผู้ตอบแบบสอบถามเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่าเป็นเพศหญิงร้อยละ 80 และเพศชาย ร้อยละ 20(ตารางที่ 4.1)

อายุ

ตารางที่4.2 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบสอบถามจำแนกตามอายุ

อายุ

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

16ปี

12

24

17ปี

36

72

18ปี

2

4

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.2 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 72 มีอาบุ 17 ปี รองลงมามีอายุ 16 ปี และอายุ 18 ปี คือคิดเป็นร้อยละ 24 และ 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ตามลำดับ

แผนการเรียน

คารางที่4.3 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามตามแผนการเรียน

แผนการเรียน

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

แผนการเรียนศิลป์-สังคม

5

10

แผนการเรียนศิลป์-จีน

5

10

แผนการเรียนศิลป์-ญี่ปุ่น

5

10

แผนการเรียนศิลป์-ฝรั่งเศส

5

10

แผนการเรียนศิลป์-คณิต

10

20

แผนการเรียนวิทย์-คณิต

20

40

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.3 พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 40 คือแผนการเรียนวิทย์-คณิต ซึ่งเป็นแผนการเรียนที่มีสัดส่วนมากที่สุด รองลงมามีการศึกษาในแผนการเรียนศิลป์-คณิต ร้อยละ 20 แผนการเรียนศิลป์-สังคม  แผนการเรียนศิลป์-จีน แผนการเรียนศิลป์-ญี่ปุ่นและ   แผนการเรียนศิลป์-ฝรั่งเศส ร้อยละ10 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

อาชีพของผู้ปกครอง

ตารางที่ 4.5 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามอาชีพของผู้ปกครอง

แผนการเรียน

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

รับราชการ

10

20

ประกอบธุรกิจส่วนตัว

20

40

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

5

10

เกษตรกร

5

10

พนักงานบริษัทเอกชน

8

16

อื่นๆ

2

4

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่4.5 พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 40 มีผู้ปกครองประกอบธุรกิจส่วนตัว รองลงมา คือ รับราชการ และพนักงานบริษัทเอกชน คือคิดเป็นร้อยละ 20 และร้อยละ 16 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มผู้ใช้คอนแทคเลนส์ส่วนมากจะเป็นกลุ่มนักเรียนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ซึ่งมีรายได้อยู่ในสัดส่วนที่สูง สอดคล้องกันกับข้อมูลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างเมื่อจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว

ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง

ตารางที่4.6 แสดงความจำนวนและร้อยละของผู้ตอบสอบถามจำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครอง

ระดับการศึกษา

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

ประถมศึกษา

5

10

มัธยมศึกษา

10

20

ปริญญาตรี

25

50

ปริญญาโท

3

6

ปริญญาเอก

2

4

อื่นๆ

5

10

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.6 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 ระดับการศึกษาในระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี รองลงมาคือมัธยมศึกษา  คือ คิดเป็นร้อยละ20 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ ระบบการศึกษาของผู้ปกครองแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาที่สูง จะมีความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติ และประโยชน์ของตอนแทคเลนส์ตลอดจนยินยอมให้บึตรหลานสวมใส่คอนแทตเลนส์ได้ มากกว่าผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำรองลงมา

ส่วนที่2 ข้อมูลพฤติกรรมการใช้คอนแทคเลนส์ของนักเรียนโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

 

สาเหตุที่ใช้คอนแทคเลนส์

ตารางที่ 4.7 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบสอบถามจำแนกตามสาเหตุที่ใช้คอนแทคเลนส์

สาเหตุที่ใช้คอนแทคเลนส์

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

ตามเพื่อนหรือตามแฟชั่น

15

30

สายตาสั้น

25

50

สายตายาว

3

6

สายตาเอียง

7

14

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตัวอย่างที่ 4.7 พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 50 มีสาเหตุที่ใช้คอนแทคเลนส์คือสายตาสั้น รองลงมาคือ ใช้ตามเพื่อนหรือตามแฟชั่น และสายตาเอียง คือ คิดเป็นร้อยละ 30 และร้อยละ14 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในช่วงของการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาและอ่านหนังสือเรียนอยู่เป็นประจำ  ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสายตาสั้นได้ในนักเรียนส่วนใหญ่และนักเรียนบางส่วนที่เคยสวมใส่แว่นตาอาจจะเปลี่ยนเป็นการสวมใส่คอนแทคเลนส์แทน ทั้งนี้เนื่องมาจากการตามเพื่อนหรือตามแฟชั่น

ความถี่ในการใช้คอนแทคเลนส์

ตารางที่ 4.8 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามความถี่ในการใช้คอนแทคเลนส์

ความถี่ในการใช้คอนแทคเลนส์

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

ทุกวัน

20

40

วันเว้นวัน

10

20

สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

18

36

อื่นๆ

2

4

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตัวอย่างดังตารางที่ 4.5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ40 ใส่คอนแทคเลนส์ทุกวัน รองลงมาใส่คอนแทคเลนส์สัปดาห์ละ 2-3ครั้ง และใส่คอนแทคเลนส์แบบวันเว้นวัน คือ คิดเป็นร้อยละ 36 และร้อยละ 20 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ โดยความถี่ในการใช้คอนแทคเลนส์นั้นสะท้อนให้เห็นว่าคอนแทคเลนส์ด้านความสะดวกสบาย และความคล่องตัวในการใช้ชีวิตประจำวันที่มากกว่าประโยชน์ที่เกิดจากการสวมแว่นตา

ประเภทของคอนแทคเลนส์

ตารางที่ 4.9 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามประเภทของคอนแทคเลนส์ที่ใช้

ประเภทคอนแทคเลนส์

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

คอนแทคเลนส์สายตา

35

70

คอนแทคเลนส์แฟชั่น

15

30

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.9 พบว่ามีผู้ตอบสอบถามที่ใช้คอนแทคเลนส์สายตา คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ในขณะที่มีผู้ใช้คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพียงร้อยละ30 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเท่านั้น โดยสาเหตุที่มีผู้ตอบสอบถามสวมใส่คอนแทคเลนส์สายตามากกว่านั้นก็เนื่องมาจาก นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาทางสายตา อาทิเช่น ปัญหาทางด้านสายตา อาทิเช่น ปัญหาสายตาสั้น เป็นต้น โดยข้อมูลที่ได้ถือว่ามีความสอดคล้องกันกับสาเหตุในการเลือดใช้คอนแทคเลนส์

ค่าใช้จ่ายในการซื้อคอนแทคเลนส์ในแต่ละครั้ง

ตารางที่ 4.10 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามค่าใช้จ่ายในการซื้อคอนแทคเลนส์แต่ละครั้ง

ค่าใช้จ่ายในการซื้อคอนแทคเลนส์(บาท/ครั้ง)

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

100-200บาท

2

4

201-300บาท

12

24

301-400บาท

18

36

มากกว่า 400 บาทขึ้นไป

8

16

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.10 พบว่าผู้ตอบแบบสอบที่ใช้คอนแทคเลนส์สายตา คิดเป็นร้อยละ36  มีค่าใช้จ่ายที่ประมาณ 301-400 บาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงมา มีค่าใช้จ่ายประมาณ 201-300บาท และมากกว่า 400 บาทขึ้นไป คือติดเป็นร้อยละ24 และร้อยละ16 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ เนื่องจากตอนแทคเลนส์นั้นเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ จึงมีระดับราคาโดยทั่วไปที่สูงพอสมควรในการซื้อ และผู้บิโภคจะซื้อตามแต่ความต้องการในการสวมใส่แต่ละครั้ง เพราะคอนแทคเลนส์แต่ละชนิด

ระยะเวลาของคอนแทคเลนส์ที่ใช้

ตารางที่ 4.11 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามเมื่อจำแนกตามระยะเวลาของคอนแทคเลนส์ที่ใช้

อายุของคอนแทคเลนส์ที่ใช้

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

คอนแทคเลนส์แบบรายวัน

5

10

คอนแทคเลนส์แบบรายสองอาทิตย์

7

14

คอนแทคเลนส์แบบรายหนึ่งเดือน

30

60

คอนแทคเลนส์แบบรายปี

8

16

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.11 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 60 ใช้คอนแทคเลนส์แบบรายหนึ่งเดือน ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงมา ใช้คอนแทคเลนส์รายปี และใช้คอนแทคเลนส์รายสองอาทิตย์ คือ คิดเป็นร้อยละ 16และร้อยละ 14 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ จะเห็นได้ว่าข้อมูลมีความสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในการซื้อคอนแทคเลนส์ในแต่ละครั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออยู่ในช่วง 301-400บาทต่อครั้ง ซึ่งเป็นราคาของคอนแทคเลนส์แบบรายหนึ่งเดือนที่กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้มากที่สุด

ความคาดหวังจากการใช้คอนแทคเลนส์

ตารางที่ 4.12 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละเมื่อจำแนกตามความคาดหวังจากการใช้คอนแทคเลนส์

ความคาดหวังจากการใช้คอนแทคเลนส์

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

มีดวงตาที่งดงาม

8

16

ทำให้ตนเองทันสมัย

14

28

มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น

28

56

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.12 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 56 มีความคาดหวังในการใช้เพื่อทำให้ตนเองดูทันสมัย และทำให้ตนเองดูทันสมัย และทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดตามลำดับ โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้ใช้ส่วนใหญ่เคยเป็นผู้ที่ใช้แว่นตามาก่อน แต่แว่นตาไม่มีความสะดวกสบายเท่ากับการวสวมใส่คอนแทคเลนส์ ทำให้คอนแทคเลนส์ นอกจากจะใช้เพื่อปรับปรุงปัญหาทางด้านสายตาแล้ว ยังมีการใส่คอนแทคเลนส์แบบแฟชั่นเพื่อความทันสมัย

ส่วนที่3 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคามต้องการใช้คอนแทคเลนส์

ตารางที่ 4.13 แสดงค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามต่อปัจจับที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้คอนแทคเลนส์

 

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคามต้องการใช้คอนแทคเลนส์

ระดับความสำคัญ

ค่าเฉลี่ย

แปลผล

มากที่สุด

มากปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ความมีชื่อเสียง

ความน่าเชื่อถือของยี่ห้อ

9(16)

35(70)

6(12)

4.06

มาก

คุณภาพของผลิตภัณฑ์

30(60)

18(36)

2(4)

4.50

มากที่สุด

คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์

10(20)

22(44)

18(36)

3.51

มาก

การออกแบบของผลิตภัณฑ์

6(12)

24(48)

15(30)

2(4)

3(6)

3.57

มาก

ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์

20(40)

25(50)

5(10)

4.31

มาก

รวม

3.99

มาก

ที่มา:จากการสำรวจ

จากการเก็บตัวอย่างดังตารางที่ 4.13 พบว่าผู้ตอบแบบสอบได้คำนึงถึงระดับความสำคัญโดยรวมที่มีต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้คอนแทคเลนส์ มีค่าเฉลี่ย 3.91 ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับสำคัญมาก โดยได้ให้ระดับความสำคัญมากที่สุดในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของความมีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของยี่ห้อ คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ การออกแบบของผลิตภัณฑ์ และราคาเหมาะสมกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผู้ตอบสอบถามได้ให้ความสำคัญต่อปัจจัยดังกล่าวในระดับมาก

ส่วนที่4 วิเคราะห์ข้อมูลปัญหา เกี่ยวกับการใช้คอนแทคเลนส์และข้อเสนอแนะต่างๆ ต่อการเลือกใช้หรือเลือกซื้อคอนแทคเลนส์

ตารางที่ 4.14 แสดงจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้คอนแทคเลนส์

ปัญหาจากการใช้คอนแทคเลนส์

จำนวน(ราย)

ร้อยละ

ไม่เคยประสบปัญหา

46

92

เคยประสบปัญหา

4

8

รวม

50

100

ที่มา:จากการสำรวจ

จากกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้ที่ตอบสอบถามส่วนมากไม่เคยประสบปัญหาจากการใส่คอนแทคเลนส์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์นั้นมีสาเหตุหรือปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาการระคายเคืองดวงตา ปัญหาการสวมใส่ เป็นต้น