การแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์

บริษัทต่างๆ พบว่าเทคโนโลยีใหม่ไม่เพียงแต่ช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล แต่ยังมีบทบาทสำคัญในโลกาภิวัตน์อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีใหม่ 5 รายการที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อโลกาภิวัตน์ในด้านการเงิน ได้แก่:

1. กระบวนการทำงานอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ (RPA)

RPA ทำให้ง่ายต่อการสร้าง ปรับใช้ และจัดการซอฟต์แวร์ที่เลียนแบบการโต้ตอบของมนุษย์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์นี้สร้างการดำเนินการที่กำหนดไว้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น ทำให้เวิร์กโฟลว์มีความคล่องตัวและตอบสนองมากขึ้น ส่งผลให้มีผลกำไร มีส่วนร่วมกับลูกค้า และประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น

2. ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

AI และแมชชีนเลิร์นนิง เช่นเดียวกับตัวแทนทางปัญญาและเครื่องจักรอัจฉริยะ มีศักยภาพในการปรับโฉมธุรกรรมข้ามพรมแดนทั้งในและต่างประเทศ และปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างสมบูรณ์ ธุรกิจมีความสามารถในการตรวจสอบ การวิเคราะห์ทางการเงิน ในเวลาเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อขายโดยรวม

3. เทคโนโลยีบล็อกเชน

ในการเสนอการประทับเวลาที่เข้ารหัสสำหรับประเภทการชำระเงินต่างๆ การจัดหาบันทึกการชำระเงินแบบดิจิทัลและการโอนเงินในเวลาที่เกือบจะเรียลไทม์จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในขั้นถัดไปของโลกาภิวัตน์สำหรับอุตสาหกรรมการเงิน นอกจากนี้ยังเป็นแอปพลิเคชั่นที่โดดเด่นที่สุดสำหรับสกุลเงินบิตคอยน์ ซึ่งเป็นบริการทางการเงินอีกอย่างที่กำลังเติบโตขึ้น

4. อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) สำหรับการชำระเงินแบบไร้การสัมผัส

การย้ายไปสู่สังคมที่เชื่อมต่อถึงกันทางดิจิทัล IoT จะช่วยให้กระบวนการอัตโนมัติเป็นเรื่องง่ายและสะดวก และเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการตัดสินใจได้อย่าง "ชาญฉลาด" ซึ่งจะทำให้การโอนเงินง่ายขึ้น เมื่อการชำระเงินแบบไร้การสัมผัสที่ใช้ IoT จะช่วยให้ประมวลผลการชำระเงินได้เร็วขึ้น ความโปร่งใสในการชำระเงินทั่วโลกก็จะเพิ่มขึ้น และรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลต่างประเทศจะสามารถติดตามธุรกรรมในหลายสกุลเงินและตลาดได้อย่างง่ายดาย

การขยายตัวของเทคโนโลยีในโลกาภิวัตน์ช่วยให้ทำธุรกรรมต้นทุนต่ำได้เร็วยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการขยายการเติบโตทางการเงินในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งหมดนี้ คือ  ภาพรวมทิศทางการพัฒนาในยุคโลกาภิวัฒน์ 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่ประชาชนจะสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการคุณภาพชีวิตได้มากที่สุด  การรู้เท่าทันเทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยเร็วที่สุด  

หน่วยการเมืองตั้งแต่เผ่า ราชอาณาจักร จักรวรรดิ รัฐชาติ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันและการคุกคามจากภายนอก ในขณะเดียวกันก็จะประสบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภายใน เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความอ่อนแอขึ้นในหน่วยการเมืองนั้นๆ ความสามารถในการต่อสู้กับการคุกคามและการแข่งขันจากภายนอกก็จะลดลง นี่คือที่มาของการล่มสลายของจักรวรรดิ ของราชอาณาจักร และของหน่วยการเมืองอื่นๆ จนนำไปสู่ลัทธิล่าอาณานิคมหรือสภาพของการเป็นประเทศราช หรือแม้กระทั่งถูกทำลายสลายทั้งสังคมจนไม่มีหน่วยการเมืองเหลืออยู่ ตัวอย่างคือ ชนเผ่ามอญขณะนี้มีชนชาติมอญยังเหลืออยู่บนโลกในหลายๆ แห่ง แต่ไม่มีหน่วยการเมืองที่เป็นเอกราชของชนเผ่ามอญ

ความสามารถที่จะคงอยู่และในการแข่งขันของหน่วยการเมืองหนึ่งๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของระบอบการปกครองบริหาร และความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จักรวรรดิจีนเป็นจักรวรรดิที่มีความสำเร็จในการพัฒนาระบอบการปกครองบริหารเหนือกว่าหน่วยการเมืองอื่น จีนมีระบบการสอบคัดเลือกเพื่อให้คนมารับราชการ มีวัฒนธรรมอันสูงส่งที่สามารถสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาเขียนซึ่งทำให้คนต่างวัฒนธรรม ต่างเผ่าพันธุ์ สามารถจะถูกกลมกลืนเข้าไปอยู่ในหน่วยเดียวกัน แต่สิ่งซึ่งจีนไม่สามารถจะตามทันตะวันตกได้คือการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่สำคัญที่สุดคือ เทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงอันได้แก่ เครื่องจักรไอน้ำ เมื่อเรือกลไฟขนาดใหญ่ได้มาเทียบท่าจีนสมัยโบราณซึ่งยังใช้เรือใบ หรือใช้คนพายหรือคนแจวนั้น ย่อมสามารถจะเห็นความแตกต่างได้ทันทีว่ามีความเหลื่อมล้ำกันมากน้อยเพียงใด

อีกด้านหนึ่งคือเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ ปืนไฟซึ่งเป็นปืนสับนก และปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่จากเรือปืน ทำให้เกาทัณฑ์ หอก ดาบ ธนู ฯลฯ หมดความหมาย จึงไม่แปลกที่จีนแพ้สงครามฝิ่นเมื่อรบกับอังกฤษในปี ค.ศ.1839-1842 จนนำไปสู่สนธิสัญญานานกิง และต่อมาในปี ค.ศ. 1894-1895 เมื่อรบกับญี่ปุ่น จนนำไปสู่สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ในทั้งสองกรณีจีนเสียเปรียบประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นในทางเทคโนโลยี และการเสียเปรียบทางเทคโนโลยีนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ปรับตัวของผู้นำจีน ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นเมื่อผู้นำญี่ปุ่นเห็นว่าความเจริญทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและทางอาวุธของชาติตะวันตกเหนือกว่าชาติในเอเชียก็รีบปรับตัวทันที ส่วนจีนนั้นยังปักหลักเชื่อมั่นในความยิ่งใหญ่ของตน จนนำไปสู่สภาวะของการสูญเสียศักดิ์ศรี ถูกกดขี่คุกคาม เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษเต็มตั้งแต่การแพ้สงครามฝิ่นปี ค.ศ. 1842 จนมาถึงปี ค.ศ.1949 เมื่อเหมา เจ๋อตุง ประกาศที่จัตุรัสเทียนอันเหมินว่า จีนจะไม่ถูกเหยียดหยามอีกต่อไป จนมาปัจจุบันจีนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งในทางเศรษฐกิจและทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สามารถส่งยานอวกาศขึ้นไปพร้อมมนุษย์โคจรรอบโลกได้ถึงสองครั้ง

ถ้าเอาตัวอย่างของจีนเป็นบทเรียนก็จะเกิดคำถามที่สำคัญว่า ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้มากน้อยเพียงใด และอะไรคือศักยภาพของประเทศ การแข่งขันกับประเทศอื่นใดนั้นต้องอาศัยตัวแปรต่างๆ อันได้แก่ การปกครองบริหารและการจัดการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาวิทยาการ และการมีทรัพยากรธรรมชาติ

ในส่วนของการปกครองบริหารและการจัดการนั้น เป็นเรื่องการจัดระเบียบสังคมและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในแง่การปกครองบริหารนั้นจะต้องมีระบบการปกครองที่พัฒนา ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ และเป็นระบบที่สามารถจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีระบบการบริหารหรือระบบราชการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในส่วนของภาคเอกชนก็ต้องมีลักษณะเดียวกัน ที่สำคัญต้องสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ในแง่การผลิตและการค้า โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญสูงสุด ลัทธิจูเช่ของเกาหลีเหนือระบุไว้ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างสังคม มนุษย์จึงสำคัญที่สุด จีนก็มีการเน้นถึงทรัพยากรมนุษย์ โดยจะต้องเป็นมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีความเสียสละ มีระบบความคิดที่ถูกต้อง ทรัพยากรมนุษย์จะพัฒนาไปได้นั้นจะต้องอาศัยตัวแปรหลัก 2 ตัว คือ การศึกษาและวัฒนธรรม ในส่วนของการศึกษานั้นจะต้องสามารถถ่ายทอดวิทยาการที่สอดคล้องกับยุคสมัย ในส่วนของวัฒนธรรมจะต้องทำให้มนุษย์ผู้นั้นมีความสมบูรณ์ในแง่ความเป็นคน มีศีลธรรมและจริยธรรม มีความเสียสละ มีความรักชาติและนิยมชาติ

ในแง่การพัฒนาวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถเสริมในการผลิต และนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตสอดคล้องกับยุค ซึ่งต้องมีการศึกษาและมีการวิจัยเพื่อการพัฒนา (Research and Development - R & D) ถ้าส่วนนี้ขาดหายไปย่อมไม่สามารถจะตามทันโลกได้ และจะทำให้ขาดความสามารถ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแข่งขันในโลกยุคสมัยใหม่

การมีทรัพยากรธรรมชาติถือเป็นความได้เปรียบและเป็นประโยชน์อันสำคัญของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีพื้นดินกว้างใหญ่ มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ก็ย่อมได้เปรียบประเทศอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย รวมทั้งประเทศที่มีบ่อน้ำมันหรือมีเหมืองทองคำ ก็ย่อมจะได้เปรียบประเทศที่ยากจน หรือในกรณีมีทรัพยากรที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศนั้นดึงดูดนักท่องเที่ยว หารายได้เข้าประเทศ เช่น ประเทศสเปนนั้นจากสถิติที่พอจะทราบได้มีนักท่องเที่ยวถึงปีละ 100 ล้านคน แต่ถ้าประเทศใดขาดทรัพยากรหากแต่มีทรัพยากรมนุษย์และมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็สามารถจะพัฒนาให้กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อิสราเอล มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากนักแต่ก็กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยเพราะมีทรัพยากรสำคัญคือ ทรัพยากรสมอง (brain power) แต่บางประเทศเช่นอินโดนีเซียมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลแต่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ร่ำรวยเท่ากับประเทศที่เล็กกว่า ทั้งๆ ที่อินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรกว่า 200 ล้านคน

คำถามคือ ประเทศไทยมีตัวแปรต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วมากน้อยเพียงใด ในส่วนของการเมืองการปกครอง และการจัดการ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในแง่การเมืองประเทศไทยยังอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ระบบราชการก็ยังต้องมีการปรับปรุงปฏิรูปอีกมาก ภาคเอกชนจะสามารถแข่งขันกับประเทศที่มีความสามารถและมีความคล่องตัว เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ได้มากน้อยเพียงใดยังต้องมีการศึกษาวิเคราะห์กันต่อไป

ในแง่ทรัพยากรมนุษย์เรามีคนจำนวนกว่า 60% อยู่ในชนบท และส่วนใหญ่มีการศึกษาแค่ ป.4 - ป.6 มีฐานะยากจน ขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ขาดการมีโอกาสเข้าถึงข่าวสาร และยังจมปรักอยู่ในทัศนคติที่ไม่สอดคล้องกับยุค เช่น มีความเชื่องมงายในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งเห็นได้จากการตื่นเต้นเจลที่หล่นจากท้องฟ้า ไข่ที่แข็งเป็นหิน วัวสองหัว แพะห้าขา โดยมองว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์จุดธูปเทียนบูชา คนจำนวนไม่น้อยถูกชักจูงด้วยข้อมูลผิดๆ ได้โดยง่าย ในแง่ของความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบต่อสังคม การตรงต่อเวลา ฯลฯ แม้ในหมู่คนรับการศึกษาก็ยังเป็นปัญหาอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

ในส่วนของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนั้นไม่มีการลงทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการของเราเป็นบุคคลที่มีวัฒนธรรมพ่อค้า ซื้อถูกขายแพง มากกว่าผู้ประกอบการที่มีจิตสำนึกในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ยอมลงทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี ส่วนใหญ่นิยมการลงทุนในธุรกิจการบริการเพราะเสี่ยงน้อยกว่า และทำกำไรได้รวดเร็ว นี่คือตัวแปรที่อธิบายให้เห็นว่า เกาหลีใต้ซึ่งเคยล้าหลังประเทศไทยแต่มีกระทรวงวิทยาศาสตร์ก่อนประเทศไทยถึง 12 ปี และมีความตื่นตัวในเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมกว่าประเทศไทย จนนำไปสู่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนอยู่ในขณะนี้

ทรัพยากรธรรมชาติของไทยก็มีอยู่ไม่น้อยแต่ก็ถูกทำลายไปมาก เช่น ป่าไม้ สิ่งที่เหลืออยู่ชัดที่สุดก็คือทรัพยากรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องการบริการ เช่น การบริหารการโรงแรม ภัตตาคาร และการท่องเที่ยว บางส่วนก็ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเข้ามาเสริม เช่น โรงพยาบาล การทำฟัน ศัลยกรรมพลาสติก การแปลงเพศ โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่าจนทำให้การแข่งขันในส่วนนี้ประเทศไทยสามารถที่จะกระทำได้อย่างดี

แต่ถ้ามองในภาพรวมเป็นเรื่องน่าหนักใจที่ประเทศไทยต้องแข่งขันกับจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และในอนาคตอันใกล้เวียดนามจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว คำถามที่สำคัญคือ เมื่อพิจารณาจากตัวแปรต่างๆ ข้างบนนั้นเรามีศักยภาพที่จะแข่งขันกับประเทศต่างๆ ดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ก็มีดัชนีที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่น่าเป็นห่วงยิ่งคือธุรกิจที่จะกล่าวต่อไปนี้ถูกต่างชาติเข้ามาถือครองหุ้นเป็นจำนวนมาก และไม่มีทีท่าว่าเราจะสามารถเอาคืนมาได้ในอนาคตอันใกล้ ธุรกิจดังกล่าวคือ การสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรคมนาคม และสมองกล การขนส่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งพาณิชยนาวี การธนาคารและการเงิน ธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน การขายส่ง การขายปลีก แม้กระทั่งธุรกิจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลก็มีต่างชาติเข้ามาถือหุ้น การศึกษา เช่น โรงเรียนนานาชาติทั้งหลาย สินค้าประเภทแบรนด์เนม รวมตลอดทั้งการก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถไฟฟ้าหรือรถใต้ดิน หรือสนามบินที่ทันสมัย ธุรกิจที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คนไทยมีส่วนเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นและมีส่วนในการบริหารในขอบเขตที่จำกัด ประเทศไทยจะแข่งขันกับคนอื่นได้หรือไม่ในยุคโลกาภิวัตน์ คงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะนั่งพินิจพิเคราะห์หาคำตอบและหาทางออก แต่ภาพที่เห็นข้างหน้าเป็นภาพที่ไม่น่าพิสมัยนัก

ยุคโลกาภิวัตน์เป็นอย่างไร

โลกาภิวัตน์ คือ “ปรากฎการณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ได้ถูกเปลี่ยนรูปหรือแปลงเข้าหากันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งในด้าน ของการรับรู้และการกระท าในเรื่องราวต่างๆอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรื่องหรือประเด็นต่างๆ ที่ Page 3 3 เกิดขึ้นในที่ซึ่งห่างไกลมากและข้ามพรมแดนของ ...

ยุคโลกาภิวัตน์ส่งผลอย่างไรกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์ต่อระบบเศรษฐกิจ คือการเพิ่มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เช่น ความคิดเรื่องการบริหารจัดการที่ดีที่เรียกกันว่าธรรมาภิบาล มีเรื่องความชอบธรรม ความโปร่งใส การดูแลคนงานภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน

กระแสโลก คืออะไร

กระแสโลก คือ สายธารของความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความต่อเนื่อง ส่วนบริบทโลก คือ สภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เป็นสภาพแวดล้อม กระแสโลกมีจุดเน้นที่คลื่นของความเปลี่ยนแปลง เป็นการ เปลี่ยนผ่านแต่ละช่วง ส่วนบริบทโลกมีจุดเน้นที่สถานการณ์หรือสภาพการณ์หรือเหตุการณ์สภาพแวดล้อมของ โลก ทาให้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงระหว่างประเทศ

กระแสโลกาภิวัตน์มีอะไรบ้าง

โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก