ต องการซ อเช อไตรโคเดอร ม าบร ส ทธ

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ดังนี้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินได้มากกว่า10 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ 1. เชื้อราพิเทียม สาเหตุโรคกล้าเน่า เมล็ดเน่า เน่ายุบ และเน่าคอดิน 2. เชื้อราไฟทอปธอร่า สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า โรคเลทไบลท์ 3. เชื้อราสเคลอโรเทียม สาเหตุโรคโคนเน่า โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาดขาว) 4. เชื้อราไรช็อคดทเนีย สาเหตุโรคกล้าเน่า โคนเน่าขาว รากเน่า 5. เชื้อราฟิวซาเรียม สาเหตุโรคเหี่ยว วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้ 1. การคลุกเมล็ด ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1-2 ช้อนแกง (10-20กรัม) ต่อเมล็ดพืช 1 กก. โดยคลุกเคล้าให้เข้า กันในถุงอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น 2. การรองก้นหลุมและการหว่าน ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก.บวกลำละเอียด 5 กก.บวกปุ๋ยหมัก 40 กก.รองก้นหลุม ปลูกในพืชผัก พืชสวน 10-20 กรัม/ต้น หว่านในแปลงปลูก50-100 กรัม/ตารางเมตร และในพืชสวนหว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา 3-5กก./ต้น 3. การผสมกับวัสดุปลูก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด)ที่ผสมแล้วกับวัสดุผสม 1 ส่วน กับวัสดุปลูก 4 ส่วน คลุกเคล้า ให้เข้ากันก่อนบรรจุลงในภาชนะเพาะเมล็ด เพาะกล้า

ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่พบทั่วไปในดิน เศษซากพืช ซากสัตว์ อินทรียวัตถุ และบริเวณระบบรากพืช ซึ่งบางสายพันธุ์มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถหาอาหารได้มาก ส่งผลให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี

ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ ที่มีคุณสมบัติ และศักยภาพสูงในการควบคุมเชื้อราสาเหตุของโรคพืชได้ หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราที่อยู่ในดิน เช่น โรครากเน่า-โคนเน่า โรคเน่าคอดิน โรคใบไหม้ใบจุด โรคแอนแทรคโนส ในพืชผัก เช่น พริก แตงกวา มะเขือเทศ คะน้า ผักกาดขาว มันฝรั่ง เป็นต้น

แนวทางการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

ในประเทศไทยมีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ ทั้งรูปแบบเชื้อสด เชื้อสำเร็จรูปในรูปแบบผงแห้ง และชนิดน้ำ โดยมีแนวทางในการใช้งานเชื้อราไตรโคเดอร์ชนิดเชื้อสด ดังนี้