ป ญหา-แอร ม ต-ซ บ ช อ น-เวอร เตอร

การคำนวณค่าไฟแอร์อันดับแรกที่ผู้ใช้งานต้องทราบคือ เป็นแอร์ประเภทไหน เช่น ระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือระบบแอร์รุ่นธรรมดา (Non-Inverter) หากเป็นระบบอินเวอร์เตอร์จะประหยัดไฟมากกว่า โดยมีหลักการคำนวณง่าย ๆ ดังนี้.

Show

ระบบแอร์อินเวอร์เตอร์

ค่าไฟต่อปีจะสามารถคำนวนได้ดังนี้ ขนาด BTU Cooling Capacity (btu/hr) หารด้วย ค่า SEER (btu/hr/w) หารด้วย 1,000 คูณ ชั่วโมงการใช้งานในแต่ละวัน คูณ จำนวนวันที่ใช้งานในแต่ละปี และคูณ ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย จะได้ค่าไฟฟ้าต่อปีของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์.

**ค่า Cooling Capacity และค่า SEER หรือค่าประสิทธิภาพพลังงาน สามารถดูได้จากข้อมูลจำเพาะของสินค้า หรือบนฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือสอบถามจากพนักงานผู้ขาย

ระบบแอร์รุ่นธรรมดา

ค่าไฟฟ้าการใช้งานแอร์ต่อปีจะคำนวณได้จากสูตร ค่าไฟต่อปีเท่ากับจำนวนชั่วโมงการใช้งานตลอดทั้งปี คูณด้วย ค่ากำลังไฟฟ้า (วัตต์) คูณด้วยค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำค่าทั้งหมดมาหารด้วย 1,000 จะได้ค่าไฟทั้งหมดตลอดทั้งปีของการใช้แอร์รุ่นธรรมดา.

สรุปสูตรคำนวณค่าไฟแอร์

ค่า BTU / ค่า SEER / 1,000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

ตัวอย่าง :แอร์อินเวอร์เตอร์ DUAL COOL รุ่น IVQ13S1

- ขนาดแอร์ 12,000 BTU /ค่า SEER 20.60 /1,000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย - ค่าไฟฟ้าต่อปี = 6,735 บาท การใช้สูตรคำนวณที่กล่าวไปข้างต้นเป็นการประเมินค่าไฟแอร์เบื้องต้น โดยหน่วยค่าไฟสามารถเปลี่ยนไปตามอัตราค่าไฟของการไฟฟ้า โดยการคำนวณค่าไฟของแอร์แต่ละเครื่องจะถูกคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม. ต่อวัน ในกรณีที่มีการใช้งานแอร์มานาน อัตราการกินไฟอาจจะสูงกว่าเล็กน้อย อีกทั้งแอร์ 12,000 BUT ยังกินไฟโดยประมาณ 4.0-5.0 แอมป์ อีกด้วย.

ตารางการเช็ค “ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย” จากการไฟฟ้านครหลวง

หากคุณกำลังสงสัยว่าแล้วตัว "ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย" ที่บ้านหน่วยละกี่บาท ซึ่งอ้างอิงตารางค่าไฟต่อหน่วยจากการไฟฟ้านครหลวง สามารถดูตารางด้านล่าง ดังนี้.

อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

ค่าพลังงานไฟฟ้า

15 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 15)หน่วยละ

2.3488 บาท

10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25)10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)หน่วยละ

2.9882 บาท

10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)หน่วยละ

3.2405 บาท

65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100)หน่วยละ

3.6237 บาท

50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150)หน่วยละ

3.7171 บาท

250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)หน่วยละ

4.2218 บาท

เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)หน่วยละ

4.4217 บาท

ค่าบริการ (บาท/เดือน)8.19

-

อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน

ค่าพลังงานไฟฟ้า150 หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก (หน่วยที่ 1 – 150)หน่วยละ3.2484 บาท250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)หน่วยละ4.2218 บาทเกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)หน่วยละ4.4217 บาทค่าบริการ (บาท/เดือน)38.22

อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff )

On PeakOff Peakแรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์5.11352.6037แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์5.79822.6369

แนะนำวิธีเปิดแอร์อย่างไรให้ประหยัด เย็นสบายทั่วห้อง

- ติดตั้งคอมเพรสเซอร์ในบริเวณที่เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นพื้นปูนหรือดาดฟ้า รวมถึงพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง

- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ - หลีกเลี่ยงการเพิ่มความชื้นภายในห้อง เพราะแอร์จะยิ่ทำงานหนักและกินไฟมากกว่าเดิม - ปิดประตู-หน้าต่างให้สนิทก่อนเปิดใช้งานแอร์ - ตั้งเวลาปิดแอร์ก่อนออกจากห้อง สามารถตั้งเวลาหรือปิดแอร์ก่อนสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง - ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอระยะเวลาที่เหมาะสมในการล้างแอร์จะอยู่ที่ 6 เดือน

หากคุณกำลังตัดสินใจเลือกซื้อแอร์ 12000 BTU เพื่อการใช้งานภายในบ้าน ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละปี “แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ประหยัดไฟมากกว่า ทำงานเงียบ ขอแนะนำแอร์ 12,000 Btu ประหยัดไฟฟ้า ใช้งานคุ้มค่า ที่ LG.

เมืองร้อนแบบประเทศไทย ไม่เปิดแอร์คงอยู่ไม่ได้ แล้วเคยสงสัยไหมว่าระบบแอร์ที่เขาเรียกกันว่าแอร์อินเวอร์เตอร์กับแอร์ธรรมดาที่เรารู้จักนั้นต่างกันอย่างไร วันนี้ไดกิ้นจะพามาไขคำตอบ และเปรียบเทียบให้เห็นกันชัด ๆ แต่ละแบบเป็นอย่างไร ถ้ากำลังเล็งแอร์ตัวใหม่อยู่ แล้วลังเลว่าซื้อแอร์อินเวอร์เตอร์ดีไหม หรือเลือกแอร์ธรรมดาดีกว่า…ก็พลาดไม่ได้แล้ว!

แอร์ธรรมดาคืออะไร ?

![แอร์ธรรมดารุ่น FTM-PV2S ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/Screenshot-2022-10-10-154604.png)

ภาพ: แอร์ธรรมดารุ่น FTM-PV2S

แอร์ Non-Inverter หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่าแอร์ธรรมดา (Fix speed) คือระบบแอร์แบบดั้งเดิมที่คอมเพรสเซอร์จะมีการทำงาน 2 แบบ คือ เปิดและปิด จะตัดการทำงานเมื่ออุณหภูมิในห้องลดลงไปต่ำกว่าตัวเลขที่ตั้งไว้ 2-4 องศา พอห้องเริ่มร้อน คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง

ไลฟ์สไตล์แบบไหนถึงจะเหมาะกับแอร์ธรรมดา ?

1. ค่าตัวไม่แรง ถูกใจสายประหยัด

![การคำนวณงบประมาณก่อนซื้อแอร์ ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/shutterstock_2021907254.jpg)

ภาพ: การคำนวณงบประมาณก่อนซื้อแอร์

สายงบประหยัดอาจเลือกพิจารณาแอร์ธรรมดา หรือแอร์ Non-inverter เพราะเมื่อเปรียบเทียบในท้องตลาดแล้ว ราคาค่าตัวถูกกว่าแอร์อินเวอร์เตอร์เป็นส่วนใหญ่นั่นเอง แต่ถ้าลองมาเลือกดูแอร์จากไดกิ้นที่พิเศษกว่าใคร แอร์ในระบบอินเวอร์เตอร์รุ่นเริ่มต้นอย่าง รุ่น FTKQ09WV2S ก็อยู่ในระดับราคาพอ ๆ กับแอร์ธรรมดาในรุ่น FTM09PV2S เลยทีเดียว

2. เย็นสุด ๆ ในตอนแรกที่เปิดแอร์

![แอร์กระจายลมเย็นทั่วห้อง ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/Screenshot-2022-10-10-135902.png)

ภาพ: แอร์กระจายลมเย็นทั่วห้อง

โดยปกติแล้ว ในช่วงแรกที่เปิดแอร์ธรรมดา ห้องจะเย็นฉ่ำมาก ๆ เพราะการทำงานเต็มกำลังของคอมเพรสเซอร์แอร์เพื่อให้อุณหภูมิห้องลดลงไปต่ำกว่าตัวเลขที่ตั้งไว้และหยุดทำงาน แต่หลังจากนั้นอุณหภูมิก็จะร้อน ๆ หนาว ๆ เพราะเมื่อมอเตอร์ตัดการทำงาน ห้องก็จะอุณหภูมิเพิ่มขึ้น และไม่เย็นเท่าตอนแรก จนกว่ามอเตอร์จะทำงานเต็มกำลังอีกครั้ง จึงอาจจะเหมาะกับห้องที่ไม่ค่อยได้ใช้งานแอร์เท่าไหร่นัก ถึงจะคุ้ม

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเลือกแอร์ธรรมดา

1. บิลมาต้องปาดเหงื่อ เพราะกินไฟไม่ไหว

![บิลค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/shutterstock_2063612717.jpg)

ภาพ: บิลค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น

ด้วยลักษณะการทำงานของคอมเพรสเซอร์ในแอร์ธรรมดา เร่งการทำงานเพื่อทำให้ห้องเย็นและตัดการทำงานเมื่ออุณหภูมิเท่าตัวเลขที่ตั้งไว้ ทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องเปิดและปิดบ่อย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์ธรรมดากินไฟนั่นเอง

2. คอมเพรสเซอร์ทำงานเสียงดัง

![คอมเพรสเซอร์แอร์ ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/shutterstock_264469625.jpg)

ภาพ: คอมเพรสเซอร์แอร์

ถ้าต้องการห้องเงียบ ใช้สมาธิมาก ๆ ก็อาจไม่เหมาะ เพราะคอมเพรสเซอร์ของแอร์ธรรมดาจะมีเสียงการตัด-ต่อการทำงาน เมื่อในห้องอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง และอาจมีการกระชากไฟ ทำให้คอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพเร็ว

3. อุณหภูมิห้องไม่คงที่

![อุณหภูมิห้อง ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/shutterstock_1714044553.jpg)

ภาพ: อุณหภูมิห้อง

ด้วยรูปแบบการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ ที่เปิด ๆ ปิด ๆ ทำให้อุณหภูมิในห้องไม่คงที่ ร้อน ๆ หนาว ๆ อาจเหมาะกับห้องที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือไม่ได้ต้องการความคงที่ของอุณหภูมิมาก ถ้านำไปติดตั้งในห้องนอน ก็อาจจะหลับไม่สบายตัว เพราะห้องเดี๋ยวก็เย็นเจี๊ยบ แต่พอสักพักดันร้อนซะงั้น

แอร์อินเวอร์เตอร์ คืออะไร?

![แอร์อินเวอร์เตอร์ในห้องนั่งเล่น ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/Screenshot-2022-10-10-144004.png)

ภาพ: แอร์อินเวอร์เตอร์ในห้องนั่งเล่น

แอร์อินเวอร์เตอร์เป็นระบบที่คอมเพรสเซอร์จะทำงานแบบแปรผันตามอุณหภูมิ เมื่อเราเปิดแอร์ มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะเร่งการทำงานอย่างเต็มสปีดให้ห้องเย็นอย่างรวดเร็ว เมื่ออุณหภูมิลดถึงตัวเลขที่ตั้งไว้ ก็จะทำงานช้าลง แต่มอเตอร์ยังคงหมุนต่อไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดพัก หากห้องร้อนขึ้น ก็จะเร่งการทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิให้คงเดิมนั่นเอง

สิ่งเจ๋ง ๆ ของแอร์อินเวอร์เตอร์

1. เซฟเงินในกระเป๋า ประหยัดไฟสุด ๆ

![ประหยัดเงินมากขึ้น ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/shutterstock_1936069096.jpg)

ภาพ: ประหยัดเงินมากขึ้น

อยากประหยัดไฟ เซฟเงินในกระเป๋า แอร์อินเวอร์เตอร์ก็ตอบโจทย์ ประหยัดไฟได้มากกว่าปกติถึง 30 % เพราะมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไม่ได้หยุดหมุน ไม่ต้องตัด-ต่อการทำงาน แต่จะทำงานน้อยลง เมื่ออุณหภูมิห้องลดถึงจุดที่กำหนด ไม่ต้องรีสตาร์ทให้กินไฟเมื่อห้องร้อนขึ้นนั่นเอง

2. ทำงานเงียบกว่า ไร้เสียงรบกวนสมาธิ

![แอร์ในห้องทำงานที่ไร้เสียงรบกวน ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/Screenshot-2022-10-10-160418.png)

ภาพ: แอร์ในห้องทำงานที่ไร้เสียงรบกวน

เมื่อห้องเย็นถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์จะทำงานช้าลง รวมถึงลดเสียงการทำงานของคอยล์เย็นและระบบฉีดน้ำยา ทำให้แอร์อินเวอร์เตอร์ทำงานได้เงียบเชียบ ไร้เสียงตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ให้รบกวนสมาธิ แถมยังไม่กระชากไฟอีกต่างหาก

3. อุณหภูมิห้องคงที่ เย็นตลอด สบายตัวสุด ๆ

![ ห้องเย็นสบายอุณหภูมิคงที่ด้วยแอร์อินเวอร์เตอร์ ](https://https://i0.wp.com/www.daikin.co.th/wp-content/uploads/2022/10/Screenshot-2022-10-10-160622.png)

ภาพ: ห้องเย็นสบายอุณหภูมิคงที่ด้วยแอร์อินเวอร์เตอร์

หมดกังวลเรื่องห้องเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ถ้าอยากให้ห้องเย็นตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะห้องนอน ห้องทำงาน หรือห้องอ่านหนังสือ แอร์อินเวอร์เตอร์ก็เหมาะสุด ๆ เพราะคอมเพรสเซอร์ที่ทำงานแปรผันตามอุณหภูมิเรื่อย ๆ ไม่ต้องทำงานหนัก เมื่อห้องร้อน ก็จะเร่งการทำงาน ให้ห้องกลับมาเย็น นอนแล้วสบายตัวเหมือนเดิม

นี่ก็เป็นการเปรียบเทียบระหว่างแอร์อินเวอร์เตอร์กับแอร์ธรรมดา อาจจะต้องลองเปรียบเทียบการใช้งานดู เพื่อเลือกแอร์ที่ “ใช่” สำหรับเราที่สุด และถ้าถามว่า “แอร์อินเวอร์เตอร์ดีไหม?” นี่ก็เป็นระบบแอร์ที่ตอบโจทย์ความคุ้มค่าและประหยัดสุด ๆ ในระยะยาวได้อย่างลงตัวเลย!

แอร์อินเวอร์เตอร์ 12000 BTU กินไฟกี่แอมป์

เบรกเกอร์แอร์ใช้กี่แอมป์.

แอร์อินเวอร์เตอร์ 15000 BTU กินไฟกี่วัตต์

ซึ่งแอร์ 15,000 BTU จะมีกำลังไฟตาม Nameplate. อยู่ที่ประมาณ 1,400 วัตต์ ซึ่งจะกินกระแสอยู่ที่ประมาณ 7.6. แอมป์ ถ้าทุกคนหาแล้ว ไม่เท่ากับผม ก็เพราะว่าทุกคนต้องเอา 1,400 วัตต์ ไปหาร 0.8 ซึ่งเป็นค่า Power Factor ก่อนนะครับ

แอร์ 18000 BTU กินไฟกี่บาทต่อชั่วโมง

ตัวอย่าง หากคุณใช้งานแอร์ขนาด 18000 Btu อัตรากินไฟหรือจำนวนวัตต์อยู่ที่ 5,275 วัตต์ ค่าไฟต่อหน่วย 4 บาท ใช้งานเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง = 2,920 ชั่วโมง/ปี หากคำนวณตามสูตรได้ผลลัพธ์ ดังนี้ ค่าไฟต่อปี 2,920 X 5,275 (จำนวนวัตต์) X 4 / 1000 = 61,612 บาท/ปี (โดยประมาณ) จากนั้นนำค่ารวมทั้งหมดหาร 12 (จำนวนเดือน) ค่าแอร์ต่อเดือน ...

คอมเพรสเซอร์ แอร์ หมุน ตลอดเวลา ไหม

ถ้าแอร์บ้านลูกค้านั้นเป็นระบบ INVERTER คอมเพรสเซอร์จะทำงานตลอดเวลา เมื่อทำความเย็นได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์ก็จะลดรอบการทำงานให้น้อยลง เพื่อรักษาการทำงานและให้อุณหภูมิภายในห้องให้คงที่มากที่สุด ต่างจากระบบ FIXED SPEED ที่จะตัดการทำงานคอมเพรสเซอร์เมื่อทำอุณหภูมิถึงในระดับที่ตั้งค่าไว้ และเมื่ออุณหภูมิในห้อง ...