Www.epayment.go.th ตรวจสอบรายช อผ ม รายได น อย 61

เผยแพร่: 13 ก.ย. 2560 15:26 ปรับปรุง: 13 ก.ย. 2560 16:15 โดย: MGR Online

คลังประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 11.431 ล้านคน เปิด 3 ช่องทาง ตรวจสอบสิทธิ์ 15 ก.ย. และรับบัตร 21 ก.ย. นี้

นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการตรวจสอบผู้ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 11,431,681 คน และไม่ผ่านคุณสมบัติ 2,744,489 คน โดยเหตุผลหลักที่ถูกตัดสิทธิ คือ มีทรัพย์สินที่ดิน เงินฝาก และรายได้เกินกำหนดตามลำดับ ส่วนผู้ที่แจ้งว่าจบปริญญาเอกนั้น จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเป็นผู้ที่จบการศึกษาจริงเพียงร้อยละ 5

ทั้งนี้ มีผู้ลงทะเบียนโครงการทั้งหมด 14,176,170 คน สามารถตรวจสอบผลการตรวจสอบคุณสมบัติตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ผ่าน 3 ช่องทาง ประกอบด้วย ช่องทางที่ 1 ตรวจสอบด้วยตัวเอง หรือขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ได้แก่ www.epayment.go.th, www.mof.go.th และ www.fpo.go.th โดยพิมพ์เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักลงไปในช่องที่กำหนด ระบบจะแจ้งผลการตรวจสอบ

ช่องทางที่ 2 ตรวจสอบผ่านสายด่วน 6 หน่วยงานเวลาราชการ ได้แก่ 1. Call center ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 1359 2. Call center ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 02-555-0555 3. Call center ธนาคารออมสิน 1115 4. Call center ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 02-111-1111 5. Call center กรมบัญชีกลาง 02-270-6400 และ 6. เบอร์โทรศัพท์ของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต

ช่องทางที่ 3 ตรวจสอบที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานอื่นตามที่กรมการปกครองเห็นสมควร และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร โดยกระทรวงการคลังจะส่งรายชื่อแยกตามจังหวัด อำเภอ และตำบล ส่งให้กระทรวงมหาดไทย และแยกเป็นรายเขตส่งให้กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการติดประกาศผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่อไป ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิได้รับบัตรฯ สามารถไปรับบัตรฯ ได้ที่หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ได้ไปลงทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2560 เป็นต้นไป

ขณะที่กรณีผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ และต้องการอุทธรณ์สามารถขออุทธรณ์ให้ตรวจสอบคุณสมบัติใหม่ได้ภายในวันที่ 29 กันยายน 2560 ซึ่งหน่วยงานตรวจสอบใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการตรวจสอบ และส่งผลการอุทธรณ์กลับมาให้กระทรวงการคลัง ภายในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 จากนั้น กระทรวงการคลัง ประกาศผลการอุทธรณ์วันที่ 24 ตุลาคม 2560 ผ่าน 2 ช่องทางเท่านั้น ได้แก่ www.epayment.go.th และสายด่วน 6 หน่วยงาน หากผลการอุทธรณ์ยืนตามผลครั้งแรก คือ ไม่ผ่าน ผู้ยื่นอุทธรณ์จะไม่มีสิทธิได้รับบัตรสวัสดิการ ทั้งนี้ หากผู้อุทธรณ์ยังมีข้อสงสัยผลการอุทธรณ์ ให้ติดต่อสอบถามหน่วยงานที่ตรวจสอบคุณสมบัตินั้น ๆ โดยตรง แต่หากผลการอุทธรณ์ปรากฏว่าผ่านคุณสมบัติ ผู้ยื่นอุทธรณ์จะได้รับบัตรฯ ต่อไป สำหรับกรณีผู้มีสิทธิทำบัตรหาย สามารถแจ้งหายได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และมีค่าใช้จ่ายทำบัตรใหม่ 50-100 บาท ซึ่งกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จะดำเนินการออกบัตรใหม่ ภายใน 30 วัน

ด้านการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะมี 2 หมวด ได้แก่ หมวดลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ประกอบด้วย 1. วงเงินซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อการเกษตร จากร้านธงฟ้าประชารัฐ โดยผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อคนต่อปี จะได้รับ 300 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท จะได้รับ 200 บาทต่อคนต่อเดือน และ 2. วงเงินส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน และหมวดการลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง ประกอบด้วย 1. วงเงินค่าโดยสารรถเมล์ หรือรถไฟฟ้า 500 บาทต่อคนต่อเดือน 2. วงเงินค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อคนต่อเดือน และ 3. วงเงินค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อคนต่อเดือน ทั้งนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อ Call center ของบัตรฯ ได้ที่ 02-109-2345 จำนวน 150 คู่สาย วันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-17.30 น.

เมื่อนโยบาย “ประชานิยม” ของนักการเมืองถูกปัดกวาดออกไป ในขณะที่ยังมีคนไทยอีกจำนวนมาก ยากจน และด้อยโอกาสจำเป็นที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ

อย่างน้อยประชากรใน 67 ล้านคน ก็มีคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจนอยู่ถึง 11.4 ล้านคน ยังไม่นับรวมบรรดาผู้ด้อยโอกาสอื่นๆที่อยู่ปริ่มเส้น ไกลจากมือที่รัฐจะเอื้อมไปถึง มีทั้งคนชราภาพ และอีกจำนวนหนึ่งเป็นคนพิการ ซึ่งทั้งหมดไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน

ด้วยเหตุเหล่านี้ สวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้นโยบายของ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงถือกำเนิดขึ้นตามคำมั่นสัญญาที่ว่า เขาจะทำให้บ้านเมืองนี้ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

สวัสดิการแห่งรัฐนี้ เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนไทยในกลุ่มที่ด้อยโอกาสทางสังคมทุกกลุ่มได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกันในทุกด้าน โดยความประสงค์ของนายกรัฐมนตรีที่ว่า เขาจะไม่เหลือใครสักคนไว้ข้างหลังในการนำพาประชาชนคนไทยทุกคนก้าวพ้นจากกับดักแห่งความยากจน และนำพาทุกคนสู่ความเท่าเทียมกันในทุกๆเรื่องด้วยนโยบายปฏิรูปประเทศไทย

ไม่เพียงแต่การช่วยเหลือในเบื้องต้นที่ประสงค์จะลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของผู้คนด้วย บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ยังมีสวัสดิการอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่รัฐบาลจะเข้ามาเติมเต็มสิ่งที่เคยขาดหายไปให้กับประชาชนคนไทย

ทีมเศรษฐกิจ ขอถือโอกาสใช้ฤกษ์ดีที่รัฐบาลกำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นวันเริ่มต้นของการให้สวัสดิการแห่งรัฐที่จะมีผลบังคับใช้

ในเรื่องต่างๆเหล่านี้....

เริ่มต้นจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยปีละ 30,000–100,000 บาท และต่ำกว่าเส้นยากจนที่มีกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง, ธนาคารรัฐ, กระทรวงพาณิชย์ และจังหวัดต่างๆร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนในการลดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางลง

Www.epayment.go.th ตรวจสอบรายช อผ ม รายได น อย 61

น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงการดำเนินการในระยะแรกว่า

กรมได้กำหนดให้ประชาชนตามหลักเกณฑ์การขอรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปลงทะเบียนไว้ในช่วงระหว่างวันที่ 3 เม.ย.จนถึงวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา มีประชาชนที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ 11.4 ล้านคน จากที่ลงทะเบียนทั้งสิ้น 14.1 ล้านคน ส่วนคนที่ถูกตัดสิทธ์ิไป 2.7 ล้านคน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้

ผลการอุทธรณ์จะประกาศภายในวันที่ 24 ต.ค.2560 ผ่าน 2 ช่องทางได้แก่ www.epayment.go.th และสายด่วน 0-2109-2345 จำนวน 150 คู่สาย ส่วนสายด่วนสำหรับระงับการใช้วงเงิน 0-2111-1111 ตลอด 24 ชม.

หากผู้อุทธรณ์ยังมีข้อสงสัยในผลการอุทธรณ์สามารถติดต่อสอบถามกระทรวงการคลังได้โดยตรง แต่หากผลการอุทธรณ์ปรากฏว่า ผ่านคุณสมบัติ ผู้ยื่นอุทธรณ์จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในลำดับต่อไป นอกจากนี้แล้ว ผู้ลงทะเบียนรับสวัสดิการยังสามารถตรวจสอบสิทธิ์ของตนเองได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.2560 ผ่าน 3 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่

1.ตรวจสอบด้วยตัวเอง หรือให้พนักงานธนาคารทั้ง 3 แห่ง คือ ออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรุงไทย คลังจังหวัด และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ช่วยตรวจสอบรายชื่อในเว็บไซต์ www.epayment.go.th www.mof.go.th และ www.fpo.go.th โดยพิมพ์เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักลงไปในช่องที่กำหนด เพื่อให้ระบบแจ้งผลการตรวจสอบ

2.ตรวจสอบด้วยการโทร.ผ่านสายด่วนหรือ Call center 6 หน่วยงาน ในเวลาราชการได้แก่ 1.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) 1359, 2.ธ.ก.ส. 0–2555–0555, 3.ธนาคารออมสิน 1115, 4.กรุงไทย 0–2111–1111, 5.กรมบัญชีกลาง 0–2270–6400 และ 6.สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต

ช่องทางที่ 3 คือ ตรวจสอบ ณ ที่ทำการกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านตามภูมิลำเนา เมื่อผลการตรวจสอบคุณสมบัติผ่านเรียบร้อย ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ก็สามารถรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ ณ จุดที่ลงทะเบียน เช่น สาขาของธนาคารทั้ง 3 แห่ง คลังจังหวัด และสำนักเขตกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาก็ได้มีการทยอยแจกบัตรไปแล้ว 400,000 คนในทั่วประเทศ โดยกรมบัญชีกลางว่าจ้างธนาคารกรุงไทยให้เป็นผู้ผลิต และนำส่งบัตรทั้งหมดไปยังคลังจังหวัดทั่วประเทศทั้ง 77 แห่ง

คลังจังหวัดจะเป็นทั้งจุดรับและกระจายบัตรจากส่วนกลางเพื่อส่งต่อไปยังทุกๆจุดที่ลงทะเบียน ซึ่งกำหนดไว้เดิมคือ ก่อนวันที่ 21 ก.ย.เพื่อช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยประชาชนที่ลงทะเบียน ณ จุดใดก็ให้ไปรับบัตร ณ จุดนั้น

อธิบดีกรมบัญชีกลาง ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เนื่องจากผู้มีสิทธ์ิที่ลงทะเบียนรับสวัสดิการแห่งรัฐใน 7 จัง หวัดคือ กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร จำนวน 1.3 ล้านคน จะได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในแบบ Hybrid 2 Chips หรือบัตรแมงมุม เพื่อใช้ชำระค่าสินค้า และค่ารถเมล์ รถไฟฟ้า รถโดยสาร และรถไฟตาม รายการที่กำหนดให้ และตามวงเงินหน้าบัตร

แต่การชำระค่าโดยสารรถ ขสมก.และรถไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วมที่เรียกว่าใยแมงมุมของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการผลิตบัตร และต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย

ที่สำคัญ ระบบการทำงานบัตรและเครื่องรับชำระเงินต้องไม่ติดขัด หรือเป็นอุปสรรคทำให้ประชาชนต้องเดินทางล่าช้า กรมบัญชีกลาง จึงขอเลื่อนการแจกบัตรสวัสดิการใยแมงมุมสำหรับผู้คนใน 7 จังหวัด จากวันที่ 1 ต.ค.เป็นวันที่ 17 ต.ค. และกรมบัญชีกลางจะยกยอดชดเชยวงเงินแต่ละประเภทสวัสดิการที่จ่ายช้าออกไปในเดือน ต.ค.ไปใช้ต่อได้ในเดือน พ.ย.

Www.epayment.go.th ตรวจสอบรายช อผ ม รายได น อย 61

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มีอยู่ในเวลานี้คือ มีผู้ลงทะเบียนจำนวนมากราว 60% จากที่ผ่านคุณสมบัติ แต่ยังไม่ไปรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใน 70 จังหวัด

กรมบัญชีกลางจึงขอยกยอดวงเงินคงเหลือในบัตรของเดือน ต.ค. ให้นำไปใช้ต่อได้อีก 1 เดือน ในเดือน พ.ย.2560 ซึ่งจะทำให้วงเงินในการซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ ในเดือน ต.ค. ที่มีวงเงินในบัตร 200 บาท ถูกสะสมเพิ่มอีก 200 รวมเป็น 400 บาทในเดือน พ.ย. และผู้ที่ได้รับ 300 บาท จะได้รับเงินเพิ่มเป็น 600 บาท

จึงอยากเชิญชวนให้ประชาชนที่ลงทะเบียน และผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติได้ไปรับบัตรสวัสดิการโดยเร็ว เพื่อนำบัตรไปใช้จ่ายตามสิทธ์ิที่รัฐมอบให้เป็นสวัสดิการ...อย่างที่บอกไว้ว่า กรมบัญชีกลางเปิดใช้บัตรได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2560 นี้แล้ว นั่นเอง

ด้านกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับหน้าที่จัดทำ “ร้านธงฟ้าประชารัฐ” ขายสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาด 15–20% เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนนั้น

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะเจ้าภาพด้านกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า ผู้ลงทะเบียนรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถนำบัตรนี้ไปรูดซื้อสินค้าในร้านธงฟ้าประชารัฐที่ติดตั้งเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC: Electronics Data Computer) ได้แล้วประมาณ 5,000 แห่งทั่วประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2560

ส่วนในพื้นที่ที่มีร้านธงฟ้าประชารัฐแล้วแต่ยังติดตั้งเครื่องรูดบัตรอีดีซีไม่ทัน กระทรวงจะจัดส่งคาราวานรถธงฟ้าประชารัฐเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ที่ติดตั้งเครื่องอีดีซีแล้ว 365 คันเป็นการนำร่องกระจายไปยังตำบลต่างๆทั่วประเทศกว่า 2,000 ตำบล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนสามารถใช้บัตรรูดซื้อสินค้าได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น กระทรวงพาณิชย์จะเพิ่มจำนวนร้านธงฟ้าประชารัฐให้ได้ตามเป้าหมายไม่ต่ำกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ หรืออย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง

ล่าสุด ได้ส่งรายชื่อร้านโชห่วย ร้านค้าชุมชน และร้านค้าปลีกที่เข้าร่วมเป็นร้านธงฟ้าประชารัฐให้กรมบัญชีกลาง เพื่อส่งต่อให้ธนาคารกรุงไทยทยอยติดตั้งเครื่องอีดีซีแล้ว 8,900 แห่ง จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศประมาณ 17,000 ร้านค้าแล้ว.

สำหรับสินค้าที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสามารถหาซื้อได้ในร้านธงฟ้าประชารัฐ จะเป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่นเดียวกับที่ขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด โดยจะครอบคลุมสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม สินค้าชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน สินค้าปัจจัยทาง การเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี รวมถึงยารักษาโรค และอาหารสด เช่น ไข่ไก่ เป็นต้น

แต่จะนำบัตรไปรูดซื้อสินค้าจำพวกสุรา และยาสูบไม่ได้

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่เข้าร่วมโครงการร้านค้าธงฟ้าประชารัฐนั้น กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ปิดกั้นให้เฉพาะรายใหญ่เข้าร่วมผลิตสินค้าป้อนร้านเท่านั้น แต่ได้เปิดกว้างให้ทุกรายที่พร้อมผลิตสินค้าให้สามารถเข้าร่วมได้ทั้งหมด จนถึงขณะนี้ มีผู้ผลิตเข้าร่วมแล้ว 24 ราย ได้แก่

สหพัฒนพิบูล, พีแอนด์จี, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, ยูนีลีเวอร์ไทย, ไทยฟู้ดแคนนิ่ง, ทวีชัย ฟู้ด, พูนสิน ทั่งง่วนฮะ, โรงงานผลิตอาหารไทย, เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง, สหกรณ์การเกษตรพิมาย, องค์การคลังสินค้า, ทิปโก้, กรีนสปอต, น้ำมันพืชปทุม, ไร่ธัญญะ, ฟรีสแลนด์คัมพิน่า, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา, ไทยเซ็นทรัลเคมี, มหาวงศ์การเกษตร, เจียไต๋, โรจน์กสิกิจเฟอร์ติไลเซอร์, เอกยงวงศ์, ไอ ซี พี เฟอทิไลเซอร์ และไอ ซี พี อินเตอร์เนชั่นแนล

การที่รัฐสนับสนุนเงินให้ผู้มีรายได้น้อยนำบัตรมารูดซื้อสินค้านี้ กระทรวงเชื่อว่าจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเดือนละไม่ต่ำกว่า 3,200 ล้านบาท นอกจากจะช่วยลดค่าครองชีพให้ผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังจะทำให้ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น และธุรกิจเติบโตขึ้นในอนาคต

ยังมีมาตรการช่วยเหลือจากกระทรวงพลังงาน ซึ่งประกอบไปด้วย 1.การให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับสิทธิ์ใช้ไฟฟ้าฟรีคือกลุ่มคนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มนี้รวม 3.26 ล้านราย และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ให้ความช่วยเหลือรวม 10,000 ราย รวมทั้งสิ้น 3.27 ล้านราย

2.การช่วยลดภาระรายจ่าย ค่าก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) สำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ร้านอาหารตามสั่งข้างถนน ล่าสุด ผู้มีสิทธ์ิรวม 7,955,684 สิทธิ์ ไปใช้สิทธิ์ 154,251 ราย คิดเป็น 1.94% แบ่งเป็นครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย 7,569,867 ราย ไปใช้สิทธิ์ 28,310 ราย คิดเป็น 0.37%

ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย 385,817 ราย ไปใช้สิทธิ์ 125,941 ราย คิดเป็น 32.64%

ขณะเดียวกัน จำนวนเงินช่วยเหลือสะสมจนถึงสิ้นเดือน ก.ค.คิดเป็นวงเงินรวม 1,452.28 ล้านบาท แบ่งเป็นครัวเรือนรายได้น้อยจำนวน 59.63 ล้านบาท หาบเร่แผงลอยจำนวน 1,392.65 ล้านบาท

สาเหตุที่จำนวนผู้ที่ได้รับสิทธิ์ แต่ไปใช้สิทธิ์ขอความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวมีจำนวนไม่มากนัก ก็เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มในประเทศ ทยอยลดลงต่อเนื่องตามราคาตลาดโลกเฉลี่ย 2–3 บาทต่อ กก.

แต่การที่รัฐบาลมีนโยบายปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มเฉลี่ย 10 บาทต่อถัง (ขนาด 15 กก.) และมีแนวโน้มว่า จะทยอยปรับขึ้นเป็นระยะๆนับจากนี้ไป อาจทำให้ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์หันกลับมาใช้สิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับมาตรการที่ 3 คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ (รถแท็กซี่) ที่ได้รับสิทธิ์ซื้อก๊าซเอ็นจีวีในราคา 10 บาท ต่อ กก.จากราคาปกติ 13.50 บาท

มีแท็กซี่เข้าโครงการจำนวน 60,000 คัน จากแท็กซี่ทั้งหมด 90,000 คัน สำหรับส่วนต่างราคา 3.50 บาทนั้น ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็น ผู้รับภาระแทนคนขับแท็กซี่เอง

หันมาเช็กความพร้อมผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะของกระทรวงคมนาคมดูบ้าง โดยเริ่มจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ล่าสุด รฟท. ร่วมกับกรุงไทย ติดตั้งเครื่องอีดีซี พร้อมเปิดใช้งานยังสถานีรถไฟทุกแห่ง 444 สถานี จำนวน 534 เครื่อง รองรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว

โดยประชาชนสามารถนำบัตรมาใช้สิทธิ์ขึ้นรถไฟชั้น 3 ฟรีทุกขบวน ทดแทนโครงการรถไฟฟรีเพื่อประชาชน ด้วยการเสียบบัตรที่เครื่องชำระเงิน ณ ช่องจำหน่าย ตั๋วทุกสถานี ส่วนสถานีกรุงเทพฯ 22 เครื่อง ได้ติดตั้งจำนวนเครื่องตามความเหมาะสมกับสถานีเพื่อรองรับประชาชนที่มาใช้บริการเช่นกัน

ส่วนรถเมล์ ขสมก.ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นั้น การติดตั้งระบบ e-Ticket ในรถเมล์ ขสมก.เบื้องต้น จะติดตั้ง 800 คัน และล่าสุดติดตั้งแล้ว 200 คัน ส่วนอีก 600 คัน จะติดตั้งเครื่องอ่านบัตรโมบาย โฟน ได้ด้วยโดยทั้ง 800 คัน จะติดตั้งเสร็จในวันที่ 15 พ.ย.60 ในเดือน ธ.ค.นี้จะทยอยติดตั้งอีก 1,500 คัน โดยจะครบ 2,600 คัน ในเดือน มิ.ย.61

ทั้งนี้ ผู้ใช้บัตรสามารถนำบัตรมาแตะที่เครื่องอ่านบัตรในขณะที่ขึ้น-ลงรถอัตโนมัติได้เลย สำหรับรถเมล์ทั้ง 800 คัน จะติดสติกเกอร์สีเขียวข้อความ “รถคันนี้ ใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ” แทนที่ข้อความ “รถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน” ที่กระจกด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังรถโดยสาร

สำหรับรถโดยสารของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้ร่วมกับกรุงไทย ติดตั้งเครื่องอีดีซีที่สถานีขนส่งผู้โดยสารทั้ง 3 แห่ง คือ จตุจักร, เอกมัย, ถนนบรมราชชนนี และสถานีเดินรถ บขส.ทั่วประเทศแล้วกว่า 121 จุด โดยผู้ที่จะใช้สิทธิ์ขึ้นรถ บขส. ต้องยื่นบัตรแสดงตนซื้อตั๋ว และต้องเป็นผู้เดินทางเองเท่านั้น ภายในวงเงิน 500 บาทต่อเดือน

แต่ถ้าจะเดินทางไปไกลกว่าหรือขึ้นชั้นหรูกว่า ต้องเสียเงินเพิ่มจากบัตรและต้องจ่ายเป็นเงินสด จึงจะไปได้ทุกมาตรฐาน ทุกเส้นทาง และใช้ร่วมกับสิทธ์ิลดหย่อนอื่นๆได้ด้วย แต่เมื่อซื้อตั๋วแล้วไม่สามารถคืนได้ นอกจากเลื่อนการเดินทางตามเงื่อนไขที่ บขส.กำหนด

ส่วน รถไฟฟ้า ยังไม่สามารถใช้งานได้ทัน 1 ต.ค.นี้ เนื่องจากการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบตั๋วร่วมหรือ “บัตรแมงมุม” ยังไม่แล้วเสร็จ คาดว่ากลางปี 2561 จะใช้ตั๋ว ร่วมกันได้ระหว่างรถเมล์กับระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด.