ม อถ อ ประกอบด วยทร พส นทางป ญญาประเภทใด

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

2. ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  6. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  7. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

3. ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

3.1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม

3.2 รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

3.3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

3.4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

3.5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 - 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

3.6 ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

4. การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
  4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
  5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
หลักฐานการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ลำดับ หลักฐาน 1

แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ได้แก่

  • ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ชื่อผู้สร้างสรรค์ (ทุกท่าน)
  • ชื่อผลงาน
  • ประเภทของงาน
  • ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)
  • ลักษณะการสร้างสรรค์
  • ปีที่สร้างสรรค์
  • แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ (เป็นการสรุปข้อมูลที่ยื่นจดแจ้ง) 2 ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ --- (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร) 3

หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ส่วนที่ต้องแก้ไข ได้แก่

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการ

สร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก เช่น สินค้าต่าง ๆ การบริการ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

  1. ทรัพย์สินทางปัญญามีกี่ประเภท

ในทางสากล ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และ ลิขสิทธิ์ (Copyright)

  1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) คือ อะไร

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาหรือคิดค้นขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์

เครื่องหมายการค้า ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า โดยรวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

  1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม มีกี่ประเภท

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ได้แก่ สิทธิบัตร (Patent) , แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit), เครื่องหมายการค้า (Trademark) ,

ความลับทางการค้า (Trade Secrets) , ชื่อทางการค้า (Trade Name) และ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

  1. ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ อะไร และได้รับการคุ้มครองอย่างไร

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม

นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบทั้งโดยจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

  1. สิทธิบัตร (Patent) คือ อะไร

สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

  1. ประเภทของสิทธิบัตร

สิทธิบัตร มี 3 ประเภท ได้แก่

– สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

– สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม

– อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย

  1. ทำไมจึงควรขอรับสิทธิบัตร

ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ควรขอรับสิทธิบัตร เพื่อให้ได้รับการตอบแทนจากสังคม ได้แก่

– การคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ

– การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานดังกล่าวนั้นโดยมิชอบ ซึ่งผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบสามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรนั้นโดยได้รับค่าตอบแทน

  1. อายุการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร