ทาง สาย กลาง เศรษฐกิจ พอ เพียง ตัวอย่าง

คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้ และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีการตัดสินใจตลอดเวลา ซึ่งการตัดสินใจที่ดี ควรตั้งอยู่บนการไตร่ตรองถึงเหตุ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่อาจตามมาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ตัดสินใจตามอารมณ์ หรือจากสิ่งที่คนอื่นบอกมาโดยปราศจากการวิเคราะห์

คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง ในโลกที่ไม่มีอะไรแน่นอน ทั้งสภาพลม ฟ้า อากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตร การเปลี่ยนแปลงในบริษัทคู่ค้า การเลิกจ้างพนักงานในบริษัทใหญ่ หรือแม้แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศที่มีผลต่อการลงทุน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ เช่น เตรียมแผนสำรองสำหรับแต่ละสถานการณ์ การมีรายได้หลายทางเพื่อลดความเสี่ยงในวันที่ถูกเลิกจ้าง หรือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

โดยการดำรงชีวิตตามหลักการทั้งสามข้อนั้น จำเป็นต้องมีความรู้และคุณธรรมประกอบด้วย ความรู้ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม เช่น ความรู้ในการประกอบวิชาชีพช่วยให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้า หรือความรู้ในการลงทุนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้นักลงทุน ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้ว่า พื้นฐานความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหตุผลของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แต่หากทุกคนยึดมั่นอยู่ในหลักคุณธรรม ก็จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบสุข

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การพึ่งพาตัวเองได้เป็นเพียงส่วนเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเมื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง และครอบครัวได้แล้ว ขั้นต่อไปอาจทำการพัฒนาธุรกิจ โดยมีการรวมกลุ่มกันในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการรวมกลุ่มกันนั้น ไม่จำกัดเฉพาะการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เกษตรกร ในรูปของสหกรณ์ การทำงานในเมืองก็สามารถมีการรวมกลุ่มกันได้ เช่น การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน การแลกเปลี่ยนแนวคิดการลงทุน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ รวมไปจนถึงการแบ่งปันความช่วยเหลือส่งกลับคืนสู่สังคม ไปสู่กลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ เช่น กิจกรรมจิตอาสา เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

จะเห็นได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ด้วยการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ และเผื่อแผ่ไปถึงสังคม ซึ่งเราสามารถนำหลักการปฏิบัติไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และการดำรงชีวิตครับ

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หลักปรัชญาที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ผ่านหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ไทยรัฐออนไลน์รวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร พร้อมยกตัวอย่างการปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้างมาฝาก

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร

เศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักการดำเนินชีวิตโดยยึดแนวทางสายกลาง อันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ความรู้ ความสามารถของทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน หรือประเทศชาติ ให้สามารถรับมือได้กับทุกการเปลี่ยนแปลงในสังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

ตามพระราชดำริของพระองค์ จึงเกิดเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” แนวทางการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย รวมถึงมีหลักเศรษฐกิจพอเพียงง่ายๆ ให้ได้ปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้

รู้จัก "เศรษฐกิจพอเพียง" มีอะไรบ้าง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5 ข้อ หรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข” จะช่วยเพิ่มศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงได้ทุกระดับ ดังนี้

เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

  • ความพอประมาณ คือ การเดินทางสายกลาง ที่ไม่ตึงและไม่หย่อนเกินไป
  • ความมีเหตุผล คือ การดำเนินชีวิตโดยคำนึงถึงเหตุผล ความเกี่ยวข้อง และความจำเป็น
  • การมีภูมิคุ้มกัน คือ การตื่นรู้ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และรูปแบบต่างๆ

เศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

  • เงื่อนไขความรู้ คือ การสร้างองค์ความรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเตรียมวางแผนการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เงื่อนไขคุณธรรม คือ หลักคุณธรรมที่ควรยึดถือไว้เสมอ ขณะดำเนินชีวิตประจำวันตามทางสายกลาง

ทาง สาย กลาง เศรษฐกิจ พอ เพียง ตัวอย่าง

หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำเกษตร

นอกจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีการนำมาปรับใช้กับการทำเกษตรกรรมร่วมด้วย เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ ป้องกันปัญหาฝนแล้ง ปัญหาปลูกพืชชนิดเดียว ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และอื่นๆ

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เริ่มแรกให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

  • 30% แบ่งไว้สำหรับจัดสร้างแหล่งน้ำ ขุดสระ สำหรับใช้ปลูกพืชผลในช่วงฤดูแล้ง
  • 30% แบ่งไว้สำหรับปลูกข้าว เพื่อเก็บไว้หุงกินภายในครอบครัว หากเหลือให้นำไปขายต่อ
  • 30% แบ่งไว้ปลูกพืชและผลไม้อื่นๆ เช่น มะม่วง มะพร้าว สมุนไพร ผักสวนครัว
  • 10% แบ่งไว้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ

ในขั้นต่อมาจากนั้นรวมกลุ่มหรือสหกรณ์ชุมชน เพื่อสร้างดุลอำนาจการค้ากับพ่อค้าคนกลาง โดยจะต้องวางแผนและปรึกษาหารือกันตั้งแต่การผลิต การส่งขาย สวัสดิการในการรวมกลุ่ม รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในกลุ่มและคนในชุมชน

ขั้นสุดท้าย เมื่อกลุ่มมีความเข้มแข็งและมีอำนาจการต่อรองมากขึ้น อาจเริ่มสร้างเครือข่ายที่มั่นคงมากขึ้น ผ่านการจัดหาทุน ติดต่อกับหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เพื่อสร้างรายได้และผลประโยชน์ที่มั่นคงต่อไป

ทาง สาย กลาง เศรษฐกิจ พอ เพียง ตัวอย่าง

เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างง่ายๆ ทำตามได้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกคน โดยอาจเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว ยกตัวอย่างเช่น

  • ประหยัดอดออม จัดสรรเงินแบ่งเก็บไว้สำหรับเรื่องจำเป็น
  • หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับการทำงานหรือวางแผนใช้ชีวิต
  • การรับประทานอาหารให้หมดในแต่ละมื้อ
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับทำอาหารในครอบครัว หากเหลือให้นำไปขาย
  • การวางแผนทางการเงิน บันทึกรายรับ รายจ่ายเสมอ
  • พกกระบอกน้ำหรือแก้วน้ำส่วนตัวไว้ ลดการใช้ขวดพลาสติกและช่วยลดโลกร้อน
  • คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งานและความคุ้มค่าก่อนซื้อสินค้าเสมอ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง ที่อยู่คู่สังคมไทยมานานกว่า 40 ปี แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังคงนำมาประยุกต์ปรับใช้ตามรูปแบบการดำรงชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของตนเองได้ตามความเหมาะสม

ทางสายกลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีอะไรบ้าง

ทางสายกลาง พอเพียง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์ อดทน เพียร มีสติ ปัญญา เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง พอประมาณ มีเหตุผล น าสู่ สมดุล / พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม

ทางสายกลางประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ในศาสนาพุทธ หมายถึง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ “ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง” ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต “ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”

เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวมีอะไรบ้าง

ที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีพอกิน มีอาหาร สามารถสนอง ความต้องการพื้นฐานหรือปัจจัยสี่ของครอบครัวได้ มีความ เป็นอยู่คุณภาพชีวิตที่ดีก่อน ใช้สติปัญญาในการดำรงชีวิต ไม่ประมาท รู้จักการแบ่งปัน พึ่งตนเองและช่วยเหลือกัน ในครอบครัวได้ เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้วิชาการ ...